รวมข่าว BlueKeep ระหว่างวันที่ 1 – 11 พฤศจิกายน 2019

 

รวมข่าว BlueKeep ระหว่างวันที่ 1 - 11 พฤศจิกายน 2019

BlueKeep คืออะไร

BlueKeep หรือช่องโหว่ CVE-2019-0708 เป็นช่องโหว่ที่สามารถรันคำสั่งอันตรายจากระยะไกลได้ พบใน Remote Desktop Services กระทบ Windows 7, Windows Server 2008 R2, Windows Server 2008, Windows Server 2003 และ Windows XP

ช่องโหว่นี้ได้รับแพตช์ความปลอดภัยแล้วเมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา โดยช่องโหว่นี้มีคำเตือนให้ผู้ใช้งานเร่งอัปเดตเพราะว่าช่องโหว่นี้สามารถเอามาทำเวิร์มแพร่กระจายได้เหมือน WannaCry ที่ใช้ช่องโหว่ CVE-2017-0144 EternalBlue (Remote Code Execution ใน SMB)

พบการโจมตีด้วยช่องโหว่ BlueKeep แล้ว

2 พฤศจิกายน 2019 Kevin Beaumont นักวิจัยผู้ตั้งชื่อเล่นให้ CVE-2019-0708 ว่า BlueKeep เปิดเผยการค้นพบการโจมตีด้วยช่องโหว่ BlueKeep บน honeypot ที่เขาเปิดล่อเอาไว้ทั่วโลกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 ซึ่งการโจมตีครั้งนี้ทำให้เหล่า honeypot เกิดจอฟ้า

จากการวิเคราะห์ crash dump ที่ได้จากเหล่า honeypot พบว่าการโจมตีดังกล่าวยังไม่ได้แพร่โดยเวิร์ม แต่เกิดจากการใช้ Metasploit พยายามรันคำสั่งอันตรายเพื่อติดตั้งมัลแวร์ขุดเหมือง เนื่องจากโมดูลสำหรับโจมตีด้วย BlueKeep ใน Metasploit ยังไม่ค่อยเสถียร เลยทำให้เกิดจอฟ้า

อ่านต่ออย่างละเอียด thehackernews

ไม่ใช่เวิร์มแต่ก็อันตรายนะ ไมโครซอฟต์ออกมาเตือนอีกรอบ

8 พฤศจิกายน 2019 ไมโครซอฟต์ออกรายงานวิเคราะห์การโจมตี BlueKeep ร่วมกับ Kevin Beaumont และ Marcus Hutchins ด้วยมัลแวร์ขุดเหมืองดังกล่าว พร้อมกับเตือนให้ผู้ใช้งานเร่งแพตช์ เพราะต้องมีการโจมตีที่รุนแรงกว่านี้ตามมาแน่นอน

อ่านต่ออย่างละเอียด https://www.

โค้งสุดท้ายก่อน The Next WannaCry โครงการ Metasploit ปล่อย exploit สำหรับ BlueKeep แบบ RCE ให้ใช้งานแล้ว

 

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2019 Metasploit ได้ปล่อย exploit สำหรับช่องโหว่ CVE-2019-0708 BlueKeep ที่สามารถโจมตีแบบรันคำสั่งอันตรายบนระบบที่มีช่องโหว่จากระยะไกล (RCE) ออกมาแล้ว

ช่องโหว่ CVE-2019-0708 หรือ BlueKeep เป็นช่องโหว่ Remote Code Execution ใน Remote Desktop Protocol ใน Windows XP, Windows 2003, Windows 7, Windows Server 2008 และ Windows Server 2008 R2 ที่มีการเปิดใช้งาน RDP

โดย Microsoft ได้ออกแพตช์มาให้อัปเดตกันตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2019 ที่ผ่านมา และระบุคำเตือนให้ผู้ใช้งานเร่งอัปเดตเพราะว่าช่องโหว่นี้สามารถเอามาทำเวิร์มแพร่กระจายได้เหมือน WannaCry ที่ใช้ช่องโหว่ CVE-2017-0144 EternalBlue (Remote Code Execution ใน SMB)

แต่จากตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ binaryedge.

จับข่าวคุย: เพราะอะไรกลุ่มแฮกเกอร์จีนถึงใช้ช่องโหว่ลับของอเมริกาได้ก่อนมีการเปิดเผย?

ในช่วงสัปดาห์ทีผ่านมา ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำสงครามไซเบอร์ได้ถูกเปิดเผยโดย Symantec และสำนักข่าวหลายแห่งในต่างประเทศ เมื่อมีการเปิดเผยว่ากลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งคาดว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนที่รู้จักกันในชื่อ APT3 มีการใช้ช่องโหว่ลับที่ถูกค้นพบและพัฒนาเป็นเครื่องมือในการโจมตีโดย National Security Agency (NSA) ของสหรัฐอเมริกาในการโจมตี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการการรั่วไหลของข้อมูลของ NSA โดย The Shadow Brokers

แฮกเกอร์จีนนำช่องโหว่ลับของอเมริกาไปใช้ทำอะไร? ช่องโหว่ดังกล่าวเป็นช่องโหว่เดียวกันหรือไม่? และคำถามสำคัญคือถ้าช่องโหว่ที่ถูกใช้เป็นช่องโหว่เดียวกัน กลุ่มแฮกเกอร์จีนสามารถเข้าถึงช่องโหว่และเครื่องมือสำหรับโจมตีนี้ได้อย่างไร? ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคาม (Intelligent Response) จากบริษัท ไอ-ซีเคียว จำกัด จะมาสรุปเหตุการณ์โดยย่อเพื่อให้ผู้อ่านชาวไทยได้รับทราบข้อมูลกันครับ
Timeline
เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและรวบรัด เราขอสรุปไทม์ไลน์ของเหตุการณ์เอาไว้เบื้องต้นก่อน ตามรายการดังนี้ครับ

March 2016 กลุ่ม APT3 จากจีนใช้ช่องโหว่และเครื่องมือของ Equation Group ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับหน่วย Tailored Access Operation (TAO) ของ NSA ในการโจมตี มีเป้าหมายอยู่ในประเทศฮ่องกงและเบลเยี่ยม
September 2016 มัลแวร์ Bemstour ที่ถูกใช้โดยกลุ่ม APT3 ที่มีการใช้เครื่องมือ DoublePulsar ของ Equation Group ถูกพัฒนาเป็นเวอร์ชันใหม่ และใช้ในการโจมตีโดยมีเป้าหมายอยู่ในประเทศฮ่องกง
March 2017 มีใครบางคนแจ้งไมโครซอฟต์ก่อนจะมีการรั่วไหลของข้อมูล ไมโครซอฟต์จึงมีการออกแพตช์ป้องกันช่องโหว่ก่อนจะมีการรั่วไหลจริง (คาดว่าเป็น NSA)
April 2017 กลุ่มแฮกเกอร์ The Shadow Brokers มีการปล่อยช่องโหว่และเครื่องมือของ Equation Group โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่รั่วไหลออกมา
June 2017 กลุ่ม APT3 ใช้มัลแวร์ Bemstour ที่มีการใช้แบ็คดอร์ DoublePulsar เพื่อโจมตีเป้าหมายในลักซ์เซมเบิร์กและฟิลิปปินส์
August 2017 กลุ่ม APT3 โจมตีเป้าหมายในเวียดนาม
November 2017 มีการจับกุมและส่งมอบสมาชิกของกลุ่มแฮกเกอร์ APT3 มายังสหรัฐฯ
September 2018 มีการแจ้งเตือนการค้นพบช่องโหว่เพิ่มเติมจากมัลแวร์ Bemstour จาก Symantec ซึ่งต่อมาถูกแพตช์โดยไมโครซอฟต์
March 2019 มีการตรวจพบมัลแวร์ Bemstour รุ่นใหม่

History of Leaked NSA Tools

ชุดโปรแกรมของ Equation Group เป็นชุดของเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีช่องโหว่รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ ในการช่วยเจาะระบบที่ถูกพัฒนาโดยกลุ่มแฮกเกอร์ Equation Group โดยเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีช่องโหว่ชื่อดังที่อยู่ในชุดโปรแกรมนี้ อาทิ โปรแกรมสำหรับโจมตีช่องโหว่ EternalBlue, แบ็คดอร์ DoublePulsar และชุดโปรแกรมควบคุมปฏิบัติการไซเบอร์ FuzzBench (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทวิเคราะห์ของไอ-ซีเคียว)

ช่องโหว่ EternalBlue และแบ็คดอร์ DoublePulsar ต่อมาเมื่อมีการรั่วไหลจาก The Shadow Brokers ได้ถูกนำมาใช้กับมัลแวร์หลายประเภท และมีส่วนสำคัญต่อการโจมตีและแพร่กระจายของมัลแวร์ WannaCry ซึ่งทำให้สามารถโจมตีและรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้จากระยะไกล

สำหรับกลุ่มแฮกเกอร์ Equation Group นั้น ถือว่าเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ที่มีศักยภาพสูงสุดอันดับต้นๆ ของโลก โดยจากหลักฐานที่รวบรวมมาจากการโจมตีหลายครั้ง เป็นที่เชื่อกันว่ากลุ่มแฮกเกอร์ Equation Group เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแผนก Tailored Access Operation (TAO) ภายใต้สังกัดของสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ (National Security Agency - NSA) และรัฐบาลอิสราเอลบางส่วน หนึ่งในผลงานซึ่งเชื่อกันว่าเป็นของ Equation Group นอกเหนือจากเครื่องมือในการโจมตีช่องโหว่นั้นยังได้แก่

มัลแวร์ Stuxnet หนึ่งในมัลแวร์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ถูกพัฒนาเพื่อชะลอการวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน
มัลแวร์ Flame มัลแวร์ซึ่งใช้วิธีการโจมตีอัลกอริธึมแฮช MD5 เพื่อให้สามารถสร้างค่าแฮชเดียวกันจากข้อมูลที่ต่างกันได้ (MD5 Hash Collision) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีจริง

จากประวัติที่ได้กล่าวมา เราคงไม่อาจไม่ปฏิเสธได้ว่าชุดของเครื่องมือที่ใช้ในการโจมตีช่องโหว่รวมไปถึงเครื่องมืออื่นๆ ในชุดโปรแกรมของ Equation Group นั้นสามารถถูกเรียกได้ว่าเป็น Cyber Weapon ที่น่าสะพรึงกลัว
ทำความรู้จักกลุ่มแฮกเกอร์จีน APT3
กลุ่มแฮกเกอร์จีน APT3 หรือในชื่อ GothicPanda เป็นกลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งเชื่อกันว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน โดยมีเป้าหมายสำคัญในการขโมยข้อมูลด้วยการโจมตีบริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีด้านการบินและการป้องกันประเทศ รวมไปถึงกลุ่มบริษัทด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
พฤติกรรมการโจมตี
เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ MITRE ATT&CK framework เราสามารถระบุเทคนิคที่กลุ่ม APT3 ใช้ในการโจมตีได้ตามรูปภาพด้านล่าง

มัลแวร์/ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการโจมตี
เมื่ออ้างอิงจากข้อมูลของ MITRE ATT&CK framework เราสามารถระบุเครื่องมือที่กลุ่ม APT3 ใช้ในการโจมตีได้ตามรูปภาพด้านล่าง

LaZagne
OSInfo
PlugX
RemoteCMD
schtasks
SHOTPUT

แล้วสรุปแฮกเกอร์จีน APT3 เข้าถึงช่องโหว่ของ NSA ได้อย่างไร?
แม้ในตอนนี้จะยังไม่มีรายงานอย่างเป็นทางการรวมไปถึงการวิเคราะห์การโจมตีซึ่งบ่งชี้ให้เห็นทำไมแฮกเกอร์จีนกลุ่ม APT3 ถึงสามารถเข้าถึงช่องโหว่ลับซึ่งถูกค้นพบและพัฒนาโดย NSA ได้ แต่สื่อหลายสำนักก็ได้มีการตั้งสมมติฐานที่น่าสนใจไว้ดังนี้

เป็นไปได้ไหมที่ NSA จะถูกแฮกหรือถูกโจมตีจนเกิดเป็นการรั่วไหลของข้อมูลเช่นเดียวกับกรณีที่ The Shadow Brokers ดำเนินการ?
หรือว่าเมื่อ The Shadow Brokers สามารถเข้าถึงชุดโปรแกรมดังกล่าวได้แล้ว จีนจึงทำการแฮกและขโมยข้อมูลที่อยู่ในมือ The Shadow Brokers ต่อ?
หรือฝั่งจีนสามารถตรวจจับการโจมตีที่มีการใช้ช่องโหว่เหล่านี้ได้ หรืออาจค้นพบเครื่องมือเหล่านี้โดยบังเอิญในระบบใดระบบหนึ่งซึ่งเคยถูกโจมตีโดย NSA แล้วมีการนำเครื่องมือที่ค้นพบมาใช้งาน?

ยังไม่มีใครสามารถยืนยันประเด็นเหล่านี้ได้และคงเป็นไปได้ยากที่จะยืนยันข้อเท็จจริงให้ได้
แหล่งอ้างอิง

Buckeye: Espionage Outfit Used Equation Group Tools Prior to Shadow Brokers Leak
Stolen NSA hacking tools were used in the wild 14 months before Shadow Brokers leak
How Chinese Spies Got the N.S.A.’s Hacking Tools, and Used Them for Attacks

Cyberspies Are Using Leaked NSA Hacking Tools to Spy on Hotels Guests

พบกลุ่มผู้ก่อการร้ายไซเบอร์แบบใหม่ในรัสเซียใช้เครื่องมือแฮ็คจาก NSA ที่เคยถูกนำมาใช้การแพร่ระบาด WannaCry และ NotPetya แต่ในครั้งนี้เป็นการกำหนดเป้าหมายเป็นเครือข่าย Wi-Fi เพื่อสอดแนมผู้ที่มาเข้าพักโรงแรมในหลายประเทศในยุโรป

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก FireEye ได้เปิดเผยข้อมูลของกลุ่ม Hacker Fancy Bear ที่เคยมีการขโมยข้อมูลจากแขกที่เข้ามาพักในโรงแรมผ่านทางเครือข่าย Wi-Fi ของโรงแรม จากข้อมูลพบว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Windows SMB (CVE-2017-0143) ที่เรียกว่า EternalBlue

การโจมตีเริ่มต้นด้วยอีเมลฟิชชิ่งที่ถูกส่งไปให้กับพนักงานของโรงแรม อีเมลจะมีไฟล์เอกสารที่เป็นอันตรายที่ชื่อ "Hotel_Reservation_Form.

Hackers are making their malware more powerful by copying WannaCry and Petya ransomware tricks

Impact Level : Medium

Affected Platform : Windows with SMBv1

Conclusion : เอาเป็นแบบอย่าง! มัลแวร์ขโมยข้อมูล Emomet และ Trickbot เริ่มมีโมดูลแพร่กระจายตัวเองตาม WannaCry และ NotPetya
นักวิจัยจาก FlashPoint ได้มีการตรวจพบรุ่นใหม่ (1000029) ของมัลแวร์ Trickbot ซึ่งเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่แพร่กระจายเป็นจำนวนมากในสหรัฐฯ และอังกฤษ โดยในรุ่นใหม่ของ Trickbot นี้มีการเพิ่มฟีเจอร์ในการแพร่กระจายตัวเองตามแบบของ WannaCry และ NotPetya เข้าไปด้วย
Trickbot มีการใช้ EternalBlue ในการแพร่กระจายโดยโจมตีช่องโหว่ MS17-010 โดยมันจะทำการสแกนหาโดเมนในเครือข่ายโดยใช้ Windows API "NetServerEnum" และ LDAP จากเดิมที่แพร่กระจายเป็นหลักผ่านทางอีเมลฟิชชิ่ง จุดแตกต่างจาก WannaCry คือ Trickbot ไม่มีการสุ่มสแกนไอพีบนอินเตอร์เน็ตเพื่อแพร่กระจายกัน
นักวิจัยจาก Fidelis และ Barkly ก็ตรวจพบมัลแวร์ Emomet ในรุ่นที่พยายามกระจายตัวเองด้วยการโจมตีแบบ brute force เพื่อเข้าถึงระบบอื่นในเครือข่ายด้วย

Recommendation : แนะนำให้แพตช์ช่องโหว่ MS17-010 รวมถึงเพิ่มความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการด้วยวิธีการ hardening เพื่อลดความเสี่ยงจากมัลแวร์เหล่านี้

ที่มา : ZDNet