Microsoft ออก Patch เเก้ไขช่องโหว่ 129 รายการใน Patch Tuesday ประจำเดือนมิถุนายน

Microsoft ออกเเพตซ์แก้ไขความปลอดภัยประจำเดือนหรือที่เรียกว่า Patch Tuesday โดยในเดือนมิถุนายนนี้ Microsoft ได้ทำการเเก้ไขช่องโหว่เป็นจำนวน 129 ซึ่งมี 11 รายการเป็นช่องโหว่ระดับ “Critical” และ 118 รายการเป็นช่องโหว่ระดับ “High”

Microsoft กล่าวว่าการเเก้ไขเเพตซ์ประจำเดือนมิถุนายนนี้ถือว่ามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Microsoft ซึ่งข่าวดีก็คือช่องโหว่ที่ทำการเเก้ไขนั้นยังไม่พบการใช้เพื่อบุกรุกและแสวงหาประโยชน์ โดยรายละเอียดของช่องโหว่ที่น่าสนใจมีดังนี้

CVE-2020-1181 การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลใน Microsoft SharePoint
CVE-2020-1225 , CVE-2020-1226 การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลใน Microsoft Excel
CVE-2020-1223 การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลใน Word สำหรับ Android
CVE-2020-1248 การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลใน Windows Graphics Device Interface (GDI)
CVE-2020-1281 การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลใน Windows OLE
CVE-2020-1299 การเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลในการประมวลผล Windows .LNK files.

‼️‼️ แจ้งเตือนระดับวิกฤต ช่องโหว่ระดับอันตรายสูงสุดที่อาจสามารถทำให้เกิด The Next WannaCry ได้กำลังถูกปล่อยออกมา ‼️‼️

Cisco Talos ทำบล็อกแจ้งเตือนใหม่โดยเผลอหลุดชื่อช่องโหว่ RCE ใน SMBv3 ที่ไมโครซอฟต์กำลังจะออกแพตช์รหัส CVE-2020-0796 โดยช่องโหว่นี้มีลักษณะ Wormable ได้ ซึ่งหมายถึงว่ามันสามารถถูกเอามาใช้แพร่กระจายได้เช่นเดียวกับกรณีของ CVE-2017-0143/0144 ที่ #WannaCry ใช้

ตอนนี้ IPS ก็เริ่มมี signature มาก่อนแล้วโดยที่ข้อมูลช่องโหว่ยังไม่มีออกมา แต่จากรายละเอียดก็พอบอกได้แต่เพียงว่าเป็นช่องโหว่ Buffer Overflow ในส่วนของกระบวนการ compress packet

ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ Patch Tuesday ที่กำลังจะมาถึงอาจจะเป็นหนึ่งในแพตช์ที่ช่วยรักษาชีวิตของเราไว้ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงครับ

ที่มา : twitter

Microsoft December 2018 Patch Tuesday Fixes Actively Used Zero-Day Vulnerability

ไมโครซอฟต์และ Adobe ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ประจำเดือนธันวาคม 2018 แก้ไขช่องโหว่ Zero-day ที่กำลังถูกใช้โจมตี

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2018 ไมโครซอฟต์ได้ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ประจำเดือนธันวาคม 2018 เพื่อแก้ไขช่องโหว่ใน Windows และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ทั้งหมด 39 ช่องโหว่ เป็นช่องโหว่ร้ายแรงมาก (Critical) 9 ช่องโหว่ มีการแก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญคือ ช่องโหว่ CVE-2018-8611 ซึ่งเป็น Zero-day ที่กำลังถูกใช้โจมตีด้วยมัลแวร์ ช่องโหว่นี้พบใน Windows Kernel ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโปรแกรมเพื่อยกระดับสิทธิ์ได้ ถูกค้นพบโดย Kaspersky

นอกจากนี้ Adobe ยังได้ออกแพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ประจำเดือนธันวาคม 2018 เช่นกัน โดยแก้ไขช่องโหว่ใน Adobe Acrobat และ Adobe Reader กว่า 87 ช่องโหว่ เป็นช่องโหว่ร้ายแรงมาก (Critical) ถึง 39 ช่องโหว่

ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดตเพื่อลดความเสี่ยงจากช่องโหว่ดังกล่าว

ที่มา : BLEEPINGCOMPUTER

Microsoft Releases Patch Updates for 53 Vulnerabilities In Its Software

ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday ประจำเดือน กรกฏาคม 2561 เพื่ออุดช่องโหว่กว่า 53 รายการ

ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday ประจำเดือน กรกฏาคม 2561 เพื่ออุดช่องโหว่กว่า 53 รายการ โดยเป็นช่องโหว่ระดับร้ายแรงสูง (critical) จำนวน 17 รายการ และกระทบกว่า 15 โปรแกรม เช่น Internet Explorer Microsoft Edge Microsoft Windows Adobe Flash Player เป็นต้น

ไมโครซอฟท์ออก Patch Tuesday ประจำเดือน กรกฏาคม 2561 เพื่ออุดช่องโหว่กว่า 53 รายการ แบ่งออกเป็น

- ช่องโหว่ระดับร้ายแรงสูง (critical) 17 รายการ
- ระดับ important 34รายการ
- ระดับ moderate 1 รายการ
- ระดับ low 1 รายการ

ช่องโหว่ต่างๆครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ดังนี้

- Microsoft Windows 7, 8.1, RT 8.1, and 10
- Microsoft Windows Server 2008, 2008 R2, 2012, 2012 R2, 2016
- Microsoft Windows Server Core Installation 2008, 2008 R2, 2012, 2012 R2, 2016
- Microsoft Office 2010, 2013, 2013 RT, 2016, 2016 Click-to-Run
- Microsoft Access 2013, 2016
- Microsoft Internet Explorer 9, 10, 11
- Microsoft Edge
- Microsoft SharePoint Enterprise Server 2013, 2016
- Microsoft Visual Studio 2010, 2012, 2013, 2015, 2017
- Powershell
- Microsoft .NET Framework
- ChakraCore
- Skype for Business 2016
- Expression Blend 4
- ASP.NET Core
- ASP.NET Web Pages
- ASP.NET MVC

และครอบคลุมไปถึงแก้ไขช่องโหว่ของ Adobe Flash Player ด้วย

ช่องโหว่กว่าครึ่งหนึ่งของการอัพเดตครั้งนี้เป็นช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับ Remote Code Execution (RCE) ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรายงานว่าช่องโหว่เหล่านี้ถูกใช้ในการโจมตี แต่ผู้ใช้งานควรอัพเดทแพตช์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดเพื่อความปลอดภัย

ที่มา:thehackernews