แจ้งเตือนปัญหาใน Remote Desktop Web Access ใช้เดา Username ได้ ไมโครซอฟต์ไม่แก้ไขแพตช์เพราะไม่ใช่ช่องโหว่

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Matt Dunn จาก Raxis ได้เปิดเผยปัญหา Timing attack ใน Remote Desktop (RD) Web Access ของไมโครซอฟต์ซึ่งเป็นเว็บแอปสำหรับฟีเจอร์ Remote desktop ปัญหาดังกล่าวถูกเรียกว่า Timing attack ที่ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถคาดเดาชื่อบัญชีผู้ใช้งานได้

ปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นในขั้นตอนของการพิสูจน์ตัวตน หากมีการพยายามพิสูจน์ตัวตนด้วยบัญชีผู้ใช้งานที่ไม่มีอยู่จริง ระบบเบื้องหลังของ RD Web Access จะใช้เวลาประมวลผลประมาณ 4000 มิลลิวินาที ในขณะเดียวกันหากมีการใช้ชื่อบัญชีที่มีอยู่จริงแต่รหัสผ่านผิด ระบบเบื้องหลังจะตอบกลับมาโดยใช้เวลาเพียงแค่ประมาณ 232 มิลลิวินาทีเท่านั้น อัตราส่วนความแตกต่างของเวลาในการตอบกลับทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้ปัจจัยดังกล่าวในการระบุหาชื่อบัญชีผู้ใช้งานได้ หากผู้โจมตีทราบชื่อของโดเมน Active Directory

ปัญหานี้เกิดขึ้นกับ Windows Server 2016 และ 2019 และมีการพัฒนาโมดูลของ Metasploit ขึ้นมาเพื่อใช้โจมตีแล้วที่ตำแหน่ง auxiliary/scanner/http/rdp_web_login

Raxis ได้มีการรายงานปัญหาดังกล่าวไปยังไมโครซอฟต์ อย่างไรก็ตามอ้างอิงจากไทม์ไลน์การแจ้งช่องโหว่ Microsoft ปฏิเสธที่จะสนับสนุนและแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยนี้

เราขอแนะนำให้ผู้ดูแลระบบตั้งค่าการเข้าถึง RD Web Access ผ่าน VPN เพื่อให้สามารถควบคุมการเข้าถึงได้, เปิดใช้ ISA หรือเซอร์วิส Microsoft Federation และบังคับให้ RD Web Access ต้องวิ่งผ่านเพื่อลดผลกระทบจากการโจมตี รวมไปถึงเปิดใช้ Multi factor authentication ด้วย

ที่มาFebruary: raxis

Google เปิดโครงการ Open Source Vulnerabilities (OSV) ฐานข้อมูลช่องโหว่โอเพนซอร์สจากโครงการ OSS-Fuzz

 

Google เปิดโครงการฐานข้อมูลช่องโหว่ Open Source Vulnerabilities (OSV) ซึ่งรวมรายการของช่องโหว่ในโครงการโอเพนซอร์สเอาไว้ ในปัจจุบันข้อมูลจาก OSV นั้นมาจากผลลัพธ์ของโครงการ OSS-Fuzz ซึ่งใช้เทคนิคแบบ Fuzzing ในการค้นหาช่องโหว่

เมื่อ OSS-Fuzz ค้นพบช่องโหว่ OSV จะทำหน้าที่หลักในการ triage ข้อมูลของช่องโหว่นั้นให้สามารถเข้าถึงได้จากช่องทางหรือแพลตฟอร์มอื่น ๆ โดยโครงการที่มีอยู่ก่อนหน้าอย่าง CVE ก็สามารถอ้างอิงรูปแบบของ OSV ในการอ้างถึงรายละเอียดของช่องโหว่ได้ ในขณะเดียวกันผู้ใช้งานและผู้พัฒนาก็สามารถอ้างอิงช่องโหว่ผ่านทางระบบ API ของ OSV ได้ด้วย

ผู้ที่สนใจสามารถเข้าถึง OSV ได้ที่ osv.

แรมซัมแวร์กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ใน VMWare ESXi เพื่อเข้ายึดครองและเข้ารหัส

นักวิจัยด้านความปลอดภัยตรวจพบกลุ่มแรนซัมแวร์กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ VMWare ESXi เพื่อเข้ายึดครองและเข้ารหัสฮาร์ดไดรฟ์ของ Virtual Machine (VM) ที่ถูกใช้งานในองค์กร

ตามรายงานจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ให้ข้อมูลกับ ZDNet พบว่ากลุ่มแรมซัมแวร์กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ CVE-2019-5544 และ CVE-2020-3992 ซึ่งเป็นช่องโหว่ในไฮเปอร์ไวเซอร์โซลูชันที่จะอนุญาตให้เครื่อง VM หลาย ๆ เครื่องแชร์ที่เก็บข้อมูลฮาร์ดไดรฟ์เดียวกันผ่าน Service Location Protocol (SLP) ช่องโหว่ดังกล่าวจะทำให้ผู้โจมตีที่อยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันสามารถส่งคำขอ SLP ที่เป็นอันตรายไปยังอุปกรณ์ ESXi และเข้าควบคุมได้

ตามรายงานจากนักวิจัยด้านความปลอดภัยระบุอีกว่ากลุ่ม RansomExx ได้เริ่มต้นใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ดังกล่าวในการโจมตีอินสแตนซ์ ESXi และเข้ารหัสฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง VM ที่อยู่ภายในเครือข่าย โดยหลังจากเหตุการณ์ นักวิจัยได้พบข้อมูลการประกาศการโจมตีในลักษณะเดียวกันโดยกลุ่ม Babuk Locker ransomware ในฟอรั่มใต้ดิน

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบ VMWare ESXi ควรรีบอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดโดยด่วนเพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มปฏิบัติการโจมตีด้วยแรมซัมแวร์

ที่มา: zdnet

กลุ่ม FonixCrypter Ransomware ประกาศหยุดการโจมตีและแจกจ่ายคีย์ถอดรหัสเพื่อให้เหยื่อสามารถกู้คืนไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสได้

กลุ่มอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่อยู่เบื้องหลัง Fonix Ransomware ได้ประกาศหยุดปฏิบัติการโจมตีด้วย Fonix Ransomware และวางแผนจะแจกจ่ายมาสเตอร์คีย์ถอดรหัสเพื่อให้เหยื่อสามารถกู้คืนไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสได้ฟรี

Fonix Ransomware หรือที่รู้จักกันในชื่อ Xinof และ FonixCrypter ได้เริ่มปฏิบัติการการโจมตีด้วย Fonix Ransomware ในเดือนมิถุนายน 2020 และได้เข้ารหัสเหยื่ออย่างต่อเนื่อง แต่การดำเนินการโจมตีด้วย ransomware ไม่ได้เกิดในวงกว้างเหมือนอย่าง ransomware ตระกูลอื่น ๆ เช่น REvil, Netwalker หรือ STOP

การประกาศหยุดปฏิบัติโจมตีเกิดขึ้นโดยผู้ใช้ Twitter ผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้ดูแลระบบ Fonix ransomware ได้ประกาศว่าจะหยุดปฏิบัติการโจมตีด้วย Fonix Ransomware โดยจะทำการลบข้อมูลทั้งหมดและจะเเจกจ่ายมาสเตอร์คีย์ถอดรหัสเพื่อให้เหยื่อสามารถกู้คืนไฟล์ที่ถูกเข้ารหัสได้ฟรี

Michael Gillespie นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Emsisoft ได้ทำการตรวจสอบมาสเตอร์คีย์ถอดรหัสที่ใช้ในการถอดรหัส Fonix Ransomware พบว่ามาสเตอร์คีย์ใช้งานได้กับ Fonix ransomware บางเวอร์ชันเท่านั้น

ทั้งนี้ Gillespie ได้แนะนำให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อให้ทำการรอตัวถอดรหัสของ Emsisoft ก่อนแทนที่จะใช้คีย์ถอดรหัสที่มาจากกลุ่ม FonixCrypter ซึ่งอาจมีมัลแวร์อื่น ๆ เช่นแบ็คดอร์เเฝงไว้

ที่มา: zdnet, decrypterbleepingcomputer

อัปเดตสถานการณ์ SolarWinds ส่งท้ายเดือนมกราคม 2021

Symantec ประกาศการค้นพบมัลแวร์ตัวที่ 4 ซึ่งเกี่ยวข้องกับ TEARDROP โดยมัลแวร์ตัวที่ 4 นั้นถูกเรียกว่า RAINDROP โดยมีจุดประสงค์ในการโหลดโค้ดมัลแวร์อื่น ๆ มาใช้งานในระบบที่ถูกโจมตีและยึดครองแล้ว
FireEye ออกรายงาน Remediation and Hardening Strategies for Microsoft 365 to Defend Against UNC2452 ซึ่งอธิบายสรุปพฤติกรรมของผู้โจมตีและแนวทางในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับ Microsoft 365 อ้างอิงจากพฤติกรรมของผู้โจมตีเพิ่มเติม รวมไปถึงชุดสคริปต์ Mandiant Azure AD Investigator สำหรับการตรวจสอบตามรายงานด้วย
Microsoft 365 Defender Research Team ออกรายงานการวิเคราะห์ส่วนการโจมตีที่สองซึ่งเป็นพฤติกรรมในช่วงที่ผู้โจมตีเข้าถึงระบบเป้าหมายผ่านมัลแวร์ SUNBURST และส่วนที่มีการติดตั้งมัลแวร์ TEARDROP, RAINDROP และมัลแวร์อื่น ๆ เพื่อใช้ทำ Lateral movement อ่านข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ที่ส่วน Attack Techniques
US-CERT ออกรายงาน Malware Analysis Report รหัส AR21-027A ซึ่งเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับมัลแวร์ SUPERNOVA
CheckPoint ออกรายงานการจำลองพฤติกรรมของผู้โจมตีในส่วนของการ Lateral movement จากระบบแบบ On-premise ไปยังระบบคลาวด์ Microsoft 365
ตกเป็นเป้าหมาย+เหยื่อใหม่: MalwareBytes, Qualys, Mimecast, Fidelis, Texas IT และอีกกว่า 32% จาก 2,000 โดเมน C&C ในกลุ่มอุตสาหกรรม

อ่านเพิ่มเติม: i-secure

พบช่องโหว่ใน Sudo ที่จะช่วยให้ผู้โจมตีระบบปฏิบัติการ Linux สามารถยกระดับสิทธิ์เป็น Root ได้

ผู้เชี่ยวชาญจาก Qualys ได้เปิดเผยถึงช่องโหว่ที่สำคัญในเครื่องมือ Sudo ที่จะช่วยให้ผู้โจมตีระบบปฏิบัติการ Unix สามารถยกระดับสิทธิ์เป็น Root โดยช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-3156 หรือที่เรียกว่า Baron Samedit

Sudo เป็นเครื่องมือบนระบบปฏิบัติการ Unix ที่ช่วยจำกัดสิทธิ์ของผู้ใช้งานอยู่ในระดับปกติให้สามารถยกระดับสิทธิ์เป็นผู้ดูแลระบบที่มีสิทธิ์ Root บนระบบได้ อีกทั้ง Sudo ยังสามารถใช้เพื่อรันคำสั่งในบริบทของผู้ใช้งานอื่น ๆ ได้ ตามการคอนฟิกที่อยู่ใน /etc/sudoers

ช่องโหว่ CVE-2021-3156 เป็นช่องโหว่ Heap Buffer Overflow ที่นำไปสู่การยกระดับสิทธิ์เป็น Root ได้ โดยที่ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องรู้รหัสผ่านของผู้ใช้ โดยช่องโหว่นี้จะกระทบกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 20.04 (Sudo 1.8.31), Debian 10 (Sudo 1.8.27) และ Fedora 33 (Sudo 1.9.2) และคาดว่าเวอร์ชันของ Sudo ที่ได้รับผลกระทบคือ 1.9.0 – 1.9.5p1 และ 1.8.2 – 1.8.31p1

ทั้งนี้ผู้ใช้ที่ต้องการตรวจสอบว่าระบบปฏิบัติการของท่านได้รับผลกระทบจากช่องโหว่หรือไม่ สามารถทดสอบโดยคุณต้องเข้าสู่ระบบในฐานะผู้ใช้ปกติ จากนั้นรันคำสั่ง "sudoedit -s '/'" โดยระบบที่มีช่องโหว่จะแสดงข้อผิดพลาดที่ขึ้นต้นด้วย "sudoedit” ส่วนระบบที่ไม่ได้รับผลกระทบจะเเสดงข้อผิดพลาดที่ขึ้นต้นด้วย "usage:" อย่างไรก็ตามผู้ใช้และผู้ดูแลระบบควรทำการอัปเดต Sudo ให้เป็นเวอร์ชัน 1.9.5p2 หรือมากกว่า เพื่อป้องกันการตกเป็นเป้าหมายการโจมตีของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: bleepingcomputer, zdnet

แจ้งเตือนช่องโหว่บายพาสไฟร์วอลล์ NAT Slipstreaming 2.0 มีแพตช์แล้ว

ทีม Intelligent Response ได้ทำการวิเคราะห์และอธิบายรายละเอียดของช่องโหว่ NAT Slipstreaming ไว้แล้ว ผู้ที่สนใจสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ i-secure

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Armis ได้มีการเปิดเผยแนวทางการโจมตีใหม่สำหรับช่องโหว่ NAT Slipstreaming ภายใต้ชื่อ NAT Slipstreaming 2.0 โดยผลลัพธ์การโจมตีจากวิธีการใหม่นั้นจะทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงทุกอุปกรณ์ซึ่งอยู่ในเครือข่ายภายในได้ (หลังอุปกรณ์ไฟร์วอลล์) จากเดิมที่สามารถเข้าถึงได้จากอุปกรณ์เดียวเมื่อโจมตีโดยใช้เทคนิคการโจมตีแบบดั้งเดิม

ในเทคนิค NAT Slipstreaming 2.0 นั้น การโจมตีจะพุ่งเป้าไปที่ H.323 ALG แทน ALG ทั่วไปซึ่งจะทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างช่องทางเพื่อทะลุผ่านอุปกรณ์ NAT และไฟร์วอลล์ไปยังอุปกรณ์ใด ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายภายในได้ เพียงแค่เป้าหมายมีการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ผู้โจมตีส่งให้ การโจมตีใน NAT Slipstreaming 2.0 ยังมีการใช้โปรโตคอล WebRTC TURN ผ่านโปรโตคอล TCP ไปยังพอร์ตใด ๆ ที่ผู้โจมตีต้องการ โดยการใช้ WebRTC TURN ช่วยบายพาสลอจิคการตรวจสอบพอร์ตของโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ซึ่งมีการตั้งค่ามาเพื่อป้องกัน NAT Slipstreaming รุ่นแรกอีกด้วย

ทาง Armis ได้เปิดเผยผลกระทบของ NAT Slipstreaming 2.0 ที่มีต่ออุปกรณ์เครือข่าย โดยจากการทดสอบนั้นระบบและอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบได้แก่ OpenWRT, VyOS, บางรุ่นของ Fortigate, Cisco, HPE และ Sonicwall (ดูรุ่นของอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากงานวิจัย)

ในขณะเดียวกัน Google ได้มีการประกาศเพิ่มพอร์ตที่ถูกบล็อคเพิ่มเติมให้ไม่สามารถใช้งาน HTTP/HTTPS/FTP ผ่านทางพอร์ตเหล่านี้เพื่อป้องกันการโจมตี โดยพอร์ตที่จะถูกบล็อคล่าสุดได้แก่ 69, 137, 161, 1719, 1723, 6566, และ 10080

รายละเอียดของเทคนิค NAT Slipstreaming 2.0 สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ armis

ที่มา: zdnet

Hackers Scanning for Vulnerable Microsoft Exchange Servers, Patch Now!

แฮกเกอร์สแกนหาเซิร์ฟเวอร์ของ Microsoft Exchange ที่มีช่องโหว่,แก้ไขเดี๋ยวนี้เลย !
ผู้โจมตีกำลังสแกนอินเทอร์เน็ตเพื่อหา Microsoft Exchange เซิร์ฟเวอร์ที่เสี่ยงต่อช่องโหว่รันคำสั่งอันตรายจากระยะไกล CVE-2020-0688 ซึ่งได้รับการแก้ไขโดย Microsoft เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน
Exchange Server ทุกเวอร์ชันจนถึงแพตช์ล่าสุดที่ออกมานั้นมีความเสี่ยงที่จะโดนโจมตีจากการสแกนที่ดำเนินการอยู่ ซึ่งจะรวมไปถึงรุ่นที่หมดระยะการสนับสนุนแล้ว ซึ่งในคำแนะนำด้านความปลอดภัยของ Microsoft จะไม่แสดงรุ่นที่หมดระยะแล้ว
ข้อบกพร่องมีอยู่ในส่วนประกอบ Exchange Control Panel (ECP) และเกิดจากการที่ Exchange ไม่สามารถสร้างคีย์การเข้ารหัสลับเฉพาะเมื่อติดตั้ง
เมื่อโจมตีสำเร็จ ผู้โจมตีที่สามารถเข้าสู่ระบบได้จะสามารถรันคำสั่งอันตรายจากระยะไกลด้วยสิทธิ์ System ได้และสามารถยึดเครื่องได้
Simon Zuckerbraun นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Zero Zero Initiative เผยแพร่การสาธิตเกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากข้อบกพร่องของ Microsoft Exchange CVE-2020-0688 และวิธีการใช้คีย์การเข้ารหัสลับแบบคงที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ที่ไม่ตรงกัน
Zuckerbraun อธิบายว่าผู้โจมตีจะต้องยึดเครื่องหรือบัญชีผู้ใช้ของคนในองค์กรก่อน แล้วจากนั้นเมื่อใช้ช่องโหว่ก็จะสามารถยึดเซิร์ฟเวอร์ได้ เนื่องจาก Microsoft Exchange ใช้สำหรับส่งอีเมล ผู้โจมตีก็จะสามารถเปิดเผยหรือปลอมแปลงการสื่อสารทางอีเมลขององค์กรได้
ดังนั้นหากคุณเป็นผู้ดูแลระบบ Exchange Server คุณควรถือว่านี่เป็นแพตช์ที่มีความสำคัญมากและควร Update ทันทีหลังจากทดสอบแพตช์แล้ว

ที่มา : bleepingcomputer

Google Patches Chrome Browser Zero-Day Bug, Under Attack

Chrome ออกแพตช์อุตช่องโหว่ 0 Day

หลังจากออก Chrome รุ่น 80 ไม่นาน ก็มีการออกรุ่น 80.0.3987.122 ตามมาทันที โดยเป็นการแก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 3 ช่องโหว่ เป็นความรุนแรง High ทั้งหมด โดยช่องโหว่ที่สำคัญคือ CVE-2020-6418 เป็นช่องโหว่ type of confusion bug กระทบทุกรุ่นจนกระทั่งรุ่น 80.0.3987.122 เป็นช่องโหว่ใน JavaScript และ Web Assembly engine ที่ชื่อว่า V8

ในปัจจุบันมีการโจมตีช่องโหว่นี้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ใช้งานควรทำการ Update Chrome เป็นรุ่น 80.0.3987.122

ที่มา : threatpost

US Govt Warns of Ransomware Attacks on Pipeline Operations

รัฐบาลสหรัฐประกาศเตือน Ransomware โจมตีท่อส่งปิโตรเลียม

สำนักงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของสหรัฐ (CISA) ได้แจ้งเตือนให้องค์กรที่สำคัญต่างๆ ที่เป็นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศเกี่ยวการโจมตี Ransomware ล่าสุด ซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงงานอัดก๊าซธรรมชาติในส่วนของสินทรัพย์การควบคุมและการสื่อสารในเครือข่ายเทคโนโลยีปฎิบัติการ (OT)

ผู้โจมตีใช้ Spearphishing เพื่อเข้าถึงเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของโรงงานอัดก๊าซธรรมชาติ ตามด้วยการเข้าถึงยังเครือข่าย OT จากนั้นใช้ Ransomware เพื่อเข้ารหัสเครือข่าย IT และ OT การโจมตีดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อตัว programmable logic controllers (PLCs) บนเครือข่ายเนื่องจาก Ransomware กระทบแต่อุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows แต่การ Reset ระบบกลับมาใช้เวลาประมาณ 2 วัน ส่งผลกระทบให้ต้องปิดการทำงานของท่อส่งปิโตรเลียม สูญเสียผลผลิตและรายได้

ในประกาศเตือนดังกล่าว CISA ได้เสนอมาตรการบรรเทาผลการปฎิบัติการรวมถึงการบรรเทาผลกระทบด้านเทคนิคและสถาปัตยกรรมให้กับองค์กรในอุตสาหกรรมทุกประเภทเพื่อลดความเสี่ยงที่ต้องรับมือกับการโจมตี Ransomware โดยนำเสนอบทเรียนจากเหตุการณ์ดังกล่าวว่าโรงงานอัดก๊าซธรรมชาติแห่งนั้นสามารถหาอุปกรณ์มาทดแทนรวมถึงสามารถกู้คืนระบบจาก backup ได้

สามารถอ่านรายละเอียดของประกาศดังกล่าวได้จาก www.