Cisco ออกแพตช์ปิดช่องโหว่อันตรายร้ายแรงจากข้อมูลรั่วไหลของ CIA “Vault7” แล้ว

หากใครยังจำกันได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Wikileaks ได้มีการนำข้อมูลซึ่งอ้างว่าเป็นเครื่องมือสำหรับสอดแนมและโจมตีที่ถูกพัฒนาและใช้โดย CIA ภายใต้ชื่อ "Vault7" ออกมาปล่อยออกสู่สาธารณะ หนึ่งในข้อมูลที่ถูกปล่อยนั้นมีช่องโหว่อันตรายร้ายแรงบน Cisco IOS และ IOS ที่อยู่ใน Cluster Management Protocol (CMP) อยู่ด้วน ช่องโหว่ดังกล่าวได้รับแพตช์แล้วเมื่อช่วงวันจันทร์ที่ผ่านมา
ผลของช่องโหว่รหัส CVE-2017-3881 ทำให้ผู้โจมตีสามารถร้นโค้ดที่เป็นอันตรายาจากระยะไกลได้ผ่านทางการสร้างแพ็คเกต CMP ที่ออพชั่นพิเศษในระหว่างที่พยายามจะทำการสร้างการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์
นอกเหนือจากนั้น Cisco ยังมีการออกแพตช์สำหรับ Cisco WebEx Meetings Server ที่มีช่องโหว่ที่ทำให้มีการรั่วไหลของข้อมูลอีกด้วย แนะนำให้ทำการอัพเดตทั้งสองช่องโหว่เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีครับ
ที่มา : Cisco
ที่มา : Cisco

แพตช์ด้านความปลอดภัยประจำเดือนพฤษภาคม 2017 ของ Microsoft มาแล้ว

สำหรับเทศกาล Patch Tuesday ของ Microsoft ในเดือนนี้นั้น Microsoft ได้มีการประกาศแพตช์ด้านความปลอดภัยให้กับหลายผลิตภัณฑ์ ทั้งหมด 55 ช่องโหว่ รวมไปถึงแพตช์ฉุกเฉินสำหรับช่องโหว่ Microsoft Malware Protection Engine ที่พึ่งถูกค้นพบโดย Google Project Zero ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
สำหรับรายการแพตช์ทั่วไป ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องมีการอัพเดตแพตช์ได้แก่ Internet Explorer, Microsoft Edge, Microsoft Windows (ทั้งแบบเดสทอปก์และแบบเซิร์ฟเวอร์), Microsoft Office และ .NET Framework โดยมีช่องโหว่ร้ายแรงอยู่ที่ช่องโหว่ของ Microsoft Office ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถรรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้จากระยะไกลผ่านไฟล์ EPS และพบการโจมตีช่องโหว่นี้แล้ว รวมไปถึงช่องโหว่ยกระดับสิทธิ์ใน Windows Kernel ซึ่งก็ตรวจพบการใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีแล้วเช่นเดียวกัน
นอกเหนือจากรายการแพตช์ทั่วไปแล้ว Microsoft ยังได้มีการออกแพตช์ด้านความปลอดภัยฉุกเฉินสำหรับช่องโหว่ใน Microsoft Malware Protection Engine ซึ่งถูกค้นพบโดยทีมแฮกเกอร์จาก Google Project Zero ด้วย แนะนำให้อัพเดตทุกๆ แพตช์โดยด่วนที่สุดครับ
ที่มา : Microsoft

แพตช์ด้านความปลอดภัยประจำเดือนพฤษภาคม 2017 สำหรับซอฟต์แวร์ Adobe มาแล้ว

แพตช์ด้านความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์ของ Adobe ประจำเดือนพฤกษาคม 2017 ได้ถูกประกาศออกมาแล้วเมื่อวานที่ผ่านมา โดยในรอบนี้นั้นมีซอฟต์วแวร์ที่จำเป็นต้องมีการอัพเดตอยู่สองรายการได้แก่ Adobe Flash Player และ Adobe Experience Manager Forms
สำหรับ Adobe Flash Player นั้น แพตช์ที่ออกมาจะปกป้องผู้ใช้งานจาก 7 ช่องโหว่ใหญ่ซึ่งกระทบทุกๆ ระบบปฏิบัติการตั้งแต่ Windows, Mac, Linux ไปจนถึง Chrome OS ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปตรวจสอบเวอร์ชันปัจจุบันที่ใช้อยู่ได้ที่ http://www.

PuTTY 0.69 พร้อมแก้ปัญหา DLL Hijacking

โปรแกรม PuTTY ได้ถูกปล่อยเวอร์ชันใหม่ในเวอร์ชัน 0.69 เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยในรุ่นล่าสุดนั้น PuTTY ได้ถูกแก้ไขช่องโหว่ DLL Hijacking บนแพลตฟอร์มของวินโดวส์ ที่ผู้โจมตีสามารถสร้างไฟล์ DLL ด้วยชื่อเฉพาะที่เป็นอันตรายและให้มีการโหลดขึ้นมาทำงานทันทีที่ PuTTY เริ่มการทำงานได้

นอกเหนือจากนั้นยังมีการแก้ปัญหาการรองรับการทำงานบน Kerberos ที่พบในเวอร์ชันก่อนหน้าพร้อมทั้งปัญหาทั่วไปอื่นๆ ด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการอัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่ แนะนำให้ทำการดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้และตรวจสอบความสมบูรณ์ของไฟล์ด้วยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีหรือถูกขโมยจากโปรแกรมที่ถูกดัดแปลง

ที่มา : chiark

ช่องโหว่ Riddle ใน “Again Riddle”

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Pali Rohár ได้ค้นพบช่องโหว่ซึ่งถูกเรียกว่า Riddle ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่อนุญาตให้ผู้โจมตีทำการ MITM ได้อันเนื่องมาจากความบกพร่องในการตรวจสอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของการเชื่อมต่อ ช่องโหว่ Riddle ได้ถูกแพตช์ไปแล้วโดยใน MySQL 5.5.55

Again Riddle เป็นช่องโหว่ที่ถูกค้นพบอีกครั้งบน MySQL 5.5.55 โดยเป็นช่องโหว่ในลักษณะเดียวกันกับ Riddle คือ หากไฟล์ libmyclient.

How the Pwnedlist Got Pwned

Bob Hodges ได้เปิดเผยถึงช่องโหว่ที่ทำให้เว็บไซต์ PwnedList.com โดนแฮ็กข้อมูลทั้งหมด 866 ล้าน Account ซึ่งมีความเสี่ยงที่ผุ้โจมตีจะสามารถ Dump ข้อมูลออกไป
PwnedList เป็นเว็บไซด์ที่ให้บริการตรวจสอบข้อมูล Email หรือ Username ของเราว่าถูกแฮ็กหรือไม่ เพื่อแจ้งเตือนผู้ใช้ได้ทันที

โดยช่องโหว่ที่ Hodges พบคือ Parameter Tampering ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถแก้ไข Request เพื่อสอดส่องข้อมูลที่รั่วไหลออกมาจากแต่ละโดเมนได้

ทางเว็บไซด์มีการแก้ไขช่องโหว่แล้ว และประกาศว่าจะปิดให้บริการในวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

ที่มา : KrebsonSecurity

ผู้ดูแลเว็บไซต์พึงระวัง โปรแกรม ImageMagick มีช่องโหว่ให้ควบคุมเครื่องได้ รีบอัปเดตด่วน

มีรายงานการค้นพบช่องโหว่ของ ImageMagick จำนวนหลายจุด หนึ่งในช่องโหว่ระดับร้ายแรงส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถอัพโหลดรูปภาพที่มีโค้ดอันตรายฝังอยู่เข้ามาที่ Web server เพื่อควบคุมเครื่องดังกล่าว ช่องโหว่นี้ได้รับหมายเลข CVE-2016-3714 สาเหตุของช่องโหว่ เกิดจาก ImageMagick มีความสามารถในการประมวลผลไฟล์จากแหล่งภายนอก แต่ขาดการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลต่อทันที ทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถใส่คำสั่งอันตราย เช่น shell command เข้ามาในรูปภาพเพื่อควบคุมเครื่องได้

วิธีแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวทำได้โดยอัปเดต ImageMagick เป็นเวอร์ชัน 6.9.3-9 ตรวจสอบ magic byte ว่าเป็นฟอร์แมตที่ถูกต้อง และแก้ไฟล์ policy.

พบมัลแวร์ใน Android แพร่กระจายผ่านโฆษณา หลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันขโมย SMS

Intel Security Mobile Research แจ้งเตือนมัลแวร์ใน Android ที่แพร่ระบาดในประเทศแถบยุโรปตั้งแต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา วิธีการแพร่กระจายคือแทรกสคริปต์ในโฆษณาตามหน้าเว็บไซต์ โดยตัวสคริปต์จะสั่งให้เครื่องของผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์ Android_Update_6.apk ทันทีที่เข้าเว็บไซต์ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่หลอกว่าเป็นไฟล์อัปเดตของ Android ไฟล์ apk ที่ดาวน์โหลดมาเป็นมัลแวร์

หากผู้ใช้ติดตั้งแอปพลิเคชันดังกล่าว จะถูกขโมยข้อมูล เช่น รายละเอียดอุปกรณ์ที่ใช้อยู่ หมายเลขซิม หมายเลข IMEI การเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น นอกจากนี้มัลแวร์ยังสามารถขโมยข้อมูล SMS ในเครื่องแล้วส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศได้อีกด้วย

ในประเทศไทยเคยพบการโจมตีลักษณะนี้เช่นกัน สำหรับวิธีการป้องกัน ผู้ใช้งานไม่ควรติดตั้งแอปพลิเคชันที่มีแหล่งที่มาไม่ชัดเจน เพื่อลดความเสี่ยงอาจติดตั้งเฉพาะแอปพลิเคชันจาก Play Store เท่านั้น

ที่มา : ThaiCERT

Trojanized PuTTY Software

ซิสโก้แจ้งเตือนมัลแวร์ “MalPutty” ที่ปลอมตัวเป็น PuTTY ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อ Secure Shell จากวินโดวส์ที่ได้รับความนิยมสูง โดยแฮกเกอร์เข้ายึดเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ แล้ววางไฟล์เว็บที่เหมือนหน้าเว็บของ PuTTY จริง แต่ตัว putty.

HTTPS-crippling attack threatens tens of thousands of Web and mail servers

หลายหมื่นเว็บไซต์ เซิฟเวอร์อีเมลล์ และเซอร์วิสบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ใช้ HTTPS กำลังตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ เนื่องจากช่องโหว่ในการเข้ารหัสรูปแบบใหม่ เรียกว่า “LogJam” ช่วยให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถโจมตีแบบ Man-in-the-Middle โดยการแอบดักฟังและแก้ไขข้อมูลที่เข้ารหัสระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้