ASUS ออกแพตซ์แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ในเราเตอร์บางรุ่น

ASUS ออกแพตซ์แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ในเราเตอร์บางรุ่น โดยแนะนำให้ผู้ใช้งานทำการติดตั้งการอัปเดตเฟิร์มแวร์ทันที ซึ่งรุ่นที่ได้รับผลกระทบได้แก่ GT6, GT-AXE16000, GT-AX11000 PRO, GT-AX6000, GT-AX11000, GS-AX5400, GS-AX3000, XT9, XT8, XT8 V2, RT-AX86U PRO, RT-AX86U, RT-AX86S, RT-AX82U, RT-AX58U, RT-AX3000, TUF-AX6000 และ TUF-AX5400

บริษัทได้ออกอัปเดตเฟิร์มแวร์ เพื่อแก้ไขช่องโหว่ 9 รายการ ได้แก่ CVE-2023-28702, CVE-2023-28703, CVE-2023-31195, CVE-2022-46871, CVE-2022-38105, CVE-2022-35401, CVE-2018 -1160, CVE-2022-38393 และ CVE-2022-26376

และมี 2 ช่องโหวที่มีระดับ Critical (CVSS 9.8/10) รายละเอียดดังนี้

CVE-2022-26376 เป็นช่องโหว่ Memory corruption ที่อยู่ในฟังก์ชัน httpd unescape ของ Asuswrt ในเวอร์ชันก่อน 3.0.0.4.386_48706 และ Asuswrt-Merlin New Gen ในเวอร์ชันก่อน 386.7 โดยผู้โจมตีสามารถทำการโจมตีได้โดยการส่งคำขอ HTTP ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ ไปยังเราเตอร์ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจะทำให้เกิด Memory corruption
CVE-2018-1160 เป็นช่องโหว่ Out-Of-Bounds Write ที่อยู่ใน dsi_opensess.

Microsoft ออกเเพตช์แก้ไขช่องโหว่จำนวน 82 รายการ ใน Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนมีนาคม 2021

Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนมีนาคม 2021 โดยในเดือนนี้ Microsoft ได้ออกเเพตช์เพื่อเเก้ไขช่องโหว่เป็นจำนวน 82 รายการ ซึ่งช่องโหว่จำนวน 10 รายการ ถูกจัดเป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรง Critical และอีก 72 รายการ เป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรง Important ซึ่งช่องโหว่จำนวน 82 รายการนี้ไม่รวมช่องโหว่ของ Microsoft Exchange จำนวน 7 รายการและ Chromium Edge อีก 33 รายการที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนนี้ที่ผ่านมา สำหรับเเพตช์ที่ได้รับการเเก้ไขและน่าสนใจมีดังนี้

ช่องโหว่ Zero-day ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-26411 ถูกจัดเป็นช่องโหว่ประเภท Memory Corruption ใน Internet Explorer ที่ถูกแฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือนำไปใช้โจมตีนักวิจัยด้านความปลอดภัย

ช่องโหว่ Zero-day อีกช่องโหว่หนึ่งที่น่าสนใจถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-27077 ถูกจัดเป็นช่องโหว่ประเภทการยกระดับสิทธิ์ (Elevation of Privilege) ใน Windows Win32k โดยช่องโหว่นี้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะโดย Trend Micro Zero Day Initiative

นอกจากช่องโหว่ที่กล่าวมานี้ Microsoft ยังออกแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยสำหรับฟีเจอร์และบริการต่าง ๆ เช่น Microsoft Windows Codecs Library, Windows Admin Center, DirectX, Event Tracing, Registry, Win32K และ Windows Remote Access API

ทั้งนี้ผู้ใช้ควรทำการอัปเดตเเพตช์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายการโจมตีจากผู้ประสงค์ร้าย สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการอัปเดตเเพตช์ของ Windows สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: microsoft

ที่มา: bleepingcomputer

Google Project Zero พาแกะ 3 ฟีเจอร์ใหม่ใน iMessage ของ iOS 14 ลดโอกาสโดน Zero-CLick Exploit ได้

Samuel Groß นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Google Project Zero ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยใหม่เกี่ยวกับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใน iOS 14 ในส่วนของ iMessage ซึ่งตกเป็นเป้าหมายในการถูกโจมตีแบบ Zero-click อยู่บ่อยครั้ง โดยงานวิจัยนี้เกิดจากการทำ Reverse engineering กับกระบวนการทำงานของ iMessage ในเวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์

สำหรับฟีเจอร์แรกนั้นถูกเรียกว่าเซอร์วิส BlastDoor ซึ่งเป็นส่วนโมดูลใหม่สำหรับประมวลผลข้อมูลไบนารี อาทิ ไฟล์แนบ, ลิงค์และไฟล์รูปข้างใน Sandbox ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อออกสู่เครือข่ายได้ ผลลัพธ์ของการแยกประมวลผลนี้ทำให้การจัดเรียงกันของหน่วยความจำนั้นแตกต่างออกไปและเพิ่มความเป็นไปได้ยากในการที่จะทำการโจมตีในลักษณะของ Memory corruption

ฟีเจอร์ส่วนที่สองนั้นถูกเรียกว่า Shared cache resliding โดยเป็นการปรับปรุงส่วนของ Shared cache ในหน่วยความจำ ส่วนของ Shared cache เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่มีการเก็บตำแหน่งของฟังก์ชันของระบบเอาไว้และจะถูกสุ่มภายใต้ฟีเจอร์ ASLR เฉพาะเมื่อมีการบูต เนื่องจากการสุ่มตำแหน่งโดย ASLR ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก การโจมตีในบางเทคนิคสามารถนำไปสู่การระบุหาแอดเดรสใน Shared cache ซึ่งนำไปสู่การข้ามผ่านฟีเจอร์ ASLR ได้ ใน iOS 14 ปัญหาในส่วนนี้ถูกแก้โดยการเพิ่มเงื่อนไขในการสุ่มตำแหน่งของข้อมูลใน Shared cache สำหรับเซอร์วิสใดๆ เมื่อเซอร์วิสเริ่มทำงานแทน ซึ่งทำให้การข้ามผ่านฟีเจอร์ ASLR เป็นไปได้ยากขึ้นหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย

ฟีเจอร์ส่วนสุดท้ายยังคงอยู่ในแนวทางของการป้องกันการข้ามผ่านฟีเจอร์ ASLR ซึ่งมาในลักษณะของการ Brute force โดยใน iOS 14 นั้นเซอร์วิสอย่าง BlastDoor จะถูกตั้งค่าและควบคุมให้อยู่ในกลไกที่ชื่อ ExponentialThrottling ซึ่งจะทำการหน่วงเวลาของการรีสตาร์ทหากโปรเซสหรือเซอร์วิสมีการแครช ฟีเจอร์ ExponentialThrottling ถูกบังคับใช้เฉพาะกับกลไกที่สำคัญ ดังนั้นผลกระทบของเวลาที่ถูกหน่วงในแต่ละครั้งจะไม่กระทบต่อการใช้งานทั่วไป จากการตรวจสอบโดย Samuel เวลาหน่วงที่มากที่สุดหลังจากมีการแครชและจำนวนเวลาถูกเพิ่มไปเรื่อยๆ นั้นคือ 20 นาที

สำหรับใครที่สนใจทางด้าน Exploitation โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมของ macOS และ iOS สามารถอ่านรายละเอียดจากการ Reverse engineer ได้ที่ : googleprojectzero

ที่มา: zdnet

Palo Alto Networks Security Advisories November 2020 Updates

Palo Alto Networks ประกาศ 5 ช่องโหว่ใหม่ใน PAN-OS

เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา Palo Alto Networks ประกาศแพตช์จำนวน 5 ช่องโหว่ให้แก่ PAN-OS โดยมี 3 ช่องโหว่ที่มีคะแนน CVSSv3 สูงกว่า 7 คะแนน ช่องโหว่ที่น่าสนใจมีดังต่อไปนี้

CVE-2020-2050: ช่องโหว่ Authentication bypass ในกระบวนการตรวจสอบใบอนุญาตของไคลเอนต์ GlobalProtect กระทบ PAN-OS ในรุ่น 8.1 ถึง 10.0 ช่องโหว่นี้สามารถโจมตีได้ผ่านทางเครือข่าย ทำได้ง่ายและผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องระบุตัวตน
CVE-2020-2022: ช่องโหว่ Session disclosure ใน Panorama ระหว่างการเปลี่ยน context ไปเป็น managed device กระทบ PAN-OS ในรุ่น 8.1 ถึง 10.0
CVE-2020-2000: ช่องโหว่ OS command injection และ Memory corruption กระทบ PAN-OS ในรุ่น 8.1 ถึง 10.0

ช่องโหว่ทั้งหมดได้รับการแพตช์ออกมาเป็น minor version ใหม่ เช่น หากช่องโหว่กระทบ PAN-OS 10.0.0 แพตช์จะถูกปล่อยออกมาในเวอร์ชัน 10.0.1 ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบรายละเอียดของแพตช์และช่องโหว่ได้จากแหล่งที่มา

ที่มา: security.

พบช่องโหว่ Zero-day ใน Chrome จะทำให้ผู้โจมตีสามารถ Hijack คอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเป้าหมายได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Sergei Glazunov จากทีม Google Project Zero ได้เปิดเผยถึงการค้นพบช่องโหว่ Zero-day บนเว็บเบราว์เซอร์ Google Chrome สำหรับ Windows, Mac และ Linux โดยช่องโหว่นี้จะทำให้ผู้โจมตีสามารถ Hijack คอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเป้าหมายได้

ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-15999 เป็นช่องโหว่ประเภท Memory corruption โดยช่องโหว่ถูกพบใน FreeType ซึ่งเป็นไลบรารีการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สยอดนิยมสำหรับการแสดงผลแบบอักษรที่มาพร้อมกับ Chrome

หลังจากค้นพบช่องโหว่ Glazunov ได้ทำการรายงานช่องโหว่ Zero-day ไปยังนักพัฒนา FreeType ทันที ซึ่ง Glazunov มีความกังวลว่าผู้ประสงค์ร้ายจะใช้ช่องโหว่จากไลบรารี FreeType นี้ทำการโจมตีระบบอื่นๆ ซึ่งปุจจุบันยังไม่พบการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ แต่เนื่องจากไลบรารี FreeType เป็นโปรเจ็กต์โอเพ่นซอร์สจึงคาดว่าผู้ประสงค์ร้ายจะสามารถทำ reverse-engineer ของ zero-day ได้และจะสามารถหาช่องโหว่ของตัวเองได้ภายในไม่กี่วันหรือกี่สัปดาห์ โดยเมื่อได้รับการเเจ้งเตือนทีมผู้พัฒนา FreeType ได้ออกแพตช์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้วใน FreeType เวอร์ชัน 2.10.4 แล้ว

ทั้งนี้ Google เปิดตัว Chrome เวอร์ชัน 86.0.4240.111 เพื่อเเก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยดังกล่าว ผู้ใช้ควรทำการอัปเดต Google Chrome ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดทันทีเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายทำการโจมตีผู้ใช้และระบบ

ที่มา: thehackernews | zdnet

Apple ปล่อยแพตช์ความปลอดภัย ช่องโหว่บางรายการถูกใช้โจมตีแล้ว

Apple ประกาศแพตช์ด้านความปลอดภัยเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา โดยแพตช์ซึ่งออกมานั้นมีการปิดการโจมตีช่องโหว่ zero-day ทั้ง 3 รายการใน iOS ซึ่งตรวจพบว่าถูกใช้โดยผู้ไม่ประสงค์ดีแล้วโดย Google Project Zero

Google Project Zero ตรวจพบว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีกำลังใช้ช่องโหว่ 3 รายการได้แก่ CVE-2020-27930, CVE-2020-27932 และ CVE-2020-27950 ในการโจมตีจริง ช่องโหว่แรกนั้นเป็นช่องโหว่ memory corruption ในไลบรารี FontParser ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากไฟล์ฟอนต์แบบพิเศษได้ สองช่องโหว่ที่เหลือเป็นช่องโหว่สำหรับยกระดับสิทธิ์ และช่องโหว่ที่ช่วยข้ามผ่านมาตราการด้านความปลอดภัย

อุปกรณ์ที่ได้รับการแพตช์ได้แก่ iOS, iPadOS, macOS และ watchOS ซึ่งสามารถทำได้อัปเดตได้ทันทีจากหน้าต่างการตั้งค่าของอุปกรณ์ ขอให้ทำการอัปเดตทันทีเพื่อลดความเสี่ยงจากช่องโหว่

ที่มา: thehackernews

Adobe ออกแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคม 2019 เพื่อแก้ไข 21 ช่องโหว่ใน Acrobat,Reader, Brackets, Photoshop และ ColdFusion

 

Adobe ออกแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับ Critical ในอุปกรณ์ดังนี้

แก้ไขช่องโหว่ memory corruption ใน Photoshop CC ส่งผลกระทบทำให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งที่เป็นอันตรายด้วย User ที่ใช้งานอยู่
แก้ไขช่องโหว่ command injection ใน Brackets โดย Tavis Ormandy นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Google Project Zero เบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญยังไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับช่องโหว่ดังกล่าว
แก้ไขช่องโหว่ Privilege escalation ใน ColdFusion ที่เกิดจากการเข้าถึงโฟลเดอร์ที่ไม่ปลอดภัยจากค่าเริ่มต้น บริษัทตั้งข้อสังเกตว่าผู้ใช้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอน lockdown ระหว่างการติดตั้งจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

Adobe กล่าวว่ายังไม่พบหลักฐานว่าข้อผิดพลาดเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในทางไม่ดีและได้ทำการแจ้งลูกค้าว่าการสนับสนุน Acrobat 2015 และ Reader 2015 จะสิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2020 และผลิตภัณฑ์จะไม่ได้รับแพตช์รักษาความปลอดภัยอีกต่อไปหลังจากนั้น

ที่มา securityweek

New Crucial Vulnerabilities in Apple’s bluetoothd daemon

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Zimperium ประกาศการค้นพบช่องโหว่ 2 ช่องโหว่ในตัวจัดการเซอร์วิสบลูทูธในอุปกรณ์ของ Apple ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีทีทำการโจมตีช่องโหว่ดังกล่าวสามารถข้ามผ่านระบบป้องกันและรันโคดที่เป็นอันตรายได้

Rani Idan ผู้ค้นช่องโหว่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องโหว่ว่า สำหรับช่องโหว่แรกรหัส CVE-2018-0495 เป็นช่องโหว่ memory corruption ที่ทำให้ผู้โจมตีรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้โดยข้ามผ่านระบบป้องกันอย่าง ASLR ได้อย่างสมบูรณ์ ส่วนช่องโหว่ที่สองรหัส CVE-2018-4087 นั้นเป็นช่องโหว่ในลักษณะเดียวกันแต่มีผลกระทบไปถึงเซอร์วิสอื่นๆ ของระบบด้วย

ทั้งสองช่องโหว่ได้รับการแพตช์ใน iOS 11.2.5, watchOS 4.2.2 และ tvOS 11.2.5 แล้ว แนะนำให้อัปเดตแพตช์โดยด่วน

ที่มา : zimperium

Patch now! Flash-exploitin’ PC-hijackin’ attack spotted in the wild by Huawei bods

Adobe ต้องออก Patch มาอุดช่องโหว่ที่มีคนกำลังใช้โจมตีผู้ใช้งาน Flash กันอยู่ โดยหนึ่งในช่องโหว่นี้ถูกรายงานโดยทีมงาน IT Security ของ Huawei ซึ่ง Adobe เองก็ได้เปิดเผยว่าช่องโหว่นี้กำลังถูกใช้โจมตีผู้ใช้งานบางกลุ่มแบบ Targeted Attack อยู่ และแนะนำให้ผู้ใช้งาน Adobe Flash ทุกคนทำการอัพเดตโดยทันที

ในครั้งนี้เป็นการ Patch เพื่ออุดช่องโหว่ถึง 19 ช่องด้วยกัน โดยมีทั้งช่องโหว่ Type Confusion, Integer Overflow, Use-after-free() และ Memory Corruption

สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยนั้น ผู้ใช้งาน Windows หรือ Mac จะต้องใช้ Flash รุ่น 20.0.0.267 หรือ 18.0.0.324 จึงจะถือว่าปลอดภัย ส่วนผู้ใช้งาน Google Chrome ต้องอัพถึงรุ่น 20.0.0.267 จึงจะปลอดภัย ในขณะที่ผู้ใช้งาน MS Edge และ MS IE 11 บน Windows 10 จะต้องใช้งานรุ่น 20.0.0.267 จึงจะปลอดภัย ส่วนผู้ใช้งาน MS IE 10 และ IE 11 บน Windows 8.x ต้องอัพถึงรุ่น 20.0.0.267 จึงจะปลอดภัย และผู้ใช้งาน Linux ต้องอัพถึงรุ่น 11.2.202.559 ถึงจะปลอดภัย

ที่มา : theregister