VLC Media Player ออกเวอร์ชัน 3.0.12 แก้ไขช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากระยะไกล

โครงการ VideoLAN ได้เปิดตัว VLC Media Player เวอร์ชัน 3.0.12 สำหรับ Windows, Mac และ Linux ในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยใน VLC Media Player เวอร์ชันล่าสุดนี้ได้ทำการปรับปรุงคุณสมบัติและแก้ไขความปลอดภัยมากมายอีกทั้งยังเป็นการอัปเกรดที่สำคัญสำหรับผู้ใช้ Mac เนื่องจากในเวอร์ชันนี้มีการรองรับ Apple Silicon และแก้ไขความผิดเพี้ยนของเสียงใน macOS

นอกจากการแก้ไขข้อบกพร่องและการปรับปรุงแล้ว VLC Media Player 3.0.12 ยังแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยจำนวนมากที่ถูกรายงานโดย Zhen Zhou จากทีมรักษาความปลอดภัยของบริษัท NSFOCUS ซึ่งค้นพบช่องโหว่ Buffer overflow ที่อาจทำให้ซอฟต์แวร์เกิดข้อขัดข้องหรืออาจนำไปสู่การเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยสิทธิ์ของผู้ใช้ที่ตกเป็นเป้าหมาย ซึ่งผู้โจมตีจากระยะไกลสามารถใช้ช่องโหว่นี้ได้โดยการสร้างไฟล์สื่อที่ออกแบบมาเป็นพิเศษและหลอกให้ผู้ใช้เปิดไฟล์ด้วย VLC

ทั้งนี้ผู้ใช้ VLC Media Player ควรทำการอัปเดตเวอร์ชันให้เป็น VLC 3.0.12 เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: bleepingcomputer

นักวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบข้อบกพร่องที่จะทำให้ Windows 10 เกิด Blue Screen of Death เมื่อเข้าถึงพาธเฉพาะ

Jonas Lykkegaard นักวิจัยด้านความปลอดภัยด้านระบบปฏิบัติการ Windows ได้เปิดเผยถึงการค้นพบพาธที่จะทำให้ Windows 10 เกิดขัดข้องและจะแสดง Blue Screen of Death (BSOD) ทันทีเพียงแค่เปิดพาทในแถบ Address bar ของเบราว์เซอร์หรือใช้คำสั่งอื่นๆ

Lykkegaard กล่าวว่าเขาได้ค้นพบพาธสำหรับ Win32 device namespace สำหรับอุปกรณ์ในกลุ่ม "console multiplexer driver" ที่สามารถอ้างถึงได้ผ่านพาธ \\.\globalroot\device\condrv\kernelconnect โดยหากมีการพยายามเข้าถึงพาธนี้ไม่ว่าจะในลักษณะใดก็ตาม ระบบจะเกิดการแครชและแสดงหน้า Blue Screen of Death ทันที การวิเคราะห์เบื้องต้นพบว่าพาธดังกล่าวนั้นจำเป็นจะต้องมีการระบุพารามิเตอร์อย่างน้อยหนึ่งรายการ ทั้งนี้หากเรียกพาธดังกล่าวโดยไม่ระบุค่าใดๆ ไป ระบบจะเกิดข้อผิดพลาดจากการตรวจสอบเงื่อนไขนี้ไม่สมบูรณ์ และทำให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าว

หลังจากพบข้อบกพร่องนักวิจัยได้ทำการแจ้งต่อ Microsoft แล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านเพื่อให้ Microsoft ทำการตรวจสอบปัญหาด้านความปลอดภัยที่ได้รับรายงานและจัดเตรียมการอัปเดตสำหรับอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบโดยเร็วที่สุด

ที่มา: bleepingcomputer

 

ฟอร์มของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ IObit ถูกแฮกและถูกใช้ประโยชน์จากการบุกรุกเพื่อทำการเเพร่กระจาย DeroHE Ransomware

IObit ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ยูทิลิตี้ที่รู้จักกันดีในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ Windows และโปรแกรมป้องกันมัลแวร์เช่น Advanced SystemCare ถูกแฮกในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ประสงค์ร้ายได้ใช้ประโยชน์จากการบุกรุกนี้เพื่อทำการโจมตีผู้ใช้อย่างกว้างขวางโดยการแจกจ่ายซอฟต์แวร์ที่แฝง DeroHE ransomware ไว้ให้กับสมาชิกฟอรัมทำการดาวน์โหลด

การแจกจ่ายซอฟต์แวร์ที่แฝง DeroHE ransomware ไว้ให้กับสมาชิกฟอรัมทำการดาวน์โหลดนั้นเกิดขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกฟอรัม IObit จะได้รับอีเมลที่อ้างว่ามาจาก IObit โดยระบุว่าสมาชิกฟอรัม IObit มีสิทธิ์ได้รับการใช้งานซอฟต์แวร์ฟรี 1 ปี ซึ่งเป็นสิทธิพิเศษในการเป็นสมาชิกฟอรัมเท่านั้น โดยภายในอีเมลจะมีลิงก์คือ hxxps://forums.

พบช่องโหว่ Zero-day ในเครื่องมือ Windows PsExec ที่จะทำให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเข้าควบคุมเครื่องที่ถูกบุกรุกได้

David Wells นักวิจัยมัลแวร์จาก Tenable ได้ค้นพบช่องโหว่ Zero-day ใน PsExec หรือเครื่องมือการจัดการสำหรับผู้ดูแลระบบโดยการสั่งการด้วยคำสั่งต่างๆ ผ่านระบบเน็ตเวิร์คจากระยะไกล ซึ่งช่องโหว่ที่ถูกค้นพบนั้นถูกเรียกว่า pipe hijacking โดยอาศัยการสร้าง pipe ที่ถูกใช้ในการติดต่อสารโดย PsExec เอาไว้ก่อนแล้วด้วยสิทธิ์ที่ต่ำกว่า เมื่อเซอร์วิสของ PsExec มาใช้งานจริงก็จะทำการใช้งาน pipe ที่มีอยู่และจะไม่มีการแก้ไขสิทธิ์เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างปลอดภัย ส่งผลให้ผู้โจมตีซึ่งสร้าง pipe ไว้รอจะสามารถใช้ pipe ดังกล่าวซึ่งจะได้สิทธิ์เป็น Local system และกลายเป็นช่องทางในการยกระดับสิทธิ์ขึ้นมาได้

Wells กล่าวอีกว่าช่องโหว่ Zero-day นี้ถูกพบใน PsExec หลายเวอร์ชันตั้งแต่ v1.72 ที่อยู่ใน Windows XP จนถึงเวอร์ชัน v2.2 ที่อยู่ภายใน Windows 10 ซึ่งหลังจากค้นพบช่องโหว่ Wells ได้รายงานต่อ Microsoft ถึงปัญหาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2020 หลังจากรายงานช่องโหว่ไปแล้ว 90 วัน Microsoft ไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ Wells จึงได้ทำการเปิดเผยต่อสาธารณะ

Mitja Kolsek ซีอีโอจากบริษัท ACROS Security ได้ออกมากล่าวถึงการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว ซึ่งทางบริษัทได้ออกไมโครแพทช์ฟรีเพื่อแก้ไขช่องโหว่การเพิ่มสิทธิพิเศษเฉพาะที่ (Local Privilege Escalation - LPE) ในเครื่องมือการจัดการ Windows PsExec ในเวอร์ชัน 32 บิตและ 64 บิตของ Microsoft ซึ่งพร้อมใช้งานแล้วผ่านแพลตฟอร์ม 0patch

ทั้งนี้ผู้ใช้ควรทำการติดตามการอัปเดตแพตช์การแก้ไขช่องโหว่จาก Microsoft เมื่อมีการแก้ไขช่องโหว่ควรรับทำการอัปเดตแพตช์อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ สำหรับผู้ที่ต้องอัปเดตแพตช์ผ่านแพลตฟอร์ม 0patch สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่: https://blog.

กลุ่มแฮกเกอร์รับจ้างใช้เครืองมือเเฮกชนิดใหม่ที่ชื่อ PowerPepper ในการโจมตีผู้ใช้ล่าสุด

นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Kaspersky ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับแบ็คดอร์ PowerShell ใน Windows ที่พึ่งมีการค้นพบ โดยแบ็คดอร์ที่มีการค้นพบนั้นถูกระบุชื่อว่า PowerPepper ตามภาษาที่ถูกใช้เพื่อพัฒนาแบ็คดอร์ เชื่อว่าเป็นแบ็คดอร์ที่ถูกพัฒนามาจากกลุ่ม Advanced Persistent Threat (APT) รับจ้างที่มีชื่อว่า DeathStalker

กลุ่ม DeathStalker เป็นกลุ่ม APT ที่ถูกพบครั้งเเรกในปี 2012 โดยมีการกำหนดเป้าหมายการโจมตีไปยังกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางในหลายสิบประเทศตามคำขอของลูกค้าที่ทำการว่าจ้าง กิจกรรมการโจมตีที่ถูกตรวจพบว่ามีการใช้ PowerPepper ถูกพบครั้งแรกเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา การโจมตีส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยอีเมล Spear-phishing ที่มีไฟล์เอกสาร Word ที่เป็นอันตราย ซึ่งเมื่อคลิกแล้วจะดาวน์โหลดและเรียกใช้สคริปต์ PowerShell ชื่อ Powersing เพื่อดำเนินการรันคำสั่งอันตราย จากนั้นมัลแวร์จะใช้ประโยชน์จากโปรโตคอล DNS-over-HTTPS (DoH) เป็นช่องทางการสื่อสารจากเซิร์ฟเวอร์ Command and Control (C&C) ของผู้ประสงค์ร้าย

เพื่อเป็นการป้องกันการตกเป็นเหยื่อผู้ใช้ควรระมัดระวังในการเปิดเอกสารที่แนบมากับอีเมล หรือคลิกลิงก์ในอีเมลจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก หรือผู้ดูแลระบบควรทำจำกัดการใช้งาน PowerShell บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ด้วยอีกทางหนึ่ง

ที่มา: thehackernews | securityweek

Cisco ปล่อยแพทช์ความปลอดภัยสำหรับ Webex เพื่อแก้ปัญหาที่ผู้ไม่หวังดีสามารถเข้าร่วมการประชุมแบบไม่เห็นตัวตนได้ (Ghost User)

นักวิจัยจาก IBM พบปัญหาด้านความปลอดภัยบน Cisco Webex เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถ

เข้าร่วมการประชุมแบบไม่เห็นตัวตน และสามารถเข้าถึงได้ทั้งเสียง, วิดีโอ, แชท และแชร์สกรีน (CVE-2020-3419)
แม้จะถูกไล่ออกจากห้องแล้ว แต่ก็ยังสามารถได้ยินเสียงในห้องประชุมแบบไม่เห็นตัวตนได้ (CVE-2020-3471)
เข้าถึงข้อมูลของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม อาทิเช่น ชื่อและนามสกุล, อีเมล และ IP Address โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้แม้จะอยู่แค่ใน Lobby room ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าห้องก็ตาม (CVE-2020-3441)
ข้อมูลระบุว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในขั้นตอนการ Handshake ของการติดต่อกันระหว่างสมาชิกในห้องประชุม (Participants) ดังนั้นการโจมตีดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้ไม่หวังดีรู้ URL ของ Meeting เท่านั้น ปัญหานี้มีผลกระทบต่อ Webex บนระบบปฏิบัติการทั้ง macOS, iOS และ Windows รวมทั้ง Webex Meetings แอพพลิเคชั่น และ Webex Room Kit

ล่าสุด Cisco มีการอัพเดตแพทช์บน Cloud ของ Cisco Webex Meeting แล้ว และปล่อยอัพเดตสำหรับ Cisco Webex Meetings แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา และซอฟต์แวร์ของ Cisco Webex Meetings Server แล้ว ผู้ใช้งานควรทำการอัพเดตทันที

ที่มา: bleepingcomputer

พบช่องโหว่ Zero-day ใน Chrome จะทำให้ผู้โจมตีสามารถ Hijack คอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเป้าหมายได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Sergei Glazunov จากทีม Google Project Zero ได้เปิดเผยถึงการค้นพบช่องโหว่ Zero-day บนเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome สำหรับ Windows, Mac และ Linux โดยช่องโหว่นี้จะทำให้ผู้โจมตีสามารถ Hijack คอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเป้าหมายได้

ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-15999 เป็นช่องโหว่ประเภท Memory corruption โดยช่องโหว่ถูกพบใน FreeType ซึ่งเป็นไลบรารีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สยอดนิยมสำหรับการแสดงผลแบบอักษรที่มาพร้อมกับ Chrome

หลังจากค้นพบช่องโหว่ Glazunov ได้ทำการรายงานช่องโหว่ Zero-day ไปยังนักพัฒนา FreeType ทันที ซึ่ง Glazunov มีความกังวลว่าผู้ประสงค์ร้ายจะใช้ช่องโหว่จากไลบรารี FreeType นี้ทำการโจมตีระบบอื่นๆ ซึ่งปุจจุบันยังไม่พบการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ แต่เนื่องจากไลบรารี FreeType เป็นโปรเจ็กต์โอเพ่นซอร์สจึงคาดว่าผู้ประสงค์ร้ายจะสามารถทำ reverse-engineer ของ zero-day ได้และจะสามารถหาช่องโหว่ของตัวเองได้ภายในไม่กี่วันหรือกี่สัปดาห์ โดยเมื่อได้รับการเเจ้งเตือนทีมผู้พัฒนา FreeType ได้ออกแพตช์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วใน FreeType เวอร์ชัน 2.10.4 แล้ว

ทั้งนี้ Google เปิดตัว Chrome เวอร์ชัน 86.0.4240.111 เพื่อเเก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยดังกล่าว ผู้ใช้ควรทำการอัปเดต Google Chrome ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันทีเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายทำการโจมตีผู้ใช้และระบบ

ที่มา: thehackernews | zdnet

Adobe ออกเเพตซ์แก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับ “Critical” ใน Adobe Acrobat และ Reader

Adobe ได้ออกเเพตซ์อัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับ “Critical” จำนวน 14 รายการ ซึ่งช่องโหว่จะส่งผลกระทบต่อ Adobe Acrobat และ Reader สำหรับ Windows และ macOS โดยช่องโหว่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาตบนอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ ทั้งนี้ช่องโหว่ที่มีความสำคัญและได้รับการเเก้ไขมีดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-24435 เป็นช่องโหว่ประเภท Heap-based buffer overflow ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ช่องโหว่ CVE-2020-24436 เป็นช่องโหว่ประเภท Out-of-bounds write ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ช่องโหว่ CVE-2020-24430 และ CVE-2020-24437 เป็นช่องโหว่ประเภท Use-after-free ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ผู้ใช้งาน Adobe Acrobat และ Reader สำหรับ Windows และ macOS ควรทำการอัปเดตเเพตซ์และติดตั้งซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตี สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดของช่องโหว่เพิ่มเติมสามารถดูได้ที่นี่: helpx.

Google เปิดตัว Chrome เวอร์ชันใหม่เเก้ไขช่องโหว่ RCE แบบ Zero-day

Google เปิดตัว Chrome เวอร์ชัน 86.0.4240.183 สำหรับ Windows, Mac และ Linux เพื่อแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 10 รายการรวมถึงช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล (Rmote Code Execution - RCE) แบบ Zero-day หลังพบผู้ประสงค์ร้ายพยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตี

ช่องโหว่ CVE-2020-16009 เป็นช่องโหว่ในการใช้งานที่ไม่เหมาะสมใน V8 ซึ่งเป็นเอ็นจิ้น JavaScript โอเพ่นซอร์สของ Chrome ซึ่งจะทำให้ผู้โจมตีสามารถดำเนินการเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลได้ผ่านหน้า HTML ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ นอกจากนี้ Google ยังแก้ไขช่องโหว่ CVE-2020-17087 ช่องโหว่การยกระดับสิทธ์ในเคอร์เนล, CVE-2020-16004, CVE-2020-16005, CVE-2020-16006, CVE-2020-16007, CVE-2020-16008 และ CVE-2020-16011 ใน Chrome เวอร์ชัน 86.0.4240.183

ทั้งนี้ผู้ใช้ควรทำการอัปเดต Google Chrome เป็นเวอร์ชัน 86.0.4240.183 หรือเวอร์ชันใหม่ล่าสุด โดยเข้าไปที่การตั้งค่า -> ความช่วยเหลือ -> เกี่ยวกับ Google Chrome จากนั้นเว็บเบราว์เซอร์จะทำการตรวจสอบการอัปเดตใหม่โดยอัตโนมัติและติดตั้งเมื่อพร้อมใช้งาน

ที่มา: bleepingcomputer

Ryuk Ransomware Gang Uses Zerologon Bug for Lightning-Fast Attack

กลุ่ม Ryuk Ransomware นำช่องโหว่ Zerologon มาปรับใช้เพื่อทำการโจมตีระบบแล้ว

นักวิจัยจาก @TheDFIRReport ออกรายงานพบการโจมตีรูปแบบใหม่ของกลุ่ม Ryuk Ransomware ที่ได้นำช่องโหว่ Zerologon (CVE-2020-1472) มาปรับใช้ในการโจมตี ซึ่งทำให้กลุ่ม Ryuk Ransomware สามารถใช้เวลาในการเข้ารหัสทั้งโดเมนที่ถูกบุกรุกได้ในเวลาเพียงห้าชั่วโมง

นักวิจัยกล่าวว่าการโจมตีเริ่มต้นด้วยอีเมลฟิชชิงที่มีมัลแวร์ Bazar loader จากนั้นผู้โจมตีจะทำการสำรวจระบบด้วยการใช้เครื่องมือ built-in ภายใน Windows เพื่อสำรวจระบบ จากนั้นจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ของ Zerologon (CVE-2020-1472) เพื่อใช้ในการรีเซ็ตรหัสผ่านเครื่องของโดเมนคอนโทรลเลอร์ จากนั้นผู้โจมตีจะทำการเคลื่อนย้ายไปยังคอนโทรลเลอร์รองภายในระบบด้วย Server Message Block (SMB) และ Windows Management Instrumentation (WMI) ด้วยเครื่องมือ Cobalt Strike ซึ่งในขั้นตอนสุดท้ายของการโจมตีกลุ่ม Ryuk Ransomware ได้ติดตั้งแรนซัมแวร์ลงบนเซิร์ฟเวอร์หลักและเซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลสำรอง ตามด้วยเครื่องที่เหลือทั้งหมด

นักวิจัยยังกล่าวว่าผู้โจมตีสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของพวกเขาได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยเหตุการณ์นับจากการโจมตีขั้นแรกด้วยการที่ผู้ใช้งานหลงกลอีเมลฟิชชิงทำให้ Bazar loader ทำงานจนถึงการปล่อยแรนซัมแวร์ใช้เวลาทั้งหมด 5 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบควรรีบทำการอัปเดตเเพตซ์ความปลอดภัยเพื่อเเก้ไขช่องโหว่ Zerologon เป็นการด่วนเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

โดยผู้ที่สนใจรายงานดังกล่าวสามารถอ่านรายละเอียดได้จาก : thedfirreport 

ที่มา : threatpost