พบข้อมูลที่ถูกขโมยโดยมัลแวร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนบนคลาวด์กว่า 1.2 TB

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ( 9 มิถุนายน 2564 ) พบฐานข้อมูลบนคลาวด์เป็นข้อมูลที่ถูกขโมยมากว่า 1.2 TB ประกอบไปด้วยข้อมูล cookie และ credentials ที่มาจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 3.2 ล้านเครื่อง จากมัลแวร์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ที่เรียกว่า “nameless”

ในบล็อกของ NordLocker บริษัทซอฟต์แวร์เข้ารหัสไฟล์ที่รวมกับที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ที่เข้ารหัสแบบ end-to-end ได้กล่าวไว้ว่า ไวรัสสามารถหลบซ่อนการตรวจจับพร้อมกับข้อมูลที่ขโมยกว่า 6 ล้านไฟล์ ที่ขโมยมาจากเครื่องเดสก์ท็อป และยังสามารถถ่ายภาพผู้ใช้งานได้หากอุปกรณ์นั้นมีเว็บแคม โดยมัลแวร์จะแพร่กระจายผ่านซอฟต์แวร์ Adobe PhotoShop ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องมือ Crack Windows และเกมส์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยไม่ได้ตั้งใจและผู้ให้บริการคลาวด์ได้รับแจ้งว่าให้ทำการ take down โฮสต์ดังกล่าวไป ซึ่งข้อมูลที่ถูกขโมยนั้นอยู่ระหว่าง ปี 2018 ถึง 2020 โดยมี cookie กว่า 2 พันล้านรายการ

Sean Nikkel นักวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์อาวุโสของ Digital Shadows ได้กล่าวว่า เรายังคงต้องประสบกับปัญหาทางข้อมูลถูกโจมตีหรือรั่วไหล ตราบใดที่ผู้คนไม่ได้ใช้แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดีทั้งหมด ซึ่งหากบริษัทจัดเก็บข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ จะมีตัวเลือกมากมายสำหรับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ และควรจัดหมวดหมู่ของข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจำเป็นหรือเป็นข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผย และควรจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ต่าง ๆ และอย่างน้อยที่สุด ให้ทำการเข้ารหัสที่ปลอดภัยให้กับข้อมูล และตรวจสอบ หรือทดสอบระบบเป็นระยะ ๆ

Law Floyd ผู้อำนวยการฝ่ายบริการคลาวด์ของ Telos กล่าวเสริมว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยควรใช้การควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวดกับฐานข้อมูล และตรวจสอบให้แน่ใจว่า port ที่เปิดให้เข้าถึงฐานข้อมูลนั้นเป็น port ที่จำเป็นเท่านั้น และควรสร้าง policy ที่เหมาะสม รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคลากรได้รับการศึกษาเกี่ยวกับ policy เหล่านี้อย่างเหมาะสม

ที่มา : scmagazine

Hackers Using Microsoft Build Engine to Deliver Malware Fileless

แฮกเกอร์ได้มีการใช้ Microsoft Build Engine (MSBuild) ในทางที่ผิด โดยใช้ส่ง Trojan และ Malware ประเภท Fileless ซึ่งมีเป้าหมายในการขโมยข้อมูลบนระบบ Windows

นักวิจัยจากบริษัท Anomali ที่ให้บริการด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวว่าเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (13 May 2021) ไฟล์ที่มีโค้ดอันตรายที่มีการเข้ารหัสและเชลล์โค้ดสำหรับติดตั้ง Blackdoor เพื่อใช้ในการเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อเพื่อขโมยข้อมูลได้มีการถูกสร้างขึ้น

MSBuild คือ เครื่องมือโอเพ่นซอร์สสำหรับ Compile .NET และ Visual Studio ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Microsoft ที่มีไว้ใช้สำหรับ Compiling source code, Packaging, Testing, Deploying Applications

การใช้ MSBuild เป็นเครื่องมือในการเข้าควบคุมเครื่องเป้าหมายโดยไม่ต้องใช้ไฟล์ (Fileless) เป็นแนวคิดในการหลบหลีกการถูกตรวจจับเนื่องจาก Malware ตัวนี้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Application ที่ถูกกฎหมายโดยรูปการทำงานจะเป็นการโหลด Code ลงที่ Memory ทำให้ไม่มีการทิ้งร่องรอยบนระบบและสามารถซ่อนตัวได้โดยที่ไม่ถูกตรวจจับ

ตามที่มีการเขียนระบุไว้ว่ามีเพียงผู้ให้บริการโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2 รายเท่านั้นที่ระบุว่าหนึ่งในไฟล์ MSBuild ที่มีการอัปโหลดไปยัง VirusTotal vyx.

Adobe ปล่อย Update Patch Tuesday สำหรับเดือน พฤษภาคม 2021

โดยมีการแก้ไขช่องโหว่หลายรายการที่ครอบคลุมทั้ง 12 ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงช่องโหว่ Zero-day ที่ส่งผลกระทบกับ Adobe Reader

มีรายงานว่า พบการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่โจมตีไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้ Adobe Reader บน Windows (CVE-2021-28550) ช่วยให้แฮ็คเกอร์สามารถเรียกใช้โค้ดแปลกปลอมโดยไม่ได้รับอนุญาต (Arbitrary Code Execution) บนระบบเป้าหมายได้
ส่งผลกระทบกับ Windows และ macOS เวอร์ชัน Acrobat DC, Acrobat Reader DC, Acrobat 2020, Acrobat Reader 2020, Acrobat 2017 และ Acrobat Reader 2017

รายการแอปพลิเคชันอื่นๆ ที่มีการอัปเดต ได้แก่
Adobe Experience Manager

Adobe InDesign

Adobe Illustrator

Adobe InCopy

Adobe Genuine Service

Adobe Acrobat and Reader

Magento

Adobe Creative Cloud Desktop Application

Adobe Media Encoder

Adobe After Effects

Adobe Medium

Adobe Animate

โดยมี 10 ช่องโหว่ที่มีความรุนแรงระดับ Critical และ 4 ช่องโหว่ที่มีความรุนแรงระดับ Important ถูกพบใน Adobe Acrobat and Reader และช่องโหว่ระดับ Critical จำนวน 5 รายการ (CVE-2021-21101-CVE-2021-21105) ใน Adobe Illustrator ซึ่งอาจนำไปสู่การดำเนินการเรียกใช้คำสั่ง หรือโค้ดที่อาจจะเป็นอันตรายด้วย User ที่ใช้งานอยู่ในตอนนั้น

ช่องโหว่ที่ได้รับการแก้ไขแล้วใน Patch Tuesday โดยรวมแล้วทั้งหมด 43 รายการ

แนะนำให้ผู้ใช้ทำการรีบอัปเดตแพตช์ด้านความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เพื่อทำการโจมตีระบบที่ไม่ได้รับการอัปเดตแพตช์ด้านความปลอดภัย

ที่มา : thehackernews

Nvidia แจ้งเตือนการพบปัญหาใน GPU driver และซอฟต์แวร์ vGPU ส่งผลให้สามารถถูกใช้ในการยกระดับสิทธิ์, รันคำสั่งอันตราย หรือทำ DoS

ช่องโหว่ทั้งหมดในส่วนของ GPU Display Driver ผู้ไม่หวังดีจำเป็นจะต้องเข้ามาถึงเครื่องได้ก่อน (local) จึงจะสามารถทำการโจมตีได้ ซึ่งประกอบด้วย

CVE-2021-1074 (คะแนน 7.5/10): ปัญหาอยู่ในตัว Installer ของ driver รุ่น R390 สำหรับ Windows ผู้ไม่หวังดีที่สามารถเข้ามาถึงเครื่องได้ (local) สามารถแทรกไฟล์อันตรายลงไปแทนที่ไฟล์ปกติ เพื่อใช้รันคำสั่งอันตราย, ยกระดับสิทธิ์, DoS หรือเปิดเผยข้อมูลสำคัญได้
CVE-2021-1075 (คะแนน 7.3/10): ปัญหาอยู่ในส่วน kernel (nvlddmkm.

ทีม Project Zero พบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ในการโจมตีผู้ใช้ Windows, iOS และ Android

ทีม Project Zero จาก Google ได้เปิดเผยถึงการค้นพบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ใช้ Windows, iOS และ Android

ตามรายงานการโจมตีพบแคมเปญการโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์เกิดขึ้นในสองช่วงเวลาคือในเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคม 2020 ที่ผ่านมา โดยช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ที่ถูกใช้ในการโจมตีมีรายละเอียดดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-6418 - เป็นช่องโหว่ในโมดูล TurboFan ของ Chrome (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-0938 - เป็นช่องโหว่ใน Font บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-1020 - เป็นช่องโหว่ใน Font บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-1027 - เป็นช่องโหว่ Client Server Run-Time Subsystem (CSRSS) บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-15999 - เป็นช่องโหว่ Freetype Heap buffer overflow บน Chrome (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในตุลาคม 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-17087 - เป็นช่องโหว่ Heap buffer overflow ใน cng.

พบช่องโหว่ใน zoom ส่งผลให้ผู้อื่นสามารถเห็นข้อมูลที่ไม่ต้องการแชร์ได้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ

ช่องโหว่ดังกล่าวคือ CVE-2021-28133 โดยปกติผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะแชร์หน้าจอเฉพาะส่วนที่ต้องการ, แอพพลิเคชั่นที่ต้องการ หรือเลือกที่จะแชร์หน้าจอทั้งหมด แต่ช่องโหว่ดังกล่าวนี้จะแสดงข้อมูลของแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ให้ผู้เข้าร่วมคนอื่นเห็นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หากแอพพลิเคชั่นดังกล่าวถูกเปิดซ้อนบนแอพพลิเคชั่นที่ถูกแชร์อยู่

ปัญหาดังกล่าวถูกทดสอบบนเวอร์ชั่น 5.4.3 และ 5.5.4 ทั้งบน Windows และ Linux มีการเปิดเผยว่าช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแจ้งไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีที่แล้ว และปัจจุบันช่องโหว่ดังกล่าวก็ยังไม่มีการปล่อยแพทช์ออกมา โดย zoom แจ้งว่ารับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการแก้ไข แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะถูกแสดงเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แต่หากมีการอัดวิดีโอไว้ ก็จะสามารถเปิดย้อนกลับมาเพื่อดูได้

ที่มา: thehackernews

Adobe เปิดตัวแพตช์แก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” ใน Adobe Creative Cloud Desktop, Framemaker และ Connect

Adobe เปิดตัวแพตช์การอัปเดตด้านความปลอดภัยที่แก้ไขช่องโหว่ใน Adobe Creative Cloud Desktop, Adobe Framemaker และ Adobe Connect

โดยรวมแล้วแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยที่ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่มีจำนวน 8 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องโหว่ที่มีความรุนแรงระดับ Critical และเป็นช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยรายละเอียดของช่องโหว่ที่สำคัญมีดังนี้

ช่องโหว่ใน Adobe Framemaker จำนวน 1 รายการ ติดตามด้วยรหัส CVE-2021-21056 โดยช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ใน Adobe Framemaker เวอร์ชัน 2019.0.8 และต่ำกว่า สำหรับ Windows
ช่องโหว่ใน Adobe Creative Cloud Desktop จำนวน 3 รายการ ติดตามด้วยรหัส CVE-2021-21068, CVE-2021-21078 และ CVE-2021-21069 โดยช่องโหว่ 2 รายการแรกจะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต และช่องโหว่ที่สามเป็นช่องโหว่นำไปสู่การยกระดับสิทธิ์ของผู้ใช้ ซึ่งช่องโหว่ทั้ง 3 รายการจะส่งผลกระทบกับ Adobe Creative Cloud Desktop เวอร์ชัน 5.3 และเวอร์ชันก่อนหน้า สำหรับ Windows และ Mac OS
ช่องโหว่ใน Adobe Connect จำนวน 4 รายการ ติดตามด้วยรหัส CVE-2021-21085, CVE-2021-21079, CVE-2021-21079 และ CVE-2021-21081 โดยช่องโหว่แรกเป็นช่องโหว่การตรวจสอบอินพุตข้อมูลที่ไม่เหมาะสมและช่องโหว่อีก 3 รายการเป็นช่องโหว่ Cross-Site Scripting (XSS) ซึ่งช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับ Adobe Connect เวอร์ชัน 11.0.5 และเวอร์ชันก่อนหน้า

ทั้งนี้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ Adobe ควรทำการอัปเดตแพตช์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: bleepingcomputer

Exploit ของช่องโหว่ Spectre โผล่ใน VirusTotal เชื่อมาจาก Immunity Canvas คาดว่าถูกเอามาใช้จริงแล้ว

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Julien Voisin ประกาศการค้นพบโค้ดสำหรับโจมตีช่องโหว่ (Exploit) สำหรับช่องโหว่ Spectre ในเว็บไซต์ VirusTotal โดยการโจมตีช่องโหว่ Spectre นั้นสามารถทำให้ผู้โจมตีเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำได้อย่างอิสระ

ทีม Intelligent Response ได้เคยมีการพูดช่องโหว่ Spectre และ Meltdown เมื่อปี 2018 สามารถอ่านบทความของเราได้ที่นี่ i-secure

จากการตรวจสอบ Exploit ที่อยู่ใน VirusTotal นั้น Voision พบ Exploit สำหรับระบบ Linux และ Windows ซึ่งเมื่อทำการใช้งานแล้วโดยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ต่ำ ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ต่ำดังกล่าวจะสามารถดึงค่าแฮช LM/NT และ Kerberos ticket ใน Windows และข้อมูลใน /etc/shadow สำหรับระบบ Linux ได้ทันที

การวิเคราะห์ยังบ่งชี้ถึงที่มาของทั้งสอง Exploit โดยทั้งสอง Exploit มีที่มาจากโปรแกรม Canvas ของ Immunity ซึ่งเป็นโปรแกรมรวม Exploit คล้ายกับ Metasploit แต่มี Private exploit ที่ทาง Immunity มีการพัฒนาขึ้นเองอยู่ด้วย ที่มาของ Exploit ทั้งสองนั้นมาจากการรั่วไหลของ Canvas 7.26 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวามคมที่ผ่านมา ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยของ Immunity ที่เคยสาธิตการใช้งาน Canvas เพื่อโจมตีช่องโหว่ Spectre และขโมยข้อมูล Kerberos ticket มาตามวีดิโอ vimeo

 

ที่มา: bleepingcomputer

อัปเดตสถานการณ์ SolarWinds: การแถลงการณ์กับวุฒิสภาและคณะกรรมการข่าวกรอง

ในช่วงระหว่างปลายเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา กรณีการโจมตี SolarWinds มีความเคลื่อนไหวหลายประกาศ ซึ่งทีม Intelligent Response ขอสรุปสถานการณ์ และความเคลื่อนไหวดังกล่าวให้รับทราบดังนี้

1.NASA และ FAA ร่วมวงผู้ได้รับผลกระทบ

องค์การบริการการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ NASA และองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ออกมายืนยันว่าทางองค์กรได้รับผลกระทบจากการโจมตีซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีการโจมตี SolarWinds ในลักษณะ Supply-chain attack ไม่มีการเปิดเผยผลกระทบและความรุนแรง อย่างไรก็ตามทั้งสององค์กรได้ออกมายืนยันว่าได้มีการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อจัดการกับสถานการณ์แล้ว

ที่มา: bleepingcomputer

 

2.ไมโครซอฟต์ปล่อยชุดคิวรี่ CodeQL ในการใช้ค้นหา IOC ในระดับโค้ด

ไมโครซอฟต์มีการเผยแพร่คิวรี่สำหรับเฟรมเวิร์ค CodeQL เพื่อใช้ในการหา IOC ที่เกี่ยวข้องกับมัลแวร์ SUNBURST ในระดับโค้ด ตัวอย่างเช่น โค้ดส่วนที่ใช้ในการฝังตัว (implant), โค้ดฟังก์ชันแฮชที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรเซส รวมไปถึงส่วนโค้ดที่ใช้ในการติดต่อการ C&C โดยปัจจุบันโค้ดได้ถูก Merge เข้าไปในการ Repository กลางของ CodeQL แล้ว และสามารถเข้าดูได้ที่ github

ที่มา: microsoft

 

3.1อัปเดตข้อมูลจากการให้ข้อมูลกับคณะกรรมการข่าวกรอง โดย Microsoft, FireEye, CrowdStrike และ SolarWinds

ฝั่งไมโครซอฟต์มีการร้องขอให้ทางภาครัฐฯ สนับสนุนหรือบังคับให้ภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการแบ่งปันข้อมูลที่ดีกว่านี้เมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น
FireEye ระบุความเกี่ยวข้องกับการโจมตีว่า วิธีการโจมตีที่ตรวจพบนั้นมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมในปฏิบัติการทางไซเบอร์รัสเซียมากที่สุด ทางทำเนียบขาวตอบรับในข้อเท็จจริงและกำลังหาวิธีการที่เหมาะสมในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากรัสเซีย
CrowdStrike เน้นไปที่ปัญหาในระบบของ Windows และวิธีการที่ล้าหลังในการพิสูจน์ตัวตนรวมไปถึงโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเช่นเดียวกัน
ที่มา: theregister

 

3.2อัปเดตข้อมูลจากการให้ข้อมูลกับวุฒิสภา โดย Microsoft, FireEye, CrowdStrike และ SolarWinds

SolarWinds ให้ข้อมูลรหัสผ่าน solarwinds123 ที่เกี่ยวข้องกับระบบ File server ของ SolarWinds นั้นเกิดจากเด็กฝึกงานเป็นผู้กำหนดขึ้นมา ทั้งนี้ปัญหาก็ได้รับการจัดการทันทีที่รับทราบ
ไมโครซอฟต์ระบุว่าไม่พบหลักฐานว่ากระทรวงกลาโหมถูกโจมตี
FireEye ระบุว่าผลกระทบที่แท้จริงจากการโจมตีนั้นยังคงถูกประเมินได้ยาก และในขณะเดียวกันการระบุข้อมูลใดที่ถูกขโมยออกไปบ้างก็เป็นไปได้ยากที่จะระบุได้เช่นเดียวกัน
ที่มา: cnn

นักวิจัยด้านความปลอดภัยเปิดเผยรายละเอียดช่องโหว่บน Windows NT LAN Manager ที่ Microsoft เพิ่งทำการแก้ไขช่องโหว่

Yaron Zinar นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท Preempt ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของช่องโหว่ใน Windows NT LAN Manager (NTLM) ที่ Microsoft ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวแล้วในการอัปเดตความปลอดภัยประจำเดือนหรือ Patch Tuesday เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-1678 (CVSSv3: 4.3/10) ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการอธิบายจาก Microsoft ว่าเป็นช่องโหว่ที่สามารถ Bypass ฟีเจอร์ความปลอดภัยของ Windows NT LAN Manager (NTLM) โดยช่องโหว่ดังกล่าวอยู่ใน IRemoteWinSpool MSRPC interface ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซสำหรับ Printer Remote Procedure Call (RPC) ที่ออกแบบมาสำหรับการจัดการตัวจัดคิวของเครื่องพิมพ์เอกสารจากระยะไกล ซึ่งช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถรีเลย์เซสชันการตรวจสอบสิทธิ์ NTLM ไปยังเครื่องที่ถูกโจมตีและใช้ MSRPC interface ของ Printer spooler เพื่อเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลบนเครื่องที่ถูกโจมตี

ช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับ Windows ทุกรุ่น ได้แก่ Windows Server, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2008, Windows Server 2016, Windows Server 2019, RT 8.1, 8.1, 7 และ 10

ทั้งนี้นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้กล่าวว่าพวกเขามีโค้ด Proof-of-Concept (POC) สำหรับช่องโหว่และสามารถใช้งานได้ แต่จะยังไม่ทำการเผยเเพร่สู่สาธารณะ อย่างไรก็ดีผู้ใช้และผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: securityweek | thehackernews