CNN ยังโดน! SEA กำเริบหนัก แฮคทั้งเว็บและทวิตเตอร์

กลุ่ม Syrian Electronic Army (SEA) ซึ่งเป็นกลุ่มกองทัพแฮกเกอร์ผู้สนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐอาหรับซีเรียยังคงได้ใจ หลังจากแฮกไมโครซอฟท์ไปแล้ว ล่าสุดได้หันมาเล่นงานสื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง CNN
ทวิตเตอร์ของ CNN ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 11.5 ล้านคนได้ถูกแฮกไปเมื่อวานนี้ (23 ม.ค. 57) และ SEA ได้ทวีตข้อความว่า “Syrian Electronic Army อยู่นี่แล้ว หยุดโกหกเสียที รายงานข่าวทั้งหมดของพวกแกมันลวงโลก” ซึ่งข้อความดังกล่าวได้ถูกลบไปภายใน 10 นาทีหลังจากทวีต แต่ SEA ก็ยังทวีตข้อความอื่นๆซึ่งมีลักษณะไปในทางต่อต้านสหรัฐฯ
ไม่เพียงแค่ทวิตเตอร์เท่านั้น เว็บไซต์ของ CNN ก็โดนกลุ่ม SEA แฮกด้วยเช่นกัน โดย SEA ได้โพสท์ข่าวลวงขึ้นเว็บไซต์ CNN ว่าสหรัฐฯ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งภายในเวลาไม่นานข่าวลวงดังกล่าวก็ถูก CNN ลบออกจากเว็บไซต์

เกือบสองปีมาแล้วที่กลุ่ม SEA ได้ออกอาละวาดแฮกสื่อตะวันตกมากมาย รวมทั้ง Thomson Reuters, The Guardian และ Deutsche Welle โดยการแฮกส่วนใหญ่ของ SEA นั้นจะเริ่มต้นด้วยการใช้เทคนิค Phishing เพื่อแฮกอีเมล์ของพนักงานในองค์กรที่ SEA ตั้งเป้าหมายไว้ จนไปเจอกับอีเมล์ที่ผูกติดกับ Social Network ขององค์กรและทำการยึดเอา Social Network ขององค์กรนั้นๆ มาได้ในที่สุด

ที่มา : arip

CNN ยังโดน! SEA กำเริบหนัก แฮคทั้งเว็บและทวิตเตอร์

กลุ่ม Syrian Electronic Army (SEA) ซึ่งเป็นกลุ่มกองทัพแฮกเกอร์ผู้สนับสนุนรัฐบาลสาธารณรัฐอาหรับซีเรียยังคงได้ใจ หลังจากแฮกไมโครซอฟท์ไปแล้ว ล่าสุดได้หันมาเล่นงานสื่อยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง CNN
ทวิตเตอร์ของ CNN ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 11.5 ล้านคนได้ถูกแฮกไปเมื่อวานนี้ (23 ม.ค. 57) และ SEA ได้ทวีตข้อความว่า “Syrian Electronic Army อยู่นี่แล้ว หยุดโกหกเสียที รายงานข่าวทั้งหมดของพวกแกมันลวงโลก” ซึ่งข้อความดังกล่าวได้ถูกลบไปภายใน 10 นาทีหลังจากทวีต แต่ SEA ก็ยังทวีตข้อความอื่นๆซึ่งมีลักษณะไปในทางต่อต้านสหรัฐฯ
ไม่เพียงแค่ทวิตเตอร์เท่านั้น เว็บไซต์ของ CNN ก็โดนกลุ่ม SEA แฮกด้วยเช่นกัน โดย SEA ได้โพสท์ข่าวลวงขึ้นเว็บไซต์ CNN ว่าสหรัฐฯ ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติ ซึ่งภายในเวลาไม่นานข่าวลวงดังกล่าวก็ถูก CNN ลบออกจากเว็บไซต์

เกือบสองปีมาแล้วที่กลุ่ม SEA ได้ออกอาละวาดแฮกสื่อตะวันตกมากมาย รวมทั้ง Thomson Reuters, The Guardian และ Deutsche Welle โดยการแฮกส่วนใหญ่ของ SEA นั้นจะเริ่มต้นด้วยการใช้เทคนิค Phishing เพื่อแฮกอีเมล์ของพนักงานในองค์กรที่ SEA ตั้งเป้าหมายไว้ จนไปเจอกับอีเมล์ที่ผูกติดกับ Social Network ขององค์กรและทำการยึดเอา Social Network ขององค์กรนั้นๆ มาได้ในที่สุด

ที่มา : arip

Facebook Hacker received $33,500 reward for Remote code execution vulnerability

นักวิจัยความปลอดภัย Reginaldo Silva ค้นพบบั๊กในโมดูล OpenID ของ Drupal เมื่อปี 2013 รายงานบั๊กในระบบ OpenID ของ facebook ทำให้ผู้ใช้สามารถรันคำสั่งใดๆ ก็ได้บนเซิร์ฟเวอร์ของ facebook จากระดับความร้ายแรงของบั๊กทำให้เขาได้รับเงินรางวัลถึง 33,500 ดอลลาร์ หรือประมาณหนึ่งล้านบาท
ทีมวิศวกรของ facebook แก้ปัญหานี้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหลังได้รับรายงาน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นักวิจัยรายงานบั๊กไปยัง facebook ครั้งแรกและเกือบสองชั่วโมงต่อมา facebook ก็ติดต่อกลับมาซึ่งทางนักวิจัยได้ส่งตัวอย่างการโจมตีไปให้ภายใน 10 นาที ทีมงานแก้ปัญหาภายใน 2 ชั่วโมงและตอบมาว่ากำลังนำขึ้นระบบจริงภายในครึ่งชั่วโมง

จากรายงานกล่าวว่า ทาง Facebook ได้มีการพิจารณาเงินรางวัลใช้เวลากว่าหนึ่งเดือน ในการพิจารณาความร้ายแรงของปัญหานั้น และตัดสินใจจัดเป็นบั๊กที่มีโอกาสจะเป็นบั๊ก remote code execution (RCE) โดยไม่ยอมรับว่าเป็นบั๊ก RCE ตรงๆ

ที่มา : thehackernews

China suffers massive Internet outage, analysts suspect hackers

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาระบบ DNS ของจีนมีปัญหาส่งผลให้ผู้ใช้จำนวนมากไม่สามารถใช้งานโดเมน .com และ .net ได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์ของบริษัท U.S. ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผิดกฏหมายในประเทศจีน

ทางเว็บ Greatfire.

16 Million German Users'Data compromised in mysterious Botnet Malware attack

นักวิจัยด้านความปลอดภัย BSI รายงานว่า ข้อมูลผู้ใช้ออนไลน์ชาวเยอรมันถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวไปประมาณ 16 ล้านคน อาจจะส่งผลกระทบไปยัง social networking sites เช่นกัน

นักวิจัยนั้นได้วิเคราะห์ข้อมูลจาก botnet network ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ พบว่าแฮกเกอร์สามารถโจมตีขโมยเอาข้อมูลชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน อีเมล์ของเหยื่อได้

ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้จัดเตรียมเว็บไซต์ที่เป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบ ว่าอีเมล์ปลอดภัยหรือไม่ อีกทั้งเจ้าหน้าที่แนะนำว่าให้ผู้ใช้เปลี่ยนรหัสผ่านทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับอีเมล์ เพื่อป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์

ที่มา : thehackernews

Connected TVs, fridge help launch global cyberattack

Proofpoint บริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ตค้นพบสิ่งที่พวกเค้าเรียกว่าภัยคุกคามไซเบอร์ระดับโลก (global cyberattack) มีการโจมตีมากกว่าวันละ 100,000 ชิ้น สิ่งของที่โดนโจมตีประกอบไปด้วย เราท์เตอร์, ทีวีที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้ และล่าสุดนี้ก็คือตู้เย็นอัจฉริยะ นี่ถือเป็นภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้ หรือที่ต่างประเทศเรียกข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ว่า ”Internet of Things”

จากรายงานกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคมถึงวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา มีอีเมลที่แฝงด้วยมัลแวร์ส่งไปหาบุคคลและหน่วยงานธุรกิจทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เฉพาะในเว็บของ Proofpoint ก็ได้รับอีเมลมากกว่า 750,000 ฉบับ ซึ่งถูกส่งออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้านับ 100,000 เครื่อง ที่ถูกสั่งงานโดย “thingbots,” หรือโปรแกรมหุ่นยนต์ที่ถูกติดตั้งจากระยะไกลลงบนเครื่องใช้ยุคดิจิตอลเหล่านี้ ถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมลที่ชัดเจนว่าเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายเหล่านี้ ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปได้หรือไม่

Bot-nets กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญ และการปรากฎตัวของ thingbots ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะระบบป้องกันของอุปกรณ์เหล่านี้ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ แถมผู้บริโภคก็ยังไม่มีวิธีตรวจจับหรือแก้ปัญหามัลแวร์เหล่านี้ เพราะไม่มีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ เหล่าแฮกเกอร์รู้ถึงจุดอ่อนเหล่านี้ดี ปริมาณการแฮกก็เลยยิ่งสูงขึ้นตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้

ที่มา : CNN

Connected TVs, fridge help launch global cyberattack

Proofpoint บริษัทด้านความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ตค้นพบสิ่งที่พวกเค้าเรียกว่าภัยคุกคามไซเบอร์ระดับโลก (global cyberattack) มีการโจมตีมากกว่าวันละ 100,000 ชิ้น สิ่งของที่โดนโจมตีประกอบไปด้วย เราท์เตอร์, ทีวีที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้ และล่าสุดนี้ก็คือตู้เย็นอัจฉริยะ นี่ถือเป็นภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้ หรือที่ต่างประเทศเรียกข้าวของเครื่องใช้เหล่านี้ว่า ”Internet of Things”

จากรายงานกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคมถึงวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา มีอีเมลที่แฝงด้วยมัลแวร์ส่งไปหาบุคคลและหน่วยงานธุรกิจทั่วโลกเป็นจำนวนมาก เฉพาะในเว็บของ Proofpoint ก็ได้รับอีเมลมากกว่า 750,000 ฉบับ ซึ่งถูกส่งออกมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้านับ 100,000 เครื่อง ที่ถูกสั่งงานโดย “thingbots,” หรือโปรแกรมหุ่นยนต์ที่ถูกติดตั้งจากระยะไกลลงบนเครื่องใช้ยุคดิจิตอลเหล่านี้ ถึงตอนนี้ยังไม่มีข้อมลที่ชัดเจนว่าเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายเหล่านี้ ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวไปได้หรือไม่

Bot-nets กลายเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องให้ความสำคัญ และการปรากฎตัวของ thingbots ยิ่งทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก เพราะระบบป้องกันของอุปกรณ์เหล่านี้ถือว่าไม่มีประสิทธิภาพ แถมผู้บริโภคก็ยังไม่มีวิธีตรวจจับหรือแก้ปัญหามัลแวร์เหล่านี้ เพราะไม่มีโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ เหล่าแฮกเกอร์รู้ถึงจุดอ่อนเหล่านี้ดี ปริมาณการแฮกก็เลยยิ่งสูงขึ้นตามจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออินเตอร์เน็ตได้

ที่มา : CNN

Android Malware HeHe steals messages and Intercepts phone calls

นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ FireEye Labs ได้ค้นพบมัลแวร์ชนิดใหม่บน Android ที่มีชื่อว่า "Android.HeHe" ซึ่งมันสามารถขโมย SMS และดักจับการโทรศัพท์ได้
มัลแวร์จะแพร่กระจายจากการอัพเดตความปลอดภัยบน Android เมื่อโทรศัพท์ติดมัลแวร์ มันจะสามารถใส่คำสั่งควบคุม (command and control(C&C)) และทำการตรวจสอบ SMS ที่เข้ามาในโทรศัพท์ได้
โดยรายละเอียดของโทรศัพท์จะถูกโอนไปยังเซิร์ฟเวอร์ C & C ได้แก่ หมายเลข IMEI, IMSI(International mobile Subscriber Identity), หมายเลขโทรศัพท์, รุ่นของระบบปฎิบัติการ, รุ่นของโทรศัพท์
เซิร์ฟเวอร์ C & C จะสามารถติดต่อไปยังรายชื่อ (Contract Number) ที่มีในโทรศัพท์ได้หากโทรศัพท์ที่ติดมัลแวร์ได้รับ SMS หรือมีการโทรศัพท์จากหมายเลขนั้นๆ แฮกเกอร์ก็จะสามารถดักจับข้อความหรือการโทรได้ ซึ่งจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของแฮกเกอร์

ที่มา : ehackingnews

Computer at Japanese Monju Nuclear Power Plant infected with Malware

เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องควบคุมของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Monju ของญี่ปุ่นได้ถูกตรวจพบว่าติดมัลแวร์ โดยมัลแวร์ตัวนี้ดูเหมือนว่าไม่ได้เป็นมัลแวร์ที่ถูกทำมาเพื่อโจมตีเครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นพิเศษ มัลแวร์ตัวนี้เข้าถึงเครื่องดังกล่าวจากการที่พนักงานได้ทำการอัพเดตโปรแกมเล่นวีดีโอ โดยเครื่องที่ติดเป็น 1 ใน 8 เครื่องที่อยู่ในห้องควบคุมซึ่งใช้เป็นเครื่องสำหรับป้อนค่าเอกสารเข้าไปเก็บเป็นไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และเป็นเครื่องที่มีเอกสารที่มีข้อมูลสำคัญอย่างเช่น ข้อมูลของพนักงาน เป็นต้น ผู้ดูแลระบบเห็นพฤติกรรมที่ผิดปกติตั้งแต่วันที่ 2 มกราคมเป็นต้นมา โดยเครื่องดังกล่าวถูกเข้าถึงมากกว่า 30 ครั้งภายใน 5 วันหลังจากที่พนักงานได้ทำการอัพเดตโปรแกรม

ที่มา : ehackingnews

17 year old suspected to be creator of BlackPOS malware used in Target data breach

ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยที่ IntelCrawler รายงานว่า Sergey Taraspov อายุ 17 ปีจากรัสเซีย หรือในออนไลน์ชื่อว่า "ree[4]" ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนสร้างมัลแวร์ "BlackPos" หรือ "Kaptoxa" ในเดือนมีนาคม 2013 ที่ผ่านมา โดยมัลแวร์ตัวนี้ใช้ในการโจมตีเป้าหมายและร้านค้าปลีก Neiman Marcus BlackPos เป็นมัลแวร์ที่สามารถอ่านข้อมูลในแรมได้ และสร้างด้วย VBScript เพื่อติดตั้งบน POS devices และขโมยข้อมูลทั้งหมดจากบัตรผ่านเครื่องที่ติดมัลแวร์ตัวนี้ แฮกเกอร์คนดังกล่าวได้สร้างเครื่องมือหลายๆอย่างในการแฮก รวมถึงการ brute force attack และเครื่องมือที่เป็นอันตรายอื่นๆ

ที่มา : ehackingnews