Cisco Patches High Risk Flaws in StarOS, IP Phone

Cisco ออกอัปเดตแก้ไขช่องโหว่รุนแรงระดับสูงใน StarOS และ IP Phone

Cisco ออกอัปเดตแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับสูงซึ่งส่งผลให้เกิดการโจมตีในลักษณะ Denial of Service (DoS) ใน StarOS และช่องโหว่ความรุนแรงระดับสูงที่เกิดจากช่องโหว่ Command Injection ใน Web UI ของอุปกรณ์ IP Phone ตระกูล 6800, 7800 และ 8800

ช่องโหว่ DoS ใน StarOS ซึ่งได้รับรหัส CVE-2018-0369 เป็นช่องโหว่ซึ่งเมื่อระบบได้รับแพ็คเกต IPv4 ซึ่งมุ่งโจมตีช่องโหว่เข้ามา โปรเซส npusim จะทำการรีโหลดตัวเองจนทำการให้เกิดกรณีของ DoS ได้

ช่องโหว่ดังกล่าวกระทบ Cisco Virtualized Packet Core-Single Instance (VPC-SI) Cisco Virtualized Packet Core-Distributed Instance (VPC-DI) และ Cisco Ultra Packet Core (UPC) ที่ใช้ StarOS

ช่องโหว่อีกหนึ่งรายการที่ได้รับการแก้ไขคือช่องโหว่รหัส CVE-2018-0341 ที่กระทบส่วน web-based UI ของ Cisco IP Phone ตระกูล 6800, 7800 และ 8800 เนื่องจากมีการทำ input validation ที่ไม่ครอบคลุม ทำให้ผู้โจมตีสามารถใส่คำสั่งเพื่อทำ command injection ได้

Recommendation ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการอัปเดตแพตช์เพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีจากช่องโหว่นี้ได้โดยทันที

แหล่งที่มา: securityweek

Cisco plugs critical flaws in many switches, security appliances

Cisco ประกาศแพตช์ช่องโหว่ด้านความปลอดภัยซึ่งปิดช่องโหว่กว่า 34 รายการสำหรับแพตช์ประจำเดือนมิถุนายน 2561 โดยมี 7 รายการเป็นช่องโหว่ระดับวิกฤติใน NX-OS และ FXOS ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถรันคำสั่งที่เป็นอันตรายเพื่อโจมตีอุปกรณ์ได้จากระยะไกล

สำหรับช่องโหว่ระดับวิกฤติ 4 จาก 7 ช่องโหว่ที่ส่งผลกระทบ NX-OS และ FXOS ล้วนแล้วแต่มีที่มีจาก Cisco Fabric Services และมีคะแนน CVSSv3 สูงถึง 9.8/10 คะแนน ที่มาของช่องโหว่ทั้ง 4 รายการนี้เกิดการที่ Cisco Fabric Services นั้นไม่มีการตรวจสอบแพ็คเกตที่ถูกส่งมาอย่างเหมาะสมพอ ทำให้ผู้โจมตีสามารถสร้างแพ็คเกตพิเศษและส่งตรงมาถึงอุปกรณ์ที่มีช่องโหว่เพื่อรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้โดยตรง หรือทำให้อุปกรณ์ไม่สามารถให้บริการได้

Recommendation แนะนำให้ผู้ดูแลระบบตรวจสอบรายการช่องโหว่ทั้งหมดที่มีการเปิดเผยในเดือนนี้อีกครั้งจากลิงค์ด้านล่าง รวมไปถึงทำการแพตช์เพื่อป้องกันการโจมตีช่องโหว่เหล่านี้
https://tools.

Cisco Removes Backdoor Account, Fourth in the Last Four Months

Cisco ประกาศแก้ไขช่องโหว่ที่เกี่ยวข้องกับบัญชีลับหรือ backdoor account เป็นครั้งที่สี่ในเดือนนี้หลังจากมีการตรวจพบถึงการมีอยู่ของรหัสผ่านในซอฟต์แวร์ Cisco Wide Area Application Services ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงการตั้งค่าของอุปกรณ์ได้

ช่องโหว่รหัส CVE-2018-0329 เกิดขึ้นหลังจากที่นักวิจัยด้านความปลอดภัย Aaron Blair จาก RIoT Solutions ไปค้นพบถึงการมีอยู่ของชุดสตริงนี้ซึ่งเป็น SNMP community string ในไฟล์ตั้งค่าของ SNMP daemon ซึ่งเขาเองยังพบอีกช่องโหว่หนึ่งรหัส CVE-2018-0352 โดยเป็นช่องโหว่ยกระดับสิทธิ์ใน Cisco WaaS ด้วย

ที่มา : bleepingcomputer

เผยปฏิบัติการมัลแวร์ VPNFilter โจมตีอุปกรณ์เน็ตเวิร์กกว่า 500,000 เครื่องทั่วโลก

หัวข้อ
เนื่องจากเนื้อหาของบทความซึ่งอาจมีหลายส่วน ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคามได้ทำการแยกประเด็นสำคัญออกเป็นหัวข้อ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระตามรายการด้านล่าง

สรุปย่อ
วิธีการโจมตีอุปกรณ์เครือข่าย
เป้าหมายการโจมตี
อุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบ
การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์
ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม

สรุปย่อ

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัย Talos จากบริษัท Cisco ได้มีการเปิดเผยปฏิบัติการการแพร่กระจายมัลแวร์ซึ่งมุ่งโจมตีอุปกรณ์เครือข่ายตามบ้าน (Small Office/Home Office) โดยใช้มัลแวร์ชนิดใหม่ชื่อ VPNFilter ซึ่งในขณะนี้น่าจะมีอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้วอย่างน้อย 500,000 เครื่องทั่วโลก

มัลแวร์ VPNFilter นั้นเมื่อถูกติดตั้งลงในอุปกรณ์แล้ว มันสามารถที่จะดักจับข้อมูลที่ส่งผ่านอุปกรณ์, ขโมยข้อมูลหรือแม้กระทั่งตัดอินเตอร์เน็ตและทำลายอุปกรณ์ให้ไม่สามารถใช้งานต่อได้ ด้วยความซับซ้อนของมัลแวร์ VPNFilter และความเหมือนกับมัลแวร์อีกชนิดหนึ่ง ทีม Talos จึงลงความเห็นว่าปฏิบัติการการโจมตีที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่เบื้องหลังการโจมตี หรือกลุ่มผู้โจมตีอาจได้รับการสนับสนุนทรัพยากรแหล่งทรัพยากรระดับประเทศ (nation-state)

ในขณะนี้ทีม Talos ได้ประสานงานกับหน่วยงานจากหลายประเทศเพื่อดำเนินการปิดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้ว และแนะนำให้ผู้ใช้งานดำเนินการตามคำแนะนำซึ่งจากปรากฎในหัวข้อ "การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์" โดยด่วนที่สุดเพื่อจัดการภัยคุกคาม
วิธีการโจมตีอุปกรณ์เครือข่าย
อ้างอิงจากรายงานของทีม Cisco Talos กลุ่มผู้โจมตีมีการพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์เครือข่ายตามบ้านซึ่งไม่มีการป้องกันที่ดีพอ รวมไปถึงมีการตั้งค่าที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่ได้มีการเปลี่ยนรหัสที่ถูกตั้งมาเป็นค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์ และขาดการอัปเดต ทำให้มีปัญหาด้านความปลอดภัยที่ง่ายต่อการเป็นเป้าหมายในการโจมตี

ทีม Cisco Talos ระบุว่าในปฏิบัติการที่มีการแพร่กระจายมัลแวร์ VPNFilter ที่ตรวจพบนั้น ยังไม่มีการตรวจพบการใช้งานช่องโหว่ที่ไม่เคยมีการตรวจพบมาก่อนหรือช่อง zero day ในการโจมตีดังกล่าวเลย
เป้าหมายการโจมตี
อ้างอิงจากรายงานของทีม Cisco Talos เมื่อกลุ่มผู้โจมตีประสบความสำเร็จในการโจมตีอุปกรณ์เครือข่ายตามบ้านแล้ว กลุ่มผู้โจมตีจะติดตั้งมัลแวร์ VPNFilter ลงไปในอุปกรณ์ มัลแวร์ VPNFilter ถูกออกแบบมาอย่างซับซ้อนและทำงานได้หลากหลายฟังก์ชันการทำงาน อาทิ

มัลแวร์จะดำเนินการเขียนทับข้อมูลในส่วนโปรแกรมของอุปกรณ์ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์ไม่สามารถใช้การได้
ดักจับข้อมูลที่ถูกรับ-ส่งในเครือข่าย
เข้าถึงและส่งออกข้อมูลหรือไฟล์ที่มีอยู่ในอุปกรณ์
ติดตั้งส่วนเสริมของมัลแวร์เพิ่มเติมซึ่งอาจทำให้มัลแวร์แพร่กระจายได้ในเครือข่าย หรือทำให้มัลแวร์ถูกตรวจจับได้ยากขึ้น

ทั้งนี้จากลักษณะความซับซ้อนและความลึกลับตรวจจับยากของมัลแวร์ ทีม Cisco Talos ลงความเห็นว่าเป้าหมายของปฏิบัติการและมัลแวร์ VPNFilter นั้นคือการติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์จำนวนมากเพื่อรอการควบคุมให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สร้างการโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่ รวมไปถึงถูกติดตั้งเพื่อจารกรรมข้อมูลและเก็บรวบรวมข่าวกรอง
อุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบ
อ้างอิงจากรายงานของทีม Cisco Talos อุปกรณ์เครือข่ายตามบ้านที่ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีที่ตรวจพบมีตามรายการดังต่อไปนี้

อุปกรณ์ยี่ห้อ Linksys รุ่น E1200, E2500 และ WRVS4400N
อุปกรณ์ยี่ห้อ MikroTik รุ่น 1016, 1036 และ 1072
อุปกรณ์ยี่ห้อ NETGEAR รุ่น DGN2200, R6400, R7000, R8000, WNR1000 และ WNR2000
อุปกรณ์ยี่ห้อ TP-Link รุ่น R600VPN
อุปกรณ์ยี่ห้อ QNAP รุ่น TS251 และ TS439 Pro

การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์
ในกรณีที่เครือข่ายมีการจัดเก็บบันทึกการใช้งานเครือข่าย (log) เอาไว้ ให้ดำเนินการตรวจสอบการเรียกหาที่อยู่ซึ่งปรากฎในหัวข้อ "ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม" หากตรวจพบว่ามีการเรียกไปยังที่อยู่ดังกล่าว ให้ดำเนินการจัดการกับมัลแวร์ในอุปกรณ์ตามคำแนะนำด้านล่าง

สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่แน่ใจว่ามีอุปกรณ์ติดมัลแวร์อยู่หรือไม่ เนื่องจากการตรวจสอบการมีอยู่ของมัลแวร์นั้นเป็นไปได้ยาก FBI แผนก Internet Crime Complaint Center ได้มีการเผยแพร่คำแนะนำในการจัดการกับมัลแวร์ดังนี้

ดำเนินการสำรองข้อมูลการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เอาไว้ ซึ่งอาจทำได้โดยการถ่ายรูปข้อมูลการตั้งค่า เพื่อที่จะนำมาใช้ตั้งค่าอุปกรณ์ในภายหลัง
ดำเนินการล้างการตั้งค่าของอุปกรณ์ให้เป็นค่าเริ่มต้นที่มาจากโรงงาน (factory setting) เพื่อลบมัลแวร์ซึ่งอาจฝังตัวอยู่ในระบบ
ดำเนินการอัปเดตรุ่นของอุปกรณ์โดยตรวจสอบตามแหล่งข้อมูลของผู้ผลิตอุปกรณ์
ปิดการใช้งานฟีเจอร์ควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล (remote management)
เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับเข้าถึงอุปกรณ์ให้เป็นรหัสผ่านที่มีความแข็งแกร่งและคาดเดาได้ยาก

หากมีการใช้ Snort ในการตรวจจับการโจมตีภายในเครือข่าย มัลแวร์ VPNFilter สามารถถูกตรวจจับได้ผ่านทาง rule ดังต่อไปนี้ 45563, 45564, 46782 และ 46783
ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม
อุปกรณ์ที่มีการติดมัลแวร์ VPNFilter จะมีการเชื่อมต่อไปยังที่อยู่ตามโดเมนเนมดังต่อไปนี้

photobucket[.]com/user/nikkireed11/library
photobucket[.]com/user/kmila302/library
photobucket[.]com/user/lisabraun87/library
photobucket[.]com/user/eva_green1/library
photobucket[.]com/user/monicabelci4/library
photobucket[.]com/user/katyperry45/library
photobucket[.]com/user/saragray1/library
photobucket[.]com/user/millerfred/library
photobucket[.]com/user/jeniferaniston1/library
photobucket[.]com/user/amandaseyfried1/library
photobucket[.]com/user/suwe8/library
photobucket[.]com/user/bob7301/library
toknowall[.]com

และอาจจะมีการติดต่อไปยังหมายเลขไอพีแอดเดรสดังต่อไปนี้

91.121.109[.]209
217.12.202[.]40
94.242.222[.]68
82.118.242[.]124
46.151.209[.]33
217.79.179[.]14
91.214.203[.]144
95.211.198[.]231
195.154.180[.]60
5.149.250[.]54
91.200.13[.]76
94.185.80[.]82
62.210.180[.]229
zuh3vcyskd4gipkm[.]onion/bin32/update.

Flash! Ah-ahhh! WebEx pwned for all of us!

Cisco ประกาศแพตช์ช่องโหว่ครั้งใหญ่ ปิดช่อง WebEx รันโค้ดได้จากระยะไกล

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Alexandros Zacharis จาก ENISA ได้แจ้งเตือนและประกาศการค้นพบช่องโหว่ระดับวิกฤติในซอฟต์แวร์ Cisco WebEx หลังจากค้นพบช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถอัปโหลดไฟล์แฟลชที่เป็นอันตรายซึ่งจะทำให้เกิดการรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้

แม้ว่าช่องโหว่นี้จะยังไม่มีรายงานถึงการใช้งานในการโจมตีจริง แต่ก็เป็นช่องโหว่ที่ผู้ใช้งานควรทำการแพตช์เป็นอย่างสูงเนื่องจากความรุนแรงของช่องโหว่นี้นั้นสูงถึง 9 เต็ม 10 ะแนนจากมาตรฐาน CVSS ซึ่งวิธีการลดผลกระทบนี้นั้นไม่สามารถดำเนินการด้วยวิธีการอื่นได้นอกจากการแพตช์ โดยเวอร์ชันที่มีการแพตช์แล้วจะอยู่ในรุ่น T32.10

นอกเหนือจากแพตช์ของ WebEx แล้ว Cisco ยังได้มีการประกาศแพตช์ให้กับอีกหลายซอฟต์แวร์ในเครือ เช่น ช่องโหว่ใน Unified Computing System (UCS) แนะนำให้ตรวจสอบกับ Cisco Security Advisory และทำการอัปเดตโดยด่วน

ที่มา:theregister

Cisco Releases Security Updates

เมื่อช่วงปลายเดือนที่ผ่านมา Cisco ได้มีการประกาศแพตช์ด้านความปลอดภัยให้กับซอฟต์แวร์ในตระกูล IOS, IOS XE และ IOS XR กว่า 20 รายการซึ่งโดยส่วนมาเป็นช่องโหว่ที่มีความร้ายแรงในระดับสูงหรือระดับสูงสุด

หนึ่งในช่องโหว่ที่ร้ายแรงสูดสุดนั้นคือช่องโหว่รหัส cisco-sa-20180328-smi2 ซึ่งเป็นช่องโหว่ที่อยู่ใน Software Smart Install ของ IOS และ IOS XE ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้งานโจมตีช่องโหว่ buffer overflow เพื่อรันโค้ดที่เป็นอันตรายได้ Cisco ยังมีการแพตช์ช่องโหว่ cisco-sa-20180328-xesc ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการค้นพบว่ามีการฝังข้อมูลสำหรับเข้าสู่ระบบไว้ในอุปกรณ์ซึ่งสามารถทำให้ผู้ไม่ประสงค์ร้ายสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวซึ่งเหมือนกันในเกือบทุกระบบเพื่อเข้าถึงอุปกรณ์ได้จากระยะไกลได้

Recommendation: แนะนำให้ทำการตรวจสอบกับอุปกรณ์และทำการแพตช์หากพบว่าได้รับผลกระทบจากช่องโหว่โดยด่วน

ที่มา: us-cert.

Cisco patches a perfect 10.0 ‘critical’ flaw in its popular security appliance

Cisco ประกาศแพตช์ด่วนให้แก่ช่องโหว่บน Adaptive Security Appliance (ASA) และ Firepower Threat Defense (FTD) หลังจากตรวจพบช่องโหว่ที่ความร้ายแรง 10.0/10.0 ที่ทำให้ผู้โจมตีที่ไม่ต้องเป็นผู้ใช้งานที่พิสูจน์ตัวตนแล้วสามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายหรือทำการ DoS อุปกรณ์ได้

ช่องโหว่ดังกล่าวซึ่งถูกประกาศเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาได้รับการอัปเดตข้อมูลและความรุนแรงอีกครั้งหลังจาก Cisco ตรวจพบปัจจัยอื่นที่ทำให้ช่องโหว่ดังกล่าวมีความร้ายแรงมากขึ้น ช่องโหว่รหัส CVE-2018-0101 นี้มีที่มาจากการกระบวนการอ่านและแปลงค่า XML ซึ่งส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายหรือบังคับให้เกิดเงื่อนไขเพื่อ DoS ระบบได้ อ้างอิงจากรายงานของ Cisco อุปกรณ์ ASA ที่มีช่องโหว่นั้นจะต้องมีการเปิดใช้งาน SSL หรือ IKEv2 VPN ด้วย

ทาง Cisco แนะนำให้ผู้ใช้งานอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ที่มีช่องโหว่ดังกล่าวทำการอัปเดตหรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://tools.

Cisco Patches Critical WebEx Vulnerabilities

Cisco ออก Patch อุดช่องโหว่ WebEx ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของการติดต่อสื่อสารหรือประชุมออนไลน์ ที่มีช่องโหว่ความรุนแรงระดับ Critical ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถทำ Remote Code Execution ได้
ช่องโหว่ 6 รายการ ส่งผลกระทบต่อ WebEx Network Recording Player สำหรับ Advanced Recording Format (ARF) และไฟล์ WebEx Recording Format (WRF) ทำให้ผู้บุกรุกสามารถโจมตีได้จากระยะไกลเพื่อทำให้เกิด Denial-of-Service (DoS) ในซอฟต์แวร์และอาจจะรันโค้ดที่เป็นอันตรายโดยการหลอกให้เหยื่อเปิดไฟล์ ARF หรือ WRF ที่สร้างขึ้นมาเป็นพิเศษ และผู้บุกรุกยังสามารถส่งไฟล์ที่เป็นอันตรายไปยังเหยื่อได้ทางอีเมลล์หรือสั่งให้เปิดเว็บโฮสติ้งได้อีกด้วย

ช่องโหว่ที่ได้รับการแก้ไข ได้แก่ WebEx Business Suite meeting sites, WebEx Meetings sites, WebEx Meetings Server, และ WebEx ARF และ WRF Players Cisco ให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับเวอร์ชันที่ได้รับผลกระทบและการแก้ไข โดยช่องโหว่ได้รับรหัส CVE ดังต่อไปนี้ : CVE-2017-12367, CVE-2017-12368, CVE-2017-12369, CVE-2017-12370, CVE-2017-12371 และ CVE-2017-12372
ช่องโหว่เหล่านี้ถูกรายงานโดย Andrea Micalizzi (rgod) และ Steven Seeley จาก Offensive Security โดยใช้ Zero Day Initiative ของ Trend Micro (ZDI)

ที่มา: securityweek

Cisco Releases Security Updates

Cisco ได้ปรับปรุงแก้ไขช่องโหว่ใน WebEx Network Recording Player สำหรับรูปแบบการบันทึกไฟล์แบบ Advanced Recording Format(ARF) และ WebEx Recording Format(WRF) ซึ่งช่องโหว่ดังกล่าวทำให้ผู้โจมตีสามารถ Remote เข้ามาควบคุมเครื่องได้

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ ประกอบด้วย
• Cisco WebEx Business Suite (WBS30) client builds รุ่นก่อน T30.20
• Cisco WebEx Business Suite (WBS31) client builds รุ่นก่อน T31.14.1
• Cisco WebEx Business Suite (WBS32) client builds รุ่นก่อน T32.2
• Cisco WebEx Meetings with client builds รุ่นก่อน T31.14
• Cisco WebEx Meeting Server builds รุ่นก่อน 2.7MR

ทั้งนี้แนะนำให้ผู้ใช้งานทำการอัพเดทผลิตภัณฑ์ของตัวเองให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

ที่มา: us-cert

CISCO PATCHES DOS FLAW IN BGP OVER ETHERNET VPN IMPLEMENTATION

การดำเนินการเปลี่ยนแปลง Border Gateway Protocol (BGP) บน Ethernet VPN ทำให้เกิดช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ IOE XE
Cisco ได้เปิดเผยการปรับปรุงซอฟต์แวร์สำหรับ IOS XE เพื่อแก้ไขปัญหาการโจมตีจากระยะไกลได้ โดยไม่ต้องพิสูจน์ตัวตน ทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรือความเสียหายกับ BGP routing table ส่งผลให้เกิดความไม่เสถียรของเครือข่าย ได้รับรหัสเป็น CVE-2017-12319
Cisco กล่าวว่า IOS XE เวอร์ชันก่อนหน้า 16.3 ที่รองรับการใช้งาน BGP บน Ethernet VPN มีความเสี่ยง ผู้บุกรุกสามารถใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้ได้โดยการส่งแพคเก็ต BGP ที่สร้างขึ้นมาให้กับอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้ผู้โจมตีสามารถรีโหลด หรือสร้างความเสียหายต่อ BGP routing table ส่งผลให้เกิดการ DoS ได้

ที่มา : Threatpost