Microsoft ออกเเพตช์แก้ไขช่องโหว่จำนวน 82 รายการ ใน Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนมีนาคม 2021

Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนมีนาคม 2021 โดยในเดือนนี้ Microsoft ได้ออกเเพตช์เพื่อเเก้ไขช่องโหว่เป็นจำนวน 82 รายการ ซึ่งช่องโหว่จำนวน 10 รายการ ถูกจัดเป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรง Critical และอีก 72 รายการ เป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรง Important ซึ่งช่องโหว่จำนวน 82 รายการนี้ไม่รวมช่องโหว่ของ Microsoft Exchange จำนวน 7 รายการและ Chromium Edge อีก 33 รายการที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนนี้ที่ผ่านมา สำหรับเเพตช์ที่ได้รับการเเก้ไขและน่าสนใจมีดังนี้

ช่องโหว่ Zero-day ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-26411 ถูกจัดเป็นช่องโหว่ประเภท Memory Corruption ใน Internet Explorer ที่ถูกแฮกเกอร์ชาวเกาหลีเหนือนำไปใช้โจมตีนักวิจัยด้านความปลอดภัย

ช่องโหว่ Zero-day อีกช่องโหว่หนึ่งที่น่าสนใจถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-27077 ถูกจัดเป็นช่องโหว่ประเภทการยกระดับสิทธิ์ (Elevation of Privilege) ใน Windows Win32k โดยช่องโหว่นี้ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะโดย Trend Micro Zero Day Initiative

นอกจากช่องโหว่ที่กล่าวมานี้ Microsoft ยังออกแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยสำหรับฟีเจอร์และบริการต่าง ๆ เช่น Microsoft Windows Codecs Library, Windows Admin Center, DirectX, Event Tracing, Registry, Win32K และ Windows Remote Access API

ทั้งนี้ผู้ใช้ควรทำการอัปเดตเเพตช์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายการโจมตีจากผู้ประสงค์ร้าย สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการอัปเดตเเพตช์ของ Windows สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: microsoft

ที่มา: bleepingcomputer

Microsoft November 2020 Patch Tuesday fixes 112 vulnerabilities

Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนพฤศจิกายน 2020 มาแล้ว

ไมโครซอฟต์ประกาศ Microsoft Patch Tuesday ประจำเดือนพฤศจิกายน 2020 แล้ววันนี้ โดยในรอบเดือนนี้นั้นมีช่องโหว่ทั้งหมด 112 รายการที่ถูกแพตช์ จาก 112 รายการที่ถูกแพตช์มี 17 ช่องโหว่ที่ถูกระบุว่าเป็นช่องโหว่ระดับวิกฤติ รวมไปถึงมีการแพตช์ Zero-day ที่ถูกแจ้งโดย Google Project Zero

เมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา Google Project Zero มีการแจ้งเตือนไปยังไมโครซอฟต์หลังจาก Google Threat Analysis Group ตรวจพบการใช้ช่องโหว่ Zero-day ในการโจมตีจริง โดยช่องโหว่ดังกล่าวถูกระบุด้วยรหัส CVE-2020-17087 เป็นช่องโหว่ยกระดับสิทธิ์ในส่วน Windows Kernel Cryptography Driver

อ้างอิงจากข้อมูลสรุปโดย Bleeping Computer ช่องโหว่ 10 จาก 17 รายการที่ถูกระบุอยู่ในระดับวิกฤติอยู่ในส่วน Microsoft Windows Codecs Library, ส่วนของ Windows Kernel อีก 2 ช่องโหว่, ส่วน Microsoft Scripting Engine 3 ช่องโหว่ และ Microsoft Browsers และ Azure Sphere อย่างละหนึ่งช่องโหว่

ที่มา: bleepingcomputer | bleepingcomputer | threatpost | zdnet | theregister | securityweek