Amazon ประกาศการปรับปรุงด้านความปลอดภัยที่สำคัญสำหรับ Redshift ซึ่งเป็นโซลูชันคลังข้อมูลยอดนิยม เพื่อช่วยป้องกันการเปิดเผยข้อมูลที่เกิดจากการตั้งค่าที่ผิดพลาด และการตั้งค่าเริ่มต้นที่ไม่ปลอดภัย (more…)
Amazon Redshift ปรับการตั้งค่าเริ่มต้นใหม่เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล
Amazon ยืนยันข้อมูลของพนักงานรั่วไหลหลังจากผู้ให้บริการภายนอกถูกโจมตี
Amazon ยืนยันเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลพนักงาน หลังจากข้อมูลถูกขโมยไปในระหว่างการโจมตี MOVEit เมื่อเดือนพฤษภาคม 2023 โดยถูกเผยแพร่ในฟอรัมของผู้โจมตี (more…)
อาชญากรทางไซเบอร์ชาวอินโดนีเซียใช้ประโยชน์จาก AWS เพื่อขุดเหรียญ Cryptocurrency
อาชญากรทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจด้านการเงินจากอินโดนีเซียใช้บริการ Elastic Compute Cloud (EC2) บน Amazon Web Services (AWS) เพื่อดำเนินการขุดเหรียญ Cryptocurrency
บริษัทด้านความปลอดภัยในระบบคลาวด์ "Permiso P0 Labs" ตรวจพบกลุ่มดังกล่าวเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2021 ที่ผ่านมา และได้ตั้งชื่อกลุ่มดังกล่าวว่า 'GUI-vil'
บริษัทระบุในรายงานว่า ในเบื้องต้นกลุ่มดังกล่าวจะใช้เครื่องมือ Graphical User Interface (GUI) โดยเฉพาะ S3 Browser (เวอร์ชัน 9.5.5) ในการปฏิบัติการโดยตรงผ่านทางเบราว์เซอร์
การโจมตีของ GUI-vil เริ่มต้นโดยการนำ AWS keys ที่รั่วไหลจาก GitHub Repository หรือจากการสแกนหา GitLab instances ที่มีช่องโหว่ remote code execution เช่น ช่องโหว่ CVE-2021-22205 มาใช้เพื่อเข้าถึงระบบของเหยื่อ หลังจากที่เข้าถึงได้สำเร็จ ผู้โจมตีจะทำการเพิ่มสิทธิ์ และตรวจสอบข้อมูลของ S3 buckets ทั้งหมดที่มีอยู่ และใช้บริการที่สามารถเข้าถึงได้ผ่าน AWS web console
วิธีการที่น่าสนใจในการดำเนินการของกลุ่มดังกล่าว คือการพยายามที่จะแฝงตัวอยู่บนระบบโดยการแอบสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่ ที่ดูสอดคล้องกับชื่อของระบบ
โดยนักวิจัยจาก P0 Labs ระบุว่า "GUI-vil จะสร้าง access keys สำหรับบัญชีใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อให้สามารถใช้งาน S3 Browser กับบัญชีที่สร้างขึ้นต่อไปได้"
อีกหนึ่งวิธีที่กลุ่มนี้ใช้ คือ การสร้างโปรไฟล์เข้าสู่ระบบสำหรับชื่อผู้ใช้ที่มีอยู่ แต่ยังไม่มีโปรไฟล์ เพื่อเปิดใช้งาน AWS console โดยไม่ทำให้เกิดการแจ้งเตือนในระบบ
การเชื่อมโยงระหว่าง GUI-vil และประเทศอินโดนีเซียมาจากที่อยู่ IP ต้นทาง ที่เกี่ยวข้องกับ Autonomous System Numbers (ASNs) สองหมายเลขที่ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป้าหมายหลักของกลุ่มดังกล่าว คือการสร้าง EC2 instances เพื่อขุดเหรียญ Cryptocurrency โดยผลกำไรที่กลุ่มนี้ได้จากการขุดเหรียญ Cryptocurrency เป็นเพียงจำนวนเงินที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่องค์กรของเหยื่อต้องจ่ายสำหรับการเรียกใช้ EC2 instances ดังกล่าว
ที่มา : thehackernews
แฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือใช้ PuTTY ปลอมเพื่อแอบติดตั้งแบ็คดอร์บนเครื่องเป้าหมาย
ผู้เชี่ยวชาญจาก Mandiant ตรวจพบกลุ่มแฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือใช้งาน PuTTY SSH ในการติดตั้งแบ็คเดอร์ที่มีชื่อว่า AIRDRY.V2 บนเครื่องเป้าหมาย ผ่านการส่งอีเมลสมัครงานที่แอบอ้างว่ามาจาก Amazon
เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดจากกลุ่มที่มีชื่อว่า "UNC4034" (หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "Temp.
ผู้เชี่ยวชาญเตือนให้ระวังเมลฟิชชิ่งในช่วงมหกรรมช้อปปิ้งประจำปีของอเมซอน – Amazon Prime Day
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยได้เตือนนักช้อปออนไลน์ให้ระวังอีเมลฟิชชิ่งในช่วง Amazon Prime Day เป็นพิเศษ
เนื่องจาก Amazon Prime Day นั้นเป็นกิจกรรมลดราคาของทางร้านขายของออนไลน์ amazon.
สแกมเมอร์ใช้เทคนิค ‘Vishing’ ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของนักช้อปออนไลน์
นักต้มตุ๋น หรือสแกมเมอร์ ใช้วิธีการที่เรียกว่า "Vishing" (เป็นคำที่ถูกสร้างขึ้นจากรูปแบบหนึ่งของ Technique Phishing ผ่านทางการใช้ Voice) เพื่อหลอกลวงนักช้อปออนไลน์ โดยกลุ่มสแกมเมอร์จะแอบอ้างเป็นบุคคลจาก Amazon ด้วยวิธีการโทร หรือการส่งอีเมลพร้อมข้อมูลเบอร์โทรศัพท์และขอให้ผู้รับติดต่อกลับมา
เมื่อเร็ว ๆ นี้ Armorblox บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้พบแคมเปญอีเมลสองแคมเปญ ซึ่งอีเมลทั้งสองฉบับแอบอ้างเป็น Amazon โดยมีตราสินค้าและรูปแบบอีเมลคล้ายกับอีเมลยืนยันคำสั่งซื้อจริงจาก Amazon
แต่พบข้อสังเกตหลายอย่างที่ทำให้เรารู้ได้ว่าเป็นอีเมลหลอกลวง ได้แก่ อีเมลถูกส่งจากอีเมลของ Gmail หรืออีเมลที่ดูเหมือนว่าจะเป็นของ Amazon (no-reply @ amzeinfo [.] com) และไม่ได้มีการระบุชื่อของผู้รับลงไปในอีเมล
นักวิจัยของ Armorblox ตั้งข้อสังเกตว่าสแกมเมอร์ไม่ได้ใช้การโจมตีรูปแบบเก่า เช่น การส่งไฟล์แนบหรือลิงก์ที่เป็นอันตรายซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจจับของระบบได้ แต่เลือกใช้วิธีการอื่น เช่น ใช้ชื่อแบรนด์ปลอม (AMAZ0N - ใส่ศูนย์แทน “O”)
ป้องกันอย่างไร?
ไม่ควรเปิดไฟล์แนบและลิงก์จากอีเมลที่ไม่รู้จัก และไม่ควรโทรหาหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้มาซึ่งอาจทำให้ถูกหลอกได้
หากมีความกังวล ว่าอาจถูกเรียกเก็บเงินสำหรับคำสั่งซื้อที่คุณไม่ได้ดำเนินการ ให้เข้าไปที่เว็บไซต์ของร้านค้าและค้นหาหมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกต้อง
ไม่ควรเปิดเผยรายละเอียดส่วนบุคคลทางโทรศัพท์
เปิดการใช้งาน Multi-Factor Authentication (MFA) ในทุกบัญชีและทุกเว็บไซต์ ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี และใช้โปรแกรมจัดการรหัสผ่านเพื่อจัดเก็บรหัสผ่าน
ที่มา : ehackingnews
ชุดช่องโหว่ KindleDrip รันโค้ดอันตรายบนอุปกรณ์ Kindle ด้วยสิทธิ์สูงจากระยะไกล
Yogev Bar-on นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Realmode Labs ได้เปิดเผยชุดของช่องโหว่ใน Kindle ทั้งหมด 3 รายการภายใต้ชื่อ KindleDrip โดยผลลัพธ์จากการใช้งานทั้ง 3 ช่องโหว่ร่วมกันนั้นทำให้ผู้ที่โจมตีช่องโหว่สามารถรันโค้ดที่เป็นอันตรายกับอุปกรณ์ Kindle ได้จากระยะไกลด้วยสิทธิ์ root ของอุปกรณ์ เพียงแค่ทราบอีเมลที่ถูกกำหนดให้กับอุปกรณ์
หากใครใช้อุปกรณ์ Kindle จะทราบเป็นอย่างดีว่า อุปกรณ์ Kindle นั้นมีฟีเจอร์ที่เรียกว่า Send to Kindle ซึ่งสามารถทำให้อุปกรณ์ที่ผูกอีเมลเอาไว้สามารถรับไฟล์อีบุ๊คส์ได้ผ่านทางไฟล์แนบที่ส่งมาทางอีเมล ผู้ต้องการส่งอีบุ๊คส์มีเงื่อนไขเพียงแค่ต้องทราบอีเมลของผู้รับ ฟีเจอร์นี้คือจุดเริ่มต้นของชุดช่องโหว่ที่เรียกว่า KindleDrip
KindleDrip ประกอบไปด้วยช่องโหว่จำนวน 3 รายการ โดยช่องโหว่แรกทำให้ผู้โจมตีสามารถส่งไฟล์อีบุ๊คส์ไปยังเป้าหมายที่ต้องการได้ ช่องโหว่ที่สองส่งผลให้เกิดการรันโค้ดที่แนบมากับอีบุ๊คส์ซึ่งนำไปสู่การรันโค้ดที่เป็นอันตรายและช่องโหว่ที่สามคือช่องโหว่ยกระดับสิทธิ์ในอุปกรณ์ที่ทำให้โค้ดที่เป็นอันตรายนั้นสามารถรันได้ด้วยสิทธิ์ที่สูงในระบบ
KindleDrip ทำให้ Yogev ได้รับรางวัลจากการค้นพบช่องโหว่เป็นเงินจำนวน 18,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณกว่า 500,000 บาท ในรุ่นล่าสุดของซอฟต์แวร์ Kindle ทาง Amazon ได้มีการอัปเดตแพตช์สำหรับช่องโหว่ทั้ง 3 รายการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและรับอัปเดตใหม่ได้จากตัวอุปกรณ์
อ่านรายละเอียดของช่องโหว่ฉบับเต็มได้ที่: medium.
บัญชี Facebook 267 ล้านรายการถูกแฮกเกอร์นำมาวางขายในแฮกเกอร์ฟอรัม
บริษัท Cyble ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้กล่าวว่าในเดือนธันวาคม 2019 เว็บไซต์ Hackread.com รายงานว่าเซิร์ฟเวอร์ Elasticsearch ได้ทำการกำหนดการค่าผิดทำให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ 267 ล้านคน ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาและมีโปรไฟล์ Facebook, ชื่อเต็ม, ไอดีของผู้ใช้บัญชีและ timestamp ของบัญชี
บริษัท Cyble ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้พบบัญชีผู้ใช้ Facebook ถูกนำมาวางขายถึง 267 ล้านบัญชี มีราคาขายประมาณ $600 บนแฮกเกอร์ฟอรัม ข้อมูลที่ถูกขายนั้นประกอบไปด้วย ลิงก์ที่เข้าถึงโปรไฟล์ Facebook, ชื่อ, ที่อยู่, อีเมล, หมายเลขโทรศัพท์, อายุ, วันเดือนปีเกิด, สถานะ, เพศ, และเมืองที่อาศัย
ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเป็นข้อมูลที่ถูกขายนั้นเป็นข้อมูลชุดเดียวกันกับการรั่วไหลข้อมูลของ Elasticsearch ผู้เชี่ยวชาญได้ทำการซื้อและวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกขาย ข่าวดีคือไม่มีรหัสผ่านของผู้ใช้ แต่ข้อมูลที่ถูกขายนั้นเพียงพอที่จะสามารถดำเนินการทำฟิชชิงบัญชีของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ
ผู้เชี่ยวชาญยังกล่าวอีกว่าในเดือนมีนาคม 2019 บริษัท Facebook ได้เปิดเผยต่อสื่อว่าบริษัทได้ทำการเก็บรหัสผ่านผู้ใช้ 600 ล้านข้อความเป็น Plain Text และมีรหัสผ่านของพนักงานมากกว่า 20,000 คน และเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2019 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook กว่า 540 ล้านคนถูกเปิดเผยต่อสาธารณเนื่องจากไม่มีการป้องกันข้อมูลที่ฝากข้อมูลจาก Amazon Web Services (AWS) S3
ข้อเเนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
ผู้ใช้ Facebook ควรทำการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโปรไฟล์ Facebook และระมัดระวังอีเมลหรือข้อความที่ส่งลิงค์มาเชิญชวนให้เปลี่ยนรหัสผ่านรวมถึงการให้ตั้งค่า
ที่มา: www.
Fake Amazon Order Confirmations Push Banking Trojans on Holiday Shoppers
EdgeWave บริษัทรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับอีเมล ค้นพบแคมเปญ Phishing และ Malspam โดยผู้โจมตีจะส่งอีเมลที่ปลอมเป็นหน้ายืนยันการสั่งซื้อของ Amazon ที่ดูน่าเชื่อถือ และมีหัวข้อ (Subject) ของอีเมลว่า "Your Amazon.
Amazon’s technical error leaks customers names and email addresses
Amazon ได้ส่งอีเมลไปยังลูกค้าบางส่วนเพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับ "ข้อผิดพลาดทางเทคนิค" ที่เปิดเผยอีเมล ID และชื่อผู้ใช้บนเว็บไซต์สาธารณะของ Amazon
Amazon ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ เพียงแค่กล่าวในแถลงการณ์ว่า "เราได้แก้ไขปัญหาและแจ้งลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบแล้ว" และได้ทำการแจ้งไปยังลูกค้าที่ได้รับผลกระทบว่าไม่ต้องตกใจ และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน แม้ว่าผู้โจมตีอาจชื่อ และอีเมลของผู้ใช้งานเพื่อทำการรีเซ็ตบัญชีหรือใช้เพื่อทำการฟิชชิ่งต่อไปก็ตาม
Amazon ได้ไล่ออกพนักงานที่อยู่เบื้องหลังข้อผิดพลาดนี้ พร้อมทั้งแจ้งไปยังผู้ได้รับผลกระทบด้วยเนื้อหาว่า "เรากำลังแจ้งให้คุณทราบว่าที่อีเมลของคุณได้รับการเปิดเผยโดยพนักงานของ Amazon ให้กับ third-party seller อื่นๆ ในเว็บไซต์ของเราซึ่งเป็นการละเมิดนโยบายของเราดังนั้นพนักงานได้รับการฟ้องร้องทางกฎหมาย และคุณไม่จำเป็นต้องดำเนินการใด ๆ "
ที่มา : ehackingnews
- 1
- 2