อัปเดตสถานการณ์ SolarWinds: การแถลงการณ์กับวุฒิสภาและคณะกรรมการข่าวกรอง

ในช่วงระหว่างปลายเดือนกุมพาพันธ์ที่ผ่านมา กรณีการโจมตี SolarWinds มีความเคลื่อนไหวหลายประกาศ ซึ่งทีม Intelligent Response ขอสรุปสถานการณ์ และความเคลื่อนไหวดังกล่าวให้รับทราบดังนี้

1.NASA และ FAA ร่วมวงผู้ได้รับผลกระทบ

องค์การบริการการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ NASA และองค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ออกมายืนยันว่าทางองค์กรได้รับผลกระทบจากการโจมตีซึ่งเกี่ยวข้องกับกรณีการโจมตี SolarWinds ในลักษณะ Supply-chain attack ไม่มีการเปิดเผยผลกระทบและความรุนแรง อย่างไรก็ตามทั้งสององค์กรได้ออกมายืนยันว่าได้มีการดำเนินการตามความเหมาะสมเพื่อจัดการกับสถานการณ์แล้ว

ที่มา: bleepingcomputer

 

2.ไมโครซอฟต์ปล่อยชุดคิวรี่ CodeQL ในการใช้ค้นหา IOC ในระดับโค้ด

ไมโครซอฟต์มีการเผยแพร่คิวรี่สำหรับเฟรมเวิร์ค CodeQL เพื่อใช้ในการหา IOC ที่เกี่ยวข้องกับมัลแวร์ SUNBURST ในระดับโค้ด ตัวอย่างเช่น โค้ดส่วนที่ใช้ในการฝังตัว (implant), โค้ดฟังก์ชันแฮชที่ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรเซส รวมไปถึงส่วนโค้ดที่ใช้ในการติดต่อการ C&C โดยปัจจุบันโค้ดได้ถูก Merge เข้าไปในการ Repository กลางของ CodeQL แล้ว และสามารถเข้าดูได้ที่ github

ที่มา: microsoft

 

3.1อัปเดตข้อมูลจากการให้ข้อมูลกับคณะกรรมการข่าวกรอง โดย Microsoft, FireEye, CrowdStrike และ SolarWinds

ฝั่งไมโครซอฟต์มีการร้องขอให้ทางภาครัฐฯ สนับสนุนหรือบังคับให้ภาคเอกชนจำเป็นต้องมีการแบ่งปันข้อมูลที่ดีกว่านี้เมื่อมีการโจมตีเกิดขึ้น
FireEye ระบุความเกี่ยวข้องกับการโจมตีว่า วิธีการโจมตีที่ตรวจพบนั้นมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมในปฏิบัติการทางไซเบอร์รัสเซียมากที่สุด ทางทำเนียบขาวตอบรับในข้อเท็จจริงและกำลังหาวิธีการที่เหมาะสมในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากรัสเซีย
CrowdStrike เน้นไปที่ปัญหาในระบบของ Windows และวิธีการที่ล้าหลังในการพิสูจน์ตัวตนรวมไปถึงโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพให้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเช่นเดียวกัน
ที่มา: theregister

 

3.2อัปเดตข้อมูลจากการให้ข้อมูลกับวุฒิสภา โดย Microsoft, FireEye, CrowdStrike และ SolarWinds

SolarWinds ให้ข้อมูลรหัสผ่าน solarwinds123 ที่เกี่ยวข้องกับระบบ File server ของ SolarWinds นั้นเกิดจากเด็กฝึกงานเป็นผู้กำหนดขึ้นมา ทั้งนี้ปัญหาก็ได้รับการจัดการทันทีที่รับทราบ
ไมโครซอฟต์ระบุว่าไม่พบหลักฐานว่ากระทรวงกลาโหมถูกโจมตี
FireEye ระบุว่าผลกระทบที่แท้จริงจากการโจมตีนั้นยังคงถูกประเมินได้ยาก และในขณะเดียวกันการระบุข้อมูลใดที่ถูกขโมยออกไปบ้างก็เป็นไปได้ยากที่จะระบุได้เช่นเดียวกัน
ที่มา: cnn

อัปเดตสถานการณ์ SolarWinds: ทำความรู้จักมัลแวร์ SUNSPOT ฝังตัวแอบแก้ซอร์สโค้ด, ความเชื่อมโยงกับรัสเซียและการประกาศขายข้อมูล

ทีม Intelligent Response ข้อสรุปสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ SolarWinds ที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 11-13 มกราคม 2021 ตามรายละเอียดดังนี้

CrowdStrike เผยแพร่รายงานการตรวจสอบการบุกรุกระบบของ SolarWinds เพื่อฝังโค้ดของมัลแวร์ SUNBURST ลงไปในแพลตฟอร์ม SolarWinds Orion ผลการตรวจสอบพบการบุกรุกและการมีอยู่ของมัลแวร์ชื่อ SUNSPOT ซึ่งรับหน้าที่ในการฝังมัลแวร์ SUNBURST อ่านข้อมูลในส่วนนี้เพิ่มเติมได้ที่เหตุการณ์การโจมตี SolarWinds
Kaspersky มีการเปิดเผยรายงานการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของโค้ดของมัลแวร์ SUNBURST กับมัลแวร์ Kazuar ซึ่งถูกใช้โดยกลุ่มแฮกเกอร์ Turla แม้จะมีส่วนของโค้ดที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน การตัดสินความเชื่อมโยงจากผู้เกี่ยวข้องกับ SUNBURST เข้ากับกลุ่มแฮกเกอร์ Turla ซึ่งเป็นผู้พัฒนามัลแวร์ Kazuar ก็ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด อ่านข้อมูลในส่วนนี้เพิ่มเติมได้ที่รายละเอียด Threat actor
เว็บไซต์ solarleaks[.]net ประกาศขายข้อมูลของ Microsoft, Cisco, FireEye และ SolarWinds ซึ่งทั้งหมดเป็นเหยื่อของการโจมตี Supply-chain attack จาก SolarWinds อย่างไรอ้างอิงจากการตรวจสอบโดย Joseph Cox ซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวได้ Cybersecurity ของ Motherboard ระบุว่าเว็บไซต์ดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือต่ำ อีกทั้งยังไม่มีหลักฐานว่าได้มีการครอบครองข้อมูลจริง
ที่มา: crowdstrike | securelist | bleepingcomputer | twitter.

CrowdStrike releases free Azure security tool after failed hack

CrowdStrike ออกเครื่องมือช่วยตรวจสอบ Microsoft Azure ฟรีหลังจากที่ถูกพยายามทำการบุกรุกระบบอีเมล

วันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา CrowdStrike ได้รับแจ้งจาก Microsoft ถึงการพยายามอ่านอีเมลของบริษัทผ่าน Credential ของ Microsoft Azure ที่ถูกบุกรุก

สืบเนื่องมาจากเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีการค้นพบว่าซอฟต์แวร์ SolarWinds Orion ประสบปัญหาการถูกโจมตีทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ประสงค์ร้ายได้ปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์เพื่อติดตั้งแบ็คดอร์บนเครือข่ายของลูกค้าจึงเป็นผลทำให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการโจมตี Supply-chain attack ผ่านซอฟต์แวร์ SolarWinds Orion

ตามรายงานการแจ้งเตือนระบุว่า Microsoft ได้สังเกตเห็นว่ามีการเรียกใช้ Microsoft cloud APIs ผิดปกติในช่วงเวลา 17 ชั่วโมงเมื่อหลายเดือนก่อนและมีความพยายามในการอ่านอีเมล Office 365 เพื่อเข้าถึงอีเมลของ CrowdStrike เนื่องจาก CrowdStrike ไม่ใช้ Office 365 การโจมตีดังกล่าวจึงล้มเหลว โดย Microsoft ได้เปิดเผยว่าข้อมูล Credential และโทเค็นการเข้าถึง Microsoft Azure สำหรับบัญชีผู้ค้าถูกขโมยไป Microsoft จึงได้ตั้งข้อสันนิษฐานผู้ประสงค์ร้ายได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ในการกำหนดเป้าหมายลูกค้า Microsoft Azure ของ Microsoft

หลังจากได้รับการแจ้งเตือน CrowdStrike ได้ทำการวิเคราะห์ Environment ต่างๆ ของ Microsoft Azure และพบว่าไม่มีการบุกรุก อย่างไรก็ตามในระหว่างการวิเคราะห์นี้ CrowdStrike จัดทำเครื่องมือที่ชื่อว่า CrowdStrike Reporting Tool สำหรับ Azure (CRT) เพื่อที่จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบ Microsoft Azure สามารถทำการตรวจสอบและทำการวิเคราะห์ Environment ต่างๆ ของ Microsoft Azure ของท่านได้ โดยผู้ดูแลระบบที่สนใจเครื่องมือดังกล่าวสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่: https://github.

Iran-linked APT group Pioneer Kitten sells access to hacked networks

กลุ่ม APT อิหร่าน "Pioneer Kitten" เร่ขายข้อมูลการเเฮกเครือข่ายให้กับแฮกเกอร์รายอื่นใน Dark Web

Crowdstrike ได้ออกรายงานถึงกลุ่ม APT อิหร่านที่ชื่อว่า Pioneer Kitten หรือที่รู้จักกันในชื่อ Fox Kitten และ Parisite ได้กำลังพยายามขายข้อมูลการเข้าถึงเครือข่ายขององค์กรต่างๆ ที่ทางกลุ่มได้ทำการบุกรุกแล้วให้กับแฮกเกอร์รายอื่นใน Dark Web

ตามรายงานที่เผยแพร่โดย Crowdstrike ระบุว่ากลุ่มแฮกเกอร์ชาวอิหร่านได้ทำการโจมตี VPN ขององค์กรต่างๆ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยทำการกำหนดเป้าหมายการโจมตีและหาประโยชน์จากช่องโหว่ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ VPN เช่น CVE-2018-13379 Fortinet VPN servers, CVE-2019-1579 (Palo Alto Network), CVE-2019-11510 (Pulse Secure), CVE-2019-19781 (Citrix) และ CVE-2020-5902 (F5 Networks) เมื่อสามารถบุกรุกเครือข่ายที่เป็นเป้าหมายได้แล้วกลุ่มแฮกเกอร์จะใช้ประโยชน์จาก SSH tunneling ผ่านเครื่องมือโอเพ่นซอร์สเช่น Ngrok และ SSHMinion เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อกับมัลแวร์ที่ติดตั้งในเครือข่ายเป้าหมาย

Crowdstrike ที่ได้ติดตามกิจกรรมของกลุ่ม Pioneer Kitten พบว่าในขณะนี้กลุ่มเเฮกเกอร์ได้เริ่มทำการโฆษณาที่ทำการขายข้อมูลใน Dark Web

ทั้งนี้ผู้ดูแลระบบควรทำการตรวจสอบอัปเดตเเพตซ์ของซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ VPN ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายทำการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตีระบบ

ที่มา : securityaffairs

พัฒนา Threat Hunting Use Case กับ CrowdStrike Events App

นอกเหนือจากความพร้อมของข้อมูลที่จะถูกใช้เพื่อระบุหาการมีอยู่ของภัยคุกคาม ปัจจัยที่มีความสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งจะการันตีความสำเร็จของการระบุหาภัยคุกคามในรูปแบบของ Threat hunting นั้น คือการคิดค้นและพัฒนาสมมติฐานหรือไอเดียที่จะใช้ในการระบุการมีอยู่ของภัยคุกคามดังกล่าวในเชิงรุก (proactive) รวมไปถึงการประเมินและปรับปรุงให้สมมติฐานหรือ Hunting use case นั้นสามารถใช้งานได้จริงและเกิดประสิทธิภาพ

ในบทความนี้ทีมตอบสนองภัยคุกคาม (Intelligent Response) จาก บริษัท ไอ-ซีเคียว จำกัด จะมาสาธิตการพัฒนา Hunting use case บนเทคโนโลยีซึ่งเรามีความถนัด 2 เทคโนโลยี ได้แก่ CrowdStrike Falcon ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นส่วน Endpoint detection and response (EDR) ในการเก็บข้อมูลจากระบบต่างๆ มาระบุหาการมีอยู่ของภัยคุกคามโดยใช้ Splunk Search Processing Language (SPL) กับฟีเจอร์ CrowdStrike Events App ซึ่งใช้ Splunk เป็นเทคโนโลยีหลังบ้านหลักครับ

สำหรับสถานการณ์จำลองที่ทีมตอบสนองภัยคุกคามจะสาธิตการทำ Threat hunting นั้น เราจะทำการพัฒนา SPL โดยนำแนวคิดมาจาก Hunting use case ซึ่งถูกเผยแพร่โดย Red Canary ในงาน BlackHat USA 2019 ภายใต้หัวข้อ Fantastic Red Team Attacks and How to Find Them
Fantastic Red Team Attacks and How to Find Them - A Summary
ก่อนที่เราจะไปดูกันที่ใจความสำคัญของบล็อกนี้ เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจเนื้อหาและเป้าหมายของหัวข้อการบรรยายจากทาง Red Canary ก่อน สำหรับการบรรยายในหัวข้อ Fantastic Red Team Attacks and How to Find Them นั้น Casey Smith ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Director of applied research ของ Red Canary ได้มีการเปิดเผยเทคนิคการโจมตีใหม่ซึ่งใช้ไบนารี dbgsrv.