Accenture ยืนยันการถูกแฮ็กหลังจากที่ LockBit Ransomware ทำการปล่อยข้อมูล

บริษัท Accenture ยักษ์ใหญ่แห่งวงการที่ปรึกษาด้านไอทีระดับโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักในการให้บริการในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ทั้งธุรกิจยานยนต์ ธนาคาร รัฐบาล เทคโนโลยี พลังงาน โทรคมนาคม และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีข่าวออกมาว่าบริษัท Accenture ถูกโดนโจมตีโดย LockBit Ransomware

โดยกลุ่ม Ransomware ที่รู้จักกันในชื่อ LockBit 2.0 ได้ทำการขู่ว่าจะทำการเผยแพร่ข้อมูลที่ได้อ้างว่าได้มาจากการโจมตี Accenture ในครั้งล่าสุด หากยังไม่มีการจ่ายค่าไถ่ภายในวันนี้ (11 สิงหาคม) และถึงแม้ว่าทาง LockBit จะยังไม่ได้แสดงหลักฐานการขโมยข้อมูลออกมา แต่พวกเขาได้บอกว่าพร้อมที่จะขายข้อมูลให้กับผู้ที่ได้ประโยชน์จากข้อมูลที่ขโมยมา โดยทาง LockBit ได้กล่าวใน Data leak site ว่า “ผู้ใช้งานไม่ได้มีความปลอดภัย หรือความเป็นส่วนตัวเลย จากที่พวกเราเข้าถึงระบบได้ในแบบเดียวกับคนภายในบริษัท พวกเราคิดว่าบริการของพวกเขา (Accenture) จะปลอดภัยกว่านี้ซะอีก ดังนั้นถ้าคณสนใจที่จะซื้อข้อมูลของพวกเขา ติดต่อเราได้เลย”

ส่วนทาง Accenture ได้บอกกับ BleepingComputer ว่า “ระบบที่ได้รับผลกระทบนั้นได้รับการกู้คืนจากข้อมูลที่สำรองไว้แล้ว และด้วยการควบคุมความปลอดภัย และวิธีการรับมือของเรา ทำให้สามารถระบุเหตุการณ์ที่ผิดปกติภายในองค์กร และได้ทำการแยก Server ที่ได้รับผลกระทบออกจากระบบทันที พร้อมกู้คืนระบบที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่จากการที่ได้สำรองข้อมูลไว้ และไม่ได้มีผลกระทบกับการดำเนินงานของ Accenture หรือระบบของลูกค้าแต่อย่างใด”

ซึ่งเมื่อดูจากข้อความที่มีการติดต่อกันระหว่างกลุ่มแฮ็กเกอร์กับทีมผู้เชี่ยวชาญของ Cyble กล่าวว่ากลุ่ม LockBit Ransomware อ้างว่าได้ขโมยข้อมูลจำนวน 6 TB จาก Accenture และได้เรียกค่าไถ่จำนวน 50 ล้านดอลลาร์ พร้อมทั้งบอกถึงวิธีการเข้าถึงเครือข่ายของ Accenture ว่าผ่านคนภายในขององค์กรเอง พร้อมทั้งมีแหล่งข่าวที่ไม่ได้มีการเปิดเผยได้บอกกับ BleepingComputer ว่า Accenture ได้ยืนยันการถูกโจมตีโดย Ransomware กับผู้ให้บริการ CTI(Cyber Threat Intelligence) อย่างน้อยหนึ่งราย และทาง Accenture ก็กำลังดำเนินการแจ้งลูกค้าเพิ่มเติมต่อไป และนอกจากนี้ Hudson Rock บริษัทด้านข่าวกรองอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตได้เปิดเผยว่า Accenture มีคอมพิวเตอร์ถูกบุกรุกกว่า 2,500 เครื่อง ซึ่งเป็นของพนักงานและพาร์ทเนอร์

ที่มา : bleepingcomputer.

Beware! Playing Untrusted Videos On VLC Player Could Hack Your Computer

ถ้าคุณคือผู้ใช้โปรแกรม VLC media player อยู่โปรดระวังจะโดนโจมตีจากแฮคเกอร์ อย่าเปิดเล่นวิดีโอที่ไม่น่าไว้วางใจและดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอที่ไม่ปลอดภัย เพราะเป็นช่องโหว่ที่จะทำให้แฮคเกอร์สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานบนคอมพิวเตอร์ของคุณได้

โปรแกรม VLC media player เวอร์ชั่นก่อนหน้า 3.0.7 พบ 2 ช่องโหว่ในการถูกโจมตีที่มีความเสี่ยงสูง เป็นช่องโหว่ประเภท remote code execution เปิดโอกาสให้แฮคเกอร์สั่งรันโค้ดอันตรายบนเครื่องของผู้ใช้เพื่อเข้ามายึดเครื่องได้ ช่องโหว่นี้มีรหัส CVE-2019-5439 และ CVE-2019-12874 ช่องโหว่ดังกล่าวถูกค้นพบโดย Symeon Paraschoudis นักวิจัยจากบริษัท Pen Test Partners

สาเหตุของช่องโหว่เกิดจากข้อผิดพลาดในฟังก์ชันการประมวลผลไฟล์วิดีโอ ทำให้แฮคเกอร์สามารถแทรกโค้ดอันตรายเข้ามาในไฟล์ .avi หรือ .mkv ได้ ซึ่งหากเหยื่อใช้โปรแกรม VLC เปิดไฟล์ดังกล่าว โค้ดอันตรายที่ฝังอยู่ก็จะถูกโหลดไปประมวลผล โดยสิทธิ์ที่แฮคเกอร์ได้รับนั้นจะเทียบเท่ากับสิทธิ์ของผู้ใช้ที่เปิดโปรแกรม VLC media player ทั้งนี้ เนื่องจากช่องโหว่นี้มีผลกระทบกับ VLC media player เวอร์ชันที่เป็นปลั๊กอินของเบราว์เซอร์ด้วย ดังนั้นการโจมตีอาจไม่ได้จำกัดแค่การส่งไฟล์วิดีโอมาให้เปิดแต่อาจใช้วิธีหลอกให้ผู้ใช้เข้าไปยังเว็บไซต์ที่มีการเล่นไฟล์วิดีโอก็ได้

แนะนำให้ผู้ที่ใช้โปรแกรม VLC media player อัพเดทโปรแกรมให้เป็นเวอร์ชั่น 3.0.7 หรือเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดและหลีกเลี่ยงการเปิดวิดีโอและเล่นไฟล์วิดีโอจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ รวมถึงหากไม่สามารถอัปเดตได้ควรงดใช้โปรแกรม VLC media player เปิดไฟล์วิดีโอและปิดการใช้งานปลั๊กอิน VLC ในเบราว์เซอร์ก่อนเป็นการชั่วคราว

ที่มา: thehackernews.

New Iranian hacking tool leaked on Telegram

เครื่องมือที่ใช้ในการแฮคเชื่อว่ามีการพัฒนาขึ้นในอิหร่านถูกเปิดเผยใน Telegram

เครื่องมือที่ใช้ในการแฮคในที่นี้เรียกว่า Jason โดยนักวิจัยด้านความปลอดภัย Omri Segev Moyal กล่าวว่า Jason เป็นเครื่องมือสำหรับโจมตี Microsoft Exchange email servers ด้วยวิธี brute-force ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน เครื่องมือดังกล่าวถูกสร้างขึ้นในปี 2558 โดยอ้างอิงจากข้อมูลการ compile ตัวโปรแกรม ซึ่งหมายความว่าแฮกเกอร์ชาวอิหร่านใช้เครื่องมือนี้อย่างน้อยสี่ปีที่ผ่านมา

โดยก่อนหน้านี้ในช่วงเดือนเมษายน 2562 มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้โจมตีทางไซเบอร์ภายใต้ชื่อ APT34, Oilrig, หรือ HelixKitten ออกมา โดยเป็นที่เชื่อกันว่ากลุ่มดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่รัฐของอิหร่านเป็นสมาชิกอยู่ด้วย โดยมีการเปิดเผยข้อมูลทั้งชื่อจริง เบอร์โทรศัพท์ รูปถ่าย รวมถึงเครื่องมือใช้ในการแฮกจำนวน 6 ตัว

www.

WDS bug lets hackers hijack Windows Servers via malformed TFTP packets

นักวิจัยด้านความปลอดภัยออกมาเปิดเผยรายละเอียดสำหรับช่องโหว่ CVE-2018-8476 บนWindows Server ช่องโหว่ดังกล่าวถูกแก้ไขในแพตช์ประจำเดือนพฤศจิกายน ปี 2561 ที่ผ่านมา ช่องโหว่นี้ส่งผลทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีด้วยวิธีแทรกแซง Windows Server installation และใช้บริการ Windows Deployment Services (WDS) ในทางที่ผิดเพื่อยึดเครื่องและวาง backdoor ได้ โดยช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตั้งแต่ Windows Server 2008 SP2 ไปจนถึงรุ่นล่าสุดและกระทบ Windows Deployment Services (WDS) ที่มาพร้อมกับระบบ
Omri Herscovici นักวิจัย Check Point ได้ทดสอบสร้างแพ็กเก็ตที่มีรูปแบบไม่ถูกต้องซึ่งจะทำให้เกิดการเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายบน Windows Server ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้ายึด Windows Server ได้
ทั้งนี้หากแฮกเกอร์เข้าควบคุม Windows Server ได้เขาจะสามารถควบคุมเครือข่ายทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์และสามารถใช้บริการ WDS เดียวกันเพื่อลงโปรแกรมอันตราย เช่น backdoor ไปยังระบบภายในได้อย่างง่ายดาย
ทางด้าน Microsoft และ Herscovici ยังไม่พบการโจมตีใด ๆ จากช่องโหว่นี้ แต่หลังจากมีการเผยแพร่รายงานนี้อาจมีผู้ไม่หวังดีพยายามโจมตีช่องโหว่ได้
ข้อแนะนำ: ผู้ดูแลระบบควรอัพเดทแพทช์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2561 ให้กับ Windows Server 2008 SP2 ไปจนถึงรุ่นล่าสุด

ที่มา: zdnet.

แฮกเกอร์ตูนีเซียโจมตีเว็บไซต์ไทย

เมื่อเวลาประมาณเที่ยงคืนที่ผ่านมา เว็บไซต์ ลำพูน (http://www.lamphun.go.th) ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของจังหวัดลำพูน ถูกเเฮกโดยกลุ่มมุสลิมเเฮกเกอร์ ที่ใช้ชื่อว่า “Fallag Gassrini” จากตูนิเซีย โดยเปลี่ยนหน้าเพจแรกของเว็บไซต์ เป็นโพสรูปชาวโรฮิงญาทีถุกกระทำโดยรัฐบาลพม่า ภาพชาวโรฮิงญาที่พยายามจะหนีมาทางเรือ เเละเด็กชาวมุสลิมที่โดนระเบิดเสียชีวิตจำนวนมาก พร้อมระบุข้อความไว้ด้วยว่า “เพจคุณถูกเเฮกหน่วยรบ Cyber Fallag Gassrini เเละ DR Lamochi จากตูนิเซีย ให้เกียรติคนของเรา ไม่งั้นจะเจอการต่อต้านจากเรา พวกเราคือ Fallaga พวกเราคือชาวมุสลิม พวกเรารักสันติ”
นอกจากนี้ ยังวางลิงค์เชื่อมต่อไปยังเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ของกลุ่มแฮกเกอร์ โดยเฟซบุ๊กนั้นถูกบล็อกแต่ทวิตเตอร์สามารถเข้าไปได้ แต่ข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอาหรับ
ทั้งนี้แฮกเกอร์กลุ่มดังกล่าว ตามประวัติเคยเเฮกเพจของฝรั่งเศสมาเเล้ว หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้าย ที่มีการกราดยิงในสำนักพิมพ์ ชาร์ลี แอบโด ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา
นอกจากเว็บไซต์จังหวัดลำพูน แล้ว ยังมีเว็บไซต์อื่น ๆ ถูกแฮกเกอร์กลุ่มนี้เขาโจมตี ดังนี้

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (http://www.

รั่วใหญ่ทั้งประเทศ! แฮกเกอร์โจมตีเว็บสถาบันการศึกษาและบริษัทห้างร้านในไทย

เมื่อ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมานับตั้งแต่ข่าวนี้เริ่มเขียน กลุ่มแฮกเกอร์ซึ่งใช้ชื่อว่า GhostShell ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลการโจมตีโดยมีเป้าหมายส่วนหนึ่งเป็นเว็บไซต์สถาบันการศึกษาและบริษัทห้างร้านในไทย โดยในข้อมูลที่เผยแพร่ออกมานั้นได้มีการบอกถึงช่องโหว่ที่ใช้ในการโจมตี และข้อมูลบางส่วนที่ถูกขโมยมาจากฐานข้อมูลด้วย
ในตอนนี้ถือได้ว่าเว็บไซต์เหล่านี้ได้ถูกโจมตีแล้วและไม่สามารถทราบความเสียหายได้อย่างแน่ชัดจนกว่าจะมีการตรวจสอบ ขอความร่วมมือผู้ดูแลระบบและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนช่วยตรวจสอบ แก้ไขเบื้องต้นและป้องกันโดยด่วนที่สุด เนื่องจากเหตุผลในเรื่องของความปลอดภัยซึ่งเราไม่สามารถทราบได้ว่าเว็บไซต์ที่ถูกแฮกได้มีการฝังโค้ดที่ประสงค์ร้ายใดๆ หรือไม่ โดยมีรายละเอียดรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกแฮกทั้งหมดดังนี้

38years.

Starbucks app used to hack into bank accounts, credit cards

ผู้ใช้แอพ Starbucks ในสหรัฐอเมริกาบางรายพบว่า ถูกตัดเงินเพื่อซื้อบัตรของขวัญ Starbucks ซ้ำๆ กัน โดยหักเงินจากระบบของ PayPal อัตโนมัติ ความเสียหายอยู่ระหว่าง 100-550 ดอลลาร์ต่อราย

British Airways frequent-flyer accounts hacked

สายการบิน British Airways ประกาศว่าถูกแฮ็ก โดยแฮ็กเกอร์เข้าถึงบัญชีสะสมไมล์ของลูกค้าหลายหมื่นราย แต่ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไม่ถูกขโมยไปด้วย

Hack air-gapped computers using heat

นักวิจัยของ Ben-Gurion University of the Negev (BGU) มหาวิทยาลัยชื่อดังในอิสราเอล ค้นพบวิธีแฮกเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบใหม่โดยอาศัยคลื่นความร้อนที่ปล่อยออกมาระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่วางใกล้กัน ถึงแม้จะไม่ได้เชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่ายก็ตาม เรียกว่า “BitWhisper”

ผวาแก๊งรัสเซียแฮ็กบัญชี-รหัสผ่านเน็ต

บริษัทโฮลด์ ซีเคียวริตี้ ในเมืองมิลวอล์กกี ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานว่า ตรวจพบข้อมูลการก่ออาชญากรรมในโลกออนไลน์ครั้งใหญ่ของแก๊งค์ “ไซเบอร์วอร์” ในรัสเซียที่สามารถขโมยข้อมูลทั้งชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้ใช้งานเว็บไซต์ 420,000แห่ง โดยสามารถขโมยข้อมูลผู้ใช้จากบริษัทชั้นนำของสหรัฐอเมริกา และผู้ใช้ทั่วไปในโลกประมาณ 1,200 ล้านบัญชี