VPNFilter ซีซั่น 2: อุปกรณ์ ASUS, D-Link, Huawei โดนด้วย พร้อมโมดูลใหม่ดักเปลี่ยนข้อมูลเว็บ

สำหรับผู้อ่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับปฏิบัติการและมัลแวร์ VPNFilter เราแนะนำให้อ่านบทความ "เผยปฏิบัติการมัลแวร์ VPNFilter โจมตีอุปกรณ์เน็ตเวิร์กกว่า 500,000 เครื่องทั่วโลก" เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นครับ 🙂
หัวข้อ
เนื่องจากเนื้อหาของบทความซึ่งอาจมีหลายส่วน ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคามได้ทำการแยกประเด็นสำคัญออกเป็นหัวข้อ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระตามรายการด้านล่าง

สรุปย่อ
โมดูลการโจมตีใหม่
อุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบ
การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์
ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม

สรุปย่อ

หลังจากการค้นพบปฏิบัติการและมัลแวร์ VPNFilter เมื่อช่วงพฤษภาคมที่ผ่านมาซึ่งพุ่งเป้าโจมตีอุปกรณ์กว่า 500,000 รายการทั่วโลก ทีม Cisco Talos ได้ประกาศข้อเท็จจริงและข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปฏิบัติการดังกล่าวเมื่อวานที่ผ่านมาซึ่งรวมไปถึงรายการอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมและโมดูลการโจมตีใหม่ที่ถูกค้นพบในมัลแวร์ด้วย
โมดูลการโจมตีใหม่
มัลแวร์ VPNFilter เป็นหนึ่งในมัลแวร์ที่ถูกระบุว่ามีความซับซ้อนและมีการทำงานอย่างเป็นระบบระเบียบที่แตกต่างกับมัลแวร์ชนิดอื่นอย่างชัดเจน หนึ่งในศิลปะที่มัลแวร์ VPNFilter ได้นำมาปรับใช้นั้นคือการทำงานแบบเป็นโมดูล (modular) ซึ่งทำให้ผู้โจมตีสามารถปรับแต่งการทำงานของมัลแวร์เมื่ออยู่ในระบบของเหยื่อได้อย่างอิสระและเป็นไปตามความต้องการ

ในรายงานฉบับแรกของ Cisco Talos ได้มีการระบุถึงโมดูลการทำงานของมัลแวร์ในขั้นตอนที่ 3 คือเมื่อมัลแวร์ประสบความสำเร็จในการฝังตัวในระบบและมีการติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ออกคำสั่งและควบคุม (Command & Control Server) แล้วทั้งหมด 2 โมดูล ได้แก่

โมดูลสำหรับการดักจับข้อมูล (Packet Sniffer) เป็นโมดูลที่ถูกออกแบบให้ดักจับและตรวจสอบหาข้อมูลสำคัญที่ถูกส่งผ่านอุปกรณ์เครือข่ายที่มัลแวร์ฝังตัวอยู่
โมดูลสำหรับการเข้าถึงเครือข่าย Tor เป็นโมดูลที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้มัลแวร์สามารถใช้งานเครือข่าย Tor เพื่อรับ-ส่งข้อมูลได้

สำหรับโมดูลล่าสุดที่ Cisco Talos นั้นคือโมดูลสำหรับการสอดแทรกเนื้อหาอันตรายลงไปในข้อมูลที่ถูกรับ-ส่งในเครือข่าย โดยมีชื่อเรียกโมดูลว่า 'ssler'

การทำงานในเบื้องต้นของโมดูล ssler นั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

มัลแวร์จะทำการติดตั้งโมดูล ตั้งค่าและเริ่มการทำงานโมดูล โดยการตั้งค่าดังกล่าวจะเป็นการระบุให้โมดูลคอยดักจับและแก้ไขเนื้อหาของที่ถูกรับ-ส่งมาจากแหล่งใดบ้าง ซึ่งสามารถระบุได้ทั้งช่วงหมายเลขไอพีแอดเดรสและโดเมนเนม
มัลแวร์จะทำการแก้ไข iptables ของอุปกรณ์เพื่อเปลี่ยนเส้นทางข้อมูล HTTP ให้ไปยังเซอร์วิสที่มัลแวร์เปิดรอไว้ที่พอร์ต 8888
เมื่อทราฟิกของเครือข่ายถูกบังคับให้วิ่งผ่านเซอร์วิสของโมดูล ssler มัลแวร์สามารถดำเนินการแก้ไขเนื้อหาได้อย่างอิสระ ทั้งการเปลี่ยน https:// เป็น http://, ทำ sslstripping, หรือแก้ไขการตั้งค่า HTTP header ในลักษณะต่างๆ เพื่อให้คุณสมบัติด้านความปลอดภัยลดลง
โมดูล ssler จะทำการดึงข้อมูลสำคัญ อาทิ ชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านที่ถูกส่งในรูปแบบ Basic Authentication หรือ HTTP POST request ใดๆ ที่ถูกส่งไปยัง accounts.

Talos finds new VPNFilter malware hitting 500K IoT devices, mostly in Ukraine

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัย Talos จากบริษัท Cisco ได้มีการเปิดเผยปฏิบัติการการแพร่กระจายมัลแวร์ซึ่งมุ่งโจมตีอุปกรณ์เครือข่ายตามบ้าน (Small Office/Home Office) โดยใช้มัลแวร์ชนิดใหม่ชื่อ VPNFilter ซึ่งในขณะนี้น่าจะมีอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้วอย่างน้อย 500,000 เครื่องทั่วโลก

มัลแวร์ VPNFilter นั้นเมื่อถูกติดตั้งลงในอุปกรณ์แล้ว มันสามารถที่จะดักจับข้อมูลที่ส่งผ่านอุปกรณ์, ขโมยข้อมูลหรือแม้กระทั่งตัดอินเตอร์เน็ตและทำลายอุปกรณ์ให้ไม่สามารถใช้งานต่อได้ ด้วยความซับซ้อนของมัลแวร์ VPNFilter และความเหมือนกับมัลแวร์อีกชนิดหนึ่ง ทีม Talos จึงลงความเห็นว่าปฏิบัติการการโจมตีที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่เบื้องหลังการโจมตี หรือกลุ่มผู้โจมตีอาจได้รับการสนับสนุนทรัพยากรแหล่งทรัพยากรระดับประเทศ (nation-state)

ในขณะนี้ทีม Talos ได้ประสานงานกับหน่วยงานจากหลายประเทศเพื่อดำเนินการปิดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้ว และแนะนำให้ผู้ใช้งานดำเนินการตามคำแนะนำซึ่งจากปรากฎในหัวข้อ "การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์" โดยด่วนที่สุดเพื่อจัดการภัยคุกคาม

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามเพิ่มเติมที่: https://www.

เผยปฏิบัติการมัลแวร์ VPNFilter โจมตีอุปกรณ์เน็ตเวิร์กกว่า 500,000 เครื่องทั่วโลก

หัวข้อ
เนื่องจากเนื้อหาของบทความซึ่งอาจมีหลายส่วน ทีมตอบสนองการโจมตีและภัยคุกคามได้ทำการแยกประเด็นสำคัญออกเป็นหัวข้อ ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าถึงได้อย่างอิสระตามรายการด้านล่าง

สรุปย่อ
วิธีการโจมตีอุปกรณ์เครือข่าย
เป้าหมายการโจมตี
อุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบ
การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์
ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม

สรุปย่อ

ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัย Talos จากบริษัท Cisco ได้มีการเปิดเผยปฏิบัติการการแพร่กระจายมัลแวร์ซึ่งมุ่งโจมตีอุปกรณ์เครือข่ายตามบ้าน (Small Office/Home Office) โดยใช้มัลแวร์ชนิดใหม่ชื่อ VPNFilter ซึ่งในขณะนี้น่าจะมีอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้วอย่างน้อย 500,000 เครื่องทั่วโลก

มัลแวร์ VPNFilter นั้นเมื่อถูกติดตั้งลงในอุปกรณ์แล้ว มันสามารถที่จะดักจับข้อมูลที่ส่งผ่านอุปกรณ์, ขโมยข้อมูลหรือแม้กระทั่งตัดอินเตอร์เน็ตและทำลายอุปกรณ์ให้ไม่สามารถใช้งานต่อได้ ด้วยความซับซ้อนของมัลแวร์ VPNFilter และความเหมือนกับมัลแวร์อีกชนิดหนึ่ง ทีม Talos จึงลงความเห็นว่าปฏิบัติการการโจมตีที่เกิดขึ้นนั้นน่าจะมีประเทศใดประเทศหนึ่งอยู่เบื้องหลังการโจมตี หรือกลุ่มผู้โจมตีอาจได้รับการสนับสนุนทรัพยากรแหล่งทรัพยากรระดับประเทศ (nation-state)

ในขณะนี้ทีม Talos ได้ประสานงานกับหน่วยงานจากหลายประเทศเพื่อดำเนินการปิดเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการติดต่อและควบคุมอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้ว และแนะนำให้ผู้ใช้งานดำเนินการตามคำแนะนำซึ่งจากปรากฎในหัวข้อ "การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์" โดยด่วนที่สุดเพื่อจัดการภัยคุกคาม
วิธีการโจมตีอุปกรณ์เครือข่าย
อ้างอิงจากรายงานของทีม Cisco Talos กลุ่มผู้โจมตีมีการพุ่งเป้าไปที่อุปกรณ์เครือข่ายตามบ้านซึ่งไม่มีการป้องกันที่ดีพอ รวมไปถึงมีการตั้งค่าที่ไม่ปลอดภัย เช่น ไม่ได้มีการเปลี่ยนรหัสที่ถูกตั้งมาเป็นค่าเริ่มต้นของอุปกรณ์ และขาดการอัปเดต ทำให้มีปัญหาด้านความปลอดภัยที่ง่ายต่อการเป็นเป้าหมายในการโจมตี

ทีม Cisco Talos ระบุว่าในปฏิบัติการที่มีการแพร่กระจายมัลแวร์ VPNFilter ที่ตรวจพบนั้น ยังไม่มีการตรวจพบการใช้งานช่องโหว่ที่ไม่เคยมีการตรวจพบมาก่อนหรือช่อง zero day ในการโจมตีดังกล่าวเลย
เป้าหมายการโจมตี
อ้างอิงจากรายงานของทีม Cisco Talos เมื่อกลุ่มผู้โจมตีประสบความสำเร็จในการโจมตีอุปกรณ์เครือข่ายตามบ้านแล้ว กลุ่มผู้โจมตีจะติดตั้งมัลแวร์ VPNFilter ลงไปในอุปกรณ์ มัลแวร์ VPNFilter ถูกออกแบบมาอย่างซับซ้อนและทำงานได้หลากหลายฟังก์ชันการทำงาน อาทิ

มัลแวร์จะดำเนินการเขียนทับข้อมูลในส่วนโปรแกรมของอุปกรณ์ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์ไม่สามารถใช้การได้
ดักจับข้อมูลที่ถูกรับ-ส่งในเครือข่าย
เข้าถึงและส่งออกข้อมูลหรือไฟล์ที่มีอยู่ในอุปกรณ์
ติดตั้งส่วนเสริมของมัลแวร์เพิ่มเติมซึ่งอาจทำให้มัลแวร์แพร่กระจายได้ในเครือข่าย หรือทำให้มัลแวร์ถูกตรวจจับได้ยากขึ้น

ทั้งนี้จากลักษณะความซับซ้อนและความลึกลับตรวจจับยากของมัลแวร์ ทีม Cisco Talos ลงความเห็นว่าเป้าหมายของปฏิบัติการและมัลแวร์ VPNFilter นั้นคือการติดตั้งอยู่ในอุปกรณ์จำนวนมากเพื่อรอการควบคุมให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สร้างการโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่ รวมไปถึงถูกติดตั้งเพื่อจารกรรมข้อมูลและเก็บรวบรวมข่าวกรอง
อุปกรณ์เครือข่ายที่ได้รับผลกระทบ
อ้างอิงจากรายงานของทีม Cisco Talos อุปกรณ์เครือข่ายตามบ้านที่ตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีที่ตรวจพบมีตามรายการดังต่อไปนี้

อุปกรณ์ยี่ห้อ Linksys รุ่น E1200, E2500 และ WRVS4400N
อุปกรณ์ยี่ห้อ MikroTik รุ่น 1016, 1036 และ 1072
อุปกรณ์ยี่ห้อ NETGEAR รุ่น DGN2200, R6400, R7000, R8000, WNR1000 และ WNR2000
อุปกรณ์ยี่ห้อ TP-Link รุ่น R600VPN
อุปกรณ์ยี่ห้อ QNAP รุ่น TS251 และ TS439 Pro

การตรวจจับและจัดการมัลแวร์ในอุปกรณ์
ในกรณีที่เครือข่ายมีการจัดเก็บบันทึกการใช้งานเครือข่าย (log) เอาไว้ ให้ดำเนินการตรวจสอบการเรียกหาที่อยู่ซึ่งปรากฎในหัวข้อ "ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม" หากตรวจพบว่ามีการเรียกไปยังที่อยู่ดังกล่าว ให้ดำเนินการจัดการกับมัลแวร์ในอุปกรณ์ตามคำแนะนำด้านล่าง

สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่แน่ใจว่ามีอุปกรณ์ติดมัลแวร์อยู่หรือไม่ เนื่องจากการตรวจสอบการมีอยู่ของมัลแวร์นั้นเป็นไปได้ยาก FBI แผนก Internet Crime Complaint Center ได้มีการเผยแพร่คำแนะนำในการจัดการกับมัลแวร์ดังนี้

ดำเนินการสำรองข้อมูลการเชื่อมต่อของอุปกรณ์เอาไว้ ซึ่งอาจทำได้โดยการถ่ายรูปข้อมูลการตั้งค่า เพื่อที่จะนำมาใช้ตั้งค่าอุปกรณ์ในภายหลัง
ดำเนินการล้างการตั้งค่าของอุปกรณ์ให้เป็นค่าเริ่มต้นที่มาจากโรงงาน (factory setting) เพื่อลบมัลแวร์ซึ่งอาจฝังตัวอยู่ในระบบ
ดำเนินการอัปเดตรุ่นของอุปกรณ์โดยตรวจสอบตามแหล่งข้อมูลของผู้ผลิตอุปกรณ์
ปิดการใช้งานฟีเจอร์ควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล (remote management)
เปลี่ยนรหัสผ่านสำหรับเข้าถึงอุปกรณ์ให้เป็นรหัสผ่านที่มีความแข็งแกร่งและคาดเดาได้ยาก

หากมีการใช้ Snort ในการตรวจจับการโจมตีภายในเครือข่าย มัลแวร์ VPNFilter สามารถถูกตรวจจับได้ผ่านทาง rule ดังต่อไปนี้ 45563, 45564, 46782 และ 46783
ตัวบ่งชี้ภัยคุกคาม
อุปกรณ์ที่มีการติดมัลแวร์ VPNFilter จะมีการเชื่อมต่อไปยังที่อยู่ตามโดเมนเนมดังต่อไปนี้

photobucket[.]com/user/nikkireed11/library
photobucket[.]com/user/kmila302/library
photobucket[.]com/user/lisabraun87/library
photobucket[.]com/user/eva_green1/library
photobucket[.]com/user/monicabelci4/library
photobucket[.]com/user/katyperry45/library
photobucket[.]com/user/saragray1/library
photobucket[.]com/user/millerfred/library
photobucket[.]com/user/jeniferaniston1/library
photobucket[.]com/user/amandaseyfried1/library
photobucket[.]com/user/suwe8/library
photobucket[.]com/user/bob7301/library
toknowall[.]com

และอาจจะมีการติดต่อไปยังหมายเลขไอพีแอดเดรสดังต่อไปนี้

91.121.109[.]209
217.12.202[.]40
94.242.222[.]68
82.118.242[.]124
46.151.209[.]33
217.79.179[.]14
91.214.203[.]144
95.211.198[.]231
195.154.180[.]60
5.149.250[.]54
91.200.13[.]76
94.185.80[.]82
62.210.180[.]229
zuh3vcyskd4gipkm[.]onion/bin32/update.