พบ Ransomware ตัวใหม่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เก่าของ Fortinet VPN เพื่อโจมตีเครื่องที่ยังไม่ได้แพทช์

Cring ransomware เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ล่าสุดที่พบว่าอาศัยช่องโหว่ของ Fortinet SSL VPN (CVE-2018-13379) ที่สามารถถูกใช้เพื่อดึงข้อมูล credentials ของผู้ใช้งาน VPN ออกมาได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนผ่านการส่ง http request ที่ถูกดัดแปลงแล้ว (Path Traversal) และได้มีการเปิดเผย IP ของอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวนี้เป็น human-operated ransomware นั่นคือเป็น ransomware ที่มีการปฏิบัติการและควบคุมโดยแฮ็กเกอร์อยู่เบื้องหลัง

เริ่มต้นด้วยการโจมตีช่องโหว่ของ Fortinet VPN จากนั้นจึงอาศัยข้อมูลที่ได้มาเข้าไปติดตั้ง Mimikatz ที่ถูกดัดแปลงลงบนเครื่องเหยื่อ ตามด้วย CobaltStrike และวาง ransomware ด้วยการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม CertUtil ของ Windows เอง เพื่อหลบหลีกการตรวจจับ Mimikatz จะถูกใช้เพื่อกวาด credentials ที่อาจหลงเหลืออยู่บนเครื่องเหยื่อ เพื่อนำไปเข้าถึงเครื่องอื่นๆ ต่อไป (Lateral movement) เช่น domain admin เป็นต้น จากนั้นจึงใช้ CobaltStrike เป็นเครื่องมือในการแพร่กระจายไฟล์ ransomware ไปยังเครื่องอื่นๆ

ถึงแม้ช่องโหว่ที่ค่อนข้างเก่า แต่ก็มีความรุนแรงสูงมาก (9.8/10) ผู้ใช้งาน Fortinet SSL VPN ที่ยังเป็น FortiOS 6.0.0 to 6.0.4, 5.6.3 to 5.6.7 และ 5.4.6 ถึง 5.4.12 ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ และดำเนินการแพทช์โดยเร็วที่สุด สำหรับ IOCs สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานของ Kaspersky ตามลิงก์ด้านล่าง : kaspersky

ที่มา: bleepingcomputer

Microsoft ออกแพตช์ฉุกเฉินเพื่อเเก้ไขช่องโหว่ Zero-day สำหรับ Microsoft Exchange ผู้ดูแลระบบควรอัปเดตเเพตช์ด่วน!

Microsoft ได้ออกแพตช์อัปเดตการรักษาความปลอดภัยเป็นกรณีฉุกเฉินสำหรับ Microsoft Exchange เพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day 4 รายการที่สามารถใช้ประโยชน์ในการโจมตีแบบกำหนดเป้าหมาย หลัง Microsoft พบกลุ่มแฮกเกอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศจีนที่มีชื่อว่า “Hafnium" ใช้ช่องโหว่ Zero-day เหล่านี้ทำการโจมตีองค์กรและบริษัทหลาย ๆ เเห่ง ในสหรัฐอเมริกาเพื่อขโมยข้อมูล

กลุ่ม Hafnium เป็นกลุ่ม APT ที่มีความเชื่อมโยงและได้รับการสนับสนุนจากจีน มีเป้าหมายคือหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก และในหลาย ๆ อุตสาหกรรม รวมไปถึงองค์กรที่ทำการวิจัยโรคติดเชื้อ, สำนักงานกฎหมาย, สถาบันการศึกษาระดับสูง, ผู้รับเหมาด้านการป้องกันประเทศ, องค์กรกำหนดนโยบายและองค์กรพัฒนาเอกชน สำหรับเทคนิคการโจมตีของกลุ่ม Hafnium ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-day ใน Microsoft Exchange มีดังนี้

CVE-2021-26855 (CVSSv3: 9.1/10 ) เป็นช่องโหว่ Server-Side Request Forgery (SSRF) ใน Microsoft Exchange โดยช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีที่ส่ง HTTP request ที่ต้องการ ไปยังเซิฟเวอร์สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ได้
CVE-2021-26857 (CVSSv3: 7.8/10 ) เป็นช่องโหว่ insecure deserialization ในเซอร์วิส Unified Messaging deserialization โดยช่องโหว่ทำให้ข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยบางส่วนที่สามารถถูกควบคุมได้ ถูก deserialized โดยโปรแกรม ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ทำการรันโค้ดเพื่อรับสิทธ์เป็น SYSTEM บนเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange
CVE-2021-26858 (CVSSv3: 7.8/10 ) เป็นช่องโหว่ Arbitrary file write หรือช่องโหว่ที่สามารถเขียนไฟล์โดยไม่ได้รับอนุญาตหลังจากพิสูจน์ตัวตนแล้ว (Authenticated) บนเซิร์ฟเวอร์ Exchange ซึ่งผู้โจมตีที่สามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2021-26855 (SSRF) ได้จะสามารถเข้าสู่ระบบได้ผ่านการ Bypass Credential ของผู้ดูแลระบบที่ถูกต้อง
CVE-2021-27065 (CVSSv3: 7.8/10 ) เป็นช่องโหว่ Arbitrary file write ที่มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ CVE-2021-26858

หลังจากที่สามารถเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ที่มีช่องโหว่แล้ว กลุ่ม Hafnium จะทำการติดตั้ง Webshell ซึ่งถูกเขียนด้วย ASP และจะถูกใช้เป็น backdoor สำหรับทำการขโมยข้อมูลและอัปโหลดไฟล์หรือดำเนินการใด ๆ ตามคำสั่งของกลุ่มบนเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุก ซึ่งหลังจากติดตั้ง Webshell เสร็จแล้ว กลุ่ม Hafnium ได้มีการดำเนินการด้วยเครื่องมือ Opensource ต่าง ๆ โดยมีขั้นตอนดังนี้

จะใช้ซอฟต์แวร์ Procdump เพื่อทำการ Dump โปรเซส LSASS
จากนั้นจะทำการใช้ซอฟต์แวร์ 7-Zip เพื่อบีบอัดข้อมูลที่ทำการขโมยลงในไฟล์ ZIP สำหรับ exfiltration
ทำการเพิ่มและใช้ Exchange PowerShell snap-ins เพื่อนำข้อมูล mailbox ออกมา
จากนั้นปรับใช้ซอฟต์แวร์เครื่องมือที่ชื่อว่า Nishang ทำ Invoke-PowerShellTcpOneLine เพื่อสร้าง reverse shell
จากนั้นใช้เครื่องมือชื่อว่า PowerCat เพื่อเปิดการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ของกลุ่ม

การตรวจสอบว่าเซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ถูกบุกรุกหรือไม่

สำหรับการตรวจสอบและการป้องกันภัยคุกคามโดยการวิเคราะห์พฤติกรรมที่น่าสงสัยและเป็นอันตรายบนเซิร์ฟเวอร์ Exchange พบว่าเมื่อใดก็ตามที่ผู้โจมตีทำการติดต่อกับ Webshell และรันคำสั่งจะมี Process chain, เซอร์วิส และพาทที่มีการใช้งาน โดยโปรเซสที่น่าสงสัยและมักถูกผู้โจมตีเรียกใช้ด้วยเทคนิค living-off-the-land binaries (LOLBins) คือ net.

Patch Now: DarkIRC Botnet กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2020-14750 (RCE) เพื่อโจมตี Oracle WebLogic Server

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Juniper Threat Labs ได้เปิดเผยถึงเป้าหมายการโจมตีของบอตเน็ต DarkIRC ที่กำลังพยายามสแกนหาและใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2020-14750 (Remote Code Execution - RCE) ในเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic ที่สามารถเข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ตและยังไม่ได้รับการแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่

ตามรายงานจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ได้ทำการตรวจสอบเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic จากเครื่องมือค้นหาของ Shodan พบว่ามีเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic ประมาณ 3,000 เครื่องที่สามารถเข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ต

ช่องโหว่ CVE-2020-14750 (RCE) ในเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic เป็นช่องโหว่ที่สำคัญและมีความรุนเเรงจากคะแนน CVSSv3 อยู่ที่ 9.8/10 โดยช่องโหว่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถควบคุมระบบได้โดยการส่ง HTTP request ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษและไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ไปยังเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic เวอร์ชัน 10.3.6.0.0, 12.1.3.0.0, 12.2.1.3.0, 12.2.1.4.0 และ 14.1.1.0

นักวิจัยกล่าวว่าบอตเน็ต DarkIRC ทำกำหนดเป้าหมายไปยังเครือข่ายของเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic ที่สามารถเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต โดยเมื่อบุกรุกได้แล้วจะทำการดาวน์โหลดไฟล์เพื่อขโมยข้อมูลภายในเครื่อง, Keylogger, ขโมยข้อมูล Credential และจะสั่งรัน Command บนเครื่องที่ถูกบุกรุกและทำการส่งข้อมูลกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ C&C ของผู้ประสงค์ร้าย นอกจากนี้บอตเน็ตยังมีฟีเจอร์ที่จะทำการเปลื่ยนที่อยู่ Bitcoin wallet ที่อยู่ภายในเครื่องไปยังที่อยู่ Bitcoin wallet ของผู้ประสงค์ร้าย ทั้งนี้บอตเน็ต DarkIRC ถูกผู้ใช้ที่ชื่อ "Freak_OG" ทำการวางขายบอตเน็ตในแฮ็กฟอรัม โดยราคาขายอยู่ที่ $75 (ประมาณ 2,259 บาท) ตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

ผู้ดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ Oracle WebLogic ควรทำการอัปเดตเเพตซ์ความปลอดภัยเป็นการเร่งด่วนและควรทำการปิดการเข้าถึงเซิฟเวอร์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นการป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา: thehackernews

 

Oracle ออกเเพตซ์ฉุกเฉินเเก้ไขช่องโหว่ RCE ใน WebLogic Server

Oracle ออกแพตซ์อัปเดตด้านความปลอดภัยฉุกเฉินเพื่อแก้ไขช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล (Remote Code Execution - RCE) ใน Oracle WebLogic Server ที่ส่งผลกระทบต่อ Oracle WebLogic Server หลายเวอร์ชัน

ช่องโหว่ CVE-2020-14750 และ CVE-2020-14882 (CVSSv3: 9.8/10) เป็นช่องโหว่การโจมตีจากระยะไกลที่ช่วยให้ผู้โจมตีสามารถควบคุมระบบได้โดยการส่ง Http request ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษและไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ไปยัง Oracle WebLogic Server เวอร์ชัน 10.3.6.0.0, 12.1.3.0.0, 12.2.1.3.0, 12.2.1.4.0 และ 14.1.1.0

เนื่องจาก Proof-of-Concept (PoC) ของช่องโหว่ถูกเผยแพร่สู่สาธารณะและมีผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบตามรายงานของ SANS Technology Institute จึงทำให้ Oracle ตัดสินใจออกเเพตซ์เป็นการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขช่องโหว่และเพื่อเป็นการป้องกันระบบ

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบ Oracle WebLogic Server ควรทำการอัปเดตเเพตซ์ความปลอดภัยเป็นการเร่งด่วนและควรทำการปิดการเข้าถึงเซิฟเวอร์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นการป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา: zdnet

 

CVE-2020-14882: Oracle WebLogic Remote Code Execution Vulnerability Exploited in the Wild

พบผู้ประสงค์ร้ายพยายามใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ระดับ “Critical” ใน Oracle WebLogic Server

Johannes Ullrich หัาหน้าฝ่ายวิจัยจาก SANS Technology Institute ได้เเจ้งเตือนถึงการตรวจพบการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2020-14882 (CVSSv3: 9.8/10) ซึ่งเป็นช่องโหว่การโจมตีจะระยะไกลที่ช่วยให้สามารถควบคุมระบบได้โดยการส่ง Http request ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษและไม่มีการตรวจสอบสิทธิ์ไปยัง Oracle WebLogic Server เวอร์ชัน 10.3.6.0.0, 12.1.3.0.0, 12.2.1.3.0, 12.2.1.4.0 และ 14.1.1.0

การตรวจพบเกิดจากผู้ประสงค์ร้ายได้ทำการเข้าถึง Honeypot Server ที่ใช้อินสแตนซ์ Oracle WebLogic Server ที่ยังไม่ได้รับการเเพตซ์ความปลอดภัยหลัง Oracle ได้เปิดตัวเเพตซ์การอัปเดตครั้งใหญ่จำนวน 402 ช่องโหว่เมื่อสัปดาห์ก่อน

Ullrich กล่าวว่าการพยายามหาประโยชน์จากช่องโหว่ที่ถูกบันทึกโดย Honeypot Server นั้นถูกระบุว่าเป็นเพียงแค่ตรวจสอบว่าระบบมีช่องโหว่หรือไม่และจากเทคนิคการพยายามหาประโยชน์จากช่องโหว่นั้นมาจากรายละเอียดทางเทคนิคในบล็อกโพสต์ที่เผยแพร่โดย Nguyen Jang นักวิจัยชาวเวียดนาม

จากการตรวจสอบและทำการสแกนการค้นหาด้วย Spyse engine พบว่ามี Oracle WebLogic Server จำนวนมากกว่า 3,000 เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านอินเทอร์เน็ตและอาจเสี่ยงต่อการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2020-14882

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบ Oracle WebLogic Server ควรทำการอัปเดตเเพตซ์ความปลอดภัยโดยด่วนและควรทำการปิดการเข้าถึงเซิฟเวอร์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อเป็นการป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา: bleepingcomputer

Cisco ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ Webex, IP Camera และ ISE

Cisco ได้ออกเเพตซ์อัปเดตความปลอดภัยเพื่อเเก้ไขช่องโหว่ระดับ high-severity จำนวน 3 รายการที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ Webex video conferencing system, Video Surveillance 8000 Series IP Camera และ Identity Services Engine (ISE) ของ Cisco โดยช่องโหว่ที่สำคัญมีรายละเอียดดังนี้

ช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ Video Surveillance 8000 Series IP Cameras ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-3544 (CVSSv3: 8.8/10) ช่องโหว่นี้เกิดจากการตรวจสอบที่ขาดหายไปเมื่อ IP camera ประมวลผลแพ็กเก็ต Cisco Discovery Protocol ผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่นี้ได้โดยส่งแพ็กเก็ต Cisco Discovery Protocol ที่เป็นอันตรายไปยังอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ ซึ่งช่องโหว่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดบน IP camera หรือทำให้เกิดเงื่อนไขการปฏิเสธการให้บริการ (DoS) บน IP camera โดยช่องโหว่นี้จะส่งผลกระทบต่อ IP camera ที่ใช้เฟิร์มแวร์รุ่นก่อนหน้ารุ่น 1.0.9-5
ช่องโหว่ผลิตภัณฑ์ Cisco Webex Teams ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-3535 (CVSSv3: 7.8/10) ช่องโหว่เกิดจากการจัดการพาธไดเร็กทอรีที่ไม่ถูกต้องในขณะทำงาน ผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่นี้ได้โดยการวางไฟล์ DLL ที่เป็นอันตรายในตำแหน่งเฉพาะบนระบบของเป้าหมาย โดยไฟล์นี้จะทำงานเมื่อแอปพลิเคชันที่มีช่องโหว่เปิดตัว เมื่อผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดได้โดยไม่รับอนุญาตด้วยสิทธิ์ของบัญชีผู้ใช้รายอื่น ซึ่งช่องโหว่นี้จะส่งผลกระทบต่อ Cisco Webex Teams สำหรับ Windows รุ่น 3.0.13464.0 ถึง 3.0.16040.0 และช่องโหว่นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อ Webex Teams สำหรับ Android, Mac หรือ iPhone และ iPad
ช่องโหว่ผลิตภัณฑ์ Cisco Identity Services Engine (ISE) ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-3467 (CVSSv3: 7.7/10) ช่องโหว่นี้เกิดจากการบังคับใช้ Role-Based Access Control (RBAC) อย่างไม่เหมาะสมภายในเว็บอินเทอร์เฟซการจัดการระบบ ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ได้โดยส่ง HTTP request ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษไปยังอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ เมื่อผู้โจมตีประสบความสำเร็จในการใช้ช่องโหว่ ผู้โจมตีสามารถปรับเปลี่ยนบางส่วนของค่าคอนฟิกได้ เช่นทำการปรับเปลี่ยนการอนุญาตให้อุปกรณ์ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าสู่เครือข่ายหรือทำการบล็อกไม่ให้อุปกรณ์ที่ได้รับอนุญาตเข้าถึงเครือข่าย
ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบควรทำการตรวจสอบแพตซ์และทำการอัปเดตแพตซ์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา : threatpost

Cloudflare เปิดตัว Web Analytics เก็บสถิติการเข้าชมเว็บโดยไม่เก็บข้อมูลส่วนบุคคล

Cloudflare ออกผลิตภัณฑ์ฟรีใหม่ภายใต้ชื่อ Web Analytics โดยเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเก็บสถิติการเข้าถึงเว็บไซต์โดยมีจุดเด่นหลักอยู่ความเป็นส่วน โดย Cloudflare Web Analytics สามารถทำงานโดยไม่มีการใช้วิธีการ tracking แบบ client-side เช่น การใช้ cookie หรือการเก็บข้อมูลใน local storage รวมไปถึงการเก็บข้อมูลหมายเลขไอพีแอดเดรสและ User-Agent

เทคโนโลยีเบื้่องหลังของ Cloudflare Web Analytics อยู่บนคอนเซ็ปต์ของคำว่า "visit" หรือการที่ผู้ใช้งานมีปฏิสัมพันธ์กับเว็บไซต์ Cloudflare ตรวจสอบการเข้าถึงของเว็บไซต์จาก HTTP Referer โดยตรวจสอบว่าค่าดังกล่าวจะต้องไม่เหมือนกับค่า Hostname ใน HTTP request เพื่อให้เห็นว่ามีการเข้าชมหน้าเว็บไซต์มากน้อยเพียงใด

เนื่องจากเทคโนโลยียังไม่ได้มีการเปิดให้ทดลองใช้ การตรวจสอบ Cloudflare Web Analytics สามารถเก็บข้อมูลให้สอดคล้องตาม GDPR และ/หรือ PDPA นั้นเป็นไปได้หรือไม่ แต่สำหรับผู้ที่อยากลองใช้งานเป็นคนแรก Cloudflare แนะนำให้เข้าไปที่ลงทะเบียนรอไว้ก่อนได้ที่ Cloudflare

ที่มา : Cloudflare

Cisco Firepower Management Center Lightweight Directory Access Protocol Authentication Bypass Vulnerability

Cisco ออกแพตช์ให้ช่องโหว่ร้ายแรงใน Firepower Management Center
มีช่องโหว่ร้ายแรงในหน้า web interface ของ Firepower Management Center (CVE-2019-16028) ถ้าเปิดให้ authentication ผ่าน external LDAP server ผู้โจมตีจะสามารถสร้าง HTTP request อันตรายเพื่อเข้าถึงหน้า web interface ด้วยสิทธิ์ผู้ดูแลระบบได้
สามารถตรวจสอบได้ว่ามีความเสี่ยงต่อช่องโหว่นี้หรือไม่ได้จากเมนู System > Users > External Authentication แล้วตรวจสอบว่ามีการเปิดใช้ LDAP หรือไม่
Cisco แนะนำว่าควรปิดการใช้งานการ authentication ด้วย LDAP จนกว่าจะทำการอัปเดตแพตช์

ที่มา : Cisco