T-Mobile เปิดเผยถึงการละเมิดข้อมูลหลังจากที่ลูกค้าไม่ทราบจำนวนได้รับผลกระทบจากการโจมตีด้วยเทคนิค SIM Swap Attack

T-Mobile ผู้ให้บริการโทรคมนาคมสัญชาติอเมริกันได้เปิดเผยถึงการละเมิดข้อมูลหลังจากที่ลูกค้าไม่ทราบจำนวนได้รับผลกระทบจากการโจมตีด้วยเทคนิค SIM Swap Attack

T-Mobile ได้ทำการแจ้งเตือนเรื่องการละเมิดข้อมูลถึงลูกค้าที่ได้รับผลกระทบเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 และยื่นคำร้องต่อสำนักงานอัยการสูงสุดของสหรัฐอเมริกาเพื่อขออนุมัติการหยุดให้บริการช่วยคราวกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบเพื่อสืบสวนเหตุต่อเหตุการณ์การโจมตีและเพื่อป้องกันข้อมูลของลูกค้ารั่วไหล

T-Mobile เปิดเผยว่าผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลบัญชีของลูกค้ารวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลและหมายเลขประจำตัวส่วนบุคคล (PIN) และยังไม่เเน่ชัดว่าผู้โจมตีสามารถเข้าถึงบัญชีของพนักงานหรือเข้าถึงผ่านบัญชีของผู้ใช้ที่ถูกบุกรุกได้หรือไม่ เนื่องจากผู้โจมตีสามารถโอนข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้าไปยังผู้โจมตี ซึ่งจะทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึง SMS-based multi-factor authentication (MFA) ของลูกค้าได้และยังสามารถทำการโอนเงินจากบัญชีบริการออนไลน์ของเหยื่อไปยังบัญชีของผู้โจมตี

T-Mobile ได้ให้ความเห็นต่อว่าข้อมูลที่แฮกเกอร์เข้าถึงอาจรวมไปถึงชื่อ - นามสกุลของลูกค้า, อีเมล,หมายเลขบัญชีหมายเลขประกันสังคม (SSN), หมายเลขประจำตัวของบัญชี (PIN), คำถามและคำตอบด้านความปลอดภัยของบัญชี, วันเดือนปีเกิดและข้อมูลแผน

ทั้งนี้ T-Mobile ได้หยุดให้บริการชั่วคราวกับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและได้ออกคำแนะนำให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบทำการเปลี่ยน PIN และรหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้ตลอดจนคำถามและคำตอบเพื่อความปลอดภัยของบัญชี

ที่มา: bleepingcomputer

นักวิจัยเผยเเพร่เทคนิคใหม่ในการติดตามผู้ใช้งานผ่าน DNS ในชื่อ “CNAME Cloaking”

นักวิจัยภายในเครือ KU Leuven ซึ่งประกอบไปด้วย Yana Dimova, Gunes Acar, Wouter Joosen, Tom Van Goethem และ Lukasz Olejnik ได้ออกเอกสารการวิจัยซึ่งได้พบว่า บริษัทเทคโนโลยีด้านการโฆษณากำลังพยายามติดตามข้อมูลการใช้งานและข้อมูลอื่น ๆ ผ่านทางเบราว์เซอร์โดยใช้เทคนิคทางด้าน DNS มาใช้เพื่อหลบเลี่ยงการป้องกันจากผู้พัฒนาเบราว์เซอร์และรุกล้ำความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

เทคนิคดังกล่าวถูกเรียกว่า CNAME Cloaking ซึ่งจะถูกนำเสนอในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้ในงาน Privacy Enhancing Technologies Symposium ครั้งที่ 21 (PETS 2021) เทคนิคดังกล่าวเป็นเทคนิคการติดตามผู้ใช้โดยใช้ประโยชน์จาก CNAME record บน Subdomain เพื่อให้เบราว์เซอร์มองเว็บไซต์จาก Subdomain เป็นเว็บไซต์เดียวกันเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเพื่อ Bypass การป้องกันการบล็อกคุกกี้ของผู้ใช้ที่เยื่ยมชมจากแอปพลิเคชัน Third-party ที่ถูกใช้โดยผู้ใช้หรือจากเบราว์เซอร์เอง

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบอีกว่าการติดตามผู้ใช้ด้วย CNAME ทำให้เกิดช่องโหว่ด้านความปลอดภัยสองรายการในการใช้งาน โดยผู้ประสงค์ร้ายสามารถทำให้เว็บไซต์มีความเสี่ยงต่อการโจมตีจากเทคนิค Session fixation และเทคนิค XSS กับผู้ที่เยื่ยมชมเว็บไซต์ด้วย

ทั้งนี้ผู้พัฒนาเบราว์เซอร์อย่าง Google Chrome, Firefox, Safari, Brave กำลังพยายามแก้ไขปัญหาและคาดว่าจะมีการปล่อยการแก้ไขออกมาในลักษณะของแพตช์ด้านความปลอดภัยในเร็ววันนี้

ที่มา: thehackernews, theregister

อัปเดตสถานการณ์ SolarWinds: การแถลงการณ์กับวุฒิสภาและคณะกรรมการข่าวกรอง

ในช่วงระหว่างปลายเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา กรณีการโจมตี SolarWinds มีความเคลื่อนไหวหลายประกาศ ซึ่งทีม Intelligent Response ขอสรุปสถานการณ์ และความเคลื่อนไหวดังกล่าวให้รับทราบดังนี้

1.NASA และ FAA ร่วมวงผู้ได้รับผลกระทบ

องค์การบริการการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ NASA และองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ออกมายืนยันว่าทางองค์กรได้รับผลกระทบจากการโจมตีซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีการโจมตี SolarWinds ในลักษณะ Supply-chain attack ไม่มีการเปิดเผยผลกระทบและความรุนแรง อย่างไรก็ตามทั้งสององค์กรได้ออกมายืนยันว่าได้มีการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อจัดการกับสถานการณ์แล้ว

ที่มา: bleepingcomputer

 

2.ไมโครซอฟต์ปล่อยชุดคิวรี่ CodeQL ในการใช้ค้นหา IOC ในระดับโค้ด

ไมโครซอฟต์มีการเผยแพร่คิวรี่สำหรับเฟรมเวิร์ค CodeQL เพื่อใช้ในการหา IOC ที่เกี่ยวข้องกับมัลแวร์ SUNBURST ในระดับโค้ด ตัวอย่างเช่น โค้ดส่วนที่ใช้ในการฝังตัว (implant), โค้ดฟังก์ชันแฮชที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรเซส รวมไปถึงส่วนโค้ดที่ใช้ในการติดต่อการ C&C โดยปัจจุบันโค้ดได้ถูก Merge เข้าไปในการ Repository กลางของ CodeQL แล้ว และสามารถเข้าดูได้ที่ github

ที่มา: microsoft

 

3.1อัปเดตข้อมูลจากการให้ข้อมูลกับคณะกรรมการข่าวกรอง โดย Microsoft, FireEye, CrowdStrike และ SolarWinds

ฝั่งไมโครซอฟต์มีการร้องขอให้ทางภาครัฐฯ สนับสนุนหรือบังคับให้ภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการแบ่งปันข้อมูลที่ดีกว่านี้เมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น
FireEye ระบุความเกี่ยวข้องกับการโจมตีว่า วิธีการโจมตีที่ตรวจพบนั้นมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมในปฏิบัติการทางไซเบอร์รัสเซียมากที่สุด ทางทำเนียบขาวตอบรับในข้อเท็จจริงและกำลังหาวิธีการที่เหมาะสมในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากรัสเซีย
CrowdStrike เน้นไปที่ปัญหาในระบบของ Windows และวิธีการที่ล้าหลังในการพิสูจน์ตัวตนรวมไปถึงโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเช่นเดียวกัน
ที่มา: theregister

 

3.2อัปเดตข้อมูลจากการให้ข้อมูลกับวุฒิสภา โดย Microsoft, FireEye, CrowdStrike และ SolarWinds

SolarWinds ให้ข้อมูลรหัสผ่าน solarwinds123 ที่เกี่ยวข้องกับระบบ File server ของ SolarWinds นั้นเกิดจากเด็กฝึกงานเป็นผู้กำหนดขึ้นมา ทั้งนี้ปัญหาก็ได้รับการจัดการทันทีที่รับทราบ
ไมโครซอฟต์ระบุว่าไม่พบหลักฐานว่ากระทรวงกลาโหมถูกโจมตี
FireEye ระบุว่าผลกระทบที่แท้จริงจากการโจมตีนั้นยังคงถูกประเมินได้ยาก และในขณะเดียวกันการระบุข้อมูลใดที่ถูกขโมยออกไปบ้างก็เป็นไปได้ยากที่จะระบุได้เช่นเดียวกัน
ที่มา: cnn

แจ้งเตือนช่องโหว่ Code injection ในไลบรารี Node.js “systeminformation”

นักพัฒนาของไลบรารี Node.js "systeminformation" ได้มีการเผยแพร่เวอร์ชันของไลบรารีดังกล่าวหลังจากมีการตรวจพบช่องโหว่ Command injection ในตัวไลบรารีซึ่งปัจจุบันถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-21315 ความน่ากังวลของสถานการณ์ดังกล่าวนั้นอยู่ที่ความนิยมของไลบรารีนี้ที่มียอดดาวน์โหลดรายสัปดาห์สูงถึง 800,000 ครั้ง ซึ่งหลังจากมีการเปิดเผยการแพตช์ไป อาจทำให้เกิดการโจมตีที่สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างได้

ไลบรารี systeminformation เป็นไลบรารีใน Node.

แจ้งเตือนกลุ่มแฮกเกอร์ LazyScripter พุ่งเป้าโจมตีสายการบินด้วย Remote Access Trojan

กลุ่มนักวิจัยจาก Malwarebytes ออกรายงานแจ้งเตือนกลุ่ม APT ใหม่ภายใต้ชื่อ LazyScripter ซึ่งมีความเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี 2018 โดยมีจุดน่าสนใจสำคัญคือการมีเป้าหมายการโจมตีอยู่ในอุตสาหกรรมและสายการบิน

สำหรับเทคนิคการโจมตีของ LazyScripter นั้น กลุ่มผู้โจมตีจะมีการใช้อีเมลฟิชชิ่งในการหลอกลวงเหยื่อ เนื้อหาของอีเมลจะเน้นไปที่โครงการ Immigration ที่รัฐบาลแคนาดาสนับสนุนและอีเมลเกี่ยวกับปฏิบัติการของสายการบินเพื่อหลอกให้มีการดาวน์โหลดไฟล์เอกสารอันตราย LazyScripter มีการใช้มัลแวร์ในลักษณะของโทรจันซึ่งเป็นมัลแวร์แบบโอเพนซอร์ส อาทิ Octopus และ Koadic ในปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่ ผู้โจมตียังมีการใช้ GitHub ในการจัดเก็บไฟล์มัลแวร์สำหรับดาวน์โหลดมาใช้อีกด้วย

เนื่องลักษณะของการใช้มัลแวร์แบบโอเพนซอร์ส รวมไปถึงใช้เครื่องมือในการทดสอบเจาะระบบอย่าง Empire framework ในปฏิบัติการ การเชื่อมโยงกลุ่มผู้โจมตีกลุ่มใหม่นี้ให้เข้ากับฐานข้อมูลภัยคุกคามที่เป็นที่รู้จักนั้นย่อมทำได้ยาก ทั้งนี้ Malwarebytes มีการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องของ LazyScripter ออกเป็น 2 แนวทาง โดยแนวทางแรกนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่ม MuddyWater ของประเทศอิหร่าน และอีกแนวทางหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่ม APT28 จากรัสเซีย ซึ่งในขณะนี้น้ำหนักค่อนข้างเทไปที่ฝั่งของ MuddyWater มากกว่าทั้งในเรื่องเครื่องมือที่ใช้ พฤติกรรมและเป้าหมาย

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายงานต้นฉบับของ MalwareBytes ได้ที่ malwarebytes

ที่มา: bleepingcomputer

แฮกเกอร์รัสเซียถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับการโจมตีระบบจัดเก็บเอกสารของรัฐบาลยูเครน

หน่วยงานความมั่นคงของยูเครน National Security and Defense Council of Ukraine (NSDC) เปิดเผยความเชื่อมโยงของแฮกเกอร์รัสเซียเข้ากับความพยายามในการโจมตีระบบจัดการเอกสารของรัฐบาลยูเครนพร้อมเผยแพร่ Indicator of compromise ที่ได้จากการโจมตี ทั้งนี้ NSDC ยังไม่มีการระบุอย่างแน่ชัดว่าเป็นกลุ่มแฮกเกอร์ใด

ระบบที่ถูกแฮกนั้นเป็นระบบที่มีชื่อว่า System of Electronic Interaction of Executive Bodies (SEI EB) ซึ่งเป็นระบบที่รัฐบาลยูเครนจะใช้ในการแบ่งปันและเผยแพร่เอกสารในหน่วยงานรัฐของยูเครน โดยจากการตรวจสอบนั้น NSDC ตรวจพบการพยายามอัปโหลดไฟล์เอกสารที่มีโค้ดที่เป็นอันตรายไปยังระบบ SEI EB ซึ่งคาดว่ามีเป้าหมายในการหลอกให้มีการดาวน์โหลดและติดตั้งมัลแวร์

ยูเครนตกเป็นเป้าการโจมตีจากรัสเซียอยู่บ่อยครั้ง โดยเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทาง NSDC ก็มีการเปิดเผยว่ารัสเซียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีในลักษณะ DDoS ต่อระบบและเว็บไซต์ของรัฐบาล อีกทั้งยังมีกรณีที่ของมัลแวร์เรียกค่าไถ่ Egregor ที่คาดว่ามีการแพร่กระจายอย่างเฉพาะเจาะจงและมีรัฐบาลรัสเซียอยู่เบื้องหลังอีกด้วย

ที่มา: bleepingcomputer

กลุ่มแฮกเกอร์เกาหลีเหนือ Lazarus Group พุ่งเป้าโจมตีกลุ่มธุรกิจป้องกันประเทศด้วยมัลแวร์พิเศษ

Kaspersky ออกรายงานเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มแฮกเกอร์สัญชาติเกาหลีเหนือ Lazarus Group ซึ่งพุ่งเป้าโจมตีธุรกิจในกลุ่มผู้ผลิตอาวุธและเทคโนโลยีป้องกันประเทศในช่วงปี 2020 โดยมีเป้าหมายในการขโมยข้อมูลลับ ด้วยมัลแวร์ตัวใหม่ที่ถูกเรียกว่า ThreatNeedle

ในการโจมตีนั้น ผู้โจมตีจะทำการเข้าถึงระบบของเป้าหมายโดยอีเมลฟิชชิ่งที่มีลักษณะของเนื้อหาแอบอ้างสถานการณ์ COVID-19 จากนั้นจะมีการติดตั้งมัลแวร์ ThreatNeedle ซึ่งเคยมีประวัติในการถูกใช้เพื่อโจมตีธุรกิจในกลุ่ม Cryptocurrency ในปี 2018

มัลแแวร์ ThreatNeedle มีฟังก์ชันที่ครบเครื่อง ตัวมัลแวร์สามารถทำการยกระดับสิทธิ์ในระบบได้ด้วยตัวเอง มีการแยกส่วนของตัว Launcher และโค้ดของมัลแวร์ออกจากกันโดยส่วน Launcher จะเป็นตัวถอดรหัสและโหลดโค้ดของมัลแวร์จริง ๆ ไปทำงานในหน่วยความจำ

Kaspersky ยังค้นพบด้วยว่าผู้โจมตีมีการเข้าถึงระบบภายในผ่าน ThreatNeedle เพื่อเข้ามาแก้ไขการตั้งค่าของ Router ภายใน ในกรณีที่มีการทำ Network segmentation โดยแฮกเกอร์จะสร้าง Tunnel ด้วยโปรโตคอล SSH เพื่อส่งข้อมูลที่ขโมยมา กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกแฮกในเกาหลีใต้

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดู Security advisory ได้จากรายงานของ Kaspersky ที่ ics-cert

ที่มา: .bleepingcomputer

Cisco ออกเเพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ที่มีความรุนแรงใน Cisco ACI Multi-Site Orchestrator

Cisco ได้ออกเเพตช์เพื่อแก้ไขช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูงสุด ถูกพบใน API Endpoint ของ Cisco ACI Multi-Site Orchestrator (MSO) ที่ติดตั้งบน Application Services Engine โดยรายละเอียดของช่องโหว่ที่น่าสนใจมีดังนี้

 

ช่องโหว่แรกถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-1388 มีคะแนน CVSS อยู่ที่ 10/10 เป็นช่องโหว่ถูกพบใน API Endpoint ของ Cisco ACI MSO เวอร์ชัน 3.0 ที่ติดตั้งบน Application Services Engine โดยช่องโหว่อาจทำให้ผู้โจมตีจากระยะไกลที่ไม่ได้รับการรับรองความถูกต้องอาจข้ามการพิสูจน์ตัวตน (Authentication Bypass) บนอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ โดยการส่ง Request ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษเข้ามายังอุปกรณ์ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อทำให้ได้รับ Token การตรวจสอบสิทธิ์พร้อมสิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบ ซึ่งช่องโหว่นี้จะส่งผลกระทบต่อเวอร์ชัน Cisco ACI MSO เวอร์ชัน 3.0 ที่ติดตั้งบน Application Services Engine เท่านั้น

 

ช่องโหว่ที่สองถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-1393 เป็นช่องโหว่ถูกพบใน Cisco Application Services Engine โดยช่องโหว่สามารถอนุญาตให้ผู้โจมตีระยะไกลที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์เข้าถึงบริการพิเศษบนอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเรียกใช้คอนเทนเนอร์หรือเรียกใช้คำสั่งระดับโฮสต์ได้

 

ทั้งนี้ Cisco ยังได้เเก้ไขช่องโหว่เพิ่มเติมอีกห้ารายการที่ส่งผลกระทบต่อซอฟต์แวร์ Cisco FXOS, ซอฟต์แวร์ Cisco NX-OS และซอฟต์แวร์ Cisco UCS โดยช่องโหว่มีการจัดอันดับความรุนแรง CVSS อยู่ที่ 8.1 - 9.8/10 ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดตแพตช์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดโดยเร็วเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของผู้ประสงค์ร้าย

 

ที่มา: bleepingcomputer

ผลิตภัณฑ์กล้องสำหรับเฝ้าเด็ก NurseryCam ถูกแฮกเกอร์บุกรุกเมื่อวันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ตามรายงานจาก BBC ได้ระบุว่าผลิตภัณฑ์กล้องสำหรับเฝ้าเด็ก NurseryCam ซึ่งถูกใช้ในระบบของสถานรับเลี้ยงเด็กประมาณ 40 แห่งทั่วสหราชอาณาจักรได้ถูกระงับการบริการในวันเสาร์ที่ผ่านมาเพื่อปิดปรับปรุงระบบการให้บริการ

การบุกรุกระบบ NurseryCam ทำให้แฮกเกอร์ซึ่งอ้างว่าได้เข้าถึงฐานข้อมูลนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ อาทิ ชื่อจริง, Username, Password ที่ผ่านฟังก์ชันแฮช SHA-1 และ Email addresses กว่า 12,000 บัญชี โดยแฮกเกอร์ได้ทำการเผยเเพร่ฐานข้อมูลสู่สาธารณะแล้ว

Andrew Tierney ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย IoT ได้เริ่มทำการตรวจสอบเหตุการณ์การบุกรุกและทำการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเผยเเพร่ว่าเป็นข้อมูลจริงหรือไม่

ทั้งนี้ NurseryCam ได้ทราบถึงการละเมิดระบบของบริษัทแล้วและได้เริ่มส่งอีเมลถึงผู้ปกครองเพื่อเตือนถึงการบุกรุกครั้งนี้ NurseryCam แล้ว

ที่มา: theregister

เตือนภัยช่องโหว่ร้ายแรงใน VMware vCenter Server มี POC และการสแกนหาเครื่องที่มีช่องโหว่แล้ว

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2021 ที่ผ่านมา VMware ออกแพตช์ให้กับ VMware vCenter Server (vCenter Server) เพื่อแก้ไขช่องโหว่ร้ายแรง CVE-2021-21972 ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถส่งคำสั่งอันตรายมาจากระยะไกลผ่านพอร์ต Hโดยที่ไม่ต้องยืนยันตัวตนเพื่อทำการรันบนระบบปฏิบัติการณ์ของเครื่องที่มี vCenter Server ได้

โดยหลังจากการประกาศแพตช์ช่องโหว่ดังกล่าวเพียงวันเดียวก็มีการเผยแพร่ POC ของช่องโหว่ดังกล่าวทันที ทำให้เกิดการสแกนหาเครื่องที่มีช่องโหว่ตามมา ซึ่งจากการค้นหาผ่าน shodan.