พบการปล่อยโค้ดโจมตีสำหรับช่องโหว่ CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610

พบการปล่อยโค้ดโจมตีสำหรับช่องโหว่ CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610

ช่องโหว่ใน Windows RD Gateway (CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถรันคำสั่งจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution) โดยที่ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบ เพียงแค่เชื่อมต่อด้วย RDP และส่ง request อันตรายไปยังเครื่องเป้าหมายเท่านั้น ส่งผลกระทบ Windows Server 2012, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2016 และ Windows Server 2019 ทั้งสองช่องโหว่เพิ่งได้รับการแก้ไขในแพตช์ประจำเดือนมกราคม 2020

ปัจจุบันมีการปล่อยตัวแสกนหาช่องโหว่และโค้ดสำหรับโจมตีออกมาแล้ว ซึ่งโค้ดสำหรับโจมตีที่ถูกปล่อยมานี้ยังไม่ใช้โค้ดที่ทำการโจมตีเพื่อการรันคำสั่งจากระยะไกล เป็นเพียงโค้ดสำหรับการโจมตีเพื่อให้หยุดทำงาน (Denial-of-Service) เท่านั้น แต่เป็นไปได้ที่จะมีความพยายามต่อยอดโค้ดโจมตีดังกล่าวให้ร้ายแรงขึ้นในไม่ช้า

สามารถอ่านรายละเอียดของช่องโหว่ CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610 โดยละเอียดได้จาก kryptoslogic โดยบทความดังกล่าวระบุว่าช่องโหว่ทั้งสองเกิดจากความผิดพลาดในส่วนจัดการ UDP

ที่มา : MalwareTechBlog

Microsoft’s January 2020 Patch Tuesday Fixes 49 Vulnerabilities

ช่องโหว่สำคัญในแพตช์ประจำเดือนมกราคม 2020 จากไมโครซอฟต์
ไมโครซอฟต์ออกแพตช์ประจำเดือนมกราคม 2020 แก้ไขทั้งหมด 49 ช่องโหว่ โดยแพตช์นี้จะเป็นแพตช์ด้านความปลอดภัยสุดท้ายสำหรับ Windows Server 2008 และ Windows 7 ที่หมดระยะการสนับสนุนแล้ว ในช่องโหว่เหล่านั้นมีช่องโหว่ที่สำคัญและควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ 4 ช่องโหว่ เป็นช่องโหว่ระดับ Critical ทั้งหมด เป็นช่องโหว่ใน CryptoAPI 1 ช่องโหว่ (CVE-2020-0601) และช่องโหว่ใน Windows RD Gateway และ Windows Remote Desktop Client 3 ช่องโหว่ (CVE-2020-0609, CVE-2020-0610 และ CVE-2020-0611)
ช่องโหว่ใน CryptoAPI (CVE-2020-0601) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถปลอม digital certificate เพื่อทำให้โปรแกรมอันตรายน่าเชื่อถือได้ หรือปลอมเพื่อทำ man-in-the-middle (MiTM) เพราะ Windows CryptoAPI ทำการตรวจสอบความถูกต้องของ digital certificate ได้ไม่ดีพอ ช่องโหว่นี้ส่งผลกระทบกับ Windows 10 ทั้งหมดซึ่งจะรวมไปถึง Windows Server 2016 และ 2019 ช่องนี้ค้นพบโดย National Security Agency (NSA) ซึ่งได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับช่องโหว่ไว้ที่ Media Defense

ช่องโหว่ใน Windows RD Gateway (CVE-2020-0609 และ CVE-2020-0610) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถรันคำสั่งจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution) โดยที่ผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องเข้าสู่ระบบ เพียงแค่เชื่อมต่อด้วย RDP และส่ง request อันตรายไปยังเครื่องเป้าหมายเท่านั้น ส่งผลกระทบ Windows Server 2012, Windows Server 2012 R2, Windows Server 2016 และ Windows Server 2019
ช่องโหว่ใน Windows Remote Desktop Client (CVE-2020-0611) เป็นช่องโหว่ที่ทำให้สามารถรันคำสั่งจากระยะไกลได้ (Remote Code Execution) เมื่อ Windows Remote Desktop Client เชื่อมต่อไปยัง server ที่เป็นอันตราย ซึ่งการเชื่อมต่อไปยัง server ที่เป็นอันตรายอาจเกิดได้จาก social engineering, Domain Name Server (DNS) poisoning, man-in the-middle หรือผู้โจมตีสามารถควบคุมเครื่อง server ได้ ส่งผลกระทบ Windows ทุกรุ่นที่ยังได้รับการสนับสนุน และมีแพตช์ให้กับ Windows 7 และ Windows 2008 R2
ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบควรอัปเดตแพตช์เพื่อความปลอดภัย

ที่มา - bleepingcomputer - Us-Cert

more info
https://thehackernews.