PoC ของช่องโหว่ SSH auth bypass ระดับ critical ใน VMware ถูกปล่อยออกมาแล้ว

ชุดสาธิตการโจมตีช่องโหว่ Proof-of-Concept (PoC) ของช่องโหว่ VMware SSH auth bypass ในเครื่องมือวิเคราะห์ Aria Operations for Networks ของ VMware (เดิมชื่อ vRealize Network Insight) ซึ่งมีความรุนแรงระดับ critical ได้ถูกเผยแพร่ออกมาแล้ว

CVE-2023-34039 หรือช่องโหว่ VMware SSH auth bypass (คะแนน CVSS 9.8 ความรุนแรงระดับ critical ) เป็นช่องโหว่การหลีกเลี่ยงการยืนยันตัวตนผ่าน SSH และทำให้สามารถโจมตีได้จากภายนอก ถูกพบโดยนักวิเคราะห์ความปลอดภัยที่ ProjectDiscovery Research ซึ่งส่งผลกระทบต่อ Aria Operations for Networks เวอร์ชัน 6.2 / 6.3 / 6.4 / 6.5.1 / 6.6 / 6.7 / 6.8 / 6.9 / 6.10 โดยต่อมาได้รับการแก้ไขแล้วโดย VMware ในเวอร์ชัน 6.11 (more…)

ช่องโหว่ใน Less.js อาจทำให้ AWS Secret Keys รั่วไหล

นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ Software Secured บริษัทสัญชาติแคนาดาระบุช่องโหว่ร้ายแรงใน Less.

Google emits data-leaking proof-of-concept Spectre exploit for Intel CPUs to really get everyone’s attention

Google เผยแพร่โค้ด PoC สำหรับช่องโหว่ Spectre พุ่งเป้าโจมตีเอนจิน JavaScript

Google ได้ทำการเผยแพร่โค้ด Proof-of-Concept (PoC) เพื่อแสดงให้เห็นถึงการใช้งานจริงของการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Spectre (CVE-2017-5753) เพื่อโจมตี JavaScript engine บนเว็บเบราว์เซอร์และใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการเข้าถึงข้อมูลจากในหน่วยความจำของเบราว์เซอร์

ผู้ที่สนใจรายละเอียดการโจมตีสามารถอ่านรายละเอียดของช่องโหว่เพิ่มเติมได้ที่ https://www.

Cisco เปิดตัวแพตช์แก้ไขช่องโหว่ RCE ใน Cisco Security Manager

Cisco ได้เปิดตัวแพตช์การอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล (Remote Code Execution - RCE) ใน Cisco Security Manager (CSM) เวอร์ชัน 4.22 และรุ่นก่อนหน้า ที่ถูกใช้ใน Cisco ASA appliances, Cisco Catalyst 6000 Series Switches, Integrated Services Routers (ISRs), และ Firewall Services modules หลังจาก Florian Hauser นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Code White ได้เปิดเผย PoC ของช่องโหว่ต่อสาธารณะในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ช่องโหว่ทั้ง 12 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-27131 โดยช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีที่ไม่ได้รับการพิสูจน์ตัวตนสามารถรันโค้ดได้จากระยะไกลได้ ซึ่งช่องโหว่ยังสามารถทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างคำขอที่เป็นอันตรายตลอดจนอัปโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ได้โดยไม่ได้รับอนุญาตในนามของบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์สูงสุด "NT AUTHORITY\SYSTEM"

ทีม Cisco Product Security Incident Response Team (PSIRT) กล่าวว่าในขณะที่ทำการแก้ไขช่องโหว่นี้ เป็นความโชคดีที่ยังไม่พบการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ทั้งนี้ Cisco ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่เหล่านี้แล้วใน Cisco Security Manager เวอร์ชัน 4.22 Service Pack 1 ผู้ดูแลระบบควรรีบทำการอัปเดตและติดตั้งเเพตช์ เพื่อเเก้ไขช่องโหว่และเพื่อเป็นการป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา: bleepingcomputer | securityaffairs

CISA เตือนภัยผู้ใช้ Apache Struts 2 ให้รีบทำการอัพเดตเเพตซ์หลังมีผู้ปล่อย PoC ของช่องโหว่ลง GitHub

หน่วยงาน Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) ได้ออกคำเเนะนำและเเจ้งเตือนให้ผู้ดูเเลระบบและผู้ใช้ Apache Struts 2 ให้ทำการอัปเดตเเพตซ์เพื่อเเก้ไขช่องโหว่หลังพบว่ามีผู้ปล่อย PoC ของช่องโหว่ลง GitHub

ช่องโหว่ที่สำคัญและได้คำเเนะนำให้รีบอัปเดตเเพตซ์คือ CVE-2019-0230 และ CVE-2019-0233 มีผลกระทบกับ Apache Struts เวอร์ชัน 2.0.0 ถึง 2.5.20

ช่องโหว่ CVE-2019-0230 เป็นช่องโหว่ที่เกิดจากการการประมวลผลแท็กภายในแอตทริบิวต์ของ Object-Graph Navigation Language (OGNL) เมื่อ Struts พยายามทำการประมวลผลแท็กอินพุตภายในแอตทริบิวต์ ช่องโหว่จะทำส่งผลให้ผู้โจมตีที่ส่ง OGNL ที่เป็นอันตรายสามารถเรียกใช้โค้ดจากระยะไกล ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบโดย Matthias Kaiser จาก Apple Information Security

ช่องโหว่ CVE-2019-0233 เป็นช่องโหว่ในการเเก้ไขสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ในระหว่างการอัปโหลดไฟล์ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถแก้ไขคำขอระหว่างการดำเนินการอัปโหลดไฟล์ การดำเนินการในลักษณะนี้จะส่งผลให้ไฟล์ที่ทำการอัปโหลดล้มเหลว เมื่อเกิดความพยายามทำหลายๆ ครั้งอาจส่งผลให้เกิดการปฏิเสธเงื่อนไขการให้บริการหรือ Denial of service (DoS) ช่องโหว่นี้ถูกค้นพบโดย Takeshi Terada จาก Mitsui Bussan Secure Directions, Inc

CISA ได้ออกคำเเนะนำให้ผู้ดูเเลระบบและผู้ใช้ Apache Struts 2 ให้รีบทำการอัปเดตเเพตซ์ให้เป็น Apache Struts เวอร์ชั่น 2.5.22 เพื่อเเก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวและป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จาก PoC ของช่องโหว่ที่ถูกเปิดภายใน GitHub ทำการโจมตีระบบ

ที่มา:

us-cert.

นักวิจัยทำการเผยเเพร่ PoC ช่องโหว่ Zero-day ในฟอรั่มยอดนิยม vBulletin

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Amir Etemadieh จาก Austin-based ได้ทำการเผยแพร่รายละเอียดทางเทคนิคและโค้ด Proof-of-Concept (PoC) สำหรับช่องโหว่ Zero-day การเรียกใช้รหัสระยะไกลใน vBulletin

ช่องโหว่ที่ได้รับการเปิดเผยนี้เป็นช่องโหว่ใหม่ใช้สำหรับทำการ Bypass เเพตซ์ความปลอดภัยช่องโหว่ CVE-2019-16759 ที่ได้รับการเปิดเผยมาแล้วในเดือนกันยายน 2019 ซึ่งช่องโหว่ CVE-2019-16759 จะอนุญาตให้ผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากจุดบกพร่องในระบบเทมเพลตของ vBulletin เพื่อเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายและเข้ายึดฟอรั่มโดยไม่จำเป็นต้องตรวจสอบสิทธิ์และได้รับการเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ไปแล้ว

Etemadieh อธิบายว่าช่องโหว่ที่เขาได้ทำการเผยเเพร่ต่อสาธารณะนี้เกิดจากการล้มเหลวและการเเก้ไขช่องโหว่ไม่ถูกจุดของ vBulletin และใช้เวลาในการเเก้ไขช่องโหว่นี้นานกว่าหนึ่งปี สิ่งนี้จึงทำให้เขารู้สึกการเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดเป็นทางออกที่ดีเพื่อจะช่วยให้เร่งสู่การเเก้ไข ซึ่ง PoC ที่ได้รับเปิดเผยนี้จะกระทบกับ vBulletin เวอร์ชั่นก่อน 5.6.2

ทีมงาน vBulletin ได้เเนะนำให้ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบควรรีบทำการอัปเกรด vBulletin เป็นเวอร์ชั่น 5.6.2 โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์จาก PoC ที่ถูกเปิดเผยทำการโจมตีระบบ ส่วนสำหรับผู้ดูแลที่ไม่สามารถทำการอัปเกรด vBulletin ได้ในขณะนี้ให้ทำการบรรเทาการใช้ช่องโหว่โดยการตั้งค่าดังนี้

ไปที่ vBulletin administrator control panel
คลิก "Setting" ในเมนูทางด้านซ้ายจากนั้นคลิก "Option" ในเมนู Drop down
จากนั้นเลือก “General Setting” จากนั้นคลิก “Edit Setting”
จากนั้นมองหา “Disable PHP, Static HTML และ Ad Module rendering” ให้ทำการเซตเป็น “Yes”
กด “Save”

ที่มา:

bleepingcomputer.

แจ้งเตือน POC ช่องโหว่ SMBGhost บน Windows 10 ถูกปล่อยสู่สาธารณะแล้ว

นักวิจัยได้เปิดเผยว่า PoC ของช่องโหว่รหัส CVE-2020-0796 (CVSS 10) หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ SMBGhost ซึ่งเป็นช่องโหว่การโจมตีจากระยะไกลที่ใช้ประโยชน์จากโปรโตคอล Microsoft Server Message Block (SMB 3.1.1) บน Windows 10 ซึ่งช่องโหว่นี้สามรถทำให้ผู้โจมตีใช้ประโยชน์จากโหว่โหว่ทำการเเพร่กระจายมัลแวร์ไปบนระบบที่มีช่องโหว่

ช่องโหว่ SMBGhost นั้นมีผลกับ Windows 10 เวอร์ชั่น 1909 และ 1903 รวมถึง Server Core ซึ่ง Microsoft ได้ออกเเพตซ์การป้องกันแล้วใน Microsoft Tuesday เเพตซ์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

นักวิจัยด้านความปลอดภัยชื่อ Chompie ได้ทำการแชร์ PoC สำหรับช่องโหว่ SMBGhost สู่สาธารณะและกล่าวว่า PoC นี้สามารถทำงานได้ดีบน Windows 10 เวอร์ชั่น 1903 และมีบุคคลจำนวนมากใช้ PoC จากช่องโหว่นี้ได้สำเร็จ นักวิจัยยังกล่าวว่าที่ผ่านมามีนักวิจัยด้านความปลอดภัยจำนวนมากทำการหาช่องทางการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ แต่ผลลัพธ์นั้นถูกจำกัดอยู่ที่การยกระดับสิทธ์ผู้ใช้ (local privilege escalation) และการทำ denial of service เพื่อให้เกิด blue screen

หน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐานทางไซเบอร์ (CISA) ได้ออกแจ้งเตือนให้ผู้ใช้งาน Microsoft Windows 10 ระมัดระวังผู้ไม่หวังดีที่ทำการใช้ PoC สำหรับช่องโหว่ CVE-2020-0796 ทำการหาประโยชน์จากผู้ใช้งานและได้ออกคำเเนะนำให้ผู้ดูแลระบบทำการใช้ไฟร์วอลล์เพื่อบล็อกพอร์ต TCP 445 จากอินเทอร์เน็ตและทำการอัพเดตเเพตซ์คำความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อป้องกันการถูกโจมตี

สำหรับผู้ที่สนใจ Poc สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติ่มได้ที่: www.

แพตช์ด่วน มีการปล่อย POC สำหรับช่องโหว่ RCE ใน Microsoft SQL Server Reporting Services แล้ว

แพตช์ด่วน มีการปล่อย POC สำหรับช่องโหว่ RCE ใน Microsoft SQL Server Reporting Services แล้ว

ช่องโหว่ CVE-2020-0618 เป็นช่องโหว่ใน Microsoft SQL Server Reporting Services ซึ่งเป็นส่วนสำหรับการออกรายงานใน Microsoft SQL Server ช่องโหว่ดังกล่าวทำให้ผู้โจมตีที่สามารถเข้าสู่ระบบสามารถโจมตีด้วยการรันคำสั่งอันตรายจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution หรือ RCE) ช่องโหว่นี้กระทบ Microsoft SQL Server รุ่น 2012, 2014 และ 2016 โดยได้รับการแก้ไขไปในแพตช์ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2020 ที่ผ่านมา

ซึ่งในขณะนี้มีการเผยแพร่โค้ด Proof of Concept (POC) สำหรับใช้โจมตีช่องโหว่ดังกล่าวสู่สาธารณะแล้วรวมถึงพบการแสกนเพื่อหาเครื่อง Microsoft SQL Server ที่มีช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว

ทั้งนี้ Kevin Beaumont (@GossiTheDog) นักวิจัยด้านความปลอดภัยให้ความเห็นว่าช่องโหว่ดังกล่าวอาจกระทบไปจนถึง Microsoft SQL Server 2008 ซึ่งหมดระยะการสนับสนุนจึงไม่ได้แพตช์อีกด้วย

ที่มา : mdsec