กลุ่ม Hacker ชาวจีนโจมตีผู้ให้บริการโทรคมนาคมในตะวันออกกลาง

SentinelOne และ QGroup บริษัทด้านความปลาดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยรายงานการพบกลุ่ม Hacker ชาวจีน ได้โจมตีไปยังผู้ให้บริการโทรคมนาคมในตะวันออกกลางในช่วงต้นปี 2023 ในชื่อแคมเปญ Operation Soft Cell โดยกลุ่มดังกล่าวถูกพบว่ามีเป้าหมายการโจมตีไปยังผู้ให้บริการโทรคมนาคมมาตั้งแต่ปี 2012

กลุ่ม Gallium

โดยหนึ่งในแคมเปญ Soft Cell ที่ Microsoft กำลังติดตามในชื่อ Gallium ซึ่ง Gallium ได้มุ่งเป้าการโจมตีไปยังอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้โดยตรงจากอินเตอร์เน็ตที่ยังไม่ได้อัปเดตแพตซ์ด้านความปลอดภัย โดยจะใช้เครื่องมืออย่าง Mimikatz เวอร์ชันที่มีการปรับปรุงชื่อว่า mim221 ซึ่งสร้างขึ้น (more…)

พบผู้ไม่หวังดีติดตั้งมัลแวร์ขโมยข้อมูลชนิดใหม่บนระบบของหน่วยงานรัฐในเอเชีย

ผู้เชี่ยวชาญจาก Symentec พบพฤติกรรมการโจมตีที่มุ่งเน้นไปที่หน่วยงานรัฐในแถบเอเชีย เป้าหมายในครั้งนี้มีทั้งบริษัทการบินอวกาศและการป้องกันประเทศ, บริษัทโทรคมนาคมและองค์กรไอที โดยแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกับกลุ่มที่ใช้ "ShadowPad" RAT ในแคมเปญก่อนหน้านี้ แต่ในครั้งนี้ผู้โจมตีมีการใช้ Tools ที่หลากหลายมากขึ้นและจากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ พบว่าการโจมตีนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 และยังดำเนินการต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป้าหมายของการโจมตีมีหน่วยงานรัฐดังต่อไปนี้

บริษัทส่วนงานราชการ/สำนักนายกรัฐมนตรี
สถาบันของรัฐที่เชื่อมโยงกับการเงิน
บริษัทการบินอวกาศและการป้องกันของรัฐ
บริษัทโทรคมนาคมของรัฐ
หน่วยงานด้านไอทีของรัฐ
หน่วยงานสื่อของรัฐ

ลักษณะการโจมตี

การโจมตีเริ่มต้นด้วยการติดตั้งไฟล์ . DLL ที่เป็นอันตราย โดยใช้วิธีการ Execute จากโปรแกรมปกติที่ที่อยู่บนเครื่องเพื่อโหลดไฟล์ .dat จากนั้นไฟล์จะถูกส่งไปยังเครื่องเป้าหมายผ่านวิธีการ side-loaded ซึ่งในครั้งนี้ผู้โจมตีใช้ Bitdefender Crash Handler ที่มีอายุ 11 ปีในการโจมตี
เมื่อไฟล์ .dat เข้ามาในเครื่องแล้ว ข้างในจะมีเพย์โหลดที่ประกอบไปด้วย Shellcode อยู่ ซึ่ง Shellcode นี้สามารถใช้คำสั่งเพื่อดึงเพย์โหลดอื่นๆ ที่เป็นอันตรายมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ โดยเป็นการเรียกจาก Memory โดยตรง
สามวันหลังจาก Backdoor ถูกติดตั้งบนเครื่องเป้าหมาย ผู้โจมตีได้ทำการติดตั้งโปรแกรม ProcDump ลงไปเพื่อขโมย Credential ของผู้ใช้งานจาก Local Security Authority Server Service (LSASS) ซึ่งในวันเดียวกัน ทีม Penetration Testing ของบริษัท LadonGo ได้ทดสอบเจาะระบบโดยใช้วิธี DLL hijacking เพื่อทำการ side-loaded ด้วยเช่นกัน
อีกสองสัปดาห์ต่อมา ผู้โจมตีได้ทำการติดตั้ง Mimikatz ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้กันแพร่หลายในการขโมยข้อมูลประจำตัว
ต่อมา ผู้โจมตีเริ่มมีการใช้ PsExec ในการเรียกใช้งาน Crash Handler เพื่อทำการ DLL hijacking ติดตั้งโหลดเพย์โหลดบนคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ในเครือข่าย
หนึ่งเดือนหลังจากการโจมตีครั้งแรก ผู้โจมตีได้สิทธิ์ High Privileged บนระบบที่สามารถสร้าง Account ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังได้รับสิทธิ์ในการเข้าสู่ User Credentials และ log files บน Active Direcory ได้อีกด้วย
เหตุการณ์สุดท้าย พบว่าผู้โจมตีมีการใช้ Fscan ในการโจมตีผ่านช่องโหว่ CVE-2021-26855 (Proxylogon) บน Exchange Servers บนเครือข่าย

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้เชี่ยวชาญพบหนึ่งใน Tools ที่ใช้ในการโจมตีครั้งนี้คือ (Infostealer.

เซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ถูกแฮ็กเพื่อติดตั้ง Hive Ransomware

กลุ่มแฮ็กเกอร์ในเครือของ Hive ransomware มุ่งเป้าการโจมตีไปที่เซิร์ฟเวอร์ Microsoft Exchange ที่มีช่องโหว่ของ ProxyShell เพื่อติดตั้ง Backdoors ต่างๆ รวมถึง Cobalt Strike beacon

โดยผู้โจมตีได้ทำการสอดแนมเครือข่าย ขโมยข้อมูลประจำตัวของบัญชีผู้ดูแลระบบ ข้อมูลที่สำคัญ และสุดท้ายก็มีการติดตั้งเพย์โหลดการเข้ารหัสไฟล์ ซึ่งรายละเอียดของข้อมูลมาจากบริษัทรักษาความปลอดภัย Varonis ซึ่งได้เข้าไปตรวจสอบการโจมตีของ Ransomware กับลูกค้ารายหนึ่งของบริษัท

ProxyShell เป็นชุดของช่องโหว่สามช่องโหว่ใน Microsoft Exchange Server ที่อนุญาตให้มีการเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวถูกใช้โดยผู้โจมตีหลายราย รวมถึงกลุ่ม Ransomware เช่น Conti, BlackByte, Babuk, Cuba และ LockFile

ช่องโหว่ดังกล่าวมีหมายเลขช่องโหว่เป็น CVE-2021-34473, CVE-2021-34523 และ CVE-2021-31297 และระดับความรุนแรงมีตั้งแต่ 7.2 (high) ถึง 9.8 (critical)

ช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2021 โดยรายละเอียดข้อมูลทางเทคนิคที่ครอบคลุมเกี่ยวกับช่องโหว่ดังกล่าวมีการเผยแพร่ออกมาในเดือนสิงหาคม 2021 และหลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เริ่มพบเห็นการโจมตีโดยการใช้ช่องโหว่ดังกล่าว

การที่กลุ่มแฮ็กเกอร์ในเครือของ Hive ประสบความสำเร็จในการใช้ประโยชน์จาก ProxyShell ในการโจมตีครั้งล่าสุด แสดงให้เห็นว่ายังมีเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ให้ยังสามารถโจมตีได้อยู่

หลังจากการโจมตีด้วยช่องโหว่ ProxyShell แฮ็กเกอร์ได้มีการฝัง Web shell 4 ตัวในไดเร็กทอรีของ Exchange ที่ทำให้สามารถเข้าถึงได้ และรันโค้ด PowerShell ที่มีสิทธิ์สูงในการดาวน์โหลด Cobalt Strike stagers

Web shell ที่ใช้ในการโจมตีครั้งนี้มีที่มาจาก public Git repository และถูกเปลี่ยนชื่อเพื่อหลบเลี่ยงการตรวจจับ

(more…)

พบ Ransomware ตัวใหม่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เก่าของ Fortinet VPN เพื่อโจมตีเครื่องที่ยังไม่ได้แพทช์

Cring ransomware เป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่สายพันธุ์ล่าสุดที่พบว่าอาศัยช่องโหว่ของ Fortinet SSL VPN (CVE-2018-13379) ที่สามารถถูกใช้เพื่อดึงข้อมูล credentials ของผู้ใช้งาน VPN ออกมาได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตนผ่านการส่ง http request ที่ถูกดัดแปลงแล้ว (Path Traversal) และได้มีการเปิดเผย IP ของอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่ออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว มัลแวร์เรียกค่าไถ่ตัวนี้เป็น human-operated ransomware นั่นคือเป็น ransomware ที่มีการปฏิบัติการและควบคุมโดยแฮ็กเกอร์อยู่เบื้องหลัง

เริ่มต้นด้วยการโจมตีช่องโหว่ของ Fortinet VPN จากนั้นจึงอาศัยข้อมูลที่ได้มาเข้าไปติดตั้ง Mimikatz ที่ถูกดัดแปลงลงบนเครื่องเหยื่อ ตามด้วย CobaltStrike และวาง ransomware ด้วยการดาวน์โหลดผ่านโปรแกรม CertUtil ของ Windows เอง เพื่อหลบหลีกการตรวจจับ Mimikatz จะถูกใช้เพื่อกวาด credentials ที่อาจหลงเหลืออยู่บนเครื่องเหยื่อ เพื่อนำไปเข้าถึงเครื่องอื่นๆ ต่อไป (Lateral movement) เช่น domain admin เป็นต้น จากนั้นจึงใช้ CobaltStrike เป็นเครื่องมือในการแพร่กระจายไฟล์ ransomware ไปยังเครื่องอื่นๆ

ถึงแม้ช่องโหว่ที่ค่อนข้างเก่า แต่ก็มีความรุนแรงสูงมาก (9.8/10) ผู้ใช้งาน Fortinet SSL VPN ที่ยังเป็น FortiOS 6.0.0 to 6.0.4, 5.6.3 to 5.6.7 และ 5.4.6 ถึง 5.4.12 ควรตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ และดำเนินการแพทช์โดยเร็วที่สุด สำหรับ IOCs สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายงานของ Kaspersky ตามลิงก์ด้านล่าง : kaspersky

ที่มา: bleepingcomputer

“Black-T” มัลแวร์ Crypto-mining พัฒนาความสามารถในการขโมยรหัสผ่านบนระบบ Linux

ทีมนักวิจัย Unit 42 จาก Palo Alto Networks ได้เผยถึงการพบเวิร์ม cryptojacking ที่มีชื่อว่า “Black-T” จากกลุ่ม TeamTNT ซึ่งเป็นกลุ่มที่รู้จักกันในการกำหนดเป้าหมายเพื่อโจมตี AWS จากนั้นทำการใช้ Monero (XMR) cryptocurrency โดยเวิร์มที่ถูกค้นพบนั้นได้ถูกพัฒนาใหม่ทั้งการเพิ่มความสามารถในการขโมยรหัสผ่านและเครื่องสแกนเครือข่ายเพื่อให้ง่ายต่อการแพร่กระจายไปยังอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่อื่นๆ

จากรายงานของทีมนักวิจัย Unit 42 พบว่า TeamTNT ได้เพิ่มความสามารถของมัลแวร์ในการใช้เครื่องมือ zgrab ซึ่งเป็นเครื่องมือสแกนเครือข่ายชนิดเดียวกับ pnscan และ masscan ที่อยู่ภายใน Black-T อยู่แล้วทำการสแกนเป้าหมาย ทั้งนี้เครื่องมือสแกน masscan ที่ใช้โดย Black-T ก็ได้รับการอัปเดตเพื่อกำหนดเป้าหมายเป็นพอร์ต TCP 5555 ซึ่งอาจบอกเป็นนัยว่า TeamTnT อาจกำหนดเป้าหมายไปที่อุปกรณ์ Android นอกจากนี้ Black-T ยังได้เพิ่ม Mimikatz แบบโอเพนซอร์สสองตัวคือ mimipy (รองรับ Windows / Linux / macOS) และ mimipenguin (รองรับ Linux) ทำการอ่านข้อมูลรหัสแบบ plaintext ภายในหน่วยความจำของระบบที่ถูกบุกรุกและส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ C&C ของ TeamTNT

ด้วยการรวมเทคนิคและขั้นตอนทั้งหมดเข้าด้วยกัน TeamTNT สามารถใช้บ็อตเน็ตของเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกบุกรุกเพื่อทำการสแกนหา Docker daemon API เพิ่มเติม ภายในเครือข่ายโดยใช้เครื่องมือ masscan, pnscan และ zgrab และเมื่อมัลแวร์สามารถบุกรุกแล้วได้จะทำการติดตั้ง Kubernetes และ Docker และหลังจากนั้นจะปรับใช้ payload binary ใน container เพื่อทำการเริ่มต้น Monero (XMR) cryptocurrency ภายในเครื่องที่บุกรุก

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบควรทำการตรวจสอบให้แน่ใจว่า Docker daemon API บนระบบคลาวด์ของท่านไม่ถูกเปิดเผยและสามารถเข้าถึงได้จากอินเตอร์เน็ตและเพื่อเป็นการป้องกันการตกเป็นเหยือของมัลแวร์ ผู้ดูแลระบบควรใช้ทำการติดตั้งและใช้งาน Next-Generation Firewall ในระบบของท่าน

ที่มา : bleepingcomputer

DarkHydrus Relies on Open-Source Tools for Phishing Attacks

DarkHydrus ใช้ Open-Source เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยการโจมตี spear-phishing ซึ่งออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูล Credential จากรัฐบาลและสถาบันการศึกษาในตะวันออกกลาง

นักวิจัยของ Palo Alto Networks Unit 42 พบว่ากลุ่มที่มีชื่อว่า "DarkHydrus" ได้ใช้เครื่องมือ Open-Source จาก GitHub ที่ชื่อว่า "Phishery" ช่วยในการโจมตีเพื่อขโมยมูล Credential โดยก่อนหน้านี้เคยใช้เป็น Meterpreter, Cobalt Strike, Invoke-Obfuscation, Mimikatz, PowerShellEmpire และ Veil ร่วมกับเอกสารที่เป็น Microsoft Office เพื่อรับคำสั่งจากระยะไกล

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายนพบว่ากลุ่มดังกล่าวได้ทำการโจมตีสถาบันการศึกษา โดยการส่งอีเมลล์ที่ใช้ Subject ว่า "Project Offer" และแนบเอกสารไฟล์ Word เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน จากนั้นจึงส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่เตรียมไว้

การโจมตีในลักษณะนี้ไม่ใช่วิธีการใหม่ ตัวอย่างเช่น WannaCry และ NotPetya เมื่อปีที่แล้ว ก็ได้มีการใช้ Mimikatz ช่วยในการขโมยข้อมูล Credential และใช้ PsExec เพื่อรับคำสั่งจากระยะไกล

ที่มา: bleepingcomputer