Chrome ออกแพตช์ Update เวอร์ชัน 114 แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical

Chrome ออกแพตช์ Update เวอร์ชัน 114 แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Google ออกอัปเดตด้านความปลอดภัยของ Chrome browser เวอร์ชัน 114 เพื่อแก้ไขช่องโหว่ 5 รายการ รวมถึงช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง 4 รายการ ซึ่งถูกรายงานโดยนักวิจัยจากภายนอก

ช่องโหว่ที่สำคัญที่สุดคือ CVE-2023-3214 ซึ่งมีระดับความรุนแรงสูง เป็นช่องโหว่ use-after-free ในการชำระเงินอัตโนมัติ (Autofill payments) ซึ่งได้รับการรายงานโดย Rong Jian จาก VRI

ช่องโหว่ Use-after-free เป็นช่องโหว่ประเภทหนึ่งของ Memory corruption bugs ที่เกิดขึ้น เมื่อ pointer ไม่ถูกเคลียร์ภายหลังจากการจัดสรรหน่วยความจำ ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้เพื่อทำการ Remote code execution (RCE), Denial-of-Service (DoS) หรือทำให้ข้อมูลเสียหาย และอาจนำไปสู่การถูกเข้าควบคุมระบบอย่างสมบูรณ์ หากมีการโจมตีร่วมกับช่องโหว่อื่น ๆ โดยใน Chrome การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ use-after-free ได้สำเร็จอาจทำให้สามารถเจาะผ่าน browser sandbox ได้ หากผู้โจมตีสามารถกำหนดเป้าหมาย Chrome process ที่มีสิทธิพิเศษ หรือช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการพื้นฐาน

นอกจาก CVE-2023-3214 แล้ว Chrome ยังแก้ไขช่องโหว่ use-after-free อีก 2 รายการ ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่จัดอยู่ในระดับความรุนแรงสูง ได้แก่ CVE-2023-3215 ที่ส่งผลกระทบต่อ WebRTC และ CVE-2023-3217 ที่ส่งผลกระทบต่อ WebXR และช่องโหว่ที่สี่ที่มีการรายงานจากนักวิจัยภายนอกได้มีการแก้ไขแล้วในเบราเซอร์เวอร์ชันใหม่นี้ ด้วยการแก้ไข confusion bug ใน V8 JavaScript engine

Chrome iteration เวอร์ชันล่าสุดคือ 14.0.5735.133 สำหรับ macOS และ Linux และเวอร์ชัน 114.0.5735.133/134 สำหรับ Windows

เวอร์ชันใหม่นี้ออกมาหนึ่งสัปดาห์ หลังจากที่ Google ได้ปล่อยแพตซ์อัปเดต Chrome ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day ที่กำลังถูกใช้ในการโจมตี ซึ่งเป็น Zero-day ใน Chrome browser ครั้งที่ 3 ตั้งแต่ต้นปี

ที่มา : www.

Chrome ออกแพตช์ Update ของ browser เวอร์ชัน 113 แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical

ในสัปดาห์นี้ Google ประกาศอัปเดตด้านความปลอดภัยของ Chrome browser เวอร์ชัน ** 113 เพื่อแก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 12 รายการ ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่อยู่ในระดับ Critical 6 รายการ

โดยช่องโหว่ 1 รายการ ที่ถูกรายงานโดยนักวิจัยภายนอกมีหมายเลข CVE-2023-2721 รายงานโดย Guang Gong นักวิจัยจาก Qihoo 360 ซึ่งระบุว่าช่องโหว่ดังกล่าวเป็นช่องโหว่ use-after-free ใน Navigation ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างเพจ HTML ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อหลอกให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเพจเพื่อส่งผลให้เกิด heap corruption จากช่องโหว่ดังกล่าว

ช่องโหว่ Use-after-free คือช่องโหว่ของหน่วยความจำ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ pointer ไม่ถูกเคลียร์ภายหลังจากการจัดสรรหน่วยความจำ ซึ่งอาจนำไปสู่การสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตราย, การปฏิเสธการให้บริการ (denial-of-service) หรือการทำให้ข้อมูลเสียหายได้ โดยใน Chrome ปัญหาของ use-after-free นั้นสามารถถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเจาะผ่าน browser sandbox ได้

การอัปเดตล่าสุดของ Chrome ได้แก้ไขปัญหาของ use-after-free ซึ่งเป็นช่องโหว่ 3 รายการที่มีการรายงานจากนักวิจัยภายนอก และช่องโหว่ทั้งหมดมีระดับความรุนแรงสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อ Autofill UI, DevTools และ Guest View components ของเบราว์เซอร์

เบราเซอร์เวอร์ชันใหม่ยังแก้ไข confusion bug ระดับความรุนแรงสูงใน V8 JavaScript engine และช่องโหว่ระดับความรุนแรงปานกลางใน WebApp Installs

โดย Chrome เวอร์ชันล่าสุดคือ 113.0.5672.126 สำหรับ macOS และ Linux และเวอร์ชัน 113.0.5672.126/.127 สำหรับ Windows

ที่มา : securityweek

แพตซ์ด่วน! อัปเดตแพตซ์ช่องโหว่ระดับ Critical บน Chrome และ Edge

Google ได้ออกแพตซ์อัปเดตสำหรับเบราว์เซอร์ Chrome ที่มีการแก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยกว่า 30 รายการ โดยเวอร์ชันล่าสุดที่แนะนำคือ Chrome 101.0.4951.41 สำหรับ Windows, Mac และ Linux โดยเวอร์ชันนี้ได้มีการแก้ไขช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้เพื่อควบคุมระบบที่มีช่องโหว่ได้

ขณะที่ Microsoft ก็แนะนำให้ผู้ใช้งาน Edge ซึ่งเป็น Chrome เวอร์ชันที่ได้รับการรับรองจาก Microsoft ให้อัปเดตด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีช่องโหว่หลายจุดร่วมกัน

มีช่องโหว่ 7 รายการ ที่ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นระดับความรุนแรงสูง โดยมีช่องโหว่ 5 รายการ เป็นช่องโหว่ที่เกิดขึ้นจาก “Use after free” ซึ่งเป็นปัญหาการย้ายหน่วยความจำที่ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้ เมื่อผู้ใช้งานเข้าไปยังหน้าเว็บที่เป็นอันตรายที่ถูกสร้างขึ้น

(more…)

เบราว์เซอร์ Chrome ออกอัปเดตแพตซ์ด้านความปลอดภัยจำนวนมาก

สัปดาห์นี้ Google ได้ออกแพตซ์อัพเดทด้านความปลอดภัยของ Chrome Browser เพื่อแก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 28 ช่องโหว่ ซึ่งบางช่องโหว่มีระดับความรุนแรงสูง ที่สามารถทำให้ผู้โจมตีสามารถสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้

Google Chrome เวอร์ชั่นล่าสุดสำหรับผู้ใช้ Windows, Mac และ Linux คือเวอร์ชัน 100.0.4896.60 โดยมี 9 ช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง เป็นการรายงานมาจากผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องโหว่เกี่ยวกับเรื่อง Use-after-free

Google กล่าวว่าได้จ่ายเงินรางวัลให้กับนักวิจัยที่รายงานช่องโหว่ไปแล้ว $52,000 แต่คาดกันว่าสุดท้ายจำนวนเงินอาจสูงกว่านี้มาก เนื่องจากยังไม่ได้มีการระบุเงินรางวัลสำหรับช่องโหว่ที่ถูกรายงานจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกอีกกว่าครึ่งหนึ่ง

Google ได้ให้เงินรางวัลสำหรับช่องโหว่ Use-after-free กับ Wei Yuan จาก MoyunSec VLab ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงกว่าช่องโหว่อื่นๆ

Google Chrome เวอร์ชั่น 100 พึ่งจะออกมาเมื่อสัปดาห์ก่อน เพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day ใน V8 JavaScript engine ซึ่งถือว่าเป็นช่องโหว่ Zero-day ตัวที่ 2 ที่ถูกรายงานใน Chrome ปีนี้

ที่มา : securityweek

VMware ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ใน VMware ESXi, Workstation, Fusion และ Cloud Foundation

VMware ออกเเพตซ์การอัปเดตความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ 2 รายการที่สำคัญและมีความรุนแรงสูงใน VMware ESXi, Workstation, Fusion และ Cloud Foundation โดยช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดและเพิ่มสิทธิ์ในระบบได้ ทั้งนี้ช่องโหว่ทั้ง 2 รายการถูกค้นพบโดย Xiao Wei และ Tianwen Tang จาก Qihoo 360 Vulcan Team ในวันแรกของการแข่งขัน Tianfu Cup Pwn ในปี 2020 ที่ผ่านมา

ช่องโหว่ CVE-2020-4004 (CVSSv3: 9.3/10) เป็นช่องโหว่ประเภท Use-after-free ที่อยู่ใน XHCI USB controller ของ VMware ESXi, Workstation, และ Fusion โดยช่องโหว่จะช่วยให้ผู้โจมตีที่มีสิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบทั่วไปบนเครื่อง Virtual Machine (VM) สามารถรันโค้ดในขณะที่กระบวนการ VMX ของ VM ทำงานบนโฮสต์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้ในการคอนฟิกบนโฮสต์ VM อินสแตนซ์

ช่องโหว่ CVE-2020-4005 (CVSSv3: 8.8/10) เป็นช่องโหว่ประเภทการยกระดับสิทธิ์ใน VMware ESXi โดยช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีที่มีสิทธิ์ภายใน VMX เท่านั้นสามารถยกระดับสิทธิ์ในระบบได้

ผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดตแพตซ์ความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ ทั้งนี้ช่องโหว่ CVE-2020-4004 ยังมีวิธีการป้องกันอีกวิธีการหนึ่งคือการการลบ XHCI USB controller (USB 3.x) หากไม่ได้ใช้งานออกจากเครื่อง VM ที่อาจตกเป็นเป้าหมาย

ที่มา: bleepingcomputer | theregister

VMware ออกแพตช์ฉบับแก้ไข หลังพบแพตช์ช่องโหว่ใน ESXi ไม่สมบูรณ์

VMware ออกประกาศเมื่อกลางอาทิตย์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับแพตช์ใหม่แก้ไขแพตช์ที่ไม่สมบูรณ์ของช่องโหว่ CVE-2020-3992 ซึ่งเป็นช่องโหว่ use-after-free ในเซอร์วิส OpenSLP ของ ESXi ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งที่เป็นอันตรายได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตน อย่างไรก็ตามการโจมตีช่องโหว่นี้ก็มีเงื่อนไขที่แฮกเกอร์จะต้องอยู่ใน management network และต้องเข้าถึงพอร์ต 427 ของ ESXi เพื่อทำการโจมตี

ช่องโหว่ดังกล่าวถูกค้นพบในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาและได้ถูกแพตช์ไปแล้วในรอบแพตช์เดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม VMware ตรวจพบว่าแพตช์ดังกล่าวนั้นไม่สมบูรณ์ซึ่งอาจทำให้ความเสี่ยงที่จะถูกโจมตียังมีอยู่ VMware จึงได้มีการออกแพตช์ใหม่ให้แก่ ESXi 6.5, 6.7 และ 7.0 โดยสำหรับ VMware Cloud Foundation แพตช์กำลังอยู่ในช่วงดำเนินการเผยแพร่

นอกเหนือจากแพตช์แก้ของช่องโหว่ CVE-2020-3992 แล้ว ในประกาศของ VMware รหัส VMSA-2020-0023.1 นั้น ยังมีอีกช่องโหว่อีก 5 ช่องโหว่ที่มีการถูกแพตช์ด้วย ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก : vmware

ที่มา: securityweek

Adobe ออกเเพตซ์แก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับ “Critical” ใน Adobe Acrobat และ Reader

Adobe ได้ออกเเพตซ์อัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับ “Critical” จำนวน 14 รายการ ซึ่งช่องโหว่จะส่งผลกระทบต่อ Adobe Acrobat และ Reader สำหรับ Windows และ macOS โดยช่องโหว่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาตบนอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ ทั้งนี้ช่องโหว่ที่มีความสำคัญและได้รับการเเก้ไขมีดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-24435 เป็นช่องโหว่ประเภท Heap-based buffer overflow ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ช่องโหว่ CVE-2020-24436 เป็นช่องโหว่ประเภท Out-of-bounds write ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต
ช่องโหว่ CVE-2020-24430 และ CVE-2020-24437 เป็นช่องโหว่ประเภท Use-after-free ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ผู้ใช้งาน Adobe Acrobat และ Reader สำหรับ Windows และ macOS ควรทำการอัปเดตเเพตซ์และติดตั้งซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตี สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดของช่องโหว่เพิ่มเติมสามารถดูได้ที่นี่: helpx.

VMware Releases Security Updates for Multiple Products

VMware ออกเเพตซ์แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical จำนวน 6 รายการในผลิตภัณฑ์ ESXi, Workstation, Fusion และ NSX-T

VMware ได้ประกาศออกเเพตซ์แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical จำนวน 6 ช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ ESXi, Workstation, Fusion และ NSX-T โดยจาก 6 ช่องโหว่นี้ มีช่องโหว่ที่น่าสนใจคือ

ช่องโหว่ CVE-2020-3992 (CVSSv3: 9.8/10) เป็นช่องโหว่ประเภท use-after-free ที่ส่งผลกระทบต่อบริการ OpenSLP ใน ESXi โดยช่องโหว่นี้จะสามารถอนุญาตให้ผู้โจมตีจากระยะไกลเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ผู้โจมตีที่จะสามารถใช้ประโยชน์ช่องโหว่นี้ได้ต้องอยู่ในเครือข่ายการจัดการและต้องสามารถเข้าถึงพอร์ต 427 บนเครื่อง ESXi ได้จึงจะสามารถช้ประโยชน์จากช่องโหว่ได้
ช่องโหว่ CVE-2020-3993 (CVSSv3: 7.5/10) เป็นช่องโหว่ที่เกิดจากการที่โฮสต์ KVM อนุญาตให้ดาวน์โหลดและติดตั้งแพ็กเกจจาก NSX manager ด้วยข้อบกพร่องนี้อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถทำการ Man-in-the-middle attack (MitM) เพื่อโจมตี Transport Node
ช่องโหว่ CVE-2020-3994 (CVSSv3: 7.5/10) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถ hijack เซสชัน vCenter Server ในฟังก์ชันของการอัปเดต
ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดตเเพตซ์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อทำการเเก้ไขช่องโหว่และเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา : securityaffairs | vmware

Google และ Mozilla เปิดตัว Chrome และ Firefox เวอร์ชันใหม่เพื่อแก้ไขช่องโหว่ในเบราว์เซอร์

บริษัท Mozilla ได้เปิดตัว Firefox เวอร์ชัน 75 ซึ่งได้อัพเดตแพตช์ความปลอดภัย 6 รายการสำหรับเดสก์ทอป และ 2 รายการสำหรับแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์

ช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง 3 รายการซึ่งมีจุดบกพร่องด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำ ได้แก่ CVE-2020-6825, CVE-2020-6826,CVE-2020-6828 ที่อาจนำไปสู่การรันโค้ดโดยไม่รับอนุญาต

ช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงปานกลาง 3 รายการคือ CVE-2020-6822, CVE-2020-6823 และ CVE-2020-6824 ที่อาจนำไปสู่การรันโค้ดโดยไม่รับอนุญาต

ช่องโหว่แอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ 2 รายการคือ CVE-2020-6821 ที่เป็นช่องโหว่สามารถอ่านความจำเริ่มต้นจึงทำให้เป็นช่องทางในการอ่านข้อมูลที่สำคัญได้ CVE-2020-6827 เป็นช่องโหว่ที่หลอกให้เบราว์เซอร์มือถือแสดง URI ที่ไม่ถูกต้อง

บริษัท Google ได้เปิดตัว Chrome เวอร์ชัน 81.0.4044.92 ที่มีเเก้ไขข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย 32 รายการ โดย 3 รายการเป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง 8 รายการช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงปานกลางและ 12 รายการช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงงต่ำ เปิดให้อัพเดตใน Windows, Mac และ Linux

ช่องโหว่ที่รุนแรงที่สุด CVE-2020-6454 เป็นช่องโหว่ use-after-free ใน extensions ส่วนที่ CVE-2020-6423 เป็นช่องโหว่ use-after-free ใน audio tracked และ CVE-2020-6455 ที่เป็นช่องโหว่ WebSQL

ส่วนช่องโหว่ที่มีความรุนแรงปานกลางเป็นข้อบกพร่องในการบังคับใช้นโยบาย, การตรวจสอบอินพุตที่ไม่น่าเชื่อถือในคลิปบอร์ด, use-after-free ใน devtools และ use-after-free ใน window management

Google ยังมอบรางวัลเงินรางวัลให้กับนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ได้ทำการรายงานช่องโหว่ และทำการจ่ายเงินมากกว่า $26,000 เพื่อเป็นรางวัล

ทั้งนี้ผู้ใช้งานควรอัพเดตเเพตซ์อยู่เสมอเพื่อความปลดภัยในการใช้งาน

ที่มา: securityaffairs

Patch now! Flash-exploitin’ PC-hijackin’ attack spotted in the wild by Huawei bods

Adobe ต้องออก Patch มาอุดช่องโหว่ที่มีคนกำลังใช้โจมตีผู้ใช้งาน Flash กันอยู่ โดยหนึ่งในช่องโหว่นี้ถูกรายงานโดยทีมงาน IT Security ของ Huawei ซึ่ง Adobe เองก็ได้เปิดเผยว่าช่องโหว่นี้กำลังถูกใช้โจมตีผู้ใช้งานบางกลุ่มแบบ Targeted Attack อยู่ และแนะนำให้ผู้ใช้งาน Adobe Flash ทุกคนทำการอัพเดตโดยทันที

ในครั้งนี้เป็นการ Patch เพื่ออุดช่องโหว่ถึง 19 ช่องด้วยกัน โดยมีทั้งช่องโหว่ Type Confusion, Integer Overflow, Use-after-free() และ Memory Corruption

สำหรับการตรวจสอบความปลอดภัยนั้น ผู้ใช้งาน Windows หรือ Mac จะต้องใช้ Flash รุ่น 20.0.0.267 หรือ 18.0.0.324 จึงจะถือว่าปลอดภัย ส่วนผู้ใช้งาน Google Chrome ต้องอัพถึงรุ่น 20.0.0.267 จึงจะปลอดภัย ในขณะที่ผู้ใช้งาน MS Edge และ MS IE 11 บน Windows 10 จะต้องใช้งานรุ่น 20.0.0.267 จึงจะปลอดภัย ส่วนผู้ใช้งาน MS IE 10 และ IE 11 บน Windows 8.x ต้องอัพถึงรุ่น 20.0.0.267 จึงจะปลอดภัย และผู้ใช้งาน Linux ต้องอัพถึงรุ่น 11.2.202.559 ถึงจะปลอดภัย

ที่มา : theregister