นักวิจัยเชื่อมโยงการโจมตี CryptoCore ในการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency กับ เกาหลีเหนือ

มีการเปิดเผยหลักฐานใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยคาดกันว่าแฮกเกอร์ได้รับการสนับสนุนจากประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งการโจมตีดังกล่าวมีความเป็นไปได้ที่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่ม Lazarus (aka APT38 or Hidden Cobra)

นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอิสราเอล ClearSky กล่าวว่าแคมเปญนี้มีชื่อว่า "CryptoCore" ซึ่งกำหนดเป้าหมายการโจมตีเป็นการแลกเปลี่ยนคริปโตในอิสราเอล, ญี่ปุ่น, ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ส่งผลให้มีการขโมยสกุลเงิน มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ การค้นพบนี้เป็นผลมาจากการปะติดปะต่อจากรายงานที่คล้ายคลึงกันซึ่งมีรายละเอียดจากทาง F-Secure, CERT JPCERT / CC และ NTT Security ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

นับตั้งแต่ปี 2552 กลุ่ม Hidden Cobra ได้ดำเนินการจารกรรมสกุลเงินดิจิทัล โดยมีการกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและภูมิรัฐศาสตร์ของเกาหลีเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปทางการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรระหว่างประเทศ ซึ่งไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ขยายการโจมตีเพิ่มเติมไปที่อุตสาหกรรมการป้องกันและการบินและอวกาศ

CyptoCore หรือ CryptoMimic, Dangerous Password, CageyChameleon, และ Leery Turtle, ไม่ได้มีความแตกต่างกันมาก โดยกลุ่ม Lazarus ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การขโมยสกุลเงินดิจิทัลเป็นหลักเช่นกัน ในปี 2018 มีการใช้ประโยชน์จาก spear-phishing เพื่อเป็นการขโมยรหัสผ่านและบัญชีของเหยื่อเพื่อทำการโอนเงินไปยังบัญชีของผู้โจมตี

ปัจจุบันกลุ่ม Lazarus มีการขโมยเงินไปแล้วประมาณ 200 ล้านดอลลาร์ตามรายงานของ ClearSky ที่เผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2020 ซึ่งเชื่อมโยง CryptoCore กับเหยื่อ 5 รายที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เมื่อรวมกับงานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นวงกว้างมากกว่าที่บันทึกไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงมีการพัฒนาการโจมตีหลายส่วนไปพร้อม ๆ กันอีกด้วยในปัจจุบัน

ที่มา : thehackernews

Microsoft แจ้งเตือน มัลแวร์ขโมยข้อมูลปลอมตัวเป็น Ransomware

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ทาง Microsoft ออกมาแจ้งเตือนถึง campaign "massive email" โดยมัลแวร์ชื่อ STRRAT ซึ่งใช้ Java-based เพื่อขโมยข้อมูลที่เป็นความลับจากระบบ ในขณะที่ปลอมตัวเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่

RAT(Remote Access Trojan) ตัวนี้ จะมีพฤติกรรมคล้าย ransomware โดยจะเปลี่ยนชื่อไฟล์ ต่อท้ายด้วยนามสกุล .crimson โดยที่ไม่ได้ทำการเข้ารหัสจริง ๆ ซึ่งถ้าส่วนที่ต่อท้ายนามสกุลของไฟล์นี้ถูกลบออกไป ก็จะสามารถเปิดไฟล์ได้ตามปกติ

ทาง Microsoft พบเห็นการโจมตีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จาก spam emails ซึ่งถูกส่งจาก email account ที่ถูกยึด มี subject ชื่อ "Outgoing Payments" เพื่อล่อให้ผู้รับเปิดเอกสาร PDF ที่เป็นอันตรายซึ่งอ้างว่าเป็นการโอนเงิน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการ เชื่อมต่อกับโดเมนหลอกลวงเพื่อดาวน์โหลดมัลแวร์ STRRAT และยังมีการเชื่อมต่อไปยัง command-and-control server อีกด้วย มัลแวร์ตัวนี้ยังมีคุณสมบัติที่สามารถรวบรวมรหัสผ่านของเบราว์เซอร์, บันทึกการกดแป้นพิมพ์, การเรียกใช้คำสั่งควบคุมจากระยะไกล และสคริปต์ PowerShell

STRRAT ถูกพบครั้งแรกในเดือนมิถุนายนปี 2020 โดย G Data บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเยอรมันที่สังเกตเห็น Windows malware (เวอร์ชัน 1.2) ในอีเมลฟิชชิ่งที่มีไฟล์แนบ Jar (หรือ Java Archive) ที่เป็นอันตราย

มัลแวร์มีเป้าหมายในการขโมยข้อมูล credentials ของเบราว์เซอร์, email clients และ passwords ผ่าน keylogging" ส่งผลกระทบกับเบราว์เซอร์และ email clients ดังต่อไปนี้ : Firefox, Internet Explorer, Chrome, Foxmail, Outlook, Thunderbird

Microsoft ตั้งข้อสังเกตว่าเวอร์ชัน 1.5 มีความซับซ้อนมากกว่าเวอร์ชันก่อนหน้า ซึ่งบ่งบอกว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี กำลังพัฒนาเครื่องมืออย่างเต็มที่ และพฤติกรรมการเข้ารหัสแบบหลอก ๆ ยังคงเป็นสัญญาณว่ากลุ่มนี้อาจมีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้อย่างรวดเร็ว จากผู้ใช้ที่ไม่สงสัยในการข่มขู่ด้วย Ransomware

Indicators of compromise (IoCs) ที่เกี่ยวข้องกับแคมเปญสามารถเข้าถึงได้ผ่าน GitHub

ที่มา : thehackernews

สายการบินในอินเดียถูกโจมตีทางไซเบอร์ทำให้ข้อมูลลูกค้าถูกบุกรุกนับล้าน

เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลของสายการบินแห่งชาติของอินเดีย (Air India) ถูกโจมตีทางไซเบอร์ ส่งผลกระทบต่อข้อมูลของลูกค้าประมาณ 4.5 ล้านรายทั่วโลกถูกบุกรุก
จากรายงานพบว่ามีการโจมตีครั้งแรกในเดือน กุมภาพันธ์ รายละเอียดข้อมูลที่ถูกบุกรุกนั้นประกอบไปด้วย หนังสือเดินทาง, ข้อมูลตั๋ว รวมไปถึงข้อมูลบัตรเครดิต "แต่ในส่วนของ ข้อมูลด้านความปลอดภัยของบัตรเครดิต หมายเลข CVV หรือ CVC นั้นไม่ได้ถูกเก็บอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ข้อมูลที่ถูกโจมตี" และ "หลังจากการโจมตีที่เกิดขึ้นยังไม่พบสัญญาณหรือพฤติกรรมที่ผิดปกติเพิ่มเติม" ตามที่สายการบินแห่งชาติของอินเดีย กล่าว
ปัจจุบันนั้นยังไม่มีการออกมายอมรับ หรือรู้ตัวของผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้
ทาง Air India เองก็ได้ออกมาประกาศให้ลูกค้าของตนนั้นดำเนินการเปลี่ยนรหัสผ่านการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของพวกเขาบนเว็บไซต์
เมื่อปีที่แล้ว British Airways เองก็ถูกปรับ 20 ล้านปอนด์ (ประมาณ 800 ล้านบาท) เนื่องจากการละเมิดข้อมูลซึ่งส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลบัตรเครดิตของลูกค้ามากกว่า 400,000 ราย เมื่อปี 2018
นอกจากนี้ในปีเดียวกัน EasyJet ยังออกมายอมรับว่าข้อมูล อีเมล และรายละเอียดการเดินทางของลูกค้าประมาณ 9 ล้านราย ถูกขโมยในการโจมตีทางไซเบอร์เช่นเดียวกัน

ที่มา : bbc

Hacker Discloses Second Zero-Day to Bypass Patch for Windows EoP Flaw

แฮกเกอร์เปิดเผยวิธีเลี่ยงแพตช์ของช่องโหว่ที่ได้รับการแก้ไขแล้วใน Windows 10

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2019 SandboxEscaper ได้เปิดเผยวิธีโจมตีเพื่อเลี่ยงการแพตช์ช่องโหว่ CVE-2019-0841 ที่ถูกแพตช์ไปแล้ว ทำให้สามารถโจมตีช่องโหว่ดังกล่าวได้อีกครั้ง

SandboxEscaper เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องการหาช่องโหว่ zero-day ที่ยังไม่ได้แก้ไขของ Windows ในปีที่ผ่านมาแฮกเกอร์ได้เปิดเผยช่องโหว่ zero-day มากกว่าครึ่งโหลใน Windows OS โดยไม่สนใจที่จะแจ้งให้ Microsoft ทราบถึงปัญหาก่อน ได้ทำการเปิดเผยวิธี Bypass ช่องโหว่ CVE-2019-0841 เป็นวิธีที่สองเพิ่มจากที่เคยเปิดเผยวิธีแรกไปแล้วก่อนหน้านี้

ช่องโหว่ CVE-2019-0841 เป็นช่องโหว่ที่เกิดจาก Windows AppX Deployment Service (AppXSVC) จัดการ hard link อย่างไม่ถูกต้อง ทำให้สามารถใช้เพื่อยกระดับสิทธิ์ผู้ใช้งานได้ ได้รับการแพตช์แล้วเมื่อเดือนเมษายน 2019 แต่ SandboxEscaper อ้างว่าได้ค้นพบวิธีใหม่ในการเลี่ยงแพตช์ของช่องโหว่ โดยทำวิดีโอสาธิตการเลี่ยงด้วยการใช้เบราวเซอร์ Edge เพื่อเขียน discretionary access control list (DACL) ด้วยสิทธิ์ระดับ SYSTEM

โดยในแพตช์ประจำเดือนมิถุนายน 2019 ที่เพิ่งออกนี้ยังไม่มีการแก้ไขกรณีดังกล่าว

ที่มา : thehackernews

Microsoft warns about email spam campaign abusing Office vulnerability

Microsoft ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับแคมเปญสแปมอีเมลที่กำลังดำเนินอยู่กำลังแพร่กระจายอีเมลที่มีไฟล์ประเภท RTF(Rich Text Format) ที่มีช่องโหว่ CVE-2017-11882 ซึ่งช่วยให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ได้รับอีเมลเปิดเอกสารแนบ และดูเหมือนจะกำหนดเป้าหมายไปยังผู้ใช้ชาวยุโรปเนื่องจากอีเมลเหล่านี้ถูกส่งเป็นภาษาต่างๆ ในยุโรป

Microsoft ได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับแคมเปญสแปมอีเมลที่กำลังดำเนินอยู่กำลังแพร่กระจายอีเมลที่มีไฟล์ประเภท RTF(Rich Text Format) ที่มีช่องโหว่ CVE-2017-11882 ซึ่งช่วยให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายโดยอัตโนมัติเมื่อผู้ได้รับอีเมลเปิดเอกสารแนบ และดูเหมือนจะกำหนดเป้าหมายไปยังผู้ใช้ชาวยุโรปเนื่องจากอีเมลเหล่านี้ถูกส่งเป็นภาษาต่างๆ ในยุโรป

โดยเมื่อไฟล์ RTF ถูกเปิดมันจะรันสคริปต์หลายประเภทที่แตกต่างกัน (VBScript, PowerShell, PHP, อื่น ๆ ) เพื่อดาวน์โหลด Payload โดย Payload สุดท้ายคือ Backdoor trojan ซึ่งผู้โจมตีไม่สามารถสั่งคำสั่งไปยัง Backdoor trojan ดังกล่าวได้แล้วเนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกควบคุมถูกปิดไปแล้ว แต่ Microsoft ยังคงเตือนภัยว่าอาจมีการโจมตีในลักษณะเดียวกันโดยใช้ Backdoor trojan ตัวใหม่ได้

อย่างไรก็ตามช่องโหว่ CVE-2017-11882 ได้รับการแพตช์แล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2017 แนะนำให้ผู้ใช้ Windows ทุกคนติดตั้งแพตช์การรักษาความปลอดภัยสำหรับช่องโหว่นี้ เนื่องจากช่องโหว่นี้กำลังถูกใช้โจมตีอยู่บ่อยครั้ง โดยบริษัท Recorded Future ออกรายงานว่าเป็นช่องโหว่ที่ถูกใช้โจมตีมากที่สุดเป็นอันดับสามในปี 2018 และ Kaspersky ออกรายงานว่าเป็นช่องโหว่ที่ถูกใช้โจมตีมากที่สุดอันดับหนึ่งในปี 2018 รวมถึงมีการเตือนจาก FireEye ในวันที่ 5 มิถุนายน 2019 ถึงการโจมตีด้วยช่องโหว่นี้ไปยังเอเชียกลางด้วย Backdoor ตัวใหม่ที่ชื่อว่า HawkBall

ที่มา : zdnet

WhatsApp vulnerability allowed secretive installation of spyware

แจ้งเตือนระดับวิกฤติ ช่องโหว่ล่าสุดบน WhatsApp ถูกโจมตีเพื่อฝัง Spyware สัญชาติอิสราเอล

นิตยสาร Financial Times ออกรายงานเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาหลังจากมีการตรวจพบข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่าบริษัทสัญชาติ NSO Group ซึ่งอยู่เบื้องหลังการโจมตีระบบมือถือเพื่อสอดแนม ได้ทำการโจมตีช่องโหว่ใน WhatsApp ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถฝังมัลแวร์ลงที่เครื่องเป้าหมายได้

บริษัท NSO Group เป็นบริษัทสัญชาติอิสราเอลที่มีชื่อเสียงในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีสอดแนม โดยเคยมีผลงานในการพัฒนาหนึ่งในมัลแวร์บนระบบ iOS "Pegasus" ตามคำสั่งของลูกค้า อีกทั้งยังมีประวัติในการโจมตีช่องโหว่ zero-day หลายรายการด้วย โดยเชื่อกันว่า NSO Group ใช้ช่องโหว่นี้ในการโจมตีและติดตั้งมัลแวร์ลงในเป้าหมายที่ถูกจ้างวาน

ทางตัวแทนของ WhatsApp ได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องโหว่นี้ว่า ช่องโหว่ดังกล่าวที่รหัส CVE-2019-3568 เป็นช่องโหว่ซึ่งพึ่งถูกค้นพบเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยลักษณะของช่องโหว่ Buffer Overflow ในส่วน VOIP stack ของแอป ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถโจมตีระบบและรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ด้วยการส่งแพ็คเกต SRTCP มายังเบอร์โทรศัพท์ หรือหมายถึงการโทรหาเป้าหมายทั้งในระบบปฏิบัติการ iOS และแอนดรอยด์เท่านั้นเอง ช่องโหว่จะถูกโจมตีทันทีแม้ว่าเป้าหมายจะไม่ได้รับสายที่โทรเข้ามา

ทางตัวแทนของ WhatsApp ยังยืนยันเพิ่มเติมว่า มีการตรวจพบหมายเลขจำนวนหนึ่งซึ่งตกเป็นเป้าหมายและถูกโจมตี ซึ่งหนึ่งนั้นเป็นนักเคลื่อนไหวทางสิทธิมนุษยชนชาวอังกฤษ

Recommendation
ในขณะนี้ทาง WhatsApp ได้มีการปล่อยแอปพลิเคชันที่มีการแพตช์ช่องโหว่ดังกล่าวให้แก่ผู้ใช้งานแล้ว แนะนำให้ผู้ใช้งานทำการอัปเดตโดยด่วนทันที

ที่มา : cnet

CVE-2019-11815 Remote Code Execution affects Linux Kernel prior to 5.0.8

CVE-2019-11815 Remote Code Execution affects Linux Kernel prior to 5.0.8

ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ซึ่งรันบนเคอร์เนลรุ่นต่ำกว่า 5.0.8 อาจมีความเสี่ยงหลังจากมีการตรวจพบช่องโหว่ race condition ซึ่งนำไปสู่เงื่อนไขของ use-after-free ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้จากระยะไกล

ช่องโหว่ CVE-2019-11815 นี้เป็นช่องโหว่ซึ่งอยู่ในส่วนโค้ดที่อิมพลีเมนต์โปรโตคอล TCP/IP โดยการโจมตีนั้นสามารถทำได้เพียงแต่ส่งแพ็คเกต TCP ไปยังระบบเป้าหมายที่มีช่องโหว่จนกว่าจะเกิดเงื่อนไขที่ทำให้การโจมตช่องโหว่นั้นสำเร็จโดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ตัวตนและไม่ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์จากผู้ใช้งาน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าความรุนแรงของช่องโหว่ตามมาตรฐานของ CVSSv3 จะสูงถึง 8.1/10 แต่ความง่ายในการโจมตีช่องโหว่นั้นกลับได้คะแนนเพียงแค่ 2.2/10 หรือค่อนข้างยาก ส่งผลให้คะแนน CVSSv3 โดยรวมนั้นมีเพียงแค่ 5.9/10 คะแนน

นักพัฒนาเคอร์เนลได้มีการประกาศแพตช์สำหรับช่องโหว่นี้แล้วในช่วงปลายเดือนมีนาคม โดยคาดว่าเคอร์เนลรุ่นใหม่ในรุ่น 5.0.8 ซึ่งจะถูกปล่อยในเร็วๆ นี้จะมีการรวมแพตช์ของช่องโหว่ดังกล่าวไปด้วย

ที่มา : securityaffairs

Pair of Cisco Bugs, One Unpatched, Affect Millions of Devices

แจ้งเตือนช่องโหว่ Thrangrycat และ RCE วาง Backdoor ใส่อุปกรณ์ Cisco จากระยะไกลด้วยช่องโหว่ฮาร์ดแวร์

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Red Balloon Security ได้มีการเปิดเผยช่องโหว่ใหม่ภายใต้ชื่อ Thrangrycat (CVE-2019-1649) วันนี้หลังจากมีการค้นพบและถูกแก้ไขโดย Cisco เมื่อปีที่ผ่านมา โดยช่องโหว่ดังกล่าวนั้นเมื่อใช้ร่วมกับช่องโหว่อื่นที่ทำให้ได้ผู้โจมตีได้สิทธิ์ root จะส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถติดตั้งมัลแวร์ลงในอุปกรณ์ได้

ช่องโหว่ Thrangrycat เป็นช่องโหว่ในชิปความปลอดภัยพิเศษชื่อ Trust Anchor Module (TAm) ซึ่งอยู่ในอุปกรณ์ Cisco ตั้งแต่ปี 2013 การโจมตีช่องโหว่นี้นั้นจำเป็นต้องอาศัยสิทธิ์ของ root ในการแก้ไขค่า Field Programmable Gate Array (FPGA) นักวิจัยจาก Red Balloon Security ยังค้นพบช่องโหว่ RCE รหัส CVE-2019-1862 บนคอมโพเนนต์ Web UI ของ Cisco IOS XE ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถได้สิทธิ์ root กับอุปกรณ์ได้ การรวมกันของสองช่องโหว่นี้จะทำให้ผู้โจมตีสามารถติดตั้งมัลแวร์ลงในอุปกรณ์ได้

Recommendation :
ในขณะนี้ Cisco ได้มีการเผยแพร่ Security Advisory พร้อมแพตช์สำหรับช่องโหว่นี้แล้ว ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบสามารถทำการตรวจสอบรายการของอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบรวมไปถึงดาวโหลดแพตช์สำหรับทั้งสองช่องโหว่ได้จากลิงค์ด้านล่าง
Security Advisory ของช่องโหว่ Thrangrycat: https://tools.

Twitter bug shared location data for some iOS users

Twitter ได้เปิดเผยข้อมูลเพื่อชี้แจ้งถึงความผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้ที่ใช้งานบนระบบ iOS บางราย

รายงานระบุว่า Twitter ได้แจ้งว่าตรวจพบแอพพลิเคชั่นที่ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ iOS มีการจัดเก็บข้อมูลตำแหน่งผู้ใช้งาน (location) และมีการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวกับ Partner ที่มีความน่าเชื่อถือหลายรายโดยไม่ได้ตั้งใจ ข้อผิดพลาดดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้งานมีการเพิ่มบัญชีผู้ใช้งาน Twitter ที่สองบนเครื่อง หากผู้ใช้งานอนุญาตให้ Twitter สามารถเข้าถึงข้อมูลตำแหน่งผู้ใช้งานในบัญชีใดบัญชีหนึ่ง จะส่งผลให้การตั้งค่านั้นมีผลกับอีกบัญชีด้วย ทำให้ผู้ใช้งานที่ไม่ตั้งใจจะแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว

อย่างไรก็ตาม Twitter อ้างว่า Partners จะไม่ได้รับข้อมูลตำแหน่งที่ชัดเจนของผู้ใช้งาน เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะถูกแปลงให้มีความแม่นยำของการระบุตำแหน่งลดลงในระยะ 5 กิโลเมตร รวมถึงยืนยันกับทาง partners ว่าข้อมูลตำแหน่งไม่ได้ถูกเก็บไว้และมีอยู่ในระบบของพวกเขาในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น จากนั้นจะถูกลบออกตามกระบวนการของทางบริษัท

ที่มา: zdnet

Heap Buffer Overflow Vulnerability found in Kaspersky Antivirus Engine

Imaginary Team ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยค้นพบช่องโหว่ Heap Buffer Overflow ใน Kaspersky Antivirus Engine

ช่องโหว่ดังกล่าวได้คะแนน CVSSv3 8.0 โดยได้รับรหัสคือ CVE-2019-8285 ส่งผลกระทบต่อ Kaspersky Lab Antivirus Engine เวอร์ชันก่อน 04.apr.