Google แก้ไขช่องโหว่ 2 รายการใน Vertex AI ที่อาจนำไปสู่การยกระดับสิทธิ์ และการรั่วไหลของ AI โมเดล

Google ได้แก้ไขช่องโหว่สองรายการในแพลตฟอร์ม Vertex AI ที่อาจนำไปสู่การยกระดับสิทธิ์ และการขโมยข้อมูลโมเดล Machine learning (ML) ที่ทำการ Fine-Tuned มาแล้ว และ Large Language Models (LLMs) ออกไปได้ ตามรายงานของ Unit 42 จาก Palo Alto Networks เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (12 พฤศจิกายน 2024) (more…)

ฟีเจอร์ AI ใหม่ของ Google Pixel สามารถวิเคราะห์บทสนทนาทางโทรศัพท์เพื่อตรวจจับการหลอกลวงได้

Google ได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เพื่อป้องกันการหลอกลวงโดยการใช้ AI ที่คอยตรวจสอบบทสนทนาทางโทรศัพท์บนอุปกรณ์ Google Pixel เพื่อจับรูปแบบการสนทนา และจะมีสัญญาณเตือนว่าผู้โทรอาจเป็นมิจฉาชีพ (more…)

Google แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day ใน Android สองรายการที่กำลังถูกใช้ในการโจมตีเป้าหมาย

Google ได้แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day บน Android ที่กำลังถูกใช้ในการโจมตีอย่างต่อเนื่อง 2 รายการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดตความปลอดภัยในเดือนพฤศจิกายน 2024 โดยมีการแก้ไขช่องโหว่รวมทั้งสิ้นจำนวน 51 รายการ (more…)

Errors ใน Google Meet ปลอม ถูกใช้เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ขโมยข้อมูล

แคมเปญใหม่ที่ชื่อว่า ClickFix กำลังหลอกล่อผู้ใช้งานให้ไปที่หน้าการประชุม Google Meet ปลอม ที่แสดงข้อความ Errors ปลอมเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ ทำให้มีการติดตั้งมัลแวร์สำหรับขโมยข้อมูลบนระบบปฏิบัติการ Windows และ macOS

ClickFix เป็นเทคนิค social-engineering ที่ถูกพบในเดือนพฤษภาคม โดยถูกรายงานครั้งแรกจากบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ Proofpoint ซึ่งมาจากผู้โจมตีกลุ่ม (TA571) ที่ใช้ข้อความในการปลอมแปลงเป็น Errors สำหรับ Google Chrome, Microsoft Word และ OneDrive

ข้อผิดพลาดเหล่านี้จะกระตุ้นให้ผู้ใช้งานทำการคัดลอกโค้ด PowerShell ลงในคลิปบอร์ด โดยอ้างว่าจะช่วยแก้ปัญหาเมื่อรันโค้ดใน Windows Command Prompt

โดยจะส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายมัลแวร์ไปยังระบบอื่น ๆ โดยมัลแวร์ที่มีการแแพร่กระจาย เช่น DarkGate, Matanbuchus, NetSupport, Amadey Loader, XMRig, a clipboard hijacker และ Lumma Stealer

ในเดือนกรกฎาคม McAfee รายงานว่าแคมเปญ ClickFix เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

รายงานฉบับใหม่จาก Sekoia ซึ่งเป็นผู้ให้บริการความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบ SaaS ระบุว่าแคมเปญ ClickFix ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมาก โดยปัจจุบันใช้การล่อลวงผ่าน Google Meet และยังมีการใช้อีเมลฟิชชิงที่กำหนดเป้าหมายไปยังบริษัทขนส่ง และโลจิสติกส์ รวมถึงมีการทำหน้า Facebook ปลอม และมีการหลอกลวงบน GitHub อีกด้วย

ตามรายงานจากบริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์ของฝรั่งเศสระบุว่า แคมเปญล่าสุดบางส่วนดำเนินการโดยกลุ่มผู้โจมตี 2 กลุ่ม ได้แก่ Slavic Nation Empire (SNE) และ Scamquerteo ซึ่งถือเป็นทีมย่อยของแก๊งหลอกลวงสกุลเงินดิจิทัล Marko Polo และ CryptoLove

หลอกลวงผ่าน Google Meet

ผู้โจมตีกำลังใช้หน้าเว็บไซต์ปลอมสำหรับ Google Meet ซึ่งเป็นบริการการสื่อสารผ่านวิดีโอที่เป็นส่วนหนึ่งของ Google Workspace ที่ได้รับความนิยมในสภาพแวดล้อมขององค์กรสำหรับการประชุมทางไกล และการสัมมนาผ่านเว็บ รวมถึงการทำงานร่วมกันทางออนไลน์

ผู้โจมตีจะส่งอีเมลถึงผู้ใช้ที่มีลักษณะเหมือนคำเชิญของ Google Meet ที่ดูเหมือนเป็นของจริง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประชุม การสัมมนา หรือเหตุการณ์สำคัญอื่น ๆ

URL เหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับลิงก์ Google Meet ที่เป็นของจริง โดยมีรายละเอียดดังนี้

meet[.]google[.]us-join[.]com
meet[.]google[.]web-join[.]com
meet[.]googie[.]com-join[.]us
meet[.]google[.]cdm-join[.]us

เมื่อผู้ใช้เข้าสู่หน้าเว็บไซต์ปลอมแล้ว ผู้ใช้จะได้รับข้อความแจ้งให้ทราบถึงปัญหาทางเทคนิค เช่น ปัญหาของไมโครโฟน หรือหูฟัง

หากผู้ใช้คลิกปุ่ม Try Fix ที่แสดงขึ้นมาจะมีการติดตั้งมัลแวร์ ClickFix โดยจะมีการ Copyโค้ด PowerShell จากเว็บไซต์ลงไปยังพรอมต์ของ Windows ภายในเครื่อง ส่งผลทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ติดมัลแวร์ และดึงเพย์โหลดจากโดเมน googiedrivers[.]com

เพย์โหลดในขั้นสุดท้ายคือมัลแวร์ขโมยข้อมูล Stealc หรือ Rhadamanthys บน Windows ส่วนในเครื่อง macOS ผู้โจมตีจะติดตั้ง AMOS Stealer ในรูปแบบไฟล์ .DMG (อิมเมจดิสก์ของ Apple) ที่มีชื่อว่า 'Launcher_v194'

Sekoia ได้ระบุว่า มัลแวร์ยังสามารถกระจายไปยังกลุ่มอื่นที่นอกเหนือจาก Google Meet ได้อีก เช่น โปรแกรม Zoom, โปรแกรมอ่านไฟล์ PDF, วิดีโอเกมปลอม (Lunacy, Calipso, Battleforge, Ragon), เว็บเบราว์เซอร์ และโครงการ web3 (NGT Studio) รวมไปถึงแอปส่งข้อความ (Nortex)

ที่มา : https://www.

Google เผย 70% ของการโจมตีทางไซเบอร์ในปี 2023 มาจากช่องโหว่ Zero-Days

นักวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยของ Google Mandiant เผยแพร่แนวโน้มใหม่ที่น่ากังวลของกลุ่ม Hacker ที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่มากขึ้นในการค้นหาช่องโหว่ และการโจมตีช่องโหว่ zero-day ในซอฟต์แวร์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากช่องโหว่จำนวน 138 รายการที่ถูกเปิดเผยว่าถูกใช้ในการโจมตีในปี 2023 Mandiant ระบุว่ามีช่องโหว่จำนวน 97 รายการ (70.3%) ที่เป็นช่องโหว่ zero-day (more…)

Google ลบซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของ Kaspersky ออกจาก Play Store

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา Google ได้ลบแอป Android security ของ Kaspersky ออกจาก Google Play Store และปิดใช้งานบัญชีนักพัฒนาของบริษัทรัสเซีย

ผู้ใช้รายงานในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าผลิตภัณฑ์ของ Kaspersky (รวมถึง Kaspersky Endpoint Security และ VPN & Antivirus by Kaspersky) ไม่มีให้ใช้บริการบน Google Play อีกต่อไปแล้ว รวมไปถึงในสหรัฐอเมริกา และภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก (more…)

Google Chrome แนะนำฟีเจอร์ One-Time Permissions และ Enhanced Safety Check ในการท่องเว็บไซต์ให้ปลอดภัยมากขึ้น

Google ประกาศว่าจะเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ในเบราว์เซอร์ Chrome ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลของตนเองได้มากขึ้นในขณะที่กำลังท่องอินเทอร์เน็ตอยู่ และป้องกันภัยคุกคามออนไลน์ได้

โดยทาง Google ระบุว่า Chrome เวอร์ชันล่าสุดสามารถใช้ประโยชน์จากฟีเจอร์ Safety Check ที่ได้รับการอัปเกรดแล้ว ซึ่งสามารถเลือกที่จะไม่รับการแจ้งเตือนเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการได้ง่ายขึ้น และสามารถเลือกให้สิทธิ์การเข้าถึงกับบางเว็บไซต์ได้ครั้งเดียวเท่านั้น

(more…)

มัลแวร์ล็อกเว็บเบราว์เซอร์ในโหมด kiosk เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของ Google จากผู้ใช้

 

แคมเปญมัลแวร์ใช้วิธีการที่ไม่ปกติโดยการล็อกผู้ใช้ไว้ในโหมด kiosk ของเบราว์เซอร์ เพื่อบังคับให้ผู้ใช้กรอกข้อมูล credentials ของ Google จากนั้นก็จะใช้มัลแวร์ทำการขโมยข้อมูลออกไป (more…)

Google เสนอรางวัลกว่า $250,000 เหรียญดอลลาร์ สำหรับช่องโหว่ zero-day KVM

Google จัดแข่งขันรายการ kvmCTF (Capture The Flag) ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถค้นพบช่องโหว่ได้ (Vulnerability Reward Program - VRP) โดยประกาศออกมาครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2023 เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Kernel-based Virtual Machine (KVM) hypervisor โดยมีรางวัลมูลค่าสูงถึง $250,000 ดอลลาร์สำหรับช่องโหว่ที่สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

KVM เป็น open-source hypervisor ที่ถูกพัฒนามานานกว่า 17 ปี ซึ่งได้ถูกใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการตั้งค่าของระบบแอนดรอยด์ (Android) และ Google Cloud platforms ทั้งในฝั่งของผู้ใช้งานทั่วไป และภาคธุรกิจ

Google จัดรายการ kvmCTF เพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถระบุ และแก้ไขช่องโหว่ที่มีบน KVM ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของระบบนี้

ซึงมีความคล้ายกันกับอีกโปรแกรมที่ให้รางวัลแก่การค้นพบช่องโหว่ ชื่อ kernelCTF ซึ่งมีเป้าหมายเป็นการหาช่องโหว่บน Linux kernel โดยมุ่งเน้นไปที่ช่องโหว่ที่สามารถเข้าถึงได้บน VM บน Kernel-based Virtual Machine (KVM) hypervisor

วัตถุประสงค์คือต้องทำการโจมตีแบบ guest-to-host ให้สำเร็จ โดยที่จะไม่มีการให้รางวัลแก่ช่องโหว่ที่เคยถูกค้นพบแล้วเช่น QEMU หรือ host-to-KVM

นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่สมัครเข้าโปรแกรมจะได้รับ Controlled lab environment สำหรับการทดสอบการโจมตีเพื่อหาช่องโหว่ต่าง ๆ แต่เฉพาะผู้ที่ค้นพบการโจมตีสำหรับช่องโหว่ zero-day เท่านั้นที่จะได้รับรางวัล

รางวัลระดับต่าง ๆ สำหรับการค้นพบช่องโหว่ของโปรแกรม kvmCTF มีดังนี้:

Full VM escape: $250,000
Arbitrary memory write: $100,000
Arbitrary memory read: $50,000
Relative memory write: $50,000
Denial of service: $20,000
Relative memory read: $10,000

โครงสร้างของ kvmCTF ถูกตั้งอยู่บน Google Bare Metal Solution (BMS) environment เพื่อแสดงให้เห็นถึงมาตรฐานด้านความปลอดภัยระดับสูง

วิศวกรซอฟท์แวร์ของ Google ชื่อ Marios Pomonis ได้ระบุเพิ่มเติมว่า “ผู้เข้าร่วมสามารถจองเวลาเพื่อเข้าถึง guest VM เพื่อทดสอบการโจมตี guest-to-host attack ได้ โดยที่จุดประสงค์ของการโจมตีจะต้องเป็นการใช้ช่องโหว่ zero day ในระบบ KVM subsystem บน host kernel เท่านั้น”

“และหากโจมตีสำเร็จ ผู้โจมตีจะได้รับ Flag เพื่อยืนยันถึงความสำเร็จในการโจมตีช่องโหว่นี้ โดยมีรางวัลที่แบ่งตามระดับของความรุนแรง ซึ่งอ้างอิงจากเกณฑ์การให้รางวัลตามที่ได้อธิบายไปในตอนต้น โดยที่รายงานทั้งหมดจะได้รับการประเมินอย่างละเอียด”

Google จะได้รับรายละเอียดของการค้นพบช่องโหว่ Zero-day ภายหลังจากการปรับปรุงจากผู้พัฒนาหลักแล้วเท่านั้น เพื่อให้ข้อมูลนี้ถูกเผยแพร่บนชุมชนของ open-source พร้อม ๆ กัน

ในการเริ่มต้น ผู้เข้าร่วมจะต้องศึกษา และทำความเข้าใจในกฏเกณฑ์ของโปรแกรม kvmCTF ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลในการจองช่วงเวลาการเข้าถึง guest VM, การได้รับธงคำตอบต่าง ๆ (flags), ข้อยกเว้น ข้อห้ามในการสร้าง KASAN (Kernel Address Sanitizer) ต่าง ๆ ในการได้รับรางวัลของแต่ละระดับ, รวมถึงรายละเอียดคำแนะนำของขั้นตอนการนำเสนอรายงานช่องโหว่ที่พบ

ที่มา : bleepingcomputer

 

Google แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day บน Chrome ครั้งที่ 5 ในปี 2024

Google ออกอัปเดตแพตซ์ความปลอดภัยสำหรับ Chrome browser เพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-Day ครั้งที่ 5 ที่กำลังถูกนำไปใช้ในการโจมตีอย่างแพร่หลายตั้งแต่ต้นปี 2024

โดยช่องโหว่มีหมายเลข CVE-2024-4671 ความรุนแรงระดับ High เป็นช่องโหว่ “use after free” ใน Visuals component ที่จัดการการเรนเดอร์ และการแสดงเนื้อหาบน browser ซึ่งถูกพบ และรายงานโดยนักวิจัยนิรนาม ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวกำลังถูกนำไปใช้ในการโจมตีแบบ Zero-Day (more…)