Google เปิดตัวฟีเจอร์ Password Checkup สำหรับผู้ใช้ Android

ผู้ใช้ Android สามารถใช้ฟีเจอร์ Password Checkup ของ Google ได้แล้วหลังจากที่ Google เปิดฟีเจอร์ให้สามารถใช้งานใน Chrome เบราว์เซอร์เมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมา

ฟีเจอร์ Password Checkup ของ Google เป็นฟีเจอร์การตรวจสอบรหัสผ่านว่าเคยรั่วไหลทางออนไลน์หรือไม่จากฐานข้อมูลที่มีบันทึกหลายพันล้านรายการจากการละเมิดข้อมูลสาธารณะและถูกจัดให้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของ Autofill with Google ที่ถูกใช้ในระบบปฏิบัติเพื่อเลือกข้อความจากแคชและกรอกแบบฟอร์ม

Google กล่าวว่าการใช้งานฟีเจอร์ Password Checkup นั้น กลไกการตรวจสอบรหัสผ่านนี้จะไม่เปิดเผยข้อมูล Credential ของผู้ใช้เนื่องจากฟีเจอร์จะทำการตรววจสอบเฉพาะแฮชของข้อมูล Credential เท่านั้น จากนั้นเซิร์ฟเวอร์ทำการตรวจสอบแฮชจากฐานข้อมูลและจะส่งคืนค่ารายการแฮชที่เข้ารหัสของข้อมูล Credential ที่ทำการตรวจสอบเพื่อแจ้งให้ผู้ใช้ทราบว่าข้อมูลเคยถูกละเมิดหรือไม่

ฟีเจอร์ Password Checkup ของ Google นี้ผู้ใช้ Android 9+ ทุกคนสามารถใช้งานได้วันนี้ โดยสามารถเปิดใช้งานการได้โดยเข้าไปที่ Settings จากนั้นไปที่ System > Languages & input > Advanced จากนั้นมองหา Autofill service เพื่อเปิดการใช้งาน ทั้งนี้ผู้ใช้ iOS 14 มีฟีเจอร์การตรวจสอบรหัสผ่านที่คล้ายกันอยู่แล้วตั้งเเต่กลางปี 2019 ที่ผ่านมา

ที่มา: zdnet

Google Project Zero พาแกะ 3 ฟีเจอร์ใหม่ใน iMessage ของ iOS 14 ลดโอกาสโดน Zero-CLick Exploit ได้

Samuel Groß นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Google Project Zero ได้มีการเผยแพร่งานวิจัยใหม่เกี่ยวกับฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยใน iOS 14 ในส่วนของ iMessage ซึ่งตกเป็นเป้าหมายในการถูกโจมตีแบบ Zero-click อยู่บ่อยครั้ง โดยงานวิจัยนี้เกิดจากการทำ Reverse engineering กับกระบวนการทำงานของ iMessage ในเวลาเพียงแค่ 1 สัปดาห์

สำหรับฟีเจอร์แรกนั้นถูกเรียกว่าเซอร์วิส BlastDoor ซึ่งเป็นส่วนโมดูลใหม่สำหรับประมวลผลข้อมูลไบนารี อาทิ ไฟล์แนบ, ลิงค์และไฟล์รูปข้างใน Sandbox ซึ่งไม่สามารถเชื่อมต่อออกสู่เครือข่ายได้ ผลลัพธ์ของการแยกประมวลผลนี้ทำให้การจัดเรียงกันของหน่วยความจำนั้นแตกต่างออกไปและเพิ่มความเป็นไปได้ยากในการที่จะทำการโจมตีในลักษณะของ Memory corruption

ฟีเจอร์ส่วนที่สองนั้นถูกเรียกว่า Shared cache resliding โดยเป็นการปรับปรุงส่วนของ Shared cache ในหน่วยความจำ ส่วนของ Shared cache เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำที่มีการเก็บตำแหน่งของฟังก์ชันของระบบเอาไว้และจะถูกสุ่มภายใต้ฟีเจอร์ ASLR เฉพาะเมื่อมีการบูต เนื่องจากการสุ่มตำแหน่งโดย ASLR ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก การโจมตีในบางเทคนิคสามารถนำไปสู่การระบุหาแอดเดรสใน Shared cache ซึ่งนำไปสู่การข้ามผ่านฟีเจอร์ ASLR ได้ ใน iOS 14 ปัญหาในส่วนนี้ถูกแก้โดยการเพิ่มเงื่อนไขในการสุ่มตำแหน่งของข้อมูลใน Shared cache สำหรับเซอร์วิสใดๆ เมื่อเซอร์วิสเริ่มทำงานแทน ซึ่งทำให้การข้ามผ่านฟีเจอร์ ASLR เป็นไปได้ยากขึ้นหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลย

ฟีเจอร์ส่วนสุดท้ายยังคงอยู่ในแนวทางของการป้องกันการข้ามผ่านฟีเจอร์ ASLR ซึ่งมาในลักษณะของการ Brute force โดยใน iOS 14 นั้นเซอร์วิสอย่าง BlastDoor จะถูกตั้งค่าและควบคุมให้อยู่ในกลไกที่ชื่อ ExponentialThrottling ซึ่งจะทำการหน่วงเวลาของการรีสตาร์ทหากโปรเซสหรือเซอร์วิสมีการแครช ฟีเจอร์ ExponentialThrottling ถูกบังคับใช้เฉพาะกับกลไกที่สำคัญ ดังนั้นผลกระทบของเวลาที่ถูกหน่วงในแต่ละครั้งจะไม่กระทบต่อการใช้งานทั่วไป จากการตรวจสอบโดย Samuel เวลาหน่วงที่มากที่สุดหลังจากมีการแครชและจำนวนเวลาถูกเพิ่มไปเรื่อยๆ นั้นคือ 20 นาที

สำหรับใครที่สนใจทางด้าน Exploitation โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมของ macOS และ iOS สามารถอ่านรายละเอียดจากการ Reverse engineer ได้ที่ : googleprojectzero

ที่มา: zdnet

งานแฮกระดับประเทศของจีน Tianfu Cup เข้าปีที่สาม ตบ iOS 14, Windows 10 และ Chrome ร่วง

งานแฮกระดับประเทศของจีน Tianfu Cup ดำเนินเข้ามาสู่ปีที่ 3 แล้ว โดยในปีนี้นั้นเป้าหมายชื่อดังอย่าง iOS 14, Windows 10 v2004, Chrome รวมไปถึงกลุ่มเทคโนโลยี virtualization สามารถถูกโจมตีโดยช่องโหว่ได้สำเร็จ

Tianfu Cup ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่เมืองเฉิงตูในช่วงเวลาเดียวกับการแข่งขัน Pwn2Own ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 15 ทีมจะมีเวลา 5 นาทีและเงื่อนไขในการโจมตีได้ 3 ครั้งเพื่อให้นำ exploit ที่ทำการพัฒนามาโจมตีกับเป้าหมาย เงินรางวัลจะถูกมอบให้กับทีมซึ่งโจมตีเป้าหมายได้สำเร็จก่อนตามเงื่อนไขของความยากและอื่นๆ โดยในปีนี้ทีมผู้ชนะซึ่งได้เงินรางวัลไปสูงสุดคือทีม 360 Enterprise Security and Government and (ESG) Vulnerability Research Institute จาก Qihoo 360 ซึ่งได้เงินรางวัลไป 22 ล้านบาท

นอกเหนือจาก iOS 14, Windos 10 และ Chrome แล้ว เป้าหมายที่ถูกโจมตีสำเร็จยังมี Samsung Galaxy S20, Ubuntu, Safari, Firefox, Adobe PDF Reader, Docker (Community Edition), VMWare EXSi (hypervisor), QEMU (emulator & virtualizer) และเฟิร์มแวร์ของ TP-Link และ ASUS ด้วย

การแข่งขัน Tianfu Cup เป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ที่หลังจากรัฐบาลจีนมีนโยบายจำกัดไม่ให้ชาวจีนเข้าร่วมการแข่งขันอย่าง Pwn2Own จากข้อกังวลเรื่องความมั่นคงของประเทศ แต่ผลักดันให้มีการแข่งขันภายในประเทศแทนและคาดว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการแข่งขันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแนวทางด้านไซเบอร์ของจีน

ที่มา: zdnet