Microsoft ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ระดับวิกฤติ “SIGRed” ใน Windows DNS Server เอามาใช้ทำมัลแวร์ได้แบบ WannaCry

Microsoft ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” ซึ่งอยู่ใน Windows DNS Server โดยช่องโหว่นี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถทำการโจมตีเพื่อให้ได้รับสิทธิ์ผู้ดูแลระบบโดเมนและสามารถทำการโจมตีระบบ infrastructure ทั้งหมดที่ทำงานอยู่ในองค์กรได้ ช่องโหว่รหัส CVE-2020-1350 ถูกค้นพบโดยนักวิจัยจาก Check Point และถูกตั้งชื่อว่า “SIGRed”

ช่องโหว่นี้เป็นช่องโหว่การเรียกโค้ดโจมตีจากระยะไกล โดยเกิดจากขั้นตอนการประมวลผล DNS response ในโค้ดของไฟล์ dns.

‼️‼️ แจ้งเตือนระดับวิกฤต ช่องโหว่ระดับอันตรายสูงสุดที่อาจสามารถทำให้เกิด The Next WannaCry ได้กำลังถูกปล่อยออกมา ‼️‼️

Cisco Talos ทำบล็อกแจ้งเตือนใหม่โดยเผลอหลุดชื่อช่องโหว่ RCE ใน SMBv3 ที่ไมโครซอฟต์กำลังจะออกแพตช์รหัส CVE-2020-0796 โดยช่องโหว่นี้มีลักษณะ Wormable ได้ ซึ่งหมายถึงว่ามันสามารถถูกเอามาใช้แพร่กระจายได้เช่นเดียวกับกรณีของ CVE-2017-0143/0144 ที่ #WannaCry ใช้

ตอนนี้ IPS ก็เริ่มมี signature มาก่อนแล้วโดยที่ข้อมูลช่องโหว่ยังไม่มีออกมา แต่จากรายละเอียดก็พอบอกได้แต่เพียงว่าเป็นช่องโหว่ Buffer Overflow ในส่วนของกระบวนการ compress packet

ด้วยสถานการณ์ตอนนี้ Patch Tuesday ที่กำลังจะมาถึงอาจจะเป็นหนึ่งในแพตช์ที่ช่วยรักษาชีวิตของเราไว้ได้อย่างที่เราคาดไม่ถึงครับ

ที่มา : twitter

Lazarus Hackers มีเป้าหมายที่ Linux และ Windows ด้วยมัลแวร์ Dacls ตัวใหม่

กลุ่ม Lazarus มีมัลแวร์ตัวใหม่ Dacls โจมตีทั้ง Linux และ Windows
Qihoo 360 Netlab พบมัลแวร์ Remote Access Trojan (RAT) ตัวใหม่ชื่อ Dacls ทำงานทั้งบน Windows และ Linux ซึ่งมัลแวร์ตัวนี้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม Lazarus ที่ถูกสนับสนุนโดยรัฐบาลเกาหลีเหนือ กลุ่มนี้เป็นรู้จักในการแฮก Sony Films ในปี 2014 และเป็นเบื้องหลังในการระบาด WannaCry ไปทั่วโลกในปี 2017 อีกด้วย
นี่เป็นครั้งแรกที่พบมัลแวร์ที่ทำงาน Linux จากกลุ่ม Lazarus โดย Qihoo 360 Netlab เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่าง Dacls กับกลุ่ม Lazarus จากการใช้งาน thevagabondsatchel[.]com ซึ่งเคยมีประวัติว่าถูกใช้งานโดยกลุ่ม Lazarus ในอดีต
Dacls ใช้ TLS และ RC4 ในการเข้ารหัสสองชั้นเพื่อรักษาความปลอดภัยในการสื่อสารกับ command and control (C2) รวมถึงใช้ AES encryption ในการเข้ารหัสไฟล์ตั้งค่า
นักวิจัยพบ Dacls สำหรับ Windows และ Linux พร้อมทั้งโค้ดสำหรับโจมตีช่องโหว่ CVE-2019-3396 ใน Atlassian Confluence บนเซิร์ฟเวอร์ บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ว่ากลุ่ม Lazarus จะใช้ช่องโหว่ดังกล่าวติดตั้ง Dacls นักวิจัยจึงแนะนำให้ผู้ใช้ Confluence ทำการแพตช์ระบบให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
สามารถอ่านรายงานวิเคราะห์ Dacls และดูข้อมูล IOC ได้จาก https://blog.

โค้งสุดท้ายก่อน The Next WannaCry โครงการ Metasploit ปล่อย exploit สำหรับ BlueKeep แบบ RCE ให้ใช้งานแล้ว

 

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2019 Metasploit ได้ปล่อย exploit สำหรับช่องโหว่ CVE-2019-0708 BlueKeep ที่สามารถโจมตีแบบรันคำสั่งอันตรายบนระบบที่มีช่องโหว่จากระยะไกล (RCE) ออกมาแล้ว

ช่องโหว่ CVE-2019-0708 หรือ BlueKeep เป็นช่องโหว่ Remote Code Execution ใน Remote Desktop Protocol ใน Windows XP, Windows 2003, Windows 7, Windows Server 2008 และ Windows Server 2008 R2 ที่มีการเปิดใช้งาน RDP

โดย Microsoft ได้ออกแพตช์มาให้อัปเดตกันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา และระบุคำเตือนให้ผู้ใช้งานเร่งอัปเดตเพราะว่าช่องโหว่นี้สามารถเอามาทำเวิร์มแพร่กระจายได้เหมือน WannaCry ที่ใช้ช่องโหว่ CVE-2017-0144 EternalBlue (Remote Code Execution ใน SMB)

แต่จากตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ binaryedge.

Microsoft Fixes Critical Windows 10 Wormable Remote Desktop Flaws

แจ้งเตือน 2 ช่องโหว่ใหม่ใน Remote Desktop Services (RDS) รันโค้ดที่เป็นอันตรายได้จากระยะไกล (RCE) คล้าย BlueKeep เอามาทำเวิร์มแพร่กระจายได้เหมือน WannaCry

ไมโครซอฟต์ออกแพตช์ตามรอบ Patch Tuesday ประจำเดือนสิงหาคม 2019 โดยสองช่องโหว่ที่ถูกแพตช์นั้นเป็นช่องโหว่ระดับวิกฤติในแพ็คเกจ Remote Desktop Services (RDS) รหัส CVE-2019-1181 (CVSSv3 8.8) และ CVE-2019-1182 (CVSSv3 8.8) ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งที่เป็นอันตรายกับระบบที่มีช่องโหว่ได้จากระยะไกล

ลักษณะพิเศษของช่องโหว่คือ Wormable หรือเป็นช่องโหว่ที่สามารถใช้เพื่อแพร่กระจายเวิร์มเช่นเดียวกับกรณีของ WannaCry ได้

ระบบปฏิบัติการที่ได้รับผลกระทบ
- Windows 10 ทั้ง 32 และ 64 บิต 1607, 1703, 1709, 1803, 1809 และ 1903
- WIndows 8.1 ทั้ง 32 และ 64 บิต
- Windows RT 8.1
- Windows 7 ทั้ง 32 และ 64 บิต SP1
- Windows Server 2008 R2, 2012, 2012 R2, 2016, 2019, 1803 และ 1903

ยังไม่พบ IPS signature ที่ช่วยป้องกันการโจมตีได้ในขณะนี้ ทางป้องกันที่ดีที่สุดในตอนนี้คือแพตช์

ที่มา: https://msrc-blog.

จับข่าวคุย: เพราะอะไรกลุ่มแฮกเกอร์จีนถึงใช้ช่องโหว่ลับของอเมริกาได้ก่อนมีการเปิดเผย?

ในช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำสงครามไซเบอร์ได้ถูกเปิดเผยโดย Symantec และสำนักข่าวหลายแห่งในต่างประเทศ เมื่อมีการเปิดเผยว่ากลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งคาดว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนที่รู้จักกันในชื่อ APT3 มีการใช้ช่องโหว่ลับที่ถูกค้นพบและพัฒนาเป็นเครื่องมือในการโจมตีโดย National Security Agency (NSA) ของสหรัฐอเมริกาในการโจมตี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการการรั่วไหลของข้อมูลของ NSA โดย The Shadow Brokers

แฮกเกอร์จีนนำช่องโหว่ลับของอเมริกาไปใช้ทำอะไร? ช่องโหว่ดังกล่าวเป็นช่องโหว่เดียวกันหรือไม่? และคำถามสำคัญคือถ้าช่องโหว่ที่ถูกใช้เป็นช่องโหว่เดียวกัน กลุ่มแฮกเกอร์จีนสามารถเข้าถึงช่องโหว่และเครื่องมือสำหรับโจมตีนี้ได้อย่างไร? ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จากบริษัท ไอ-ซีเคียว จำกัด จะมาสรุปเหตุการณ์โดยย่อเพื่อให้ผู้อ่านชาวไทยได้รับทราบข้อมูลกันครับ
Timeline
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและรวบรัด เราขอสรุปไทม์ไลน์ของเหตุการณ์เอาไว้เบื้องต้นก่อน ตามรายการดังนี้ครับ

March 2016 กลุ่ม APT3 จากจีนใช้ช่องโหว่และเครื่องมือของ Equation Group ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหน่วย Tailored Access Operation (TAO) ของ NSA ในการโจมตี มีเป้าหมายอยู่ในประเทศฮ่องกงและเบลเยี่ยม
September 2016 มัลแวร์ Bemstour ที่ถูกใช้โดยกลุ่ม APT3 ที่มีการใช้เครื่องมือ DoublePulsar ของ Equation Group ถูกพัฒนาเป็นเวอร์ชันใหม่ และใช้ในการโจมตีโดยมีเป้าหมายอยู่ในประเทศฮ่องกง
March 2017 มีใครบางคนแจ้งไมโครซอฟต์ก่อนจะมีการรั่วไหลของข้อมูล ไมโครซอฟต์จึงมีการออกแพตช์ป้องกันช่องโหว่ก่อนจะมีการรั่วไหลจริง (คาดว่าเป็น NSA)
April 2017 กลุ่มแฮกเกอร์ The Shadow Brokers มีการปล่อยช่องโหว่และเครื่องมือของ Equation Group โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่รั่วไหลออกมา
June 2017 กลุ่ม APT3 ใช้มัลแวร์ Bemstour ที่มีการใช้แบ็คดอร์ DoublePulsar เพื่อโจมตีเป้าหมายในลักซ์เซมเบิร์กและฟิลิปปินส์
August 2017 กลุ่ม APT3 โจมตีเป้าหมายในเวียดนาม
November 2017 มีการจับกุมและส่งมอบสมาชิกของกลุ่มแฮกเกอร์ APT3 มายังสหรัฐฯ
September 2018 มีการแจ้งเตือนการค้นพบช่องโหว่เพิ่มเติมจากมัลแวร์ Bemstour จาก Symantec ซึ่งต่อมาถูกแพตช์โดยไมโครซอฟต์
March 2019 มีการตรวจพบมัลแวร์ Bemstour รุ่นใหม่

History of Leaked NSA Tools

ชุดโปรแกรมของ Equation Group เป็นชุดของเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีช่องโหว่รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ ในการช่วยเจาะระบบที่ถูกพัฒนาโดยกลุ่มแฮกเกอร์ Equation Group โดยเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีช่องโหว่ชื่อดังที่อยู่ในชุดโปรแกรมนี้ อาทิ โปรแกรมสำหรับโจมตีช่องโหว่ EternalBlue, แบ็คดอร์ DoublePulsar และชุดโปรแกรมควบคุมปฏิบัติการไซเบอร์ FuzzBench (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทวิเคราะห์ของไอ-ซีเคียว)

ช่องโหว่ EternalBlue และแบ็คดอร์ DoublePulsar ต่อมาเมื่อมีการรั่วไหลจาก The Shadow Brokers ได้ถูกนำมาใช้กับมัลแวร์หลายประเภท และมีส่วนสำคัญต่อการโจมตีและแพร่กระจายของมัลแวร์ WannaCry ซึ่งทำให้สามารถโจมตีและรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้จากระยะไกล

สำหรับกลุ่มแฮกเกอร์ Equation Group นั้น ถือว่าเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีศักยภาพสูงสุดอันดับต้นๆ ของโลก โดยจากหลักฐานที่รวบรวมมาจากการโจมตีหลายครั้ง เป็นที่เชื่อกันว่ากลุ่มแฮกเกอร์ Equation Group เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแผนก Tailored Access Operation (TAO) ภายใต้สังกัดของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Security Agency - NSA) และรัฐบาลอิสราเอลบางส่วน หนึ่งในผลงานซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของ Equation Group นอกเหนือจากเครื่องมือในการโจมตีช่องโหว่นั้นยังได้แก่

มัลแวร์ Stuxnet หนึ่งในมัลแวร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ถูกพัฒนาเพื่อชะลอการวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน
มัลแวร์ Flame มัลแวร์ซึ่งใช้วิธีการโจมตีอัลกอริธึมแฮช MD5 เพื่อให้สามารถสร้างค่าแฮชเดียวกันจากข้อมูลที่ต่างกันได้ (MD5 Hash Collision) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีจริง

จากประวัติที่ได้กล่าวมา เราคงไม่อาจไม่ปฏิเสธได้ว่าชุดของเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีช่องโหว่รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ ในชุดโปรแกรมของ Equation Group นั้นสามารถถูกเรียกได้ว่าเป็น Cyber Weapon ที่น่าสะพรึงกลัว
ทำความรู้จักกลุ่มแฮกเกอร์จีน APT3
กลุ่มแฮกเกอร์จีน APT3 หรือในชื่อ GothicPanda เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งเชื่อกันว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขโมยข้อมูลด้วยการโจมตีบริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีด้านการบินและการป้องกันประเทศ รวมไปถึงกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
พฤติกรรมการโจมตี
เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ MITRE ATT&CK framework เราสามารถระบุเทคนิคที่กลุ่ม APT3 ใช้ในการโจมตีได้ตามรูปภาพด้านล่าง

มัลแวร์/ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการโจมตี
เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ MITRE ATT&CK framework เราสามารถระบุเครื่องมือที่กลุ่ม APT3 ใช้ในการโจมตีได้ตามรูปภาพด้านล่าง

LaZagne
OSInfo
PlugX
RemoteCMD
schtasks
SHOTPUT

แล้วสรุปแฮกเกอร์จีน APT3 เข้าถึงช่องโหว่ของ NSA ได้อย่างไร?
แม้ในตอนนี้จะยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการรวมไปถึงการวิเคราะห์การโจมตีซึ่งบ่งชี้ให้เห็นทำไมแฮกเกอร์จีนกลุ่ม APT3 ถึงสามารถเข้าถึงช่องโหว่ลับซึ่งถูกค้นพบและพัฒนาโดย NSA ได้ แต่สื่อหลายสำนักก็ได้มีการตั้งสมมติฐานที่น่าสนใจไว้ดังนี้

เป็นไปได้ไหมที่ NSA จะถูกแฮกหรือถูกโจมตีจนเกิดเป็นการรั่วไหลของข้อมูลเช่นเดียวกับกรณีที่ The Shadow Brokers ดำเนินการ?
หรือว่าเมื่อ The Shadow Brokers สามารถเข้าถึงชุดโปรแกรมดังกล่าวได้แล้ว จีนจึงทำการแฮกและขโมยข้อมูลที่อยู่ในมือ The Shadow Brokers ต่อ?
หรือฝั่งจีนสามารถตรวจจับการโจมตีที่มีการใช้ช่องโหว่เหล่านี้ได้ หรืออาจค้นพบเครื่องมือเหล่านี้โดยบังเอิญในระบบใดระบบหนึ่งซึ่งเคยถูกโจมตีโดย NSA แล้วมีการนำเครื่องมือที่ค้นพบมาใช้งาน?

ยังไม่มีใครสามารถยืนยันประเด็นเหล่านี้ได้และคงเป็นไปได้ยากที่จะยืนยันข้อเท็จจริงให้ได้
แหล่งอ้างอิง

Buckeye: Espionage Outfit Used Equation Group Tools Prior to Shadow Brokers Leak
Stolen NSA hacking tools were used in the wild 14 months before Shadow Brokers leak
How Chinese Spies Got the N.S.A.’s Hacking Tools, and Used Them for Attacks

ทำความรู้จัก APT38 กลุ่มแฮกเกอร์ผู้โจมตี SWIFT จากเกาหลีเหนือ

บทนำ
ถ้าพูดถึงกลุ่มก่อการร้ายทางไซเบอร์ที่เชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเกาหลีเหนือ ชื่อแรกที่ทุกคนนึกถึงคงจะเป็นกลุ่ม Lazarus Group หรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อ HIDDEN COBRA และ Guardians of Peace ที่เพิ่งมีประกาศแจ้งเตือนจาก US-CERT ให้ระวังแคมเปญการโจมตีไปเมื่อไม่นานมานี้ รวมทั้งเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของการปล่อย WannaCry ransomware ในปี 2017 การโจมตีธนาคารต่างๆ และการโจมตีบริษัท Sony Pictures ในปี 2014 แต่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2018 ที่ผ่านมา FireEye ได้ออกรายงานชิ้นใหม่เปิดเผยข้อมูลว่าแท้จริงแล้วผลงานของกลุ่มก่อการร้ายที่ถูกสื่อเรียกรวมกันว่าเป็นผลงานของ Lazarus Group เพียงกลุ่มเดียวนั้น แท้จริงแล้วเป็นผลงานของกลุ่มก่อการร้ายถึงสามกลุ่ม แบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีเป้าหมายก่อการร้ายทางไซเบอร์สองกลุ่ม คือ TEMP.Hermit และ Lazarus Group กับกลุ่มที่มีเป้าหมายโจมตีสถาบันการเงิน คือ APT38 โดยรายงานฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า APT38: Un-usual Suspects เน้นให้รายละเอียดของกลุ่ม APT 38 ที่แตกต่างจากกลุ่ม TEMP.Hermit และ Lazarus Group

รายละเอียด
ตั้งแต่มีการโจมตีบริษัท Sony Pictures ในปี 2014 ทั่วโลกต่างรับรู้ว่ามีกลุ่มก่อการร้ายทางไซเบอร์ที่เชื่อว่าได้รับการสนับสนุนจากเกาหลีเหนือ โดยเหตุการณ์โจมตีต่างๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือต่างถูกเรียกรวมกันว่าเป็นฝีมือของ Lazarus Group แต่ FireEye ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่เชื่อเช่นนั้น จากการวิเคราะห์เหตุการณ์การโจมตีต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยวิเคราะห์จากทั้งเป้าหมายในการโจมตี เครื่องมือที่ใช้ในการโจมตี ไปจนถึงมัลแวร์ที่ถูกใช้ในการโจมตี FireEye เชื่อว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจากกลุ่มก่อการร้ายสามกลุ่ม ประกอบไปด้วยกลุ่มที่มีเป้าหมายก่อการร้ายทางไซเบอร์สองกลุ่ม คือ TEMP.Hermit และ Lazarus Group กับกลุ่มที่มีเป้าหมายโจมตีสถาบันการเงิน คือ APT38

เนื่องจากมีการจับตาและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่ม TEMP.Hermit และ Lazarus Group แล้ว FireEye จึงออกรายงาน APT38: Un-usual Suspects เพื่อให้รายละเอียดโดยเฉพาะเกี่ยวกับกลุ่ม APT38

FireEye ระบุว่ากลุ่ม APT38 เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2014 โดยมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือการโจรกรรมโดยโจมตีสถาบันทางการเงินต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งกลุ่ม APT38 ได้มีความพยายามในการโจรกรรมรวมมูลค่าแล้วกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้เงินไปแล้วกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

FireEye ระบุ timeline ของ APT38 ไว้ดังนี้

เดือนธันวาคม ปี 2015 โจมตี TPBank ในเวียดนาม
เดือนมกราคม ปี 2016 โจมตี Bangladesh Bank โดยเป็นการโจมตีระบบ SWIFT ภายใน
เดือนตุลาคม ปี 2017 โจมตี Far Eastern International Bank ในไต้หวัน โดยเป็นการโจมตีเพื่อถอนเงินจำนวนมากออกจาก ATM (ATM cash-out scheme)
เดือนมกราคม ปี 2018 โจมตี Bancomext ในเม็กซิโก
เดือนพฤษภาคม ปี 2018 โจมตี Banco de Chile ในชิลี

ซึ่ง FireEye เชื่อว่ากลุ่ม APT38 เริ่มต้นโจมตีเป้าหมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงแรกของการก่อตั้ง (2014) และค่อยๆ ขยายการดำเนินการไปทั่วโลกในปัจจุบัน
เทคนิคการโจมตีของ APT38
FireEye ระบุว่าการโจมตีของ APT38 ประกอบด้วยแบบแผนที่มีลักษณะดังนี้

Information Gathering รวบรวมข้อมูล: โดยทำการค้นคว้าข้อมูลของเป้าหมาย เช่น บุคลากรภายใน และค้นคว้าข้อมูลของผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายเพื่อหาทางแทรกซึมเข้าไปในระบบ SWIFT
Initial Compromise เริ่มต้นการโจมตี: โจมตีแบบซุ่มดักเหยื่อตามแหล่งน้ำ (Watering Hole Attack) และโจมตีช่องโหว่ที่ไม่ได้รับการอัปเดตของ Apache Struts2 เพื่อส่งคำสั่งไปยังระบบ
Internal Reconnaissance สำรวจระบบ: ปล่อยมัลแวร์เพื่อรวบรวม credentials, สำรวจระบบเน็ตเวิร์ค และใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในระบบของเป้าหมายในการแสกนระบบ เช่น ใช้ Sysmon เพื่อดูข้อมูล
Pivot to Victim Servers Used for SWIFT Transactions  ค้นหาเซิร์ฟเวอร์สำหรับระบบ SWIFT: ปล่อยมัลแวร์เพิ่ม โดยเป็นมัลแวร์สำหรับค้นหาและติดตั้ง backdoor บนเซิร์ฟเวอร์สำหรับระบบ SWIFT เพื่อให้สามารถส่งคำสั่งได้โดยไม่โดนตรวจจับ
Transfer funds ขโมยเงินออกไป: ปล่อยมัลแวร์สำหรับส่งคำสั่ง SWIFT ปลอมเพื่อโอนเงินออกและแก้ไขประวัติการทำธุรกรรม โดยมักจะเป็นการโอนเงินไปยังหลายๆ บัญชีเพื่อฟอกเงิน
Destroy Evidence ทำลายหลักฐาน: ลบ log, ปล่อยมัลแวร์เพื่อลบข้อมูลในฮาร์ดดิส และอาจปล่อย ransomware ที่เป็นที่รู้จักเพื่อขัดขวางกระบวนการสอบสวนและทำลายหลักฐาน

 

โดยผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของกลุ่ม APT38 ซึ่งรวมไปถึงมัลแวร์ต่างๆ ที่ใช้ได้จาก APT38: Un-usual Suspects
ที่มา

https://content.

DOJ to charge North Korean officer for Sony hack and WannaCry ransomware

กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ตั้งข้อหาชาวเกาหลีเหนือด้วยข้อหาแฮกบริษัท Sony และแพร่กระจาย WannaCry

กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ ตั้งข้อหาชาวเกาหลีเหนือชื่อ Pak Jin Hyok ด้วยความผิดในการแฮกบริษัท Sony Picture ในปี 2014 และการแพร่กระจาย WannaCry ransomware ในปี 2017ทั้งนี้นาย Pak Jin Hyok ตกเป็นผู้ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกในกลุ่ม Lazarus ที่ทำการโจมตีทางไซเบอร์อีกหลายรายการทั้วโลกอีกด้วย

IBM รายงานว่า WannaCry ในปี 2017 น่าจะทำให้เกิดความสูญเสียกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 150 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ใช้เวลากว่า 4 ปีในการเชื่อมโยงนาย Pak Jin Hyok เข้ากับการโจมตีผ่านมัลแวร์ที่ใช้โจมตี โดเมน อีเมล และบัญชีโซเชียลต่างๆ โดยระบุรายละเอียดไว้ที่ https://www.

Healthcare security nightmare: UK’s NHS lost nearly 10K patient records last year

ฝันร้ายของการรักษาความปลอดภัยข้อมูลผู้ป่วย ประวัติของผู้ป่วยในระบบ National Health Service (NHS) หรือ ระบบประกันสุขภาพของสหราชอาณาจักรสูญหายกว่าหมื่นรายการ
ในปีที่ผ่านมาประวัติของผู้ป่วยในระบบประกันสุขภาพของสหราชอาณาจักรสูญหายหรือถูกย้ายไปผิดที่กว่าหนึ่งหมื่นรายการเนื่องจากการโจมตีของมัลแวร์ชื่อดัง WannaCry และการโจมตีอื่นๆ บ่งบอกถึงความจำเป็นที่มากขึ้นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ป่วยในวงการสาธารณสุข
มีรายงานข้อมูลของผู้ป่วยจำนวน 9,132 ราย จาก 68 โรงพยาบาลสูญหายไปในปีที่ผ่านมา โดยโรงพยาบาลที่มีข้อมูลของผู้ป่วยสูญหายเป็นอันดับ 1 คือ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม จำนวนกว่า 3,179 ราย อันดับ 2 ได้แก่ Bolton NHS จำนวน 2,163 ราย และอันดับที่ 3 โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Bristol พบประวัติหายไป 1,105 ราย
"เหตุการณ์เหล่านี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงกระบวนการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลด้านสุขภาพ ใน NHS" ซึ่ง Barry Scott, EMEA CTO ของ Centrify กล่าว "มีการขายข้อมูลด้านสุขภาพบนเว็บในตลาดมืดเพิ่มขึ้น ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยอย่างเร่งด่วน"
องค์กรด้านสาธารณสุขตกเป็นเป้าหมายต้นๆสำหรับแฮกเกอร์ เนื่องจากไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยหนาแน่นและไม่มีพนักงานที่ผ่านการอบรมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เมื่อถูกโจมตีจึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เช่น เมื่อระบบประกันสุขภาพของสหราชอาณาจักร ถูกโจมตีด้วย Wannacry ในปี 2017 เป็นผลให้ต้องยกเลิกการนัดหมายของผู้ป่วยกว่าสองหมื่นรายการ รวมทั้งผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินไม่สามารถเข้ารักษาได้ บางโรงพยาบาลถึงกับไม่สามารถทำงานตามปกติได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์

ที่มา : TechRepublic

DarkHydrus Relies on Open-Source Tools for Phishing Attacks

DarkHydrus ใช้ Open-Source เป็นเครื่องมือสำหรับช่วยการโจมตี spear-phishing ซึ่งออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูล Credential จากรัฐบาลและสถาบันการศึกษาในตะวันออกกลาง

นักวิจัยของ Palo Alto Networks Unit 42 พบว่ากลุ่มที่มีชื่อว่า "DarkHydrus" ได้ใช้เครื่องมือ Open-Source จาก GitHub ที่ชื่อว่า "Phishery" ช่วยในการโจมตีเพื่อขโมยมูล Credential โดยก่อนหน้านี้เคยใช้เป็น Meterpreter, Cobalt Strike, Invoke-Obfuscation, Mimikatz, PowerShellEmpire และ Veil ร่วมกับเอกสารที่เป็น Microsoft Office เพื่อรับคำสั่งจากระยะไกล

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมิถุนายนพบว่ากลุ่มดังกล่าวได้ทำการโจมตีสถาบันการศึกษา โดยการส่งอีเมลล์ที่ใช้ Subject ว่า "Project Offer" และแนบเอกสารไฟล์ Word เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน จากนั้นจึงส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่เตรียมไว้

การโจมตีในลักษณะนี้ไม่ใช่วิธีการใหม่ ตัวอย่างเช่น WannaCry และ NotPetya เมื่อปีที่แล้ว ก็ได้มีการใช้ Mimikatz ช่วยในการขโมยข้อมูล Credential และใช้ PsExec เพื่อรับคำสั่งจากระยะไกล

ที่มา: bleepingcomputer