แฮ็กเกอร์หลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด Windows 11 ปลอม เพื่อติดตั้งมัลแวร์ Vidar

Zscaler ได้กล่าวในรายงานถึงเว็บไซต์ที่ปลอมเป็นหน้าดาวน์โหลด official Microsoft Windows 11 เวอร์ชันล่าสุด ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายไฟล์ ISO ที่เป็นอันตราย และติดตั้งมัลแวร์ Vidar info-stealer ที่เครื่องปลายทาง และมัลแวร์ Vidar เหล่านี้ยังดึงข้อมูล C2 configuration จากโฮสต์ social media channels ที่ควบคุมโดยผู้โจมตี บนเครือข่าย Telegram และ Mastodon

เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมา ผู้โจมตีได้ลงทะเบียนโดเมนหลายโดเมนที่ใช้ในการกระจายมัลแวร์ โดยรายชื่อโดเมนทั้งหมดที่มีการเชื่อมโยงกับผู้โจมตีจะระบุอยู่ในส่วน Indicators of Compromise (IOC) ด้านล่างของรายงานนี้

บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ยังเตือนถึงการโจมตีของผู้โจมตีซึ่งนอกจากการแพร่กระจายไฟล์ .ISO แล้ว ยังแอบใช้ประโยชน์จาก Adobe Photoshop และซอฟต์แวร์ที่มีการใช้งานตามปกติอื่นๆ เช่น Microsoft Teams เพื่อส่งมัลแวร์ Vidar อีกด้วย

ในส่วนของไบนารีในไฟล์ ISO เป็นไบนารี PE32 และมีขนาดไฟล์ที่ใหญ่ผิดปกติ (มากกว่า 300 MB) ซึ่งจะช่วยให้ผู้โจมตีสามารถหลบเลี่ยงการตรวจจับของระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายที่มีการจำกัดขนาดไฟล์ได้ และไบนารีในไฟล์ ISO ได้ signed ด้วยใบรับรองที่หมดอายุจาก Avast ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะถูกขโมยหลังจากการโจมตีในเดือนตุลาคม 2019

(more…)

พบข้อมูลที่ถูกขโมยโดยมัลแวร์ที่ไม่เคยพบมาก่อนบนคลาวด์กว่า 1.2 TB

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ( 9 มิถุนายน 2564 ) พบฐานข้อมูลบนคลาวด์เป็นข้อมูลที่ถูกขโมยมากว่า 1.2 TB ประกอบไปด้วยข้อมูล cookie และ credentials ที่มาจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows จำนวน 3.2 ล้านเครื่อง จากมัลแวร์ที่ไม่เคยพบมาก่อน ที่เรียกว่า “nameless”

ในบล็อกของ NordLocker บริษัทซอฟต์แวร์เข้ารหัสไฟล์ที่รวมกับที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ที่เข้ารหัสแบบ end-to-end ได้กล่าวไว้ว่า ไวรัสสามารถหลบซ่อนการตรวจจับพร้อมกับข้อมูลที่ขโมยกว่า 6 ล้านไฟล์ ที่ขโมยมาจากเครื่องเดสก์ท็อป และยังสามารถถ่ายภาพผู้ใช้งานได้หากอุปกรณ์นั้นมีเว็บแคม โดยมัลแวร์จะแพร่กระจายผ่านซอฟต์แวร์ Adobe PhotoShop ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เครื่องมือ Crack Windows และเกมส์ละเมิดลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้ทำการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวโดยไม่ได้ตั้งใจและผู้ให้บริการคลาวด์ได้รับแจ้งว่าให้ทำการ take down โฮสต์ดังกล่าวไป ซึ่งข้อมูลที่ถูกขโมยนั้นอยู่ระหว่าง ปี 2018 ถึง 2020 โดยมี cookie กว่า 2 พันล้านรายการ

Sean Nikkel นักวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์อาวุโสของ Digital Shadows ได้กล่าวว่า เรายังคงต้องประสบกับปัญหาทางข้อมูลถูกโจมตีหรือรั่วไหล ตราบใดที่ผู้คนไม่ได้ใช้แนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ดีทั้งหมด ซึ่งหากบริษัทจัดเก็บข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ จะมีตัวเลือกมากมายสำหรับการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ และควรจัดหมวดหมู่ของข้อมูลว่าข้อมูลนั้นจำเป็นหรือเป็นข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผย และควรจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปตามการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้เกิดช่องโหว่ต่าง ๆ และอย่างน้อยที่สุด ให้ทำการเข้ารหัสที่ปลอดภัยให้กับข้อมูล และตรวจสอบ หรือทดสอบระบบเป็นระยะ ๆ

Law Floyd ผู้อำนวยการฝ่ายบริการคลาวด์ของ Telos กล่าวเสริมว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยควรใช้การควบคุมการเข้าถึงที่เข้มงวดกับฐานข้อมูล และตรวจสอบให้แน่ใจว่า port ที่เปิดให้เข้าถึงฐานข้อมูลนั้นเป็น port ที่จำเป็นเท่านั้น และควรสร้าง policy ที่เหมาะสม รวมทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าบุคลากรได้รับการศึกษาเกี่ยวกับ policy เหล่านี้อย่างเหมาะสม

ที่มา : scmagazine

Adobe ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ 50 รายการ ในการอัปเดตแพตช์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2021

Adobe ได้เปิดตัวแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2021 โดยในเดือนกุมภาพันธ์นี้ Adobe ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ 50 รายการที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ 7 รายการ ได้แก่ Adobe Reader, Acrobat, Magento, Photoshop, Animate, Illustrator และ Dreamweaver

ช่องโหว่ที่สำคัญระดับความรุนแรง “Critical” ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-21017 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Heap-based Buffer Overflow ที่อาจทำให้ผู้โจมตีที่เเฝงโค้ดที่เป็นอันตรายบนเว็บไซต์สามารถเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลบนคอมพิวเตอร์ที่มีช่องโหว่ได้ รวมถึงการรันคำสั่งและติดตั้งมัลแวร์บนคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้ โดยช่องโหว่ดังกล่าวจะมีผลกระทบกับ Adobe Acrobat และ Reader สำหรับ Windows และ macOS

นอกเหนือจากช่องโหว่ของผลิตภัณฑ์ Reader แล้ว Adobe ยังได้แก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญอื่น ๆ ในผลิตภัณฑ์ Magento จำนวน 18 รายการ, Acrobat และ Reader จำนวน 23 รายการ, Photoshop จำนวน 5 รายการ, Adobe Animate จำนวน 1 รายการ, Adobe Illustrator จำนวน 2 รายการและ Adobe Dreamweaver จำนวน 1 รายการ

Adobe แนะนำให้ผู้ใช้ทำการรีบอัปเดตแพตช์ด้านความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เพื่อทำการโจมตีระบบที่ไม่ได้รับการอัปเดตแพตช์ด้านความปลอดภัย

ที่มา: bleepingcomputer

Adobe ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical จำนวน 7 รายการ ในการอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนมกราคม 2021

Adobe ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญและมีความรุนแรงระดับ Critical จำนวน 7 รายการในผลิตภัณฑ์ Adobe Photoshop, Illustrator, Animate, Bridge, InCopy, Captivate และ Campaign Classic

ช่องโหว่ที่สำคัญที่ได้รับการแก้ไขบนผลิตภัณฑ์ Adobe Photoshop คือ CVE-2021-21006 เป็นช่องโหว่ Heap-based buffer overflow ที่จะทำให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับ Adobe Photoshop สำหรับ Windows และ macOS

ช่องโหว่ที่สำคัญที่ได้รับการแก้ไขบนผลิตภัณฑ์ Adobe Illustrator คือ CVE-2021-21007 เป็นช่องโหว่ที่เกิดจากข้อผิดพลาดขององค์ประกอบเส้นทางการค้นหาที่ไม่มีการควบคุม (Uncontrolled search path element) ซึ่งอาจนำไปสู่การเรียกใช้โค้ดโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ซึ่งช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับ Adobe Illustrator สำหรับ Windows

ช่องโหว่ที่สำคัญที่ได้รับการแก้ไขบนผลิตภัณฑ์ Adobe Bridge คือ CVE-2021-21012 และ CVE-2021-21013 เป็นช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับ Adobe Bridge สำหรับ Windows เวอร์ชัน 11 และก่อนหน้า

นอกจากนี้ Adobe ยังแก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญใน Adobe Animate (CVE-2021-21008), Adobe InCopy (CVE-2021-21010) และ Adobe Captivate (CVE-2021-21011)

ทั้งนี้ผู้ใช้งานควรทำการอัปเดตและติดตั้งแพตช์ความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: zdnet | threatpost