ASUS แจ้งเตือนช่องโหว่ Authentication bypass บน Router 7 รุ่น

Asus ออกอัปเดต firmware ใหม่ ซึ่งแก้ไขช่องโหว่ที่ส่งผลกระทบต่อ Router 7 รุ่นที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงอุปกรณ์จากภายนอกได้ (more…)

TheMoon malware แพร่กระจายไปยังเราเตอร์ ASUS กว่า 6,000 เครื่องภายใน 72 ชั่วโมงผ่าน proxy service

TheMoon malware แพร่กระจายไปยังเราเตอร์ ASUS กว่า 6,000 เครื่องภายใน 72 ชั่วโมงผ่าน proxy service

พบ malware botnet เวอร์ชันใหม่ในชื่อ "TheMoon" แพร่กระจายไปยังเราเตอร์ และอุปกรณ์ IoT ในสำนักงานขนาดเล็ก และโฮมออฟฟิศ (SOHO) ที่มีช่องโหว่หลายพันเครื่องใน 88 ประเทศ

(more…)

งานแฮกระดับประเทศของจีน Tianfu Cup เข้าปีที่สาม ตบ iOS 14, Windows 10 และ Chrome ร่วง

งานแฮกระดับประเทศของจีน Tianfu Cup ดำเนินเข้ามาสู่ปีที่ 3 แล้ว โดยในปีนี้นั้นเป้าหมายชื่อดังอย่าง iOS 14, Windows 10 v2004, Chrome รวมไปถึงกลุ่มเทคโนโลยี virtualization สามารถถูกโจมตีโดยช่องโหว่ได้สำเร็จ

Tianfu Cup ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่เมืองเฉิงตูในช่วงเวลาเดียวกับการแข่งขัน Pwn2Own ผู้เข้าแข่งขันจำนวน 15 ทีมจะมีเวลา 5 นาทีและเงื่อนไขในการโจมตีได้ 3 ครั้งเพื่อให้นำ exploit ที่ทำการพัฒนามาโจมตีกับเป้าหมาย เงินรางวัลจะถูกมอบให้กับทีมซึ่งโจมตีเป้าหมายได้สำเร็จก่อนตามเงื่อนไขของความยากและอื่นๆ โดยในปีนี้ทีมผู้ชนะซึ่งได้เงินรางวัลไปสูงสุดคือทีม 360 Enterprise Security and Government and (ESG) Vulnerability Research Institute จาก Qihoo 360 ซึ่งได้เงินรางวัลไป 22 ล้านบาท

นอกเหนือจาก iOS 14, Windos 10 และ Chrome แล้ว เป้าหมายที่ถูกโจมตีสำเร็จยังมี Samsung Galaxy S20, Ubuntu, Safari, Firefox, Adobe PDF Reader, Docker (Community Edition), VMWare EXSi (hypervisor), QEMU (emulator & virtualizer) และเฟิร์มแวร์ของ TP-Link และ ASUS ด้วย

การแข่งขัน Tianfu Cup เป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ที่หลังจากรัฐบาลจีนมีนโยบายจำกัดไม่ให้ชาวจีนเข้าร่วมการแข่งขันอย่าง Pwn2Own จากข้อกังวลเรื่องความมั่นคงของประเทศ แต่ผลักดันให้มีการแข่งขันภายในประเทศแทนและคาดว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการแข่งขันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแนวทางด้านไซเบอร์ของจีน

ที่มา: zdnet

ASUS Live Update Infected with Backdoor in Supply Chain Attack

เซิร์ฟเวอร์ ASUS Software Updates ถูกแฮก ใช้แพร่กระจายมัลแวร์กระทบผู้ใช้งานกว่าครึ่งล้านราย
กลุ่มนักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Kaspersky Lab ได้มีการเปิดเผยแคมเปญการโจมตีใหม่ภายใต้ชื่อ Operation ShadowHammer หลังจากตรวจพบการแพร่กระจายของมัลแวร์ผ่านทางบริการ ASUS Software Updates ซึ่งถูกใช้โดยอุปกรณ์จาก ASUS เพื่อรับอัปเดตของโปรแกรมใหม่ โดยจากการประเมินเบื้องต้นนั้นคาดว่ามีผู้ดาวโหลดมัลแวร์ไปแล้วกว่า 500,000 ราย
การโจมตีแบบ Supply-chain attack นี้ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาที่งานสัมมนา SAS 2019 อย่างไรก็ตามการโจมตีถูกประเมินว่าเกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2018
Kaspersky Lab ระบุว่าแคมเปญการโจมตีใน Operation ShadowHammer นั้นมีความซับซ้อนสูงและเชื่อกันว่าผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีอาจเป็นกลุ่มผู้โจมตีที่มีศักยภาพสูงระดับ APT เนื่องจากมัลแวร์ที่ถูกแพร่กระจายผ่านทางช่องทางของ ASUS Software Updates ถูกรับรองด้วยใบอนุญาตที่ถูกต้องของ ASUS ซึ่งหมายความว่าผู้โจมตีสามารถเข้าถึงกระบวนการรับรองโปรแกรมของ ASUS ด้วย
มัลแวร์ที่ถูกแพร่กระจายนั้นมีลักษณะการทำงานแบบโทรจันโดยจะมีการตรวจสอบ MAC address ของระบบที่มีการติดเชื้อเปรียบเทียบกับรายการ MAC address ที่ฝังมากับโปรแกรมของมัลแวร์ซึ่งคาดว่าเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของแคมเปญการโจมตี หาก MAC address ของระบบที่ติดเชื้อนั้นอยู่ในรายการดังกล่าว มัลแวร์จะทำการติดต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ออกคำสั่งและควบคุม (C&C) เพื่อดาวโหลดมัลแวร์อื่นมาติดตั้ง
Kaspersky Lab ยังเผยแพร่เครื่องมือสำหรับตรวจสอบว่าระบบที่ใช้งานอยู่นั้นมีโอกาสที่จะต้องเป็นเป้าหมายหรือไม่ด้วยการตรวจสอบจาก MAC address โดยในขณะนี้ทาง ASUS ได้ทำการตรวจสอบและเข้าขัดขวางแคมเปญการโจมตีดังกล่าวแล้ว

ที่มา : motherboard