Microsoft แนะนำวิธีการแก้ไขเบื้องต้นสำหรับช่องโหว่ zero-day ของ Office 365 ที่กำลังถูกโจมตีในช่วงนี้

Microsoft ได้ออกมาแนะนำวิธีการรับมือเบื้องต้นสำหรับช่องโหว่ การรันคำสั่งที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (Remote Code Execution) ที่ถูกใช้งานในการโจมตี Office 365 และ Office 2019 บน Windows 10

ช่องโหว่นี้เกิดขึ้นที่ MSHTML ซึ่งเป็น Browser Rendering Engine ที่ถูกใช้โดยเอกสาร Microsoft Office

โดยการโจมตี Office 365 นี้ ถูกจัดให้เป็นช่องโหว่หมายเลข CVE-2021-40444 ซึ่งมีผลกระทบกับ Windows Server เวอร์ชัน 2008 จนถึง 2019 และ Windows 8.1 จนถึง Windows 10 โดยมีระดับความรุนแรงที่ 8.8 จากระดับสูงสุด 10

Microsoft พบว่าผู้ที่ใช้ช่องโหว่นี้จะทำการส่งไฟล์เอกสาร Microsoft Office ที่ถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษไปให้เหยื่อ

“ผู้โจมตีจะสร้าง ActiveX ที่มีโค้ดอันตราย ซึ่งจะถูกเรียกใช้ผ่านเอกสาร Microsoft Office ที่ใช้งาน Browser Rendering Engine อีกที โดยผู้โจมตีจะพยายามโน้มน้าวเหยื่อให้เปิดไฟล์เอกสารเพื่อให้โค้ดอันตรายที่ถูกฝังไว้ทำงาน” - Microsoft กล่าว

อย่างไรก็ตาม การโจมตีจะไม่สำเร็จหาก Microsoft Office ตั้งค่าที่เป็นค่าเริ่มต้น ซึ่งจะทำให้เอกสารที่เปิดจากเว็บนั้นถูกเปิดในโหมด Protected View หรือในผู้ใช้งานมีการใช้ Application Guard for Office 365 การโจมตีจะไม่สำเร็จเช่นกัน

Protected View เป็นโหมดอ่านอย่างเดียว (Read-Only) ที่จะทำให้ฟังก์ชันสำหรับการแก้ไขเอกสารถูกปิดไว้ ในขณะที่ Application Guard นั้นจะแยกไฟล์เอกสารที่ไม่น่าเชื่อถือไว้ ไม่ให้สามารถเข้าถึงระบบภายในขององค์กรได้

ระบบที่มีการเปิดใช้งาน Microsoft Defender Antivirus และ Defender for Endpoint (build 1.349.22.0 เป็นต้นไป) จะได้รับการป้องกันจากช่องโหว่ CVE-2021-40444 โดยแพลตฟอร์ม Microsoft's enterprise security จะแจ้งเตือนการโจมตีด้วยช่องโหว่นี้ด้วยชื่อ "Suspicious Cpl File Execution.

แจ้งเตือนปัญหาใน Remote Desktop Web Access ใช้เดา Username ได้ ไมโครซอฟต์ไม่แก้ไขแพตช์เพราะไม่ใช่ช่องโหว่

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Matt Dunn จาก Raxis ได้เปิดเผยปัญหา Timing attack ใน Remote Desktop (RD) Web Access ของไมโครซอฟต์ซึ่งเป็นเว็บแอปสำหรับฟีเจอร์ Remote desktop ปัญหาดังกล่าวถูกเรียกว่า Timing attack ที่ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถคาดเดาชื่อบัญชีผู้ใช้งานได้

ปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนของการพิสูจน์ตัวตน หากมีการพยายามพิสูจน์ตัวตนด้วยบัญชีผู้ใช้งานที่ไม่มีอยู่จริง ระบบเบื้องหลังของ RD Web Access จะใช้เวลาประมวลผลประมาณ 4000 มิลลิวินาที ในขณะเดียวกันหากมีการใช้ชื่อบัญชีที่มีอยู่จริงแต่รหัสผ่านผิด ระบบเบื้องหลังจะตอบกลับมาโดยใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 232 มิลลิวินาทีเท่านั้น อัตราส่วนความแตกต่างของเวลาในการตอบกลับทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้ปัจจัยดังกล่าวในการระบุหาชื่อบัญชีผู้ใช้งานได้ หากผู้โจมตีทราบชื่อของโดเมน Active Directory

ปัญหานี้เกิดขึ้นกับ Windows Server 2016 และ 2019 และมีการพัฒนาโมดูลของ Metasploit ขึ้นมาเพื่อใช้โจมตีแล้วที่ตำแหน่ง auxiliary/scanner/http/rdp_web_login

Raxis ได้มีการรายงานปัญหาดังกล่าวไปยังไมโครซอฟต์ อย่างไรก็ตามอ้างอิงจากไทม์ไลน์การแจ้งช่องโหว่ Microsoft ปฏิเสธที่จะสนับสนุนและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยนี้

เราขอแนะนำให้ผู้ดูแลระบบตั้งค่าการเข้าถึง RD Web Access ผ่าน VPN เพื่อให้สามารถควบคุมการเข้าถึงได้, เปิดใช้ ISA หรือเซอร์วิส Microsoft Federation และบังคับให้ RD Web Access ต้องวิ่งผ่านเพื่อลดผลกระทบจากการโจมตี รวมไปถึงเปิดใช้ Multi factor authentication ด้วย

ที่มาFebruary: raxis

นักวิจัยด้านความปลอดภัยเปิดเผยรายละเอียดช่องโหว่บน Windows NT LAN Manager ที่ Microsoft เพิ่งทำการแก้ไขช่องโหว่

Yaron Zinar นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท Preempt ได้เปิดเผยถึงรายละเอียดของช่องโหว่ใน Windows NT LAN Manager (NTLM) ที่ Microsoft ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวแล้วในการอัปเดตความปลอดภัยประจำเดือนหรือ Patch Tuesday เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-1678 (CVSSv3: 4.3/10) ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการอธิบายจาก Microsoft ว่าเป็นช่องโหว่ที่สามารถ Bypass ฟีเจอร์ความปลอดภัยของ Windows NT LAN Manager (NTLM) โดยช่องโหว่ดังกล่าวอยู่ใน IRemoteWinSpool MSRPC interface ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซสำหรับ Printer Remote Procedure Call (RPC) ที่ออกแบบมาสำหรับการจัดการตัวจัดคิวของเครื่องพิมพ์เอกสารจากระยะไกล ซึ่งช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถรีเลย์เซสชันการตรวจสอบสิทธิ์ NTLM ไปยังเครื่องที่ถูกโจมตีและใช้ MSRPC interface ของ Printer spooler เพื่อเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลบนเครื่องที่ถูกโจมตี

ช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับ Windows ทุกรุ่น ได้แก่ Windows Server, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2008, Windows Server 2016, Windows Server 2019, RT 8.1, 8.1, 7 และ 10

ทั้งนี้นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้กล่าวว่าพวกเขามีโค้ด Proof-of-Concept (POC) สำหรับช่องโหว่และสามารถใช้งานได้ แต่จะยังไม่ทำการเผยเเพร่สู่สาธารณะ อย่างไรก็ดีผู้ใช้และผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: securityweek | thehackernews

พบการปล่อยโค้ดโจมตีสำหรับช่องโหว่ CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610

พบการปล่อยโค้ดโจมตีสำหรับช่องโหว่ CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610

ช่องโหว่ใน Windows RD Gateway (CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถรันคำสั่งจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution) โดยที่ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบ เพียงแค่เชื่อมต่อด้วย RDP และส่ง request อันตรายไปยังเครื่องเป้าหมายเท่านั้น ส่งผลกระทบ Windows Server 2012, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2016 และ Windows Server 2019 ทั้งสองช่องโหว่เพิ่งได้รับการแก้ไขในแพตช์ประจำเดือนมกราคม 2020

ปัจจุบันมีการปล่อยตัวแสกนหาช่องโหว่และโค้ดสำหรับโจมตีออกมาแล้ว ซึ่งโค้ดสำหรับโจมตีที่ถูกปล่อยมานี้ยังไม่ใช้โค้ดที่ทำการโจมตีเพื่อการรันคำสั่งจากระยะไกล เป็นเพียงโค้ดสำหรับการโจมตีเพื่อให้หยุดทำงาน (Denial-of-Service) เท่านั้น แต่เป็นไปได้ที่จะมีความพยายามต่อยอดโค้ดโจมตีดังกล่าวให้ร้ายแรงขึ้นในไม่ช้า

สามารถอ่านรายละเอียดของช่องโหว่ CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610 โดยละเอียดได้จาก kryptoslogic โดยบทความดังกล่าวระบุว่าช่องโหว่ทั้งสองเกิดจากความผิดพลาดในส่วนจัดการ UDP

ที่มา : MalwareTechBlog

Microsoft’s January 2020 Patch Tuesday Fixes 49 Vulnerabilities

ช่องโหว่สำคัญในแพตช์ประจำเดือนมกราคม 2020 จากไมโครซอฟต์
ไมโครซอฟต์ออกแพตช์ประจำเดือนมกราคม 2020 แก้ไขทั้งหมด 49 ช่องโหว่ โดยแพตช์นี้จะเป็นแพตช์ด้านความปลอดภัยสุดท้ายสำหรับ Windows Server 2008 และ Windows 7 ที่หมดระยะการสนับสนุนแล้ว ในช่องโหว่เหล่านั้นมีช่องโหว่ที่สำคัญและควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ 4 ช่องโหว่ เป็นช่องโหว่ระดับ Critical ทั้งหมด เป็นช่องโหว่ใน CryptoAPI 1 ช่องโหว่ (CVE-2020-0601) และช่องโหว่ใน Windows RD Gateway และ Windows Remote Desktop Client 3 ช่องโหว่ (CVE-2020-0609, CVE-2020-0610 และ CVE-2020-0611)
ช่องโหว่ใน CryptoAPI (CVE-2020-0601) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถปลอม digital certificate เพื่อทำให้โปรแกรมอันตรายน่าเชื่อถือได้ หรือปลอมเพื่อทำ man-in-the-middle (MiTM) เพราะ Windows CryptoAPI ทำการตรวจสอบความถูกต้องของ digital certificate ได้ไม่ดีพอ ช่องโหว่นี้ส่งผลกระทบกับ Windows 10 ทั้งหมดซึ่งจะรวมไปถึง Windows Server 2016 และ 2019 ช่องนี้ค้นพบโดย National Security Agency (NSA) ซึ่งได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องโหว่ไว้ที่ Media Defense

ช่องโหว่ใน Windows RD Gateway (CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถรันคำสั่งจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution) โดยที่ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบ เพียงแค่เชื่อมต่อด้วย RDP และส่ง request อันตรายไปยังเครื่องเป้าหมายเท่านั้น ส่งผลกระทบ Windows Server 2012, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2016 และ Windows Server 2019
ช่องโหว่ใน Windows Remote Desktop Client (CVE-2020-0611) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถรันคำสั่งจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution) เมื่อ Windows Remote Desktop Client เชื่อมต่อไปยัง server ที่เป็นอันตราย ซึ่งการเชื่อมต่อไปยัง server ที่เป็นอันตรายอาจเกิดได้จาก social engineering, Domain Name Server (DNS) poisoning, man-in the-middle หรือผู้โจมตีสามารถควบคุมเครื่อง server ได้ ส่งผลกระทบ Windows ทุกรุ่นที่ยังได้รับการสนับสนุน และมีแพตช์ให้กับ Windows 7 และ Windows 2008 R2
ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบควรอัปเดตแพตช์เพื่อความปลอดภัย

ที่มา - bleepingcomputer - Us-Cert

more info
https://thehackernews.