Extremely serious virtual machine bug threatens cloud providers everywhere

บริษัทความปลอดภัย CloudStrike ออกมาเตือนภัยช่องโหว่ใหม่ที่ตั้งชื่อว่า Venom มีผลกระทบกับซอฟต์แวร์ virtualization ฝั่งโอเพนซอร์สหลายตัว เช่น Xen, KVM, QEMU
ช่องโหว่นี้ช่วยให้แฮ็กเกอร์สามารถเจาะทะลุระบบปฏิบัติการ Guest OS ออกมายัง Host OS ได้ ซึ่งทำให้สามารถขยายผลเข้ามายังเครือข่ายภายในองค์กรได้อีกต่อหนึ่ง (การจำกัดความเสียหายไว้แค่ Virtual Machine (VM) จึงไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เพราะเจาะทะลุ Virtual Machine (VM) ได้)

Starbucks app used to hack into bank accounts, credit cards

ผู้ใช้แอพ Starbucks ในสหรัฐอเมริกาบางรายพบว่า ถูกตัดเงินเพื่อซื้อบัตรของขวัญ Starbucks ซ้ำๆ กัน โดยหักเงินจากระบบของ PayPal อัตโนมัติ ความเสียหายอยู่ระหว่าง 100-550 ดอลลาร์ต่อราย

Hacking WordPress Website with Just a Single Comment

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากประเทศฟินแลนด์ชื่อว่า Jouko Pynnönen ได้ค้นพบช่องโชว่ zero-day ของ WordPress เวอร์ชั่น 3.9.3, 4.1.1, 4.1.2 และ WordPress เวอร์ชั่นล่าสุด 4.2

Teenagers suspected of hacking Belgian and French websites

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Eset ค้นพบมัลแวร์ตัวใหม่บนระบบปฏิบัติการ Linux ที่ชื่อว่า “Mumblehard หลังจากนักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์มัลแวร์ Mumblehard พบว่ามีองค์ประกอบพื้นฐานสององค์ประกอบ คือ Backdoor Spamming daemon

Avast community forum hacked, user names and passwords stolen

Avast community forum ถูกแฮกเกอร์โจมตีฐานข้อมูลและขโมยข้อมูลต่างๆ ได้แก่ ชื่อผู้ใช้งาน, ที่อยู่อีเมล์, ชื่อเล่น และรหัสผ่านแบบ hashed (one-way encrypted) passwords ทำให้แฮกเกอร์นั้นใช้เวลาไม่นานที่จะ Crack ซึ่งการแฮกในครั้งนี้ไม่มีการเข้าถึง ข้อมูลทางการเงิน, ใบอนุญาต หรือข้อมูลอื่นๆ

Avast blog รายงานว่า การละเมิดความปลอดภัยครั้งนี้มีผลกระทบน้อยกว่า 0.2% (ประมาณ 400,000) ของผู้ใช้ Avast จำนวน 200 ล้านราย โดยทาง Avast แนะนำให้ผู้ใช้ที่มีการใช้รหัสผ่านเดียวกันกับทุกๆ เว็บไซต์ทำการเปลี่ยนรหัสผ่านทันที และเมื่อ Avast community forum กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ผู้ใช้ทุกคนจะต้องทำการตั้งรหัสผ่านใหม่เพื่อความปลอดภัย

ที่มา : ehackingnews

Redmond won't fix IE 8 zero day, says 'harden up' instead

โครงการ Zero-Day Initiative (ZDI) ของเอชพีเปิดเผยบั๊ก CVE-2014-1770 หรือ ZDI-14-140 ที่เปิดเผยให้กับไมโครซอฟท์ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว จนตอนนี้บั๊กนี้ครบระยะเวลารอแพตซ์จากผู้ผลิต 180 วัน ทาง ZDI ก็เปิดเผยบั๊กนี้ออกมา
บั๊กนี้อาศัยช่องโหว่ของออปเจกต์ CMarkup ทำให้แฮกเกอร์สามารถนำพอยเตอร์กลับมาใช้ใหม่ได้หลังคืนหน่วยความจำไปแล้ว (use-after-free) และแฮกเกอร์สามารถรันโค้ดภายใต้โปรเซสปัจจุบันได้
ไมโครซอฟท์ตอบกลับมายัง ZDI ยืนยันว่าพบบั๊กนี้จริงโดยผู้ใช้ต้องถูกล่อให้เปิดหน้าเว็บ หรือเปิดไฟล์ที่เจาะช่องโหว่นี้ การเปิดเว็บที่ถูกควบคุมเฉพาะเช่น การเปิดเว็บที่ฝังมาบนอีเมล์ใน Outlook หรือ Windows Mail ไม่สามารถเจาะช่องโหว่นี้ได้ และแนะนำให้ติดตั้ง Enhanced Mitigation Experience Toolkit (EMET) เพื่อลดความเสี่ยงจากบั๊กนี้
ทาง ZDI แจ้งไมโครซอฟท์ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 ที่ผ่านมาว่าครบกำหนดการเปิดเผยบั๊ก แล้วจึงเปิดเผยบั๊กออกมาในวันนี้

ที่มา : theregister

Filipino hackers wage cyberwar on Chinese Web sites

หลังจากเกิดเหตุการณ์แฮกเว็บไซต์หลายแห่งในประเทศฟิลิปปินส์เมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดลามไปถึงประเทศจีนแล้ว เมื่อมีการแฮกเว็บไซต์กว่า 200 เว็บในจีน เพื่อขู่ยึดดินแดน
ตามรายงานข่าวกลุ่มชาวฟิลิปปินส์ที่ก่อเหตุแฮกเว็บไซต์ในจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีชื่อเรียกกันว่า "Anonymous Philippines" หรือรู้จักกันในนาม "Pinoys" หลังจากเคยก่อเหตุมาแล้วกับเว็บไซต์ในฟิลิปปินส์เมื่อปีที่แล้ว สาเหตุมาจากความไม่พอใจต่อกรณีพิพาทเหนือเกาะในทะเลจีนใต้ที่มีชื่อว่า "Huangyan" ที่ฟิลิปปินส์และจีนมีปัญหากันมาตั้งแต่ปี 2012
อย่างไรก็ตามรายงานข่าวกล่าวว่า นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่แฮกเกอร์กลุ่มนี้แฮกเว็บไซต์ในจีน หลังจากเมื่อปี 2012 มีการแฮกเว็บไซต์ในจีน เพื่อเป็นการตอบโต้ที่แฮกเกอร์ชาวจีนเคยแฮกเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในฟิลิปปินส์

ที่มา : The Washington Post

BlackShades malware bust ends in nearly 100 arrests worldwide

เอฟบีไอกล่าวว่า กว่าครึ่งล้านเครื่อง ใน 100 ประเทศทั่วโลกมีการติดมัลแวร์ที่ช่วยให้อาชญากรไซเบอร์ควบคุมคอมพิวเตอร์และ hijack เว็บแคม
BlackShades เป็นชนิดของซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือการเข้าถึงระยะไกล (RAT) เมื่อแฮกเกอร์ติดตั้ง BlackShades ลงบน คอมพิวเตอร์ของเหยื่อ แฮกเกอร์สามารถมองเห็นทุกๆ อย่างบนเครื่องของเหยื่อได้ เช่น เอกสาร, รูปภาพ, รหัสผ่าน, ข้อมูลประจำตัวของธนาคาร และอื่นๆ รวมถึงยังสามารถปฏิเสธการเข้าถึงไฟล์, การกดแป้นพิมพ์บันทึกของเหยื่อ และเปิดใช้งานเว็บแคมของเครื่องคอมพิวเตอร์เหยื่อ
ประเทศที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจับกุม ได้แก่ เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อังกฤษ, ฟินแลนด์, ออสเตรีย, เอสโตเนีย, เดนมาร์ก, สหรัฐ, แคนาดา, ชิลี, โครเอเชีย, อิตาลี, มอลโดวา และสวิตเซอร์แลนด์

ที่มา : cnet