Apple ออกอัปเดตฉุกเฉิน แก้ไขช่องโหว่ Zero-day ที่ถูกใช้ในการแฮ็กเครื่อง Mac และ Apple Watch

Apple ออกแพตช์อัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day ที่ผู้โจมตีสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในการโจมตีไปยังอุปกรณ์ Mac และ Apple Watch

ในคำแนะนำด้านความปลอดภัยที่ออกมาเมื่อวันจันทร์จาก Apple มีการระบุว่าทาง Apple ได้รับทราบถึงรายงานของช่องโหว่ด้านความปลอดภัยนี้แล้ว และยังคาดว่าอาจมีการนำไปใช้ในการโจมตีจริง นักวิจัยที่ไม่ได้ระบุชื่อเป็นผู้รายงานช่องโหว่ดังกล่าว และได้รับการแก้ไขจาก Apple ใน macOS Big Sur 11.6, watchOS 8.6 และ tvOS 15.5 โดยช่องโหว่เกิดจาก out-of-bounds write issue (CVE-2022-22675) ใน AppleAVD (kernel extension สำหรับการถอดรหัสเสียง และวิดีโอ) ที่ทำให้แอปสามารถสั่งรันโค้ดได้ตามต้องการด้วยสิทธิ์ของ kernel

อุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ Apple Watch Series 3 หรือใหม่กว่า, Mac ที่ใช้ macOS Big Sur, Apple TV 4K, Apple TV 4K (รุ่นที่ 2) และ Apple TV HD

แม้ว่า Apple ได้เปิดเผยรายงานว่าคาดว่าน่าจะมีการโจมตีเกิดขึ้นจริงแล้ว แต่ก็ยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโจมตีดังกล่าว

Apple ตั้งเป้าอัปเดตด้านความปลอดภัยบน Apple Watch และ Mac ให้กับผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด ก่อนที่ผู้โจมตีจะรู้รายละเอียดของ Zero-day และเริ่มนำมาปรับใช้ในการโจมตีส่วนอื่นๆ แม้ว่า Zero-day นี้ส่วนใหญ่จะใช้โจมตีได้แค่บางอุปกรณ์เท่านั้น แต่ทาง Apple ก็แนะนำให้ผู้ใช้งานรีบอัปเดต macOS และ watchOS โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้น

5 Zero-days ที่ถูกแพตช์ในปี 2022

ในเดือนมกราคม Apple ได้ทำการแพตช์ Zero-days อีกสองตัวที่ถูกใช้ในการโจมตีเป็นวงกว้าง โดยผู้โจมตีสามารถเรียกใช้โค้ดด้วยสิทธิ์เคอร์เนล (CVE-2022-22587) และเก็บข้อมูลการเข้าใช้งานเว็บไซต์, ข้อมูลประจำตัวผู้ใช้แบบเรียลไทม์ (CVE-2022-22594)

หนึ่งเดือนต่อมา Apple ได้เผยแพร่การอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-days (CVE-2022-22620) ใหม่ ซึ่งถูกใช้ในการแฮ็ก iPhone, iPad และ Mac ซึ่งสามารถทำให้เกิด OS crashes รวมถึงการสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายบนอุปกรณ์ Apple ที่ถูกโจมตีได้

ในเดือนมีนาคมก็มีการพบ Zero-days อีกสองตัวใน Intel Graphics Driver (CVE-2022-22674) และ AppleAVD media decoder (CVE-2022-22675) ใน macOS เวอร์ชันเก่า, watchOS 8.6 และ tvOS 15.5

Zero-days ทั้ง 5 นี้ส่งผลกระทบต่อ iPhone (iPhone 6s ขึ้นไป), Mac ที่ใช้ macOS Monterey และ iPad หลายรุ่น

ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมา Apple ยังได้ออกแพตซ์แก้ไขช่องโหว่ Zero-days อีกจำนวนมากที่ถูกมุ่งเป้าโจมตีไปยังอุปกรณ์ iOS, iPadOS และ macOS

ที่มา: bleepingcomputer

พบช่องโหว่ Zero-click ของ iPhone ตัวใหม่ ถูกใช้ในการโจมตีด้วยสปายแวร์ NSO

นักวิจัยด้านภัยคุกคามของ Citizen Lab ได้ค้นพบช่องโหว่ zero-click iMessage ซึ่งใช้ในการติดตั้งสปายแวร์ NSO Group บน iPhone ของนักการเมือง นักข่าว และนักเดินทางชาวคาตาลัน

ก่อนหน้านี้มีการพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัยแบบ Zero-click ของ iOS มีชื่อว่า HOMAGE มีผลกระทบกับบางเวอร์ชัน ที่เป็นเวอร์ชันก่อน iOS 13.2 (เวอร์ชัน iOS ที่เสถียรล่าสุดคือ 15.4) มันถูกใช้ในแคมเปญที่มุ่งเป้าไปยังบุคคลอย่างน้อย 65 รายด้วย Pegasus Spyware ของ NSO ระหว่างปี 2017-2020 โดยการใช้ช่องโหว่จาก Kismet iMessage และช่องโหว่จาก WhatsApp

ในบรรดาผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีนี้ Citizen Lab กล่าวถึงสมาชิกชาวคาตาลัน ของรัฐสภายุโรป (MEPs) ประธานาธิบดีคาตาลันทุกคนตั้งแต่ปี 2010 รวมถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งคาตาลัน ลูกขุน นักข่าว และสมาชิกขององค์กรภาคประชาสังคม และครอบครัวของพวกเขา

“ในบรรดาเป้าหมายที่เป็นชาวคาตาลัน ไม่พบว่ามีเครื่องที่ใช้ iOS เวอร์ชันที่สูงกว่า 13.1.3 ที่ถูกโจมตีจาก HOMAGE ซึ่งเป็นไปได้ว่าช่องโหว่ดังกล่าวได้รับการแก้ไขไปแล้วใน iOS 13.2”

"เรายังไม่พบว่าช่องโหว่แบบ zero-day, zero-click ถูกใช้กับเป้าหมายชาวคาตาลัน สำหรับ iOS เวอร์ชัน 13.1.3 จนถึง iOS 13.5.1"

(more…)

Apple ออกแพตซ์อัปเดตเร่งด่วน ช่องโหว่ Zero-Day จำนวน 2 ช่องโหว่

Apple ออกแพตซ์อัปเดทด้านความปลอดภัย ซึ่งเกี่ยวกับช่องโหว่ Zero-day จำนวน 2 ช่องโหว่ ได้แก่

Apple Bulletin HT213219: ช่องโหว่ในการทำงานของ Kernel code CVE-2022-22675 บน iOS และ iPadOS แนะนำให้อัปเดทเป็นเวอร์ชัน 15.4.1
Apple Bulletin HT213220: ช่องโหว่ในการทำงานของ Kernel code CVE-2022-22675 และ ช่องโหว่ kernel data leakage CVE-2022-22674 บน macOS Monterey แนะนำให้อัปเดทเป็นเวอร์ชัน 12.3.1
โดย iOS, iPadOS หรือ macOS เวอร์ชันก่อนหน้านี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าว หรืออีกกรณีหนึ่งก็คือยังไม่มีการออกอัปเดทสำหรับเวอร์ชันเหล่านั้นออกมา

Apple ยังไม่ได้ประกาศเกี่ยวกับเวอร์ชันอื่นๆ ที่ยังไม่ได้รับการอัปเดต ดังนั้นผู้ใช้งานจึงยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่าเวอร์ชันเหล่านั้นจะไม่ได้รับผลกระทบ ต้องรอการอัปเดตจากทาง Apple ต่อไป

ในรายการอัปเดตของ Apple รายการที่ HT201222 ระบุถึงการอัปเดต tvOS 15.4.1 และ watchOS 8.5.1 แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าการอัปเดตเหล่านี้ "ยังไม่มีระบุเลข CVE ของช่องโหว่"

(more…)

Apple แก้ไขช่องโหว่ Zero-day บน IOS ที่ถูกใช้ในการติดตั้งสปายแวร์ NSO บน iPhone

Apple ได้เผยแพร่การอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ Zero-day สองช่องโหว่ที่ถูกพบในการโจมตี iPhone และ Mac เพื่อติดตั้งสปายแวร์ Pegasus

ช่องโหว่นี้คือ CVE-2021-30860 และ CVE-2021-30858 โดยช่องโหว่ทั้งสองส่งผลทำให้สามารถมีการรันโค้ดที่เป็นอันตรายที่ถูกฝังไว้ในเอกสารที่ผู้โจมตีสร้างขึ้นได้

ช่องโหว่ CVE-2021-30860 CoreGraphics เป็นบั๊ก integer overflow ที่ค้นพบโดย Citizen Lab ซึ่งช่วยให้ผู้โจมตีสามารถสร้างเอกสาร PDF ที่เป็นอันตรายซึ่งรันคำสั่งเมื่อเปิดใน iOS และ macOS

CVE-2021-30858 เป็นช่องโหว่บน WebKit ที่เมื่อมีการเข้าถึงหน้าเว็ปไซต์ที่ผู้โจมตีสร้างขึ้นด้วย iPhone และ macOS จะทำให้สามารถถูกรันคำสั่งที่เป็นอันตรายที่อยู่บนหน้าเว็ปไซต์ได้ เบื้องต้นทาง Apple ระบุว่าช่องโหว่นี้ถูกเปิดเผยแพร่ออกสู่สาธารณะแล้วอีกด้วย

แม้ว่า Apple จะไม่เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ช่องโหว่ในการโจมตี แต่ Citizen Lab ได้ยืนยันว่า CVE-2021-30860 เป็นการใช้ประโยชน์จาก iMessage แบบ zero-day zero-click ที่ชื่อว่า 'FORCEDENTRY'

พบว่ามีการใช้ช่องโหว่ของ FORCEDENTRY เพื่อหลีกเลี่ยงระบบความปลอดภัยบน iOS BlastDoor เพื่อติดตั้งสปายแวร์ NSO Pegasus บนอุปกรณ์ที่เป็นของนักเคลื่อนไหวชาวบาห์เรน

BleepingComputer ได้ติดต่อ Citizen Lab พร้อมคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโจมตี แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับในขณะนี้

Apple Zero-days อาละวาดในปี 2021
เป็นปีที่หนักมากสำหรับ Apple เพราะดูเหมือนว่าจะมีช่องโหว่ Zero-days อย่างต่อเนื่อง ซึ่งใช้ในการโจมตีเป้าหมายเป็นอุปกรณ์ iOS และ Mac

การโจมตีจาก FORCEDENTRY เปิดเผยในเดือนสิงหาคม (ก่อนหน้านี้ถูกติดตามโดย Amnesty Tech ในชื่อ Megalodon)
iOS zero-days สามช่องโหว่ (CVE-2021-1870, CVE-2021-1871, CVE-2021-1872) ที่ถูกใช้ในการโจมตีในเดือนกุมภาพันธ์
zero-day ใน iOS หนึ่งช่องโหว่ (CVE-2021-30661) ในเดือนมีนาคม ที่อาจมีการใช้ในการโจมตีเป็นวงกว้างได้ในอนาคต
หนึ่งช่องโหว่ zero-days ใน macOS (CVE-2021-30657) เดือนเมษายน ถูกใช้โจมตีโดยมัลแวร์ Shlayer
iOS zero-days อีกสามตัว (CVE-2021-30663, CVE-2021-30665 และ CVE-2021-30666) ในเดือนพฤษภาคม ที่สามารถทำให้มีการรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ (RCE) จากการเข้าเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย
macOS zero-day (CVE-2021-30713) ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งถูกใช้โดยมัลแวร์ XCSSET เพื่อเลี่ยง TCC privacy protections ของ Apple
zero-day ของ iOS สองช่องโหว่ (CVE-2021-30761 และ CVE-2021-30762) ในเดือนมิถุนายนที่ถูกใช้ในการแฮ็คเข้าสู่อุปกรณ์ iPhone, iPad และ iPod รุ่นเก่า
Project Zero ยังได้มีการเปิดเผยช่องโหว่ Zero-day อีก 11 ช่องโหว่ในปีนี้ ซึ่งใช้ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายไปยังอุปกรณ์ Windows, iOS และ Android

อัปเดต 9/13/21: ยืนยันจาก Citizen Labs ว่าการอัปเดตนี้แก้ไขช่องโหว่ของ FORCEDENTRY ได้เรียบร้อยแล้ว

ที่มา : bleepingcomputer

ระวัง! การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไร้สายสามารถหยุดการทำงานฟีเจอร์ Wi-Fi บน iPhone ของคุณได้

พบบั๊กในการตั้งชื่อเครือข่ายไร้สายในระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ที่ทำให้ iPhone ไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ได้

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Carl Schou พบว่าฟังก์ชัน Wi-Fi ของโทรศัพท์จะถูกปิดใช้งานอย่างถาวร หลังจากเชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi ที่มีชื่อผิดปกติว่า "%p%s%s%s%s%n" แม้ว่าจะทำการรีบูตหรือเปลี่ยนชื่อเครือข่าย เช่น service set identifier หรือ SSID แล้วก็ตาม

ผู้ไม่หวังดีสามารถใช้ประโยชน์จากปัญหานี้ เพื่อวางฮอตสปอต Wi-Fi หลอกลวงด้วยการตั้งชื่อที่เป็นปัญหา เพื่อหยุดการทำงานเครือข่ายไร้สายของ iPhone

Zhi Zhou ซึ่งเป็น Senior Security Engineer ของ Ant Financial Light-Year Security Labs เปิดเผยการวิเคราะห์สั้นๆว่า ปัญหาเกิดจากบั๊กในการจัดรูปแบบสตริง ที่ iOS แยกการวิเคราะห์อินพุต SSID จึงทำให้เกิด Denial of Service ระหว่างการประมวลผล แต่วิธีการนี้ไม่น่าจะส่งผลกระทบให้เกิดการโจมตีในลักษณะการเข้าควบคุมเครื่องได้

หากจะโจมตีให้สำเร็จโดยใช้บั๊กนี้ จะต้องมีการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi นั้นๆก่อน ซึ่งหากเหยื่อเห็น SSID ที่มีชื่อแปลกๆก็อาจไม่ได้ทำการเชื่อมต่อ ซึ่งหากตั้งใจหาผลประโยชน์จากการโจมตีผ่าน Wi-Fi จริงๆ การโจมตีด้วยวิธีการ Phishing ผ่าน Wi-Fi Portal น่ามีประสิทธิภาพมากกว่า

อุปกรณ์ Android ไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ แต่ผู้ใช้งาน iPhone ที่ได้รับผลกระทบจะต้องรีเซ็ตการตั้งค่าเครือข่าย iOS โดยไปที่การตั้งค่า > ทั่วไป > รีเซ็ต > รีเซ็ตการตั้งค่าเครือข่าย แล้วยืนยันการดำเนินการ

ที่มา : thehackernews

แจ้งเตือน “XcodeSpy” มัลแวร์ชนิดใหม่ที่พุ่งเป้าโจมตีในลักษณะ Supply-chain attack กับนักพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS

นักวิจัยจากบริษัท SentinelOne บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้ค้นพบมัลแวร์บนโปรเจกต์ Xcode ที่ถูกเรียกว่า “XcodeSpy” ซึ่งกำลังกำหนดเป้าหมายไปยังนักพัฒนาแอปพลิเคชัน iOS เพื่อทำการโจมตีในลักษณะ Supply-chain attack และเพื่อติดตั้งแบ็คดอร์บนระบบปฏิบัติการ macOS บนคอมพิวเตอร์ของผู้พัฒนา

Xcode เป็นเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชัน (Integrated Development Environment - IDE) ที่สร้างโดย Apple ซึ่ง Xcode จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ทำงานบน macOS, iOS, tvOS และ watchOS

นักวิจัยจากบริษัท SentinelOne กล่าวว่าได้ค้นพบ iOS โปรเจกต์ที่มีชื่อว่า TabBarInteraction โดยโปรเจกต์ดังกล่าวเป็นโปรเจกต์ Xcode ที่ถูกต้องสำหรับผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน จากการตรวจสอบโปรเจกต์โดยทีมนักวัยจัยพบว่าผู้ประสงค์ร้ายได้ทำการโคลนโปรเจกต์ TabBarInteraction ที่ถูกต้องและได้เพิ่มสคริปต์ 'Run Script' ที่เป็นอันตรายลงไปยังโปรเจกต์ เมื่อผู้พัฒนาแอปพลิเคชันสร้างโปรเจกต์ code จะเรียกใช้ Run Script โดยอัตโนมัติเพื่อทำการสร้างไฟล์ที่ชื่อว่าว่า .tag ใน /tmp และภายในไฟล์จะมีคำสั่ง mdbcmd เพื่อเปิด Reverse shell กลับไปที่เซิร์ฟเวอร์ของผู้ประสงค์ร้าย นอกจากนี้แบ็คดอร์ยังสามารถทำให้ผู้ประสงค์ร้ายเข้าถึงการอัปโหลดและดาวน์โหลดไฟล์, ดึงข้อมูลหรือดักฟังจากกล้อง, ไมโครโฟนและคีย์บอร์ดของผู้ที่ตกเหยื่อได้อีกด้วย

ทั้งนี้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันจากซอฟต์แวร์ Xcode ควรระมัดระวังในการใช้งานอย่างมาก และไม่ควรดึงโปรเจกต์จากผู้พัฒนาที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้เเหล่งที่มา เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: bleepingcomputer, hackread

ทีม Project Zero พบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ในการโจมตีผู้ใช้ Windows, iOS และ Android

ทีม Project Zero จาก Google ได้เปิดเผยถึงการค้นพบกลุ่มเเฮกเกอร์พยายามใช้ช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ในการโจมตีที่กำหนดเป้าหมายไปที่ผู้ใช้ Windows, iOS และ Android

ตามรายงานการโจมตีพบแคมเปญการโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์เกิดขึ้นในสองช่วงเวลาคือในเดือนกุมภาพันธ์และตุลาคม 2020 ที่ผ่านมา โดยช่องโหว่ Zero-day จำนวน 11 รายการ ที่ถูกใช้ในการโจมตีมีรายละเอียดดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-6418 - เป็นช่องโหว่ในโมดูล TurboFan ของ Chrome (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-0938 - เป็นช่องโหว่ใน Font บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-1020 - เป็นช่องโหว่ใน Font บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-1027 - เป็นช่องโหว่ Client Server Run-Time Subsystem (CSRSS) บน Windows (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในกุมภาพันธ์ 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-15999 - เป็นช่องโหว่ Freetype Heap buffer overflow บน Chrome (ถูกแก้ไขช่องโหว่แล้วในตุลาคม 2020)
ช่องโหว่ CVE-2020-17087 - เป็นช่องโหว่ Heap buffer overflow ใน cng.

นักวิจัยพบแคมเปญ Malvertising ใหม่ที่ใช้โหว่แบบ Zero-day ใน WebKit เพื่อรีไดเร็คผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม

นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท Confiant บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้เปิดเผยถึงการค้นพบแคมเปญ Malvertising ของกลุ่ม ScamClub ที่ใช้ช่องโหว่แบบ Zero-day ในเว็บเบราว์เซอร์ที่ใช้ WebKit engine ในการส่งเพย์โหลดเพื่อรีไดเร็คผู้ใช้จากพอร์ทัลที่ถูกต้องไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและจะแสดงโฆษณาที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้

ตามรายงานของ Confiant ได้ระบุว่าการโจมตีแคมเปญดังกล่าวพบครั้งแรกในเดือนมิถุนายนปี 2020 และยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน กลุ่มที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีคือกลุ่มที่รู้จักกันในชื่อ ScamClub ซึ่งเป็นกลุ่มที่ดำเนินธุรกิจโดยการซื้อช่องโฆษณาจำนวนมากบนหลายแพลตฟอร์ม โดยกลุ่ม ScamClub มักกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ iOS ด้วยโฆษณาที่เป็นอันตรายซึ่งมักจะรีไดเร็คผู้ใช้ไปยังเว็บไซต์ที่ที่ไม่เหมาะเพื่อทำการหลอกลวงผู้ใช้ทางออนไลน์และพยายามรวบรวมข้อมูลทางการเงินของผู้ใช้

ช่องโหว่ Zero-day ในโอเพนซอร์ส WebKit ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2021-1801 และถูกค้นพบโดยวิศวกรรักษาความปลอดภัยจาก Confiant และนักวิจัย Eliya Stein ซึ่งพบว่าการโจมตีได้อาศัยช่องโหว่ใน WebKit เพื่อทำการส่งเพย์โหลดยังผู้ใช้และทำการรีไดเร็คผู้ใช้จากพอร์ทัลที่ถูกต้องไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะ

เนื่องจาก WebKit ถูกใช้ใน Safari ของ Apple และ Google Chrome สำหรับ iOS ทาง Stein จึงได้ทำการรายงานช่องโหว่ที่ค้นพบไปยังทีมของ Apple Security และทีมของ Google Chrome WebKit ซึ่ง WebKit ได้รับการแก้ไขช่องโหว่และออกแพตช์ความปลอดภัยแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ Confiant ได้ทำการรวบรวม Indicators of compromise (IoCs) ลงใน GitHub ผู้ที่สนใจ IoCs แคมเปญของกลุ่ม ScamClub สามารถติดตามได้ที่: https://github.

นักวิจัยเปิดเผยรายละเอียดช่องโหว่ของแอปพลิเคชันยอดนิยมบน Android หลังจากผู้พัฒนาไม่ทำการแก้ไขช่องโหว่นานกว่าสามเดือน

Echo Duan นักวิเคราะห์ภัยคุกคามบนโทรศัพท์มือถือจากบริษัท Trend Micro ได้เปิดเผยรายละเอียดของช่องโหว่บนแอปพลิเคชันยอดนิยม SHAREit สำหรับ Android ที่มียอดดาวน์โหลดมากกว่าหนึ่งพันล้าน หลังจากผู้พัฒนาแอปพลิเคชันไม่ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่หลังจากรับรายงานช่องโหว่ไปแล้วนานกว่าสามเดือน

ตามรายงานจาก Duan ระบุว่าช่องโหว่บนแอปพลิเคชัน SHAREit สำหรับ Android ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้แชร์ไฟล์กับเพื่อนหรือระหว่างอุปกรณ์ส่วนตัวได้ โดยช่องโหว่จะเปิดโอกาสให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถใช้เพื่อเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายบนสมาร์ทโฟนที่ติดตั้งแอป SHAREit โดยผู้โจมตีที่ทำการ Person-in-the-middle ในเครือข่ายสามารถส่งคำสั่งที่เป็นอันตรายไปยังแอพ SHAREit และเรียกใช้โค้ดที่กำหนดเองหรือติดตั้งแอปของผู้ประสงค์ร้ายได้

นอกจากนี้แอปยังมีความเสี่ยงต่อการโจมตีแบบ Man-in-the-Disk ที่ผู้โจมตีสามารถลบแก้ไขหรือแทนที่ข้อมูลในตำแหน่งพื้นที่เก็บข้อมูลของโทรศัพท์ที่แชร์ข้อมูลกับแอปอื่นๆ ได้

เนื่องจาก Duan ได้รายงานช่องโหว่ไปยังผู้พัฒนาแอปพลิเคชันให้ทำการแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว แต่หลังจากเวลาผ่านไปสามเดือนผู้พัฒนาแอปพลิเคชันยังไม่ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ Duan จึงตัดสินใจเผยเเพร่รายละเอียดของช่องโหว่สู่สาธารณะ

ทั้งนี้การประกาศบนเว็บไซต์ของบริษัทผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน SHAREit ได้อ้างว่าแอปของพวกเขาถูกใช้โดยผู้ใช้มากกว่า 1.8 พันล้านคนในกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยช่องโหว่นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อแอป SHAREit สำหรับ iOS ซึ่งทำงานบน Codebase อื่น

ที่มา : zdnet

ฟีเจอร์ใหม่ใน iOS 14.5 ทำพร็อกซีเพิ่มความเป็นส่วนตัวเมื่อมีการส่งเช็ค URL กับบริการ Google Safe Browsing

โดยปกติในอุปกรณ์ที่ใช้ iOS นั้น หากผู้ใช้งานมีการตั้งค่า Fraudulent Website Warning ไว้ในแอป Safari เมื่อผู้ใช้งานพยายามจะเข้าเว็บไซต์ใด Safari จะทำการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงแบบไม่สามารถระบุตัวตนได้ไปยังบริการ Safe Browsing ของ Google เพื่อตรวจสอบความเป็นอันตรายของการเข้าถึงดังกล่าว ผู้ใช้งานจะได้รับการแจ้งเตือนเป็นหน้าสีแดงหากผลลัพธ์ออกมาว่าเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานกำลังจะเข้าถึงนั้นเป็นอันตราย

อย่างไรก็ตามแม้ว่าข้อมูลที่ Safari ส่งให้กับ Safe Browsing จะอยู่ในสถานะที่ปราศจากข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่บ่งชี้พฤติกรรมการใช้งานได้ Google ก็ยังคงทราบหมายเลขไอพีแอดเดรสของอุปกรณ์ที่ส่งข้อมูลมาอยู่ดี

หลังจากความตั้งใจของแอปเปิลเกี่ยวกับการพยายามเพิ่มความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานซึ่งแสดงให้เห็นจากหลายฟีเจอร์ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน iOS หนึ่งในฟีเจอร์อีกหนึ่งอย่างที่กำลังจะเพิ่มเข้ามาใน iOS 14.5 นั้นคือการทำพร็อกซีให้กับแอป Safari ก่อนที่จะมีการส่งข้อมูลไปยัง Safe Browsing ซึ่งจะส่งผลให้หมายเลขไอพีแอดเดรสทั้งหมดที่ Safe Browsing จะเห็นนั้นเป็นหมายเลขไอพีเดียวกัน

ฟีเจอร์นี้ได้ถูกอิมพลีเมนต์ลงไปแล้วใน iOS 14.5 beta หลังจากที่ถูกค้นพบโดยผู้ใช้งาน Reddit ซึ่งใช้ชื่อบัญชีว่า jaydenkieran โดย Apple อาจมีจะมีการปล่อย iOS รุ่นใหม่นี้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์/มีนาคมที่จะถึงนี้

ที่มา: zdnet