พบช่องโหว่บน PuTTY SSH client ที่ทำให้สามารถกู้คืน Private Key ที่เข้ารหัสได้

พบช่องโหว่ใน PuTTY เวอร์ชัน 0.68 ถึง 0.80 ที่อาจทำให้ Hacker ที่มีสิทธิ์เข้าถึง cryptographic signatures 60 รายการสามารถกู้คืน private key ที่ใช้ในการสร้างได้

PuTTY เป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์ส terminal emulator, serial console และ network file transfer แอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยม ซึ่งรองรับ SSH (Secure Shell), Telnet, SCP (Secure Copy Protocol) และ SFTP (SSH File Transfer Protocol) โดยที่ผู้ดูแลระบบ และนักพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ซอฟต์แวร์ PuTTY เพื่อเข้าถึง และจัดการเซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ผ่าน SSH จาก Windows-based client (more…)

แฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือใช้ PuTTY ปลอมเพื่อแอบติดตั้งแบ็คดอร์บนเครื่องเป้าหมาย

ผู้เชี่ยวชาญจาก Mandiant ตรวจพบกลุ่มแฮ็กเกอร์ชาวเกาหลีเหนือใช้งาน PuTTY SSH ในการติดตั้งแบ็คเดอร์ที่มีชื่อว่า AIRDRY.V2 บนเครื่องเป้าหมาย ผ่านการส่งอีเมลสมัครงานที่แอบอ้างว่ามาจาก Amazon

เหตุการณ์ในครั้งนี้เกิดจากกลุ่มที่มีชื่อว่า "UNC4034" (หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "Temp.

SCP implementations impacted by 36-years-old security flaws

โปรแกรมที่มีการอิมพลีเมนต์ฟีเจอร์ SCP (Secure Copy Protocol) ทั้งหมดจาก 36 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 1983 มีความเสี่ยงต่อข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย 4 ประเด็น ที่อนุญาตให้เซิร์ฟเวอร์ SCP ที่เป็นอันตรายทำการเปลี่ยนแปลงระบบของผู้ใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาตและซ่อนการทำงานที่เป็นอันตรายในเครื่อง

Harry Sintonen นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท F-Secure บริษัทที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์จากประเทศฟินแลนด์ได้ค้นพบช่องโหว่ตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่ผ่านมา

SCP ทำงานบนโปรโตคอล SSH ที่สนับสนุนกลไกการตรวจสอบสิทธิ์ หรือการพิสูจน์ตัวตนเพื่อความถูกต้องและรักษาความลับสำหรับไฟล์ที่ถูกถ่ายโอนเช่นเดียวกับ นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2526 SCP ได้ถูกใช้เป็นแอฟพลิเคชั่นภายใต้ชื่อเดียวกัน แต่อยู่ภายในปพลิเคชันอื่นๆ ตัวอย่างเช่น SCP เป็นวิธีการถ่ายโอนไฟล์มาตรฐานสำหรับ OpenSSH, Putty และ WinSCP เป็นต้น

Sintonen เปิดเผยว่ามีข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่สำคัญ 4 ตัวที่มีผลต่อการใช้งาน SCP ดังนี้
1. CVE-2018-20685 - แอปไคลเอ็นต์ของ SCP อนุญาตให้เซิร์ฟเวอร์ SCP ระยะไกลสามารถแก้ไขสิทธิ์ของไดเรกทอรีเป้าหมายได้
2. CVE-2019-6111 - เซิร์ฟเวอร์ SCP ที่เป็นอันตรายสามารถเขียนทับไฟล์โดยพลการได้ในไดเรกทอรีของเป้าหมายบนไคลเอ็นต์ SCP หากดำเนินการแบบเรียกซ้ำ (-r) เซิร์ฟเวอร์สามารถจัดการไดเรกทอรีย่อยได้เช่นกัน (เช่นเขียนทับ. ssh / authorized_keys)
3. CVE-2019-6109 - เอาต์พุตเทอร์มินัลไคลเอ็นต์สามารถจัดการผ่านรหัส ANSI เพื่อซ่อนการทำงานที่ตามมา
4. CVE-2019-6110 – คล้ายกับด้านบน

การโจมตีต่างๆที่อาจพยายามโจมตีผ่านช่องโหว่เหล่านี้นั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่ประสงค์ร้ายที่จะทำการยึดครองเซิร์ฟเวอร์ SCP หรือทำตัวเป็น Man-in-the-Middle

Recommendation แนะนำให้ผู้ใช้งานอัปเดตโปรแกรม OpenSSH, Putty และ WinSCP ให้เป็นเวอร์ชันใหม่โดยด่วน

ที่มา : zdnet

PuTTY 0.69 พร้อมแก้ปัญหา DLL Hijacking

โปรแกรม PuTTY ได้ถูกปล่อยเวอร์ชันใหม่ในเวอร์ชัน 0.69 เมื่อช่วงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยในรุ่นล่าสุดนั้น PuTTY ได้ถูกแก้ไขช่องโหว่ DLL Hijacking บนแพลตฟอร์มของวินโดวส์ ที่ผู้โจมตีสามารถสร้างไฟล์ DLL ด้วยชื่อเฉพาะที่เป็นอันตรายและให้มีการโหลดขึ้นมาทำงานทันทีที่ PuTTY เริ่มการทำงานได้

นอกเหนือจากนั้นยังมีการแก้ปัญหาการรองรับการทำงานบน Kerberos ที่พบในเวอร์ชันก่อนหน้าพร้อมทั้งปัญหาทั่วไปอื่นๆ ด้วย
สำหรับผู้ที่ต้องการอัพเดตเป็นเวอร์ชันใหม่ แนะนำให้ทำการดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้และตรวจสอบความสมบูรณ์ของไฟล์ด้วยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีหรือถูกขโมยจากโปรแกรมที่ถูกดัดแปลง

ที่มา : chiark

Trojanized PuTTY Software

ซิสโก้แจ้งเตือนมัลแวร์ “MalPutty” ที่ปลอมตัวเป็น PuTTY ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อ Secure Shell จากวินโดวส์ที่ได้รับความนิยมสูง โดยแฮกเกอร์เข้ายึดเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ แล้ววางไฟล์เว็บที่เหมือนหน้าเว็บของ PuTTY จริง แต่ตัว putty.