ข้อมูลของบริษัท Audi และ Volkswagen รั่วไหลทำให้ส่งผลกระทบต่อลูกค้า 3.3 ล้านคน

เมื่อวันที่ 20 มีนาคมที่ผ่านมา VMGoA (Volkswagen Group of America, Inc.) ได้รับแจ้งจาก Vendor ว่ามีการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต และได้ข้อมูลของลูกค้าของ Audi, Volkswagen และตัวแทนจำหน่ายบางราย โดยทาง VWGoA ได้ระบุว่าข้อมูลที่รัวไหลออกไปนั้น มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า 3.3 ล้านคน โดย 97% เป็นของ Audi ซึ่งข้อมูลที่รั่วไหลนั้นประกอบไปด้วย ข้อมูลการติดต่อไปจนถึงข้อมูลหมายเลขประกันสังคมและหมายเลขเงินกู้

โดยทาง TechCrunch ได้รายงานเกี่ยวกับข้อมูลที่รั่วไหลออกไปนั้นจะประกอบไปด้วย ชื่อและนามสกุล ที่อยู่ส่วนบุคคลหรือทางธุรกิจ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ข้อมูลเกี่ยวกับรถที่ซื้อหรือเช่า หมายเลขรถ (VIN) ยี่ห้อ รุ่น ปี สี และชุดแต่ง โดยข้อมูลดังกล่าว ยังมีข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนมากยิ่งขึ้นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ในการซื้อ เงินกู้ หรือสัญญาเช่า โดยมากกว่า 95% เป็นหมายเลขใบขับขี่ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลของ วันเกิด ประกันสังคม เลขที่ประกัน เลขที่บัญชีหรือเงินกู้ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี อีกด้วย และสำหรับลูกค้า 90,000 ราย ที่มีการรั่วไหลของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ทาง Volkswagen จะให้การคุ้มครองเครดิต และบริการตรวจสอบฟรี ซึ่งรวมถึงประกันการโจรกรรมอีก 1 ล้านเหรียญสหรัฐ

แต่เป็นที่น่าสนใจ ข้อมูลที่รั่วไหลนั้นไม่ได้มาจาก Server ของทาง Volkswagen หรือ Audi แต่เป็นข้อมูลที่ทาง Vendor ของพวกเขาเก็บรวบรวมไว้ในช่วง 5 ปีระหว่าง 2014 ถึง 2019 โดยพวกเขากล่าวว่าข้อมูลดังกล่าวได้เก็บรวบรวมไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดทั่วไป แต่ที่น่าเศร้าคือข้อมูลเหล่านั้นไม่ได้ถูกป้องกันและมีช่องโหว่

เนื่องจากข้อมูลของ Audi และ Volkswagen ไม่มีความปลอดภัยมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว จึงไม่สามารถบอกได้ว่ามีข้อมูลใดบ้างที่ถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้นหากมีข้อความ อีเมล หรือการติดต่อใด ๆ ที่อ้างว่ามาจากทาง Audi หรือ Volkswagen ให้ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่น่าสงสัยไว้เป็นอันดับแรก โดยเฉพาะอีเมลหรือข้อความ sms

ที่มา : bleepingcomputer

สายการบินในอินเดียถูกโจมตีทางไซเบอร์ทำให้ข้อมูลลูกค้าถูกบุกรุกนับล้าน

เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลของสายการบินแห่งชาติของอินเดีย (Air India) ถูกโจมตีทางไซเบอร์ ส่งผลกระทบต่อข้อมูลของลูกค้าประมาณ 4.5 ล้านรายทั่วโลกถูกบุกรุก
จากรายงานพบว่ามีการโจมตีครั้งแรกในเดือน กุมภาพันธ์ รายละเอียดข้อมูลที่ถูกบุกรุกนั้นประกอบไปด้วย หนังสือเดินทาง, ข้อมูลตั๋ว รวมไปถึงข้อมูลบัตรเครดิต "แต่ในส่วนของ ข้อมูลด้านความปลอดภัยของบัตรเครดิต หมายเลข CVV หรือ CVC นั้นไม่ได้ถูกเก็บอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลที่ถูกโจมตี" และ "หลังจากการโจมตีที่เกิดขึ้นยังไม่พบสัญญาณหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติเพิ่มเติม" ตามที่สายการบินแห่งชาติของอินเดีย กล่าว
ปัจจุบันนั้นยังไม่มีการออกมายอมรับ หรือรู้ตัวของผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้
ทาง Air India เองก็ได้ออกมาประกาศให้ลูกค้าของตนนั้นดำเนินการเปลี่ยนรหัสผ่านการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของพวกเขาบนเว็บไซต์
เมื่อปีที่แล้ว British Airways เองก็ถูกปรับ 20 ล้านปอนด์ (ประมาณ 800 ล้านบาท) เนื่องจากการละเมิดข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้ามากกว่า 400,000 ราย เมื่อปี 2018
นอกจากนี้ในปีเดียวกัน EasyJet ยังออกมายอมรับว่าข้อมูล อีเมล และรายละเอียดการเดินทางของลูกค้าประมาณ 9 ล้านราย ถูกขโมยในการโจมตีทางไซเบอร์เช่นเดียวกัน

ที่มา : bbc

เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน Facebook ถูกนำมาปล่อยบนเว็บไซต์ใต้ดิน

ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยชื่อ- นามสกุล, Facebook ID, เบอร์โทรศัพท์, อีเมล, เพศ, อาชีพ และประเทศ เป็นต้น และเป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน Facebook มากกว่า 533 ล้านราย จาก 106 ประเทศ แต่ไม่พบว่ามีข้อมูลของผู้ใช้งานในประเทศไทย เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวรั่วไหลมาตั้งแต่ปี 2019 ผ่านทางช่องโหว่เก่าของ Facebook ที่ได้รับการแก้ไขไปแล้ว ข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นข้อมูลตั้งแต่เมื่อปี 2019 ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดมีการระบุว่า Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้ง Facebook เองก็เป็นหนึ่งในผู้เสียหายที่มีข้อมูลหลุดออกมาเช่นเดียวกัน

ที่มา: thehackernews

นักวิจัยพบฐานข้อมูลโบรกเกอร์ฟอเร็กซ์ FBS ถูกเปิดเผยที่มีข้อมูลผู้ใช้มากกว่า 16,000 ล้านรายการ

นักวิจัยด้านความปลอดภัยได้ค้นพบฐานข้อมูลเว็บไซต์ Forex trading ของโบรกเกอร์ FBS ที่มีขนาดข้อมูลเกือบ 20 TB ที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ ElasticSearch ซึ่งมีข้อมูลมากกว่า 16,000 ล้านรายการ

FBS เป็นโบรกเกอร์ออนไลน์ Forex trading ที่มีผู้ใช้มากกว่า 16 ล้านคนบนแพลตฟอร์มซึ่งครอบคลุม 190 ประเทศ โดยนักวิจัยด้านความปลอดภัยได้พบเซิร์ฟเวอร์ ElasticSearch ที่เปิดทิ้งไว้โดยไม่มีการป้องกันด้วยรหัสผ่านหรือการเข้ารหัสใด ๆ ซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูล FBS ได้

โดยข้อมูลที่ถูกค้นพบประกอบไปด้วย ชื่อ, รหัสผ่าน, อีเมล, หมายเลขหนังสือเดินทาง, บัตรประจำตัวประชาชน, บัตรเครดิต, ธุรกรรมทางการเงินและอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีไฟล์ที่ถูกอัปโหลดโดยผู้ใช้เพื่อยืนยันการตรวจสอบบัญชี ซึ่งมีเอกสารเช่น รูปถ่ายส่วนตัว, บัตรประจำตัวประชาชน, ใบขับขี่, สูติบัตร, ใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร, ค่าสาธารณูปโภคและรูปภาพบัตรเครดิตของธนาคารในฝรั่งเศสและสวีเดน และรายละเอียด Transaction รวม 500,000 ดอลลาร์

ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกโบรกเกอร์ FBS ควรทำการตรวจสอบบัญชีและควรทำการเปลื่ยนรหัสผ่านและเปิดการใช้งาน Two-factor authentication (2FA) บนแพลตฟอร์มและเฝ้าระวังกิจกรรมที่ผิดปกติที่อาจส่งผลกระทบกับการเงิน ทั้งนี้ผู้ใช้ควรระมัดระวังการถูกใช้ข้อมูลที่ถูกรั่วไหลเพื่อทำการหลอกลวงด้วยเทคนิคฟิชชิง รวมทั้งไม่ควรเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับส่วนบุคคลใด ๆ ที่ร้องขอทางอีเมลหรือทางโทรศัพท์

ที่มา: itpro

กลุ่มแฮกเกอร์เกาหลีเหนือ Lazarus Group พุ่งเป้าโจมตีกลุ่มธุรกิจป้องกันประเทศด้วยมัลแวร์พิเศษ

Kaspersky ออกรายงานเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่มแฮกเกอร์สัญชาติเกาหลีเหนือ Lazarus Group ซึ่งพุ่งเป้าโจมตีธุรกิจในกลุ่มผู้ผลิตอาวุธและเทคโนโลยีป้องกันประเทศในช่วงปี 2020 โดยมีเป้าหมายในการขโมยข้อมูลลับ ด้วยมัลแวร์ตัวใหม่ที่ถูกเรียกว่า ThreatNeedle

ในการโจมตีนั้น ผู้โจมตีจะทำการเข้าถึงระบบของเป้าหมายโดยอีเมลฟิชชิ่งที่มีลักษณะของเนื้อหาแอบอ้างสถานการณ์ COVID-19 จากนั้นจะมีการติดตั้งมัลแวร์ ThreatNeedle ซึ่งเคยมีประวัติในการถูกใช้เพื่อโจมตีธุรกิจในกลุ่ม Cryptocurrency ในปี 2018

มัลแแวร์ ThreatNeedle มีฟังก์ชันที่ครบเครื่อง ตัวมัลแวร์สามารถทำการยกระดับสิทธิ์ในระบบได้ด้วยตัวเอง มีการแยกส่วนของตัว Launcher และโค้ดของมัลแวร์ออกจากกันโดยส่วน Launcher จะเป็นตัวถอดรหัสและโหลดโค้ดของมัลแวร์จริง ๆ ไปทำงานในหน่วยความจำ

Kaspersky ยังค้นพบด้วยว่าผู้โจมตีมีการเข้าถึงระบบภายในผ่าน ThreatNeedle เพื่อเข้ามาแก้ไขการตั้งค่าของ Router ภายใน ในกรณีที่มีการทำ Network segmentation โดยแฮกเกอร์จะสร้าง Tunnel ด้วยโปรโตคอล SSH เพื่อส่งข้อมูลที่ขโมยมา กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกแฮกในเกาหลีใต้

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดู Security advisory ได้จากรายงานของ Kaspersky ที่ ics-cert

ที่มา: .bleepingcomputer