Trend Micro fixes bug Chinese hackers exploited for espionage

Trend Micro แก้ไขช่องโหว่ที่แฮ็กเกอร์ชาวจีนใช้ในการขโมยข้อมูล

Trend Micro กล่าวว่าได้แก้ไขช่องโหว่ DLL hijacking ใน Trend Micro Security ที่ถูกใช้โดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ชาวจีนเพื่อโหลด DLL ที่เป็นอันตราย และติดตั้งมัลแวร์

ตามที่ Sentinel Labs เปิดเผยในรายงานช่วงต้นเดือนพฤษภาคม แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากการที่ Trend Micro Security ถูกรันด้วยสิทธิ์สูงสุดบน Windows เพื่อติดตั้ง และโหลด DLL ที่เป็นอันตรายเข้าสู่หน่วยความจำ เพื่อเพิ่มสิทธิ์ และสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตราย

“Trend Micro รับทราบถึงรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2022 เกี่ยวกับแฮ็กเกอร์จากเอเชียที่มีชื่อว่า 'Moshen Dragon' ที่อ้างว่าสามารถโจมตี security products ยอดนิยมต่างๆ รวมทั้ง Trend Micro ด้วยเช่นกัน" Trend Micro กล่าว (more…)

Trend Micro Antivirus มีการแก้ไข Registry ของ Windows โดยไม่ได้ตั้งใจ

โปรแกรมป้องกันไวรัสของ Trend Micro ได้แก้ไขข้อผิดพลาด ที่ส่งผลให้ Apex One endpoint ตรวจจับการอัปเดต Microsoft Edge ว่าเป็นมัลแวร์ และทำให้ registry ของ Windows ถูกแก้ไขอย่างไม่ถูกต้อง

ตามรายงานจากผู้ใช้งานหลายร้อยรายเมื่อต้นสัปดาห์นี้ในฟอรัมของบริษัท และบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ว่าเกิดการตรวจจับที่ผิดพลาดกับแพทช์การอัปเดตของ Microsoft Edge  โดย Trend Micro Apex One ระบุว่าการอัปเดตเบราว์เซอร์ลักษณะดังกล่าวเป็นไวรัส/มัลแวร์: TROJ_FRS.VSNTE222 และไวรัส/มัลแวร์: TSC_GENCLEAN

(more…)

Trend Micro ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ Remote code execution ที่กำลังถูกใช้ในการโจมตีอยู่ในปัจจุบัน

Trend Micro บริษัท Cybersecurity สัญชาติญี่ปุ่น ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่มีระดับความรุนแรงสูงใน Apex Central management console ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้จากระยะไกล

Apex Central มีหน้า web-based management console ที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการผลิตภัณฑ์ และบริการของ Trend Micro ต่างๆ (รวมถึงผลิตภัณฑ์ และบริการด้านการป้องกันไวรัส) และยังสามารถใช้เพื่อติดตั้ง ไฟล์ Antivirus pattern, Scan engines และ antispam rules ด้วยวิธีการ Manual หรือตั้ง scheduled โดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า

ช่องโหว่ CVE-2022-26871 เป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง เรื่องการอัปโหลดไฟล์ในโมดูลการจัดการไฟล์ ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถโจมตีได้โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ ซึ่งหากโจมตีได้สำเร็จผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้

"ซึ่งปัจจุบันทาง Trend Micro ได้พบการพยายามโจมตีอย่างต่อเนื่องด้วยช่องโหว่ดังกล่าว และเราได้แจ้งเตือนกับลูกค้าแล้ว" บริษัทกล่าว

CISA สั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลอัปเดตแพตช์

Trend Micro ได้มีการแจ้งให้ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ อัปเดตเป็นเวอร์ชันล่าสุดโดยเร็วที่สุด ส่วนเวอร์ชัน Software as a service (SaaS) ถูกอัปเดตโดย Trend Micro แล้วโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องโหว่นี้

เมื่อถูกถามถึงจำนวนลูกค้าที่ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตี และระบบของพวกเขาที่อาจถูกเข้าถึงจากช่องโหว่นี้ Funda Cizgenakad ของ Trend Micro บอกกับ BleepingComputer ว่าบริษัท "ไม่สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าได้ เนื่องจากเป็นความลับของทางบริษัท"

หลังจากการเปิดเผยข้อมูลของ Trend Micro ทาง Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) ได้สั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลแก้ไขช่องโหว่ใน Apex Central ที่อาจถูกโจมตีได้ ภายในสามสัปดาห์ จนถึงวันที่ 21 เมษายน 2022

CISA ได้เพิ่มช่องโหว่ของ Trend Micro ลงใน Known Exploited Vulnerabilities Catalog ซึ่งเป็นรายการช่องโหว่ด้านความปลอดภัย ร่วมกับอีก 7 รายการ รวมถึงช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูงใน Sophos firewall

ที่มา: bleepingcomputer.

43% ของมัลแวร์ถูกดาวน์โหลดผ่าน Malicious ไฟล์ของ Microsoft Office

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2020 พบว่าประมาณ 38% ของมัลแวร์ที่ดาวน์โหลดได้ทั้งหมดถูกซ่อนอยู่ในไฟล์ Microsoft Office – ในไตรมาสแรกของปี 2021 อัตรานี้ลดลงเล็กน้อยเป็น 34% แต่คาดว่าจะกลับมาสร้างสถิติใหม่อีกครั้งในระดับ 43% ในไตรมาสถัดไป

Microsoft Office มีผู้ใช้งานออนไลน์หลายสิบล้านคนต่อวันทั่วโลก ในขณะเดียวกันไฟล์เหล่านี้ก็ถูกใช้โดยอาชญากรไซเบอร์เพื่อกระจายมัลแวร์ และเป็นวิธีที่สามารถทำกำไรให้กับอาชญากรได้

ดังนั้นเพื่อหลอกล่อผู้ใช้งานให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ แฮ็กเกอร์จะสร้าง malicious macros ในไฟล์เอกสารของ Office และส่งไฟล์เหล่านี้ไปยังผู้ใช้งานผ่านอีเมล ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมีการเปิดไฟล์ ผู้ใช้งานมักจะถูกหลอกให้เปิดการใช้งาน macros ที่ Microsoft Office จึงทำให้เมื่อผู้ใช้งานเปิดไฟล์เอกสารที่ผู้โจมตีสร้างขึ้นจึงทำให้ malicious macros ที่อยู่ในเอกสารสามารถทำงานได้ทันที

นักวิจัยของ Atlas VPN ระบุว่าเกือบ 43% ของการดาวน์โหลดมัลแวร์ทั้งหมดถูกซ่อนอยู่ในไฟล์ของ MS Office ไฟล์แบบนี้ค่อนข้างเป็นที่นิยมในหมู่ไม่หวังดี เนื่องจากสามารถหาวิธีหลบเลี่ยงการตรวจจับจากซอฟต์แวร์ antivirus ส่วนใหญ่ได้อย่างง่ายดาย

เป็นที่น่าสังเกตว่าการค้นพบของ Atlas VPN เป็นการอิงจากรายงานอื่นที่ชื่อว่า Netskope Threat Lab Cloud and Threat Report: July 2021 Edition ซึ่งครอบคลุมถึงวิธีที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ประโยชน์จาก Office docs

ในงานวิจัยของ Netskope Threat Lab ได้ประเมินเอกสารจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ได้แก่ Google Docs และ ไฟล์ PDF ไม่ใช่แค่จาก Microsoft Office 365

ตามรายงานในไตรมาสที่สองของปี 2020 ประมาณ 14% ของมัลแวร์ที่สามารถดาวน์โหลดได้ ทั้งหมดถูกพบซ่อนอยู่ในที่ Office documents และไตรมาสที่สามของปี 2020 ร้อยละนี้เพิ่มขึ้นถึง 38% ส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานที่ต้องทำงานจากที่บ้าน

ในไตรมาสแรกของปี 2021 อัตรานี้ลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 34% แต่คาดว่าจะกลับมาสร้างสถิติใหม่อีกครั้งในระดับ 43% ในไตรมาสถัดไป

นักวิจัยระบุว่า EMOTET เป็นหนึ่งในมัลแวร์ที่อันตรายที่สุดที่พบในไฟล์ Microsoft Word และด้วยความพยายามร่วมกันของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก และบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้จัดการ EMOTET ได้ในปี 2021

แต่ EMOTET ไม่ได้หายไป เพราะตัวมันเป็นมัลแวร์ที่สามารถนำไปสู่ติดตั้งมัลแวร์ที่เป็นอันตรายชนิดอื่น เช่น ransomware, information stealers, trojans

อย่างไรก็ตามการวิจัยของ Trend Micro ยืนยันว่า EMOTET ยังคงถูกแพร่กระจายโดยเครื่องที่ยึดครองโดยผู้โจมตี (compromised) ตัวอย่างเช่น EMOTET มีความเกี่ยวข้องกับการโจมตีของ Trickbot และ Ryuk ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูล ransomware ที่โด่งดังที่สุด

ที่มา : hackread.

นักวิจัยเปิดเผยรายละเอียดช่องโหว่ของแอปพลิเคชันยอดนิยมบน Android หลังจากผู้พัฒนาไม่ทำการแก้ไขช่องโหว่นานกว่าสามเดือน

Echo Duan นักวิเคราะห์ภัยคุกคามบนโทรศัพท์มือถือจากบริษัท Trend Micro ได้เปิดเผยรายละเอียดของช่องโหว่บนแอปพลิเคชันยอดนิยม SHAREit สำหรับ Android ที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่าหนึ่งพันล้าน หลังจากผู้พัฒนาแอปพลิเคชันไม่ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่หลังจากรับรายงานช่องโหว่ไปแล้วนานกว่าสามเดือน

ตามรายงานจาก Duan ระบุว่าช่องโหว่บนแอปพลิเคชัน SHAREit สำหรับ Android ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้แชร์ไฟล์กับเพื่อนหรือระหว่างอุปกรณ์ส่วนตัวได้ โดยช่องโหว่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถใช้เพื่อเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายบนสมาร์ทโฟนที่ติดตั้งแอป SHAREit โดยผู้โจมตีที่ทำการ Person-in-the-middle ในเครือข่ายสามารถส่งคำสั่งที่เป็นอันตรายไปยังแอพ SHAREit และเรียกใช้โค้ดที่กำหนดเองหรือติดตั้งแอปของผู้ประสงค์ร้ายได้

นอกจากนี้แอปยังมีความเสี่ยงต่อการโจมตีแบบ Man-in-the-Disk ที่ผู้โจมตีสามารถลบแก้ไขหรือแทนที่ข้อมูลในตำแหน่งพื้นที่เก็บข้อมูลของโทรศัพท์ที่แชร์ข้อมูลกับแอปอื่นๆ ได้

เนื่องจาก Duan ได้รายงานช่องโหว่ไปยังผู้พัฒนาแอปพลิเคชันให้ทำการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว แต่หลังจากเวลาผ่านไปสามเดือนผู้พัฒนาแอปพลิเคชันยังไม่ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ Duan จึงตัดสินใจเผยเเพร่รายละเอียดของช่องโหว่สู่สาธารณะ

ทั้งนี้การประกาศบนเว็บไซต์ของบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน SHAREit ได้อ้างว่าแอปของพวกเขาถูกใช้โดยผู้ใช้มากกว่า 1.8 พันล้านคนในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยช่องโหว่นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อแอป SHAREit สำหรับ iOS ซึ่งทำงานบน Codebase อื่น

ที่มา : zdnet

Routers, NAS Devices, TVs Hacked at Pwn2Own Tokyo 2020

Pwn2Own Tokyo 2020 ผู้เข้าแข่งขันได้สาธิตการแฮกเราท์เตอร์, ผลิตภัณฑ์ NAS และทีวี และสามารถกวาดเงินรางวัลไปจำนวน 136,000 ดอลลาร์

การเเข่งขัน Pwn2Own Tokyo 2020 ซึ่งเป็นการเเข่งขันการโจมตีช่องโหว่ในเป้าหมายที่กำหนดโดย ZDI จาก Trend Micro สิ้นสุดลงแล้ว โดยในปี 2020 มีผู้เข้าร่วมการเเข่งขันมากมายและช่องโหว่ที่ผู้เข้าร่วมการแข่งขันให้ความสนใจเป็นพิเศษคือเราท์เตอร์, ผลิตภัณฑ์ NAS และทีวี ซึ่งมีจำนวนช่องโหว่ 23 ช่องโหว่ในอุปกรณ์ 6 ชนิดที่ถูกเปิดเผย

สำหรับทีมที่เป็นผู้ชนะในปีนี้คือทีม Flashback ซึ่งได้รับเงินรางวัลรวม 40,000 ดอลลาร์จากการแฮกเราท์เตอร์ TP-Link AC175 และ NETGEAR Nighthawk R7800

ทีมอันดับที่สองคือทีม DEVCORE ได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์จากการสาธิตการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนผลิตภัณฑ์ Synology DiskStation DS418Play NAS ได้สำเร็จและเงินรางวัล 17,500 ดอลลาร์สำหรับการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนอุปกรณ์ NAS Western Digital My Cloud Pro Series PR4100

ทีม Trapa Security ได้รับเงินรางวัล 20,000 ดอลลาร์สำหรับการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่บนอุปกรณ์ WD และเงินรางวัล 5,000 ดอลลาร์สำหรับแฮกเราท์เตอร์ NETGEAR ทีม STARLabs ได้รับยอดรวมเท่ากันสำหรับการหาประโยชน์จากเราท์เตอร์ NETGEAR และอุปกรณ์ Synology NAS

ผู้เข้าแข่งขันสามารถกวาดเงินรางวัลการแข่งขันครั้งนี้เป็นจำนวนเงินมากว่า 136,000 ดอลลาร์หรือเป็นเงิน 4,146,368 บาท และทางผู้ผลิตมีเวลา 120 วันในการเเพตซ์ช่องโหว่ก่อนที่ช่องโหว่จะถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ

ทั้งนี้ในงานแข่งขันผู้เข้าร่วมยังสามารถการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แฮกสมาร์ททีวี Samgung และ Sony แต่พวกเขาไม่ได้รับเงินเนื่องจากช่องโหว่ที่พวกเขาใช้ถูกเปิดเผยแล้ว

ที่มา: securityweek

แจ้งเตือนช่องโหว่แบบ Logical ในผลิตภัณฑ์ Antivirus หลายรายการ นำไปใช้ยกระดับสิทธิ์และข้ามผ่านกระบวนการจัดการสิทธิ์ได้

Eran Shimony จาก CyberArk อออกมาเปิดเผยถึงการค้นพบช่องโหว่ในผลิตภัณฑ์ Antivirus กว่า 15 ช่องโหว่ กระทบผลิตภัณฑ์ของ Kaspersky, McAfee, Symantec, Fortinet, CheckPoint, Trend Micro, Avira และ Microsoft Defender ช่องโหว่ทั้งหมดเป็นลักษณะของช่องโหว่แบบ logical หรือหมายถึงช่องโหว่ในเรื่องของการจัดการที่ไม่เหมาะสม ทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากปัญหาดังกล่าวในการโจมตีได้

Eran อธิบายถึงที่มาของช่องโหว่เอาไว้ในบล็อกของ CyberArk ช่องโหว่บางส่วนเกิดจากการจัดการสิทธิ์ที่ไม่เหมาะสมเมื่อมีการเขียนข้อมูลลงในพาธ C:\ProgramData รวมไปถึงการไม่ตรวจสอบและแก้ไขสิทธิ์ของไดเรกทอรีหรือไฟล์ที่โปรแกรม Antivirus ที่มีสิทธิ์สูงจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วยอย่างเหมาะสม แฮกเกอร์ซึ่งทราบเงื่อนไขของการโจมตีสามารถสร้างเงื่อนไขเพื่อให้โปรแกรม Antivirus ซึ่งมีสิทธิ์สูงอยู่แล้วเข้าไปแก้ไขไฟล์อื่น ๆ ในระบบ หรือลบไฟล์อื่น ๆ ในระบบได้

นอกเหนือจากเรื่องสิทธิ์ที่เกี่ยวกับพาธ C:\ProgramData แล้ว Eran ยังมีการระบุถึงช่องโหว่ DLL injection ในซอฟต์แวร์ Installer ยอดนิยมที่มักถูกใช้โดยผู้พัฒนาโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ อาทิ InstallShield, InnoSetup, NsisInstaller และ Wix installer ด้วย

ช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแจ้งและแพตช์โดยผู้พัฒนาโปรแกรมป้องกันมัลแวร์แล้ว ขอให้ผู้ใช้งานทำการติดตามแพตช์และทำการอัปเดตเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดยใช้ช่องโหว่นี้โดยทันที

ที่มา : thehackernews

Mirai สายพันธุ์ใหม่ตั้งเป้าหมายโดยใช้ช่องโหว่ใน Comtrend Routers

นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Trend Micro ได้เปิดเผยถึงมัลแวร์ Mirai สายพันธุ์ใหม่ที่ทำการกำหนดเป้าหมายโดยใช้ช่องโหว่ CVE-2020-10173 ซึ่งเป็นช่องโหว่ในเร้าเตอร์ Comtrend VR-3033

หลังจาก Proof-of-concept (PoC) ของช่องโหว่ CVE-2020-10173 ได้รับถูกเผยแพร่สู่สาธารณะบอทเน็ตต่างๆ ได้ทำการหาประโยชน์จากช่องโหว่นี้ รวมไปถึง Mirai ตามที่นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Trend Micro ได้กล่าว มัลแวร์ Mirai จะใช้ปัญหาที่เกิดจากช่องโหว่ Authenticated Command Injection ของเร้าเตอร์เพื่อทำการโจมตีเครือข่ายจากระยะไกล โดยช่องโหว่นี้จะอยู่ในเร้าเตอร์ Comtrend VR-3033

Mirai ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2559 และมีการเปิดเผยซอร์สโค้ดในเดือนตุลาคมของปีเดียวกันโดย Mirai เป็นนั้นจัดเป็นบอทเน็ตแบบปฏิเสธบริการ (DDoS)

เพื่อเป็นการป้องกันผู้ใช้ควรทำการอัพเดตเฟิร์มแวร์ของอุปกรณ์เราเตอร์ทุกครั้งที่มีการอัพเดต ทั้งนี้ผู้ใช้งานควรทำการใช้ความระมัดระวังในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ไม่เข้าเว็บไซต์และดาวน์โหลดไฟล์จากเเหล่งที่ไม่รู้จักเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์

ที่มา:

securityweek
blog.

Trend Micro ประกาศแพตช์ 2 ช่องโหว่ Zero-day และ 3 ช่องโหว่ร้ายแรงที่โดนโจมตีจากแฮกเกอร์

Trend Micro ประกาศแพตช์ 2 ช่องโหว่ Zero-day และ 3 ช่องโหว่ร้ายแรงที่โดนโจมตีจากแฮกเกอร์

บริษัท Trend Micro ได้เปิดเผยว่าแฮกเกอร์ได้พยายามโจมตีผ่านช่องโหว่ Zero-day ถึง 2 รายการ CVE-2020-8467, CVE-2020-8468 และยังพบช่องโหว่ร้ายแรงอีก 3 รายการ ซึ่งทั้งหมดกระทบกับผลิตภัณฑ์ Antivirus อย่าง Apex One และ OfficeScan ล่าสุดทาง Trend Micro ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับการโจมตี อย่างไรก็ตามเมื่อปีก่อนแฮกเกอร์จากจีนได้ใช้ช่องโหว่ Zero-day บนผลิตภัณฑ์ OfficeScan ทำการแฮกบริษัท Mitsubishi Electric ของญี่ปุ่นมาแล้ว แต่ยังไม่เเน่ชัดว่าเป็นกลุ่มแฮกเกอร์เดียวกันหรือไม่

รายละเอียดช่องโหว่ Zero-day

CVE-2020-8467 (CVSS 9.1) - เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้การโจมตีระยะไกล (RCE) บนเครื่องที่ติดตั้งผลิตภัณฑ์ Trend Micro Apex One และ OfficeScan แต่การโจมตีจะเกิดขึ้นได้ผู้โจมตีพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ก่อน
CVE-2020-8468 (CVSS 8.0) - เป็นช่องโหว่ที่เกิดขึ้นกับ Agent ของผลิตภัณฑ์ Apex One และ OfficeScan โดยช่องโหว่การตรวจสอบความถูกต้องของการตรวจสอบเนื้อหาซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถจัดการคอมโพเนนต์ไคลเอ็นต์ของ Agent บางตัวได้เงื่อนไขการโจมตีของช่องโหว่นี้ต้องใช้การพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้ก่อน

รายละเอียดช่องโหว่ร้ายแรง

CVE-2020-8470 (CVSS 10) - กระทบกับเซิร์ฟเวอร์ของ Apex One และ OfficeScan ผู้โจมตีสามารถเข้าไปลบไฟล์ DLL บนเซิร์ฟเวอร์ในระดับสิทธิ์ของ SYSTEM โดยไม่ต้องผ่านการพิสูจน์ตัวตนได้
CVE-2020-8598 (CVSS 10) - กระทบกับเซิร์ฟเวอร์ของ Apex One และ OfficeScan ผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่เกี่ยวกับไฟล์ DLL ที่ทำให้สามารถเข้าไปลอบรันโค้ดจากทางไกล (RCE) ในระดับสิทธิ์ของ SYSTEM โดยไม่ต้องผ่านการพิสูจน์ตัวตน
*CVE-2020-8599 (CVSS 10) - กระทบกับเซิร์ฟเวอร์ของ Apex One และ OfficeScan ผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่จากไฟล์ EXE ทำให้สามารถโจมตีระยะไกลและเข้าไปเขียนข้อมูลใน Path ที่ได้รับผลกระทบจากการติดตั้งและ Bypass การล็อกอินระดับ Root ได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตน*

รุ่นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ

Apex One บน Windows เวอร์ชั่น 2019
OfficeScan บน Windows เวอร์ชั่น XG SP1 และ XG (non-SP)

การเเก้ไข

Trend Micro ได้เปิดให้อัปเดตแพตช์ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมาเเนะนำผู้ใช้รีบทำการอัปเดตแพตช์โดยด่วนเพราะช่องโหว่มีผลกระทบค่อนข้างรุนเเรง

ที่มา: Zdnet

Emotet Now Spreads via Wi-Fi

พบ Emotet สายพันธุ์ใหม่แพร่กระจายผ่าน WiFi

Emotet ตัวใหม่ถูกพบว่าสามารถกระจายผ่านการเชื่อมต่อ WiFi นอกเหนือจากการแพร่ผ่านอีเมลอย่างที่เคยทำในอดีต นักวิจัยจาก Binary Defense ระบุ Emotet ใช้ประโยชน์จาก wlanAPI interface ในการแพร่กระจายไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย WiFi ที่ไม่ปลอดภัย

Emotet ถูกค้นพบ Trend Micro ในชื่อ TrojanSpy.