แฮกเกอร์พบช่องโหว่ใหม่สำหรับข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนบน Router ที่ใช้เฟิร์มแวร์ Arcadyan กระทบผู้ใช้งานจำนวนมาก

 

กลุ่มแฮกเกอร์ไม่ทราบชื่อกำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ร้ายแรงในการข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน ทำให้สามารถเข้าควบคุม Router และแพร่มัลแวร์ Mirai botnet เพื่อใช้ในการโจมตี DDoS

CVE-2021-20090 (CVSS score: 9.9) เป็นช่องโหว่ Path Traversal บนเว็บอินเตอร์เฟสของ Router ซึ่งทำให้แฮกเกอร์สามารถข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตนเพื่อเข้าควบคุม Router ได้ ซึ่งช่องโหว่นี้เกิดขึ้นกับเฟิร์มแวร์ของ Arcadyan โดยผู้เชี่ยวชาญจาก Tenable ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ว่าช่องโหว่นี้น่าจะมีมานานกว่า 10 ปีแล้ว  ซึ่งส่งผลกระทบกับ Router อย่างน้อย 20 รุ่นจากผู้ผลิต 17 ราย

รายชื่ออุปกรณ์ ผู้ผลิต และเวอร์ชันของเฟิร์มแวร์ที่ได้รับผลกระทบ

 

การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้จะทำให้แฮกเกอร์สามารถข้ามขั้นตอนการพิสูจน์ตัวตน และเข้าถึงข้อมูลสำคัญต่างๆ ได้ เช่น Request tokens ซึ่งสามารถใช้เพื่อส่ง Request ไปแก้ไขการตั้งค่าของ Router ได้

ต่อมาไม่นาน Juniper Threat Labs ก็ค้นพบการโจมตีซึ่งพยายามจะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้มาจาก IP address ซึ่งระบุว่าอยู่ในประเทศจีน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม ที่แฮกเกอร์พยายามจะปล่อย Mirai botnet ไปยัง Router ต่างๆ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นว่าพฤติกรรมการโจมตีที่พบนี้แสดงให้เห็นว่าเป็นการโจมตีจากแฮกเกอร์กลุ่มเดียวกันกับรายงานเหตุการณ์การโจมตีของผู้เชี่ยวชาญจาก Palo Alto Network ซึ่งได้พบเห็นการโจมตีในรูปแบบเดียวกันนี้ตั้งแต่ในช่วงเดือนมีนาคม

นอกจากช่องโหว่ CVE-2021-20090 แล้ว แฮกเกอร์ยังพยายามใช้ช่องโหว่อื่นๆ ในการโจมตี Router อีก เช่น

  • CVE-2020-29557 (Pre-authentication remote code execution in D-Link DIR-825 R1 devices)
  • CVE-2021-1497 และ CVE-2021-1498 (Command injection vulnerabilities in Cisco HyperFlex HX)
  • CVE-2021-31755 (Stack buffer overflow vulnerability in Tenda AC11 leading to arbitrary code execution)
  • CVE-2021-22502 (Remote code execution flaw in Micro Focus Operation Bridge Reporter)
  • CVE-2021-22506 (Information Leakage vulnerability in Micro Focus Access Manager)

เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกโจมตี ผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำให้ผู้ใช้งานพยายามอัพเดตเฟิร์มแวร์ของ Router ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันอยู่เสมอ

ที่มา: thehackernews