D-Link จะไม่แก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical ในโมเด็มกว่า 60,000 เครื่องเนื่องจากสิ้นสุดอายุการใช้งาน (EoL)

เราเตอร์ D-Link จำนวนนับหมื่นตัวที่สิ้นสุดอายุการใช้งานแล้วนั้น มีความเสี่ยงจากช่องโหว่ด้านความปลอดภัยระดับ Critical ซึ่งทำให้ผู้โจมตีที่ไม่จำเป็นต้องผ่านการยืนยันตัวตน สามารถเปลี่ยนรหัสผ่านของผู้ใช้รายใดก็ได้ และเข้าควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด (more…)

Hacker ใช้ช่องโหว่ Aiohttp เพื่อเข้าถึงเครือข่าย

กลุ่ม 'ShadowSyndicate' ransomware กำลังมุ่งเป้าโจมตีโดยการสแกนหาเซิร์ฟเวอร์ที่มีความเสี่ยงจากช่องโหว่ CVE-2024-23334 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Directory Traversal ใน aiohttp Python library

Aiohttp เป็น open-source library ที่สร้างขึ้นบนเฟรมเวิร์ก I/O Python's asynchronous I/O framework เพื่อจัดการ HTTP requests พร้อมกันจำนวนมาก โดยไม่ต้องใช้เครือข่ายแบบ thread-based networking ซึ่งถูกใช้โดยบริษัทเทคโนโลยี นักพัฒนาเว็บ วิศวกรแบ็กเอนด์ และนักวิจัยข้อมูลที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชัน และบริการเว็บประสิทธิภาพสูงที่รวบรวมข้อมูลจาก API ภายนอกหลายรายการ

เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2024 ทาง aiohttp ได้เปิดตัวเวอร์ชัน 3.9.2 ที่แก้ไขช่องโหว่ CVE-2024-23334 (คะแนน CVSS 7.5/10 ความรุนแรงระดับ High) ซึ่งส่งผลกระทบต่อ aiohttp ทุกเวอร์ชันตั้งแต่ 3.9.1 และเก่ากว่า ซึ่งทำให้ Hacker สามารถเข้าถึงระบบจากระยะไกลได้โดยไม่ต้องผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ เพื่อเข้าถึงไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่

ช่องโหว่ดังกล่าวเกิดจาก inadequate validation ที่ไม่ปลอดภัย เมื่อตั้งค่า 'follow_symlinks' เป็น 'True' สำหรับ static route ทำให้สามารถเข้าถึงไฟล์ static root directory ของเซิร์ฟเวอร์ได้โดยไม่ได้รับอนุญาต

ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2024 นักวิจัยได้เผยแพร่ชุดสาธิตการโจมตี หรือ Proof of Concept (PoC) บน GitHub และวิดีโอที่อธิบายขั้นตอนในการโจมตีอย่างละเอียดทีละขั้นตอนบน YouTube เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2024

รวมถึงนักวิเคราะห์ด้านภัยคุกคามของ Cyble รายงานว่า เครื่องสแกนของพวกเขาตรวจพบความพยายามในการโจมตีโดยกำหนดเป้าหมายไปที่ช่องโหว่ CVE-2024-23334 ตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2024 และยังคงเพิ่มขึ้นจนถึงเดือนมีนาคม 2024 อีกทั้งยังได้พบความเชื่อมโยงการสแกนช่องโหว่ไปยัง IP 5 รายการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่ม ShadowSyndicate ตามรายงานเดือนกันยายน 2023 ของ Group-IB

ShadowSyndicate เป็นกลุ่ม Hacker ที่มีแรงจูงใจทางด้านการเงิน โดยเริ่มพบการโจมตีมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2022 ซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่ม ransomware หลากหลายกลุ่ม เช่น Quantum, Nokoyawa, BlackCat/ALPHV, Clop, Royal, Cactus และ Play โดย Group-IB เชื่อว่า ShadowSyndicate ได้ร่วมมือกับกลุ่ม ransomware อื่น ๆ ในการโจมตี

โดยการค้นพบของ Cyble ระบุว่า ShadowSyndicate ได้สแกนหาเซิร์ฟเวอร์ที่มีความเสี่ยงต่อช่องโหว่ CVE-2024-23334 แต่ยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมว่านำไปสู่การโจมตีเครือข่ายได้สำเร็จหรือไม่

ในส่วนของพื้นที่การโจมตีของช่องโหว่ CVE-2024-23334 บน aiohttp Python library ทาง internet scanner ODIN ของ Cyble ได้แสดงให้เห็นว่ามี aiohttp instance ที่เปิดให้เข้าถึงได้บนอินเทอร์เน็ตประมาณ 44,170 รายการทั่วโลก ส่วนใหญ่ (15.8%) ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือเยอรมนี (8%) สเปน (5.7%) สหราชอาณาจักร อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย และจีน

ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุ หรือแยกเวอร์ชันของอินสแตนซ์ที่เข้าถึงบนอินเทอร์เน็ตได้ ทำให้ยากต่อการระบุจำนวนเซิร์ฟเวอร์ aiohttp ที่มีช่องโหว่ รวมถึง open-source library มักจะมีการใช้เวอร์ชันที่ล้าสมัยเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากปัญหาในการใช้งาน จึงทำให้การค้นหา และแก้ไข library มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงกลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีช่องโหว่ของกลุ่ม Hacker

ที่มา : bleepingcomputer

นักวิจัยพบ 3 ช่องโหว่ใหม่บน Microsoft Azure API Management Service

นักวิจัยจาก Ermetic บริษัทรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ของอิสราเอล เปิดเผยช่องโหว่ด้านความปลอดภัยใหม่ 3 รายการในบริการ Microsoft Azure API Management ที่เสี่ยงต่อการถูกนำไปไปใช้ในการโจมตีเพื่อเข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญ จาก backend service (more…)

Apache ออก Patch ใหม่แก้ไขช่องโหว่ Zero-day ที่นำไปสู่ RCE Attacks

Apache Software Foundation ได้เผยแพร่การอัปเดตความปลอดภัยเพิ่มเติมสำหรับ HTTP Server เพื่อแก้ไขสิ่งที่ถูกระบุว่าเป็น "การแก้ไขที่ไม่สมบูรณ์" สำหรับช่องโหว่ Path Traversal และ Remote Code Execution ซึ่งได้รับการแก้ไขไปก่อนหน้านี้

CVE-2021-42013 ช่องโหว่ใหม่นี้ถูกระบุว่าถูกสร้างขึ้นจากช่องโหว่ CVE-2021-41773 ซึ่งเป็นช่องโหว่ Path Traversal ที่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึง และดูไฟล์ที่จัดเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ได้ โดยจะส่งผลกระทบต่อ Apache web servers เวอร์ชัน 2.4.49
แม้ว่าช่องโหว่นั้นจะได้รับการแก้ไขในเวอร์ชัน 2.4.50 แต่เพียงหนึ่งวันหลังจากมีการปล่อยแพตช์ ช่องโหว่นี้ถูกนำไปใช้ในการทำ Remote Code Execution หากโมดูล "mod_cgi" ถูกโหลดและกำหนดค่า "require all denied" จึงทำให้ Apache ต้องออกการอัปเดตแพตช์ฉุกเฉินอีกรอบ

Apache ได้ให้คำแนะนำสำหรับ "การแก้ไขช่องโหว่ CVE-2021-41773 ใน Apache HTTP Server 2.4.50 นั้นไม่เพียงพอ ผู้โจมตีสามารถใช้การโจมตีแบบ Path Traversal เพื่อจับคู่ URL กับไฟล์ที่อยู่นอกไดเรกทอรีที่กำหนดค่าโดยคำสั่ง Alias-like" หากไฟล์ที่อยู่นอกไดเร็กทอรีเหล่านี้ไม่ได้รับการป้องกันโดยการกำหนดค่า Default 'require all dissolve' คำขอเหล่านี้ก็สามารถดำเนินการได้สำเร็จ หากสคริปต์ CGI ถูกเปิดใช้งานสำหรับ aliased paths ซึ่งจะทำให้สามารถเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้

Apache Software Foundation ให้เครดิต Juan Escobar จาก Dreamlab Technologies, Fernando Muñoz จาก NULL Life CTF Team และ Shungo Kumasaka ในการรายงานช่องโหว่

สำนักงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ และโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐอเมริกา (CISA) กล่าวว่า "พบการสแกนระบบที่มีช่องโหว่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะเร็วขึ้น และมีแนวโน้มว่าจะนำไปสู่การโจมตี" จึงแนะนำให้ทุกองค์กรดำเนินการแก้ไขช่องโหว่ทันทีหากยังไม่ได้ดำเนินการ

คำแนะนำ
ผู้ใช้ทุกคนควรอัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุด (2.4.51) เพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับช่องโหว่ดังกล่าว

ที่มา: thehackernews.

แฮกเกอร์พบช่องโหว่ใหม่สำหรับข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนบน Router ที่ใช้เฟิร์มแวร์ Arcadyan กระทบผู้ใช้งานจำนวนมาก

 

กลุ่มแฮกเกอร์ไม่ทราบชื่อกำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ร้ายแรงในการข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน ทำให้สามารถเข้าควบคุม Router และแพร่มัลแวร์ Mirai botnet เพื่อใช้ในการโจมตี DDoS

CVE-2021-20090 (CVSS score: 9.9) เป็นช่องโหว่ Path Traversal บนเว็บอินเตอร์เฟสของ Router ซึ่งทำให้แฮกเกอร์สามารถข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนเพื่อเข้าควบคุม Router ได้ ซึ่งช่องโหว่นี้เกิดขึ้นกับเฟิร์มแวร์ของ Arcadyan โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Tenable ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ว่าช่องโหว่นี้น่าจะมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว  ซึ่งส่งผลกระทบกับ Router อย่างน้อย 20 รุ่นจากผู้ผลิต 17 ราย

 

การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้จะทำให้แฮกเกอร์สามารถข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน และเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ ได้ เช่น Request tokens ซึ่งสามารถใช้เพื่อส่ง Request ไปแก้ไขการตั้งค่าของ Router ได้

ต่อมาไม่นาน Juniper Threat Labs ก็ค้นพบการโจมตีซึ่งพยายามจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้มาจาก IP address ซึ่งระบุว่าอยู่ในประเทศจีน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม ที่แฮกเกอร์พยายามจะปล่อย Mirai botnet ไปยัง Router ต่างๆ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าพฤติกรรมการโจมตีที่พบนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการโจมตีจากแฮกเกอร์กลุ่มเดียวกันกับรายงานเหตุการณ์การโจมตีของผู้เชี่ยวชาญจาก Palo Alto Network ซึ่งได้พบเห็นการโจมตีในรูปแบบเดียวกันนี้ตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม

นอกจากช่องโหว่ CVE-2021-20090 แล้ว แฮกเกอร์ยังพยายามใช้ช่องโหว่อื่นๆ ในการโจมตี Router อีก เช่น

CVE-2020-29557 (Pre-authentication remote code execution in D-Link DIR-825 R1 devices)
CVE-2021-1497 และ CVE-2021-1498 (Command injection vulnerabilities in Cisco HyperFlex HX)
CVE-2021-31755 (Stack buffer overflow vulnerability in Tenda AC11 leading to arbitrary code execution)
CVE-2021-22502 (Remote code execution flaw in Micro Focus Operation Bridge Reporter)
CVE-2021-22506 (Information Leakage vulnerability in Micro Focus Access Manager)

เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตี ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ผู้ใช้งานพยายามอัพเดตเฟิร์มแวร์ของ Router ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันอยู่เสมอ

ที่มา: thehackernews

ข้อผิดพลาดของ Cloudflare CDNJS อาจนำไปสู่การโจมตีในรูปแบบ Supply-Chain Attack

เมื่อเดือนที่แล้ว Cloudflare บริษัทผู้ให้บริการระบบเครือข่าย network และรักษาความปลอดภัยเว็บไซต์ ได้แก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญในไลบรารี CDNJS ซึ่งมีการใช้งานอยู่ที่ 12.7% ของเว็บไซต์ทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ต

CDNJS เป็นเครือข่ายการส่งเนื้อหา (Content Delivery Network) แบบโอเพ่นซอร์สที่ให้บริการฟรี ซึ่งให้บริการไลบรารี JavaScript และ CSS ประมาณ 4,041 รายการ ทำให้เป็น CDN ไลบรารี JavaScript ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสองรองจาก Google Hosted Libraries

ข้อผิดพลาดเกี่ยวข้องกับปัญหาในเซิร์ฟเวอร์อัปเดตไลบรารี CDNJS ที่อาจอนุญาตให้ผู้โจมตีดำเนินการรันคำสั่งที่เป็นอันตรายได้ และนำไปสู่การเข้าถึงระบบโดยสมบูรณ์

ช่องโหว่ดังกล่าวถูกค้นพบและรายงานโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัย RyotaK เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2564 ซึ่งยังไม่พบหลักฐานว่ามีการใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีจริง

ช่องโหว่นี้ทำงานโดยการส่งแพ็คเกจไปยัง CDNJS ของ Cloudflare โดยใช้ GitHub และ npm ใช้เพื่อทริกเกอร์ช่องโหว่ path traversal และท้ายที่สุดคือทำให้เซิร์ฟเวอร์สามารถเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลได้ น่าสังเกตว่าโครงสร้างพื้นฐานของ CDNJS มีการอัปเดตไลบรารีเป็นอัตโนมัติโดยเรียกใช้สคริปต์บนเซิร์ฟเวอร์เป็นระยะ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องจากที่เก็บ Git ซึ่งมีการจัดการโดยผู้ใช้หรือรีจิสตรีแพ็กเกจ npm

RyotaK พบว่า "สามารถเรียกใช้โค้ดได้ หลังจากดำเนินการ path traversal จากไฟล์ .tgz ไปยัง npm และเขียนทับสคริปต์ที่ทำงานเป็นประจำบนเซิร์ฟเวอร์" และ “ช่องโหว่นี้สามารถโจมตีได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะพิเศษใดๆ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์จำนวนมากได้ ทำให้เป็นไปได้ว่าจะเกิดการโจมตีช่องโหว่นี้ในลักษณะ Supply-chain ได้"

เป้าหมายของการโจมตีคือการส่งแพ็คเกจที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษไปยังที่เก็บ จากนั้นจะเลือกเซิร์ฟเวอร์อัปเดตไลบรารี CDNJS เพื่อเผยแพร่แพ็คเกจ กระบวนการคือการคัดลอกเนื้อหาของแพ็คเกจที่เป็นอันตรายไปยังโฮสต์ไฟล์สคริปต์ปกติที่เรียกใช้งานเป็นประจำบนเซิร์ฟเวอร์ ส่งผลให้มีการเรียกใช้โค้ดอันตรายได้

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบช่องโหว่ในลักษณะดังกล่าว โดยในเดือนเมษายน 2564 RyotaK ได้เปิดเผยช่องโหว่ที่สำคัญในที่เก็บ Homebrew Cask ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้บนเครื่องของผู้ใช้งาน

ที่มา : thehackernews

พบ Ransomware ตัวใหม่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เก่าของ Fortinet VPN เพื่อโจมตีเครื่องที่ยังไม่ได้แพทช์

Cring ransomware เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ล่าสุดที่พบว่าอาศัยช่องโหว่ของ Fortinet SSL VPN (CVE-2018-13379) ที่สามารถถูกใช้เพื่อดึงข้อมูล credentials ของผู้ใช้งาน VPN ออกมาได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนผ่านการส่ง http request ที่ถูกดัดแปลงแล้ว (Path Traversal) และได้มีการเปิดเผย IP ของอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวนี้เป็น human-operated ransomware นั่นคือเป็น ransomware ที่มีการปฏิบัติการและควบคุมโดยแฮ็กเกอร์อยู่เบื้องหลัง

เริ่มต้นด้วยการโจมตีช่องโหว่ของ Fortinet VPN จากนั้นจึงอาศัยข้อมูลที่ได้มาเข้าไปติดตั้ง Mimikatz ที่ถูกดัดแปลงลงบนเครื่องเหยื่อ ตามด้วย CobaltStrike และวาง ransomware ด้วยการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม CertUtil ของ Windows เอง เพื่อหลบหลีกการตรวจจับ Mimikatz จะถูกใช้เพื่อกวาด credentials ที่อาจหลงเหลืออยู่บนเครื่องเหยื่อ เพื่อนำไปเข้าถึงเครื่องอื่นๆ ต่อไป (Lateral movement) เช่น domain admin เป็นต้น จากนั้นจึงใช้ CobaltStrike เป็นเครื่องมือในการแพร่กระจายไฟล์ ransomware ไปยังเครื่องอื่นๆ

ถึงแม้ช่องโหว่ที่ค่อนข้างเก่า แต่ก็มีความรุนแรงสูงมาก (9.8/10) ผู้ใช้งาน Fortinet SSL VPN ที่ยังเป็น FortiOS 6.0.0 to 6.0.4, 5.6.3 to 5.6.7 และ 5.4.6 ถึง 5.4.12 ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ และดำเนินการแพทช์โดยเร็วที่สุด สำหรับ IOCs สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานของ Kaspersky ตามลิงก์ด้านล่าง : kaspersky

ที่มา: bleepingcomputer

แจ้งเตือนช่องโหว่ Code injection ในไลบรารี Node.js “systeminformation”

นักพัฒนาของไลบรารี Node.js "systeminformation" ได้มีการเผยแพร่เวอร์ชันของไลบรารีดังกล่าวหลังจากมีการตรวจพบช่องโหว่ Command injection ในตัวไลบรารีซึ่งปัจจุบันถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-21315 ความน่ากังวลของสถานการณ์ดังกล่าวนั้นอยู่ที่ความนิยมของไลบรารีนี้ที่มียอดดาวน์โหลดรายสัปดาห์สูงถึง 800,000 ครั้ง ซึ่งหลังจากมีการเปิดเผยการแพตช์ไป อาจทำให้เกิดการโจมตีที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างได้

ไลบรารี systeminformation เป็นไลบรารีใน Node.

SAP ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่จำนวน 13 รายการ ในเเพตซ์ประจำเดือนธันวาคม 2020

SAP ประกาศการอัปเดตเเพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคม 2020 หรือ SAP Security Patch Day December 2020 โดยในเดือนธันวาคมนี้ SAP ได้ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญจำนวน 13 รายการ ซึ่งช่องโหว่ที่ได้รับการเเก้ไขมี 4 รายการที่มีช่องโหว่ระดับความรุนแรงจาก CVSSv3 อยู่ที่ 9.1 - 10 และส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ SAP NetWeaver AS JAVA, SAP BusinessObjects Business Intelligence Platform, SAP Business Warehouse และ SAP AS ABAP and S/4 HANA โดยรายละเอียดของโหว่ที่มีความสำคัญมีดังนี้

CVE-2020-26829 (CVSSv3: 10/10) เป็นช่องโหว่ที่เกิดจากปัญหาในการตรวจสอบการพิสูจน์ตัวตนใน SAP NetWeaver AS JAVA (P2P Cluster Communication) ช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ (P2P Cluster Communication) เวอร์ชัน 7.11, 7.20, 7.30, 7.31, 7.40 และ 7.50
CVE-2020-26831 (CVSSv3: 9.6/10) เป็นช่องโหว่การขาดการตรวจสอบ XML ใน BusinessObjects Business Intelligence Platform (Crystal Report) ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถแทรกเอนทิตี XML โดยช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ BusinessObjects Business Intelligence Platform (Crystal Report) เวอร์ชัน 4.1, 4.2 และ 4.3
CVE-2020-26838 (CVSSv3: 9.1/10) เป็นช่องโหว่ Code Injection ใน SAP Business Warehouse (Master Data Management) และ SAP BW4HANA ช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP AS ABAP(DMIS) เวอร์ชัน 011_1_620, 2011_1_640, 2011_1_700, 2011_1_710, 2011_1_730, 2011_1_731, 2011_1_752, 2020 และ SAP S4 HANA(DMIS) เวอร์ชัน 101, 102, 103, 104, 105
CVE-2020-26837 (CVSSv3: 9.1/10) เป็นช่องโหว่ Path traversal และช่องโหว่ที่เกิดจากปัญหาในการตรวจสอบการพิสูจน์ตัวตนใน SAP Solution Manager 7.2 (User Experience Monitoring) โดยช่องโหว่จะมีผลกระทบกับ SAP Solution Manager เวอร์ชัน 7.2
ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งานควรรีบทำการอัปเดตเเพตซ์เป็นการด่วนเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ ผู้ที่สนใจรายละเอียดแพตช์เพิ่มเติมสามารถดูได้จากเเหล่งที่มา

ที่มา: securityweek | wiki.

แจ้งเตือนช่องโหว่ใหม่ใน Citrix SD-WAN ทำ Remote Code Execution ได้

Citrix ออกประกาศและแพตช์สำหรับ 3 ช่องโหว่ใหม่ในแพลตฟอร์ม Citrix SD-WAN ได้แก่ CVE-2020-8721, CVE-2020-8272 และ CVE-2020-8273

ในส่วนของ 2 ช่องโหว่แรกนั้น ช่องโหว่ CVE-2020-8271 เป็นช่องโหว่ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถโจมตีด้วยวิธีการ Path traversal แบบไม่ต้องมีการยืนยันตัวตนรวมไปถึงทำ Shell injection ได้ ช่องโหว่ CVE-2020-8272 เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถข้ามผ่านการระบุตัวตนได้ การโจมตีจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อแฮกเกอร์สามารถเข้าถึงหมายเลขไอพีแอดเดรสขา Management หรือ FQDN ของระบบ SD-WAN ได้

สำหรับช่องโหว่ที่สามนั้น ช่องโหว่ CVE-2020-8273 เป็นช่องโหว่ในลักษณะ Shell injection ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งของระบบได้ เงื่อนไขการโจมตีของช่องโหว่นี้อยู่ที่ผู้โจมตีจะต้องผ่านการพิสูจน์ตัวตนเป็นผู้ใช้งานในระบบก่อน

ช่องโหว่ทั้งหมดส่งผลกระทบต่อ Citrix SD-WAN Center ก่อนเวอร์ชัน 11.2.2, 11.1.2b และ 10.2.8 และยังไม่มีการประเมินคะแนนตามแนวทางของ CVSS ออกมา อย่างไรก็ตามขอให้ผู้ใช้งานติดตามและดำเนินการอัปเดตแพตช์ตามความเหมาะสมโดยด่วนด้วยลักษณะของผลกระทบจากช่องโหว่ที่สูง

ที่มา: threatpost