ข้อผิดพลาดของ Cloudflare CDNJS อาจนำไปสู่การโจมตีในรูปแบบ Supply-Chain Attack

เมื่อเดือนที่แล้ว Cloudflare บริษัทผู้ให้บริการระบบเครือข่าย network และรักษาความปลอดภัยเว็บไซต์ ได้แก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญในไลบรารี CDNJS ซึ่งมีการใช้งานอยู่ที่ 12.7% ของเว็บไซต์ทั้งหมดบนอินเทอร์เน็ต

CDNJS เป็นเครือข่ายการส่งเนื้อหา (Content Delivery Network) แบบโอเพ่นซอร์สที่ให้บริการฟรี ซึ่งให้บริการไลบรารี JavaScript และ CSS ประมาณ 4,041 รายการ ทำให้เป็น CDN ไลบรารี JavaScript ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับสองรองจาก Google Hosted Libraries

ข้อผิดพลาดเกี่ยวข้องกับปัญหาในเซิร์ฟเวอร์อัปเดตไลบรารี CDNJS ที่อาจอนุญาตให้ผู้โจมตีดำเนินการรันคำสั่งที่เป็นอันตรายได้ และนำไปสู่การเข้าถึงระบบโดยสมบูรณ์

ช่องโหว่ดังกล่าวถูกค้นพบและรายงานโดยนักวิจัยด้านความปลอดภัย RyotaK เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2564 ซึ่งยังไม่พบหลักฐานว่ามีการใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีจริง

ช่องโหว่นี้ทำงานโดยการส่งแพ็คเกจไปยัง CDNJS ของ Cloudflare โดยใช้ GitHub และ npm ใช้เพื่อทริกเกอร์ช่องโหว่ path traversal และท้ายที่สุดคือทำให้เซิร์ฟเวอร์สามารถเรียกใช้โค้ดจากระยะไกลได้ น่าสังเกตว่าโครงสร้างพื้นฐานของ CDNJS มีการอัปเดตไลบรารีเป็นอัตโนมัติโดยเรียกใช้สคริปต์บนเซิร์ฟเวอร์เป็นระยะ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ที่เกี่ยวข้องจากที่เก็บ Git ซึ่งมีการจัดการโดยผู้ใช้หรือรีจิสตรีแพ็กเกจ npm

RyotaK พบว่า "สามารถเรียกใช้โค้ดได้ หลังจากดำเนินการ path traversal จากไฟล์ .tgz ไปยัง npm และเขียนทับสคริปต์ที่ทำงานเป็นประจำบนเซิร์ฟเวอร์" และ “ช่องโหว่นี้สามารถโจมตีได้โดยไม่ต้องใช้ทักษะพิเศษใดๆ แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์จำนวนมากได้ ทำให้เป็นไปได้ว่าจะเกิดการโจมตีช่องโหว่นี้ในลักษณะ Supply-chain ได้"

เป้าหมายของการโจมตีคือการส่งแพ็คเกจที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษไปยังที่เก็บ จากนั้นจะเลือกเซิร์ฟเวอร์อัปเดตไลบรารี CDNJS เพื่อเผยแพร่แพ็คเกจ กระบวนการคือการคัดลอกเนื้อหาของแพ็คเกจที่เป็นอันตรายไปยังโฮสต์ไฟล์สคริปต์ปกติที่เรียกใช้งานเป็นประจำบนเซิร์ฟเวอร์ ส่งผลให้มีการเรียกใช้โค้ดอันตรายได้

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยค้นพบช่องโหว่ในลักษณะดังกล่าว โดยในเดือนเมษายน 2564 RyotaK ได้เปิดเผยช่องโหว่ที่สำคัญในที่เก็บ Homebrew Cask ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้บนเครื่องของผู้ใช้งาน

ที่มา : thehackernews

Malware Group Uses Facebook CDN to Bypass Security Solutions

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Brad Duncan จาก Palo Alto Networks และ MalwareHunter ได้แจ้งเตือนถึงการตรวจพบการใช้ CDN (Content Delivery Network) ซึ่งเป็นลักษณะของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลกเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเนื้อหาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วของบริการที่มีชื่อเสียง อาทิ Facebook, Dropbox และ Google ในการเก็บไฟล์อันตรายหรือมัลแวร์เพื่อแพร่กระจาย สืบเนื่องมาจากหลายองค์กรหรือหลายระบบความปลอดภัยนั้นอนุญาตให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลซึ่งมาจากแหล่งเหล่านี้ได้

ในการโจมตีนั้น กลุ่มแฮกเกอร์ดังกล่าวจะทำการแนบลิงค์ของ CDN สำหรับดาวโหลดไฟล์ไปกับอีเมลซึ่งถูกปลอมแปลงให้มีลักษณะคล้ายกับอีเมลของหน่วยงานราชการ เมื่อผู้ใช้งานดาวโหลดไฟล์มัลแวร์จาก CDN แล้ว ไฟล์มัลแวร์ดังกล่าวจะเป็นไฟล์ลิงค์ (LNK) ที่ถูกบีบอัดให้เป็นไฟล์ RAR หรือ ZIP เมื่อผู้ใช้งานเปิดไฟล์ลิงค์ดังกล่าวแล้ว ไฟล์ลิงค์จะทำการรันคริปสต์ batch หรือ powershell เพื่อดาวโหลดและติดตั้งมัลแวร์ตัวจริงอีกครั้ง กระบวนการทั้งหมดมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่าเทคนิค Squiblydoo

จุดที่น่าสนใจในการโจมตีนี้นั้นอยู่ที่การเลือกเป้าหมาย นักวิจัยด้านความปลอดภัยมีการค้นพบว่า มัลแวร์จะทำการตรวจสอบประเทศของเป้าหมายจากหมายเลขไอพีแอดเดรส ซึ่งหากเป้าหมายไม่ได้อยู่ในประเทศที่กำหนดไว้แล้วก็จะไม่ทำการดาวโหลดมัลแวร์เพื่อโจมตีด้วย ในขณะนี้บริการที่มีการใช้ CDN และถูกใช้ในการโจมตีได้ถูกดำเนินการตรวจสอบแล้ว ผู้ใช้ควรระมัดระวังการโจมตีในลักษณะเดียวกันกับบริการอื่นๆ ไว้ด้วย

ที่มา: bleepingcomputer

Latest DoS Attacks Used Old Protocol for Amplification

Akamai หนึ่งในผู้ให้บริการ Cloud Services และ Content Delivery Network ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ได้ออกมาเตือนภัยของการโจมตี DDoS รูปแบบใหม่ที่ใช้เราท์เตอร์ตามบ้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก (SOHO Router) เป็นตัวเร่งปริมาณทราฟฟิค เพื่อโจมตีเป้าหมาย หรือที่เรียกว่า Amplification Attack โดยใช้โปรโตคอลแลกเปลี่ยนข้อมูลเส้นทางเก่าแก่อย่าง RIPv1 ในการเร่งปริมาณทราฟฟิคถึง 130 เท่า

แทนที่จะใช้โปรโตคอล DNS หรือ NTP ทาง Akamai ตรวจพบ DDoS ทราฟฟิคที่ใช้โปรโตคอล RIPv1 ซึ่งคาดว่าแฮกเกอร์ได้ทำการส่ง Request ไปยังกลุ่มเราท์เตอร์ที่ใช้ RIPv1 เพื่อให้เราท์เตอร์เหล่านั้นส่ง Response ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่าไปยังเป้าหมายที่ต้องการโจมตี จากการตรวจสอบ พบว่า Request ทั่วไปจะมีขนาด 24 Bytes แต่ Response จะมีขนาดใหญ่เป็นจำนวนเท่าของ 504 Bytes ซึ่งบางครั้งอาจใหญ่ถึง 10 เท่า (5,040 Bytes) ซึ่งทราฟฟิค DDoS ที่ตรวจจับได้มีค่าเฉลี่ยในการเร่งขนาดถึง 13,000 เปอร์เซ็น จากต้นทุน Request ขนาด 24 Bytes

Akamai ระบุว่า จากการตรวจสอบการโจมตี DDoS ที่ใช้โปรโตคอล RIPv1 นี้ พบว่ามีขนาดใหญ่สุดที่ 12.8 Gbps โดยใช้เราท์เตอร์ประมาณ 500 เครื่องในการรุมโจมตีเป้าหมาย นอกจากนี้ Akamai ยังได้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่คาดว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกใช้ในการโจมตีรูปแบบดังกล่าว มีปริมาณมากถึง 53,693 เครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเราท์เตอร์ที่ใช้งานตามบ้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก
เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของการโจมตีแบบ RIPv1-based DDoS Attack แนะนำว่าผู้ใช้งานควรจำกัดการเข้าถึงพอร์ท UDP 520 ซึ่งเป็นพอร์ทของโปรโตคอล RIP และสำหรับผู้ที่ใช้เราท์เตอร์ที่ใช้งาน RIPv1 อยู่ แนะนำว่าให้เปลี่ยนไปใช้ RIPv2 แทน

ที่มา : eWEEK