Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2021 มาแล้ว พบบางช่องโหว่ถูกใช้โจมตีจริง แนะนำให้ทำการแพตช์โดยด่วน

ไมโครซอฟต์ประกาศแพตช์ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยใน Patch Tuesday รอบเดือนกุมภาพันธ์ 2021 เมื่อวานนี้ ซอฟต์แวร์ที่ได้รับแพตช์ในรอบนี้สูงสุดยังคงเป็น Windows ซึ่งได้รับแพตช์ไปทั้งหมด 28 รายการจากทั้งหมด 64 CVE ในมุมของผลกระทบนั้น มีช่องโหว่ทั้งหมด 11 รายการที่ถูกระบุอยู่ในเกณฑ์ Critical

จากรายการที่ประกาศ ทีมนักวิจัยจาก DB App Security ได้ตรวจพบว่าช่องโหว่ CVE-2021-1732 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Privilege escalation ใน Windows Kernel ได้ถูกนำมาใช้โจมตีจริงโดยกลุ่ม APT ทีมนักวิจัยได้มีการเขียนรายงานการตรวจพบและการวิเคราะห์ช่องโหว่เอาไว้ ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มได้ที่ dbappsecurity

ในขณะเดียวกัน มีการค้นพบช่องโหว่ RCE ระดับ Critical (CVSS 9.8/10) ใน TCP/IP stack ของ Windows ทั้งหมด 2 รายการ จากลักษณะของช่องโหว่ มีความเป็นไปได้สูงว่าช่องโหว่สามารถถูกโจมตีได้จากระยะไกลเพื่อรันโค้ดที่เป็นอันตราย

แพตช์ล่าสุดในรอบนี้ยังมีการแก้แพตช์ช่องโหว่รหัส CVE-2021-1733 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Privilege escalation ในเครื่องมือ PsExec ด้วย ช่องโหว่นี้ได้เคยมีการพยายามแก้ไขแพตช์ในเครื่องมือ PsExec แล้วเมื่อเดือนมกราคม อย่างไรก็ตามนักวิจัยด้านความปลอดภัย David Wells ระบุว่าแพตช์ที่เกิดขึ้นในเดือนมกราคมนั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งส่งผลให้แพตช์ถูกบายพาสและยังคงโจมตีช่องโหว่ได้

ขอให้ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบดำเนินการอัปเดตแพตช์โดยด่วนเพื่อจัดการความเสี่ยงที่จะมีการโจมตีโดยใช้ช่องโหว่เหล่านี้

ที่มา: zdnet,dbappsecurity,twitter,bleepingcomputer

SAP ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่จำนวน 19 รายการ ในเเพตซ์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2020

SAP ออกเเพตซ์การอัปเดตความปลอดภัยประจำเดือนพฤศจิกายน 2020 โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ SAP ได้ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญ 19 รายการ ซึ่งช่องโหว่ที่ได้รับการเเก้ไขนี้จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ Solution Manager (SolMan), Data Services, ABAP, S4/HANA และ NetWeaver อย่างไรก็ดีช่องโหว่ที่ความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-26821, CVE-2020-26822, CVE-2020-26823, CVE-2020-26824 และ CVE-2020-6207 (CVSSv3: 10/10) เป็นช่องโหว่ที่เกิดจากปัญหาในการตรวจสอบการพิสูจน์ตัวตนใน SAP Solution Manager (Java stack) ช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP Solution Manager (JAVA stack) เวอร์ชัน 7.2
ช่องโหว่ CVE-2019-0230, CVE-2019-0233 (CVSSv3: 9.8/10) เป็นช่องโหว่ภายใน SAP Data Services โดยช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP Data Services เวอร์ชัน 4.2
ช่องโหว่ CVE-2020-26808 (CVSSv3: 9.1/10) เป็นช่องโหว่ Code injection ใน SAP AS ABAP และ S/4 HANA (DMIS) โดยช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP AS ABAP(DMIS) เวอร์ชัน 2011_1_620, 2011_1_640, 2011_1_700, 2011_1_710, 2011_1_730, 2011_1_731, 2011_1_752, 2020 และ SAP S4 HANA(DMIS) เวอร์ชัน 101, 102, 103, 104, 105
ช่องโหว่ CVE-2020-26820 เป็นช่องโหว่การยกระดับสิทธิ หรือ Privilege escalation ใน SAP NetWeaver Application Server for Java (UDDI Server) โดยช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP NetWeaver AS Java เวอร์ชัน 7.20, 7.30, 7.31, 7.40, 7.50
ช่องโหว่ CVE-2020-6284 เป็นช่องโหว่ Cross-site scripting (XSS) ใน SAP NetWeaver โดยช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP NetWeaver เวอร์ชัน 7.30, 7.31, 7.40, 7.50

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานควรรีบทำการอัปเดตเเพตซ์เป็นการด่วนเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา: wiki.

Adobe ออกแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคม 2019 เพื่อแก้ไข 21 ช่องโหว่ใน Acrobat,Reader, Brackets, Photoshop และ ColdFusion

 

Adobe ออกแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับ Critical ในอุปกรณ์ดังนี้

แก้ไขช่องโหว่ memory corruption ใน Photoshop CC ส่งผลกระทบทำให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งที่เป็นอันตรายด้วย User ที่ใช้งานอยู่
แก้ไขช่องโหว่ command injection ใน Brackets โดย Tavis Ormandy นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Google Project Zero เบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญยังไม่ได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับช่องโหว่ดังกล่าว
แก้ไขช่องโหว่ Privilege escalation ใน ColdFusion ที่เกิดจากการเข้าถึงโฟลเดอร์ที่ไม่ปลอดภัยจากค่าเริ่มต้น บริษัทตั้งข้อสังเกตว่าผู้ใช้ที่ปฏิบัติตามขั้นตอน lockdown ระหว่างการติดตั้งจะไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

Adobe กล่าวว่ายังไม่พบหลักฐานว่าข้อผิดพลาดเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในทางไม่ดีและได้ทำการแจ้งลูกค้าว่าการสนับสนุน Acrobat 2015 และ Reader 2015 จะสิ้นสุดในวันที่ 7 เมษายน 2020 และผลิตภัณฑ์จะไม่ได้รับแพตช์รักษาความปลอดภัยอีกต่อไปหลังจากนั้น

ที่มา securityweek

อธิบายเจาะลึกเทคนิคยกระดับสิทธิ์ใหม่บนลินุกซ์ “SUDO_INJECT”

เมื่อช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา นักวิจัยด้านความปลอดภัย chaignc จากทีม HexpressoCTF ได้มีเปิดเผยเทคนิคใหม่ในการโจมตี sudo ในระบบปฏิบัติการลินุกซ์เพื่อช่วยยกระดับสิทธิ์ของบัญชีผู้ใช้งานปัจจุบันให้มีสิทธิ์สูงขึ้นภายใต้ชื่อการโจมตีว่า SUDO_INJECT

ในบล็อกนี้ ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จะมาอธิบายถึงรายละเอียดการทำงานของ sudo ซึ่งทำให้เกิดเป็นช่องโหว่แบบ In-depth Vulnerability Analysis เพื่อความเข้าใจในสาเหตุการเกิดขึ้นของช่องโหว่นี้กันครับ

ทำความเข้าใจ Exploit
จากไฟล์ exploit ซึ่งปรากฎในโครงการของผู้ค้นพบช่องโหว่ เราจะมาทำความเข้าใจ exploit ซึ่งทำให้เราได้สิทธิ์ root ที่อยู่ในไฟล์ exploit.

Read more 1 Comment

Juniper patches Logjam, Bar Mitzvah, and various Java vulns

Juniper Networks ออกแพทช์สำหรับอุดช่องโหว่ครั้งใหญ่บนอุปกรณ์หรือแพลทฟอร์ม Junos Space เวอร์ชั่นก่อนหน้า 15.2R1 ไม่ว่าจะเป็นช่องโหว่ Privilege Escalation, CSRF, Default Authentication Credential, Information Leak และ Command Injection
นอกจากนี้ยังค้นพบช่องโหว่ที่ช่วยให้แฮกเกอร์สามารถรันโค้ดจากระยะไกลได้ ซึ่งช่องโหว่นี้ถูกค้นพบขณะทำ Internal Review โดยมีสาเหตุมาจาก Java SE รวมแล้วอีก 6 รายการ ได้แก่ CVE-2015-4748, CVE-2015-2601, CVE-2015-2613, CVE-2015-4749, CVE-2015-2625 และ CVE-2015-2659 ผู้ดูแลระบบสามารถอุดช่องโหว่ได้ด้วยการอัพเดท Java Runtime ไปเป็นเวอร์ชั่น 1.7.0 update 85
แพทช์ล่าสุดของ Junos Space ยังช่วยอุดช่องโหว่ชื่อดังอย่าง Bar Mitzvah และ Logjam ที่ใช้โจมตี RC4 และ TLS Implementation อีกด้วย
Juniper Networks แนะนำให้อัพเดท Junos Space เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด คือ 15.2R1 รวมทั้งควรแยก Junos Space ออกมาจากระบบเครือข่ายปกติ โดยให้เข้าถึงได้เฉพาะเครือข่ายที่เชื่อถือได้เท่านั้น นอกจากนี้ ควรรัน “Jump boxes” โดยไม่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง

ที่มา : theregister