Microsoft: Sysrv botnet targets Windows, Linux servers with new exploits

Sysrv botnet กำหนดเป้าหมายเซิร์ฟเวอร์ Windows และ Linux ด้วยช่องโหว่ใหม่

Microsoft กล่าวว่า Sysrv botnet กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ใน Spring Framework และ WordPress เพื่อติดตั้งมัลแวร์ cryptomining บนเซิร์ฟเวอร์ Windows และ Linux ที่มีช่องโหว่

Microsoft ค้นพบมัลแวร์ Sysrv สายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า Sysrv-K ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถมากขึ้น และยังสามารถสแกนหา WordPress ที่ไม่ได้แพตช์ และมีการใช้ Spring

โดยทีม Microsoft Security Intelligence กล่าวในเธรดบน Twitter ถึง Sysrv-K ที่มีความสามารถเข้าควบคุมเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้โดยใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ต่างๆ โดยช่องโหว่เหล่านี้ได้มีการแก้ไขแล้วด้วยการอัปเดตความปลอดภัย รวมถึงช่องโหว่เก่าใน WordPress plugins และช่องโหว่ใหม่ๆ เช่น CVE-2022-22947

CVE-2022-22947 เป็นช่องโหว่ Code injection บน Spring Cloud Gateway library ที่ทำให้ถูกโจมตีในรูปแบบ remote code execution บนระบบที่ยังไม่ได้อัปเดตแพตช์ได้ โดยในส่วนหนึ่งของความสามารถใหม่เหล่านี้ Sysrv-K จะสแกนหา configuration files และ backups ของ WordPress เพื่อขโมย database credentials และใช้ในการเข้าควบคุมเว็บเซิร์ฟเวอร์

Sysrv กำลังสแกนจากอินเทอร์เน็ต เพื่อหาเซิร์ฟเวอร์ Windows และ Linux ที่มีช่องโหว่ในองค์กร เพื่อติดตั้ง Monero (XMRig) miners และเพย์โหลดมัลแวร์อื่นๆ

ในการแฮ็กเข้าสู่เว็บเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ botnet จะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในเว็บแอป และฐานข้อมูล เช่น PHPUnit, Apache Solar, Confluence, Laravel, JBoss, Jira, Sonatype, Oracle WebLogic และ Apache Struts

หลังจากติดตั้ง cryptocurrency miners และปรับใช้ payloads ของตัวเองแล้ว Sysrv ยังแพร่กระจายตัวเองโดยอัตโนมัติบนเครือข่ายผ่านการ brute force attacks โดยใช้ SSH private keys ที่รวบรวมจากเซิร์ฟเวอร์ที่ติดมัลแวร์ (เช่น bash history, ssh config, and known_hosts files)

botnet propagator จะสแกนไปบนอินเทอร์เน็ตเพื่อหาระบบ Windows และ Linux ที่มีช่องโหว่ให้มากขึ้น เพื่อทำการเพิ่ม Monero mining bots

ที่มา : www.

ช่องโหว่ Nimbuspwn บน Linux อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถยกระดับสิทธิ์บน Linux Server ได้

ทีมวิจัย Microsoft 365 Defender ได้ค้นพบช่องโหว่ในการยกระดับสิทธิ์ของ Linux สองรายการ (หมายเลข CVE-2022-29799 และ CVE-2022-29800) ที่เรียกว่า “Nimbuspwn”

ช่องโหว่ดังกล่าวอยู่ใน systemd component ที่เรียกว่า networked-dispatcher ซึ่งเป็น dispatcher daemon สำหรับการเปลี่ยนแปลงสถานะการเชื่อมต่อ systemd-networkd โดยผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ เพื่อเข้าถึงสิทธิ์รูทบนระบบ และสามารถนำมาใช้ในการโจมตีในลักษณะอื่นๆต่อไป เช่น แรนซัมแวร์ เป็นต้น

Microsoft ได้ค้นพบช่องโหว่ดังกล่าวในขณะที่ตรวจสอบข้อความบน System Bus ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบโค้ด และการวิเคราะห์แบบ Dynamic โดย Microsoft อธิบายว่า “การตรวจสอบ code flow สำหรับ networkd-dispatcher เผยให้เห็นถึงปัญหาด้านความปลอดภัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการข้ามผ่านไดเรกทอรี (directory traversal), symlink race และ time-of-check-time-of-use race condition issues.

พบ Botnet ใหม่ บนระบบปฏิบัติการ Linux ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Log4J โดยใช้ DNS Tunneling ในการติดต่อกลับไปยัง C&C Server

Botnet ที่ถูกพบเมื่อไม่นานมานี้ กำลังมุ่งเป้าไปที่ระบบปฏิบัติการ Linux โดยพยายามยึดครองเครื่องเหยื่อเพื่อสร้างเป็น Army of Bots ที่พร้อมจะขโมย sensitive info, ติดตั้ง Rootkits, สร้าง Reverse Shells, และทำหน้าที่เป็น Web Traffic Proxies

มัลแวร์ที่เพิ่งค้นพบใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า B1txor20 โดยนักวิจัยที่ Network Security Research Lab ของ Qihoo 360(360 Netlab) ซึ่งพบว่าตัวมันมุ่งเป้าการโจมตีไปยังระบบปฏิบัติการ Linux ARM, X64 CPU

Botnet ใช้ช่องโหว่ Log4J เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์ ซึ่งเป็น Attack Vector ที่น่าสนใจเนื่องจากมี Vendors หลายสิบรายใช้ไลบรารี Apache Log4j Logging ที่มีช่องโหว่

นักวิจัยพบ Botnet B1txor20 เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ บนระบบ Honeypot ของพวกเขา

มัลแวร์ B1txor20 เป็น Backdoor บน Linux Platform ซึ่งใช้เทคโนโลยี DNS Tunneling เพื่อสร้างช่องทางการสื่อสารกับ C2 นอกเหนือจากฟังก์ชัน Backdoor แล้ว B1txor20 ยังมีฟังก์ชันต่าง ๆ เช่น การเปิด Socket5 Proxy, การดาวน์โหลดและติดตั้ง Rootkit จากระยะไกล

DNS Tunneling ใช้เพื่อปกปิดการรับส่งข้อมูลกับ C2

สิ่งที่ทำให้มัลแวร์ B1txor20 โดดเด่นคือ การใช้ DNS tunneling สำหรับช่องทางการสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ Command and Control(C2) ซึ่งเป็นเทคนิคที่เก่าแต่ยังคงเชื่อถือได้ โดยผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากโปรโตคอล DNS เพื่อสร้าง tunnel malware และ data via DNS queries

นักวิจัยอธิบายเกี่ยวกับมัลแวร์ไว้ว่า "Bot จะส่งข้อมูลสำคัญที่ถูกขโมย เช่น ผลการดำเนินการตามคำสั่ง และข้อมูลอื่น ๆ ไปยัง C2 ในลักษณะ DNS request" หลังจากได้รับ Request แล้ว C2 จะส่ง Payload กลับไปยัง Bot เพื่อตอบกลับ DNS request ด้วยวิธีนี้ Bot และ C2 จึงสามารถสื่อสารได้โดยใช้โปรโตคอล DNS ได้

นักวิจัย 360 Netlab ยังพบ Features ที่พัฒนาแล้วจำนวนมากที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ เนื่องจาก Features บางอย่างยังไม่สมบูรณ์ เราคิดว่าผู้พัฒนามัลแวร์ B1txor20 จะยังคงปรับปรุง และเปิดใช้งาน Features ต่าง ๆ ในอนาคต

ข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึง indicators of compromise (IOCs) และรายการคำสั่ง C2 ทั้งหมด ดูได้ที่ 360 Netlab report

การใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Log4J อย่างต่อเนื่องโดย Botnets

ตั้งแต่มีการเปิดเผยช่องโหว่ของ Log4J ผู้ไม่หวังดีจำนวนมากเริ่มใช้ช่องโหว่ดังกล่าวในการโจมตี รวมถึงกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนซึ่งมีข้อมูลเชื่อมโยงกับรัฐบาลในจีน, อิหร่าน, เกาหลีเหนือ, และตุรกี รวมถึงโดย Ransomware gangs

นักวิจัย 360 Netlab กล่าวเสริมว่า "เนื่องจากช่องโหว่ของ Log4J ถูกเปิดเผยออกมา เราจึงเห็นมัลแวร์จำนวนมากขึ้นเช่น wagon, Elknot, Gafgyt, Mirai" ตัวอย่างเช่น ในเดือนธันวาคม พบผู้ไม่หวังดีใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ด้านความปลอดภัยของ Log4J เพื่อทำให้อุปกรณ์ Linux ที่มีช่องโหว่ ติดมัลแวร์ Mirai และมัลแวร์ Muhstik

Barracuda ยืนยันรายงานของ 360 Netlab เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยกล่าวว่าพวกเขาพบ Payloads ต่าง ๆ ที่กำหนดเป้าหมายการโจมตีไปยัง Server ที่มีช่องโหว่ Log4j เช่นเดียวกัน

ที่มา : bleepingcomputer

พบช่องโหว่ระดับร้ายแรงบน Azure App ที่ Microsoft แอบติดตั้งไว้บน Linux VMs

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา Microsoft ได้กล่าวถึงช่องโหว่ด้านความปลอดภัย 4 รายการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการอัปเดต Patch Tuesday
ที่อาจจะถูกนำไปใช้ในการโจมตีโดยผู้ไม่หวังดี เพื่อกำหนดเป้าหมายไปยังลูกค้าที่ใช้บริการ Azure cloud และยกระดับสิทธิ์จนเข้ายึดระบบที่มีช่องโหว่เหล่านั้นได้จากระยะไกล

นักวิจัยจาก Wiz เรียกช่องโหว่พวกนี้รวมกันว่า OMIGOD ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อ software agent ที่ชื่อว่า Open Management Infrastructure ซึ่ง Software Agent จะถูกติดตั้ง และเรียกใช้งานอัตโนมัติ โดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัว

CVE-2021-38647 (CVSS score: 9.8) - Open Management Infrastructure Remote Code Execution Vulnerability
CVE-2021-38648 (CVSS score: 7.8) - Open Management Infrastructure Elevation of Privilege Vulnerability

CVE-2021-38645 (CVSS score: 7.8) - Open Management Infrastructure Elevation of Privilege Vulnerability

CVE-2021-38649 (CVSS score: 7.0) - Open Management Infrastructure Elevation of Privilege Vulnerability

Open Management Infrastructure (OMI) เป็นโอเพ่นซอร์สที่เทียบเท่ากับ Windows Management Infrastructure (WMI) แต่ออกแบบมาสำหรับระบบ Linux และ UNIX เช่น CentOS, Debian, Oracle Linux, Red Hat Enterprise Linux Server, SUSE Linux และ Ubuntu

ลูกค้า Azure บนเครื่อง Linux รวมถึงผู้ใช้บริการเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี

Azure Automation
Azure Automatic Update
Azure Operations Management Suite (OMS)
Azure Log Analytics
Azure Configuration Management
Azure Diagnostics

 

 

 

 

 

 

 

 

 

"เมื่อผู้ใช้เปิดใช้งานบริการดังกล่าว OMI จะถูกติดตั้งอย่างเงียบๆ บนเครื่อง VM (Virtual Machine) ของพวกเขา โดยทำงานด้วยสิทธิพิเศษสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้" Nir Ohfeld นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Wiz กล่าว

"นอกเหนือจากลูกค้า Azure cloud แล้ว ลูกค้า Microsoft รายอื่นๆ จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากสามารถติดตั้ง OMI บนเครื่อง Linux ได้ และมักใช้ในองค์กร" Ohfeld กล่าวเสริม

เนื่องจาก OMI ทำงานเป็น Root ที่มีสิทธิ์สูงสุด ช่องโหว่ดังกล่าวอาจถูกโจมตีโดยผู้ไม่หวังดีจากภายนอก หรือผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ต่ำเพื่อรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลบนเครื่องเป้าหมาย และยกระดับสิทธิ์ของตนเอง และทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้ประโยชน์จากการยกระดับสิทธิ์ในการติดตั้งการโจมตีอื่นๆอีกต่อไป

ช่องโหว่ 4 รายการที่สำคัญที่สุดคือช่องโหว่เรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลที่เกิดจากพอร์ต HTTPS ที่ถูกเปิดไว้ เช่น 5986, 5985 หรือ 1270 ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถที่จะเข้าถึง Azure ของเป้าหมายได้ และเริ่มเคลื่อนย้ายตนเองเข้าสู่เครือข่ายของเหยื่อ

"ด้วยแพ็กเก็ตเดียว ผู้ไม่หวังดีสามารถเป็น Root บนเครื่องจากระยะไกลได้โดยเพียงแค่ลบ Authentication Header มันง่ายมาก" "นี่เป็นช่องโหว่เรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลที่เราสามารถเห็นได้ในตำราเรียนตั้งแต่ในยุค 90 เป็นเรื่องผิดปกติอย่างมากที่ยังสามารถเห็นมันเกิดขึ้นกับ Endpoints นับล้าน ในปี 2021" Ohfeld กล่าว

OMI เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ Software Agent ที่แอบติดตั้งโดยผู้ใช้งานไม่รู้ตัว สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า Software Agent เหล่านี้ไม่ได้มีเพียงใน Azure แต่ใน Amazon Web Services และ Google Cloud Platform ก็อาจมีเช่นเดียวกัน

คำแนะนำ

ในตอนนี้ Azure ไม่สามารถ Update OMI ให้ผู้ใช้งานที่ติดตั้ง Version ที่มีช่องโหว่ได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขได้โดยดาวน์โหลด Package Repository ของ Microsoft และดำเนินการ Update OMI โดย การติดตั้ง OMI Version ใหม่ รายละเอียดสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ใน

ที่มา : msrc.

กลุ่ม Cryptojacking จากโรมาเนีย มีการใช้เทคนิคการ Brute force แบบใหม่ “Diicot brute” เพื่อถอดรหัสผ่านบนเครื่องที่ใช้ Linux และติดตั้งมัลแวร์ cryptominer

นักวิจัยของ Bitdefender ให้ข้อมูลว่า กลุ่ม Crytojacking โจมตีด้วยวิธีการ SSH brute-forcer ที่เรียกว่า Diicot brute เพื่อเข้าถึงเครื่อง Linux และติดตั้ง miner XMRig ซึ่งเป็น open-source ที่ถูกดัดแปลงเพื่อใช้ในการทำ Crytojacking โดยกลุ่มแฮกเกอร์จำนวนมาก

นักวิจัยกล่าวว่า กลุ่ม Crytojacking นี้มีความเกี่ยวข้องกับ botnet ที่พัฒนาบน Linux-based ซึ่งมักใช้ในการทำ DDoS อย่างน้อย 2 ตัวด้วยกันคือ “Chernobyl” และ Perl IRC bot โดยแรงจูงใจหลักของ campaign นี้คือการติดตั้งมัลแวร์สำหรับขุด Monero Coin (XMR) และยังมีเครื่องมือที่สามารถขโมยข้อมูลจากผู้ใข้งานได้

Cryptojacking ได้รายได้จากการขุดไม่มากนัก เลยเป็นเหตุผลให้ผู้โจมตีนิยมใช้ botnet เพื่อพยายามแพร่กระจายไปยังอุปกรณ์ต่างๆให้มากที่สุด เพราะการต้องติดตั้งระบบเพื่อใช้ในการขุด Cryptocurrency ไม่คุ้มค่ามากพอในปัจจุบัน ดังนั้นผู้โจมตีจึงต้องใช้วิธีเข้าควบคุมเครื่องต่างๆที่พวกเค้าควบคุมไว้จากระยะไกลแทน

ผู้โจมตีกำหนดเป้าหมายไปที่เครื่องที่มีการตั้งค่าเริ่มต้น หรือรหัสผ่านที่ไม่ปลอดภัย เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ใช้งานถึงโดน SSH Brute-forcing ได้อย่างง่ายดาย

ผู้เชี่ยวชาญจาก Bitdefender กล่าวเพิ่มเติมว่า การที่แฮกเกอร์ Brute force SSH ที่มีรหัสผ่านที่สามารถคาดเดาได้ง่ายไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ที่วิธีการที่ทำให้ไม่สามารถตรวจจับการโจมตีได้เป็นเรื่องที่ยากกว่า ซึ่ง Diicot Brute force มีความสามารถในการหลบเลี่ยงระบบที่คาดว่าถูกทำไว้เป็น Honeypots ได้อีกด้วย

นักวิจัยจาก Bitdefenderได้ติดตามกลุ่ม Cryptojacking ซึ่งพบการดาวน์โหลดมัลแวร์จาก “.93joshua” แต่น่าแปลกที่สามารถตรวจพบ “[http://45[.]32[.]112[.]68/.sherifu/.93joshua]” ในไดเร็กทอรีที่สามารถเปิดได้อย่างง่ายผิดปกติ แม้ว่าจะมีการซ่อนไฟล์จำนวนมากรวมไว้ในสคริปต์อื่นๆ และนักวิจัยยังพบว่ามีโดเมนที่เกี่ยวข้องอื่นๆเช่น mexalz.

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil พัฒนาเครื่องมือเข้ารหัสเวอร์ชั่น Linux เพื่อมุ่งเป้าโจมตี VMware ESXi

กลุ่มอาชญากรผู้อยู่เบื้องหลังมัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil เริ่มมีการใช้งานเครื่องมือเข้ารหัสเวอร์ชั่น Linux โดยพุ่งเป้าโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายแบบเสมือนหรือ Virtual Machine (VM) ที่ทำงานอยู่บน VMware ESXi เป็นหลัก ซึ่งเป็นผลมาจากความนิยมในการใช้งาน VM ขององค์กรในยุคปัจจุบันทำให้กลุ่มอาชญากรไซเบอร์เร่งพัฒนาเครื่องมือที่จะใช้ในการโจมตีด้วยการเข้ารหัสข้อมูลของ VM

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางไซเบอร์, Yelisey Boguslavskiy โพสต์ข้อมูลผ่านทวิตเตอร์ว่าพบข้อมูลการประกาศบนเว็บบอร์ดแห่งหนึ่งโดยกลุ่มอาชญากรผู้อยู่เบื้องหลังมัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil ทำการยืนยันว่าได้เปิดให้ใช้งานเครื่องมือเข้ารหัสเวอร์ชั่นระบบปฏิบัติการ Linux ซึ่งสามารถใช้โจมตีอุปกรณ์ NAS ได้อีกด้วย

เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.64 ที่ผ่านมา กลุ่มนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จาก MalwareHunterTeam เปิดเผยว่าตรวจพบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil เวอร์ชั่น Linux เช่นกัน หรือที่รู้จักกันในชื่อ "Sodinokibi" ซึ่งกำลังพุ่งเป้าโจมตีเครื่องแม่ข่ายที่ใช้งาน VMware ESXI

Vitali Kremez ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรองทางไซเบอร์ให้สัมภาษณ์ BleepingComputer หลังจากมีโอกาสได้ทำการวิเคราะห์ไฟล์มัลแวร์พันธ์ุใหม่นี้ว่า มันเป็นไฟล์ ELF ชนิด 64-bit ซึ่งมีการนำรูปแบบการตั้งค่าการใช้งานเหมือนกับไฟล์ Executable ที่พบได้บนระบบปฏิบัติการ Windows และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการค้นพบมัลแวร์เรียกค่าไถ่ REvil เวอร์ชั่น Linux ในการโจมตีที่เกิดขึ้นจริงนับตั้งแต่มันถูกเปิดให้ใช้งาน

สำหรับขีดความสามารถของมัลแวร์ชนิดนี้ ผู้โจมตีสามารถกำหนดตำแหน่งของไฟล์ที่ต้องการเข้ารหัสได้ รวมทั้งสามารถเปิดการใช้งาน "Silent Mode" ซึ่งใช้สำหรับป้องกันการปิดการทำงานของ "VMs mode" ดังแสดงตามรายละเอียดในคำแนะนำการใช้งาน (Usage Instructions) ของมัลแวร์ ดังนี้

Usage example: elf.

พบกลุ่มจารกรรมไซเบอร์กลุ่มใหม่ โจมตีกระทรวงการต่างประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลาง

เมื่อวันพฤหัสที่ 10 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมานี้ นักวิจัยได้พบกลุ่มจารกรรมทางไซเบอร์กลุ่มใหม่ ที่อยู่เบื้องหลังปฏิบัติการการโจมตีหน่วยงานทางการทูตและบริษัทโทรคมนาคมในแอฟริกาและตะวันออกกลาง ตั้งแต่ปี 2017 เป็นอย่างน้อย โดยมีชื่อแคมเปญว่า “BackdoorDiplomacy” เป็นการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่เปิดเผยทางอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อทำการแฮ็กข้อมูลทางไซเบอร์ต่าง ๆ รวมถึงการทำ Lateral Movement ไปยังเครื่องอื่น ๆ ภายในเครือข่ายเพื่อฝัง backdoor ที่ชื่อว่า “Turian” ที่มีความสามารถในรวมข้อมูลของระบบ จับภาพหน้าจอ ขโมยข้อมูลที่สำคัญ (more…)

Nvidia แจ้งเตือนการพบปัญหาใน GPU driver และซอฟต์แวร์ vGPU ส่งผลให้สามารถถูกใช้ในการยกระดับสิทธิ์, รันคำสั่งอันตราย หรือทำ DoS

ช่องโหว่ทั้งหมดในส่วนของ GPU Display Driver ผู้ไม่หวังดีจำเป็นจะต้องเข้ามาถึงเครื่องได้ก่อน (local) จึงจะสามารถทำการโจมตีได้ ซึ่งประกอบด้วย

CVE-2021-1074 (คะแนน 7.5/10): ปัญหาอยู่ในตัว Installer ของ driver รุ่น R390 สำหรับ Windows ผู้ไม่หวังดีที่สามารถเข้ามาถึงเครื่องได้ (local) สามารถแทรกไฟล์อันตรายลงไปแทนที่ไฟล์ปกติ เพื่อใช้รันคำสั่งอันตราย, ยกระดับสิทธิ์, DoS หรือเปิดเผยข้อมูลสำคัญได้
CVE-2021-1075 (คะแนน 7.3/10): ปัญหาอยู่ในส่วน kernel (nvlddmkm.

พบช่องโหว่ใน zoom ส่งผลให้ผู้อื่นสามารถเห็นข้อมูลที่ไม่ต้องการแชร์ได้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ

ช่องโหว่ดังกล่าวคือ CVE-2021-28133 โดยปกติผู้ใช้งานสามารถเลือกที่จะแชร์หน้าจอเฉพาะส่วนที่ต้องการ, แอพพลิเคชั่นที่ต้องการ หรือเลือกที่จะแชร์หน้าจอทั้งหมด แต่ช่องโหว่ดังกล่าวนี้จะแสดงข้อมูลของแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ให้ผู้เข้าร่วมคนอื่นเห็นเป็นช่วงเวลาสั้นๆ หากแอพพลิเคชั่นดังกล่าวถูกเปิดซ้อนบนแอพพลิเคชั่นที่ถูกแชร์อยู่

ปัญหาดังกล่าวถูกทดสอบบนเวอร์ชั่น 5.4.3 และ 5.5.4 ทั้งบน Windows และ Linux มีการเปิดเผยว่าช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแจ้งไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปีที่แล้ว และปัจจุบันช่องโหว่ดังกล่าวก็ยังไม่มีการปล่อยแพทช์ออกมา โดย zoom แจ้งว่ารับทราบถึงปัญหาดังกล่าวแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการแก้ไข แม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะถูกแสดงเพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แต่หากมีการอัดวิดีโอไว้ ก็จะสามารถเปิดย้อนกลับมาเพื่อดูได้

ที่มา: thehackernews

Exploit ของช่องโหว่ Spectre โผล่ใน VirusTotal เชื่อมาจาก Immunity Canvas คาดว่าถูกเอามาใช้จริงแล้ว

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Julien Voisin ประกาศการค้นพบโค้ดสำหรับโจมตีช่องโหว่ (Exploit) สำหรับช่องโหว่ Spectre ในเว็บไซต์ VirusTotal โดยการโจมตีช่องโหว่ Spectre นั้นสามารถทำให้ผู้โจมตีเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำได้อย่างอิสระ

ทีม Intelligent Response ได้เคยมีการพูดช่องโหว่ Spectre และ Meltdown เมื่อปี 2018 สามารถอ่านบทความของเราได้ที่นี่ i-secure

จากการตรวจสอบ Exploit ที่อยู่ใน VirusTotal นั้น Voision พบ Exploit สำหรับระบบ Linux และ Windows ซึ่งเมื่อทำการใช้งานแล้วโดยบัญชีผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ต่ำ ผู้ใช้ที่มีสิทธิ์ต่ำดังกล่าวจะสามารถดึงค่าแฮช LM/NT และ Kerberos ticket ใน Windows และข้อมูลใน /etc/shadow สำหรับระบบ Linux ได้ทันที

การวิเคราะห์ยังบ่งชี้ถึงที่มาของทั้งสอง Exploit โดยทั้งสอง Exploit มีที่มาจากโปรแกรม Canvas ของ Immunity ซึ่งเป็นโปรแกรมรวม Exploit คล้ายกับ Metasploit แต่มี Private exploit ที่ทาง Immunity มีการพัฒนาขึ้นเองอยู่ด้วย ที่มาของ Exploit ทั้งสองนั้นมาจากการรั่วไหลของ Canvas 7.26 ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวามคมที่ผ่านมา ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยของ Immunity ที่เคยสาธิตการใช้งาน Canvas เพื่อโจมตีช่องโหว่ Spectre และขโมยข้อมูล Kerberos ticket มาตามวีดิโอ vimeo

 

ที่มา: bleepingcomputer