Hacker ขโมยข้อมูลมากกว่า 2 ล้านรายการ ด้วยการโจมตี SQL injection และ Cross-site Scripting (XSS)

กลุ่ม Hacker ในชื่อ 'ResumeLooters' ได้ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานมากกว่าสองล้านรายการ หลังการโจมตีเว็บไซต์หางาน และเว็บไซต์ค้าปลีก 65 แห่ง โดยใช้การโจมตีแบบ SQL injection และ Cross-site Scripting (XSS)

โดยกลุ่ม ResumeLooters มุ่งเน้นการโจมตีไปที่ภูมิภาค APAC เป็นหลัก โดยกำหนดเป้าหมายไปยัง ออสเตรเลีย ไต้หวัน จีน ไทย อินเดีย และเวียดนาม เพื่อขโมยชื่อผู้หางาน ที่อยู่อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ประวัติการทำงาน การศึกษา และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตามข้อมูลของ Group-IB ซึ่งได้ติดตามกลุ่ม Hacker ดังกล่าวตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2023 พบว่า ResumeLooters พยายามขายข้อมูลที่ถูกขโมยผ่านช่องทาง Telegram (more…)

กลุ่มแฮ็กเกอร์ใหม่ “GambleForce” กำลังโจมตีบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยใช้ SQL Injection

กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ปรากฏตัวขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อ "GambleForce" กำลังโจมตีบริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ด้วยวิธี SQL Injection ตั้งแต่เดือนกันยายน 2023

บริษัท Group-IB จากประเทศสิงคโปร์ ระบุไว้ในรายงานที่แชร์กับ The Hacker News ว่า "GambleForce ใช้ชุดเทคนิคพื้นฐาน แต่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงการโจมตีแบบ SQL injection และการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ใน website content management systems (CMS) เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญ เช่น ข้อมูล credentials ของผู้ใช้"
(more…)

พบช่องโหว่ SQL Injection ระดับ Critical ใน Gentoo Soko

มีการเปิดเผยช่องโหว่ SQL injection หลายรายการใน Gentoo Soko ที่อาจนำไปสู่การเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE) บนระบบที่มีช่องโหว่ได้

Thomas Chauchefoin นักวิจัยจาก SonarSource ระบุว่าช่องโหว่ SQL Injections เหล่านี้เกิดขึ้นจากการใช้งาน ORM (Object-Relational Mapping) library และ prepared statements รวมถึง misconfiguration ของ database

ช่องโหว่ที่พบอยู่ในฟีเจอร์การค้นหาของ Soko ซึ่งมีหมายเลข CVE-2023-28424 (คะแนน CVSS: 9.1) และได้รับการแก้ไขภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากการเปิดเผยข้อมูลออกมาเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2023

Soko เป็นโมดูลซอฟต์แวร์ภาษา Go ที่มีความสามารถในการค้นหาแพ็คเกจต่าง ๆ ใน Gentoo Linux distribution ผ่าน packages.

พบช่องโหว่ใหม่ระดับ critical ใน MOVEit Transfer แนะนำให้รีบอัปเดตโดยด่วน

Progress Software ออกมาแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้งานว่าได้พบ ช่องโหว่ SQL injection ใหม่ใน managed file transfer (MFT) ของ MOVEit Transfer ที่ทำให้ hacker สามารถขโมยข้อมูลจากฐานข้อมูลของลูกค้าได้

ช่องโหว่ SQL injection ใหม่ ถูกค้นพบโดย Huntress บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ภายหลังการตรวจสอบเหตุการณ์โจมตีของกลุ่ม Clop ransomware ที่ใช้ช่องโหว่ zero-day เพื่อขโมยข้อมูล โดยช่องโหว่นี้ส่งผลกระทบต่อ MOVEit Transfer ทุกรุ่นและทำให้ Hacker สามารถควบคุม server ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อแก้ไข หรือขโมยข้อมูลลูกค้าได้ (more…)

ช่องโหว่ Zero-Day ใน MOVEit Transfer กำลังถูกนำมาใช้ในการโจมตี

ช่องโหว่ในแอปพลิเคชันการถ่ายโอนไฟล์ที่จัดการโดย Progress Software ที่ชื่อ MOVEit Transfer ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายเพื่อโจมตีระบบที่มีช่องโหว่

โดยช่องโหว่มีหมายเลข CVE-2023-34362 ซึ่งเป็นช่องโหว่ SQL injection ที่สามารถยกระดับสิทธิ์ และเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตได้

บริษัทระบุว่า "พบช่องโหว่ SQL injection ในเว็บแอปพลิเคชัน MOVEit Transfer ที่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของ MOVEit Transfer ได้"

ขึ้นอยู่กับเครื่องมือฐานข้อมูลที่ใช้ (MySQL, Microsoft SQL Server หรือ Azure SQL) ผู้โจมตีอาจสามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้าง และเนื้อหาของฐานข้อมูลได้นอกเหนือจากการรัน SQL statements ที่แก้ไข หรือลบ elements ของฐานข้อมูล

โดยบริษัทได้ออกแพตช์อัปเดตสำหรับช่องโหว่นี้ในเวอร์ชัน 2021.0.6 (13.0.6), 2021.1.4 (13.1.4), 2022.0.4 (14.0.4), 2022.1.5 (14.1.5) และ 2023.0.1 (15.0.1)

ช่องโหว่นี้ถูกรายงานครั้งแรกโดย Bleeping Computer ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2023 จากการที่ Huntress และ Rapid7 ได้ระบุว่ามีอินสแตนซ์ของ MOVEit Transfer ประมาณ 2,500 ระบบที่สามารถเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ต โดยอินสแตนซ์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา

การโจมตีที่ประสบความสำเร็จ ทำให้สามารถติดตั้งเว็บเชลล์ (web shell) ซึ่งอาจเป็นไฟล์ชื่อ "human2.aspx" ที่สร้างขึ้นผ่านสคริปต์ ในไดเรกทอรี "wwwroot" หรือด้วยชื่อไฟล์อื่น ๆ โดยเว็บเชลล์นี้ถูกใช้เพื่อขโมยข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่บนบริการของ MOVEit ออกไป

การวิเคราะห์เชื่อมโยงกับการโจมตีพบว่าเว็บเชลล์ถูกออกแบบให้สามารถเพิ่มเซสชันบัญชีผู้ใช้แอดมินใหม่ชื่อ "Health Check Service" เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับที่อาจเกิดขึ้น

บริษัทด้านความปลอดภัย และความเสี่ยงทางเทคโนโลยีชื่อ 'GreyNoise' ระบุว่า "ได้สังเกตพบการพยายามสแกนหน้าเข้าสู่ระบบของ MOVEit Transfer ที่ path /human.

พบอุปกรณ์ QNAP ที่มีช่องโหว่ระดับ Critical กว่า 29,000 เครื่อง ยังไม่ได้อัปเดตเพื่อปิดช่องโหว่

หลังจากที่ QNAP บริษัทด้านอุปกรณ์สำรองข้อมูลได้เผยแพร่อัปเดตเพื่อแก้ไขช่องโหว่ระดับ Critical บนอุปกรณ์เก็บสำรองข้อมูลที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Network-Attached Storage (NAS) ซึ่งอาจนำไปสู่การโจมตี และสั่งรันโค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกลได้ (more…)

กลุ่มแฮ็กเกอร์ FIN7 สร้างเครื่องมือสำหรับสแกนและโจมตีช่องโหว่ Exchange servers โดยอัตโนมัติ

Prodaft ทีมข่าวกรองด้านภัยคุกคามได้ค้นพบ “Checkmarks” แพลตฟอร์มที่ถูกสร้างมาสำหรับใช้โจมตีช่องโหว่ของ Microsoft Exchange และ SQL Injection โดยอัตโนมัติ เพื่อใช้เจาะเครือข่ายองค์กร ขโมยข้อมูล และสามารถเลือกเป้าหมายสำหรับการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ตามขนาดฐานะทางการเงินของบริษัท โดยเป็นการค้นพบในระหว่างที่ติดตามเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มแฮ็กเกอร์ FIN7

FIN7 คือกลุ่ม Hacker ชาวรัสเซีย ที่มีเป้าหมายในการเรียกค่าไถ่จากเหยื่อที่ถูกโจมตี โดยเริ่มพบการโจมตีตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โจมตีต่างๆ เช่น การโจมตีตู้ ATM, การส่ง USB ที่มีมัลแวร์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย และการตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ปลอมขึ้น เพื่อจ้างผู้ทดสอบสำหรับการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ (ความจริงคือกำลังโจมตีเหยื่ออยู่จริง ๆ) และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่พบความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม รวมไปถึงกลุ่ม FIN7 ยังมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มแรนซัมแวร์อื่น ๆ เช่น Black Basta, Darkside, REvil และ LockBit Ransomware

ขั้นตอนโจมตีของ Checkmarks

Prodaft ได้อธิบายว่า Checkmarks เป็นแพลตฟอร์มสแกน และเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE ) โดยอัตโนมัติ สำหรับช่องโหว่ Microsoft Exchange servers บนเครื่องเป้าหมาย รวมถึงมีการใช้ช่องโหว่ในการยกระดับสิทธิ์ (Privilege Escalation) เช่น CVE-2021-34473, CVE-2021-34523 และ CVE-2021-31207

Checkmarks จะทำการดึงข้อมูลอีเมลจาก Active Directory และรวบรวมข้อมูล Microsoft Exchange servers หลังจากทำการโจมตีเครื่องที่มีช่องโหว่ได้สำเร็จ

จากนั้นจะนำข้อมูลของเหยื่อที่ทำการรวบรวมจาก Active Directory และ Microsoft Exchange servers เพิ่มไปยัง Panel ของระบบที่ใช้สำหรับควบคุมเครื่องเหยื่อโดยอัตโนมัติ เพื่อให้กลุ่ม FIN7 สามารถดูรายละเอียดของข้อมูลได้

นักวิเคราะห์ของ FIN7 จะตรวจสอบรายการข้อมูลของเหยื่อใหม่ รวมถึงแสดงคิดเห็นบนแพลตฟอร์ม Checkmarks เพื่อแสดงข้อมูลรายได้ปัจจุบันของเหยื่อ จำนวนพนักงาน โดเมน รายละเอียดสำนักงานใหญ่และข้อมูลอื่น ๆ รวมถึงการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น Owler, Crunchbase, DNB, Zoominfo และ Mustat ที่ช่วยให้ Hackers ประเมินได้ว่าบริษัทนั้นคุ้มค่า และมีโอกาสสำเร็จมากเพียงใดในการโจมตีด้วย Ransomware เพื่อเรียกค่าไถ่

หากเหยื่อรายนั้นได้รับการพิจารณาว่าคุ้มค่าและมีโอกาสสำเร็จ ฝ่ายโจมตีระบบของ FIN7 จะทำการออกแบบแผนการโจมตี ว่าสามารถใช้การเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างไร การโจมตีจะอยู่ได้นานแค่ไหนและไปได้ไกลแค่ไหน

อีกทั้ง Checkmarks ยังมี SQL injection module เพื่อใช้ SQLMap สแกนหาช่องโหว่บนเว็บไซต์ของเป้าหมาย รวมไปถึงการฝัง SSH backdoors เอาไว้ในเครื่องของเหยื่อ ทำให้สามารถขโมยไฟล์จากอุปกรณ์ที่ถูกโจมตี ใช้การเชื่อมต่อ reverse SSH (SFTP) ผ่านโดเมนบน Tor Network ถึงแม้เหยื่อจะจ่ายค่าไถ่แล้วก็ตาม เพื่อการกลับมาโจมตีซ้ำ รวมไปถึงการขายช่องโหว่นี้แก่ Hackers กลุ่มอื่น ๆ

Prodaft พบว่า แพลตฟอร์ม Checkmarks ของ FIN7 ได้ถูกนำไปใช้ในการแทรกซึมเข้าไปในบริษัทต่าง ๆ กว่า 8,147 แห่ง โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา (16.7%) หลังจากสแกนเป้าหมายไปแล้วกว่า 1.8 ล้านเป้าหมาย

โดย แพลตฟอร์ม Checkmarks ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบ และความรุนแรงของการเกิดขึ้นของกลุ่มผู้โจมตีทางไซเบอร์ ที่มีจุดประสงค์ในการเรียกค่าไถ่จากเหยื่อว่าได้ส่งผลกระทบทั่วโลกแล้วในขณะนี้

การป้องกัน

อัปเดต Microsoft Exchange Server ที่ได้รับผลกระทบเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี
เพิ่ม FIN7 IOCไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ท่านใช้งานอยู่ prodaft.

แฮ็กเกอร์โจมตีช่องโหว่ Zero-day บน PrestaShop ขโมยข้อมูลการชำระเงินจากร้านค้าออนไลน์

PrestaShop เป็น Open-Source E-commerce Solution ที่ได้รับความนิยมในยุโรป และละตินอเมริกา ซึ่งมีผู้ค้าขายออนไลน์กว่า 300,000 รายทั่วโลกที่ใช้งาน ซึ่งผู้โจมตีได้ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-day บน platform ดังกล่าว เพื่อใส่โค้ด Skimmer ที่เป็นอันตราย ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลที่มีความสำคัญ
เป้าหมายของการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้คือการติดตั้งโค้ดที่เป็นอันตรายที่มีความสามารถในการขโมยข้อมูลการชำระเงินจากลูกค้าที่ใส่ข้อมูลในหน้าชำระเงิน โดยเป้าหมายหลัก ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าที่ใช้ software เวอร์ชั่นเก่า ๆ หรือ 3rd party module ที่มีช่องโหว่
ช่องโหว่มีหมายเลข CVE-2022-36408 ที่เกิดปัญหาจากการจัดการกับ Input ที่ผิดปกติ หรือไม่รู้จัก จนนำไปสู่การโจมตีในรูปแบบ SQL Injection ที่จะทำให้ผู้ผู้โจมตีสามารถแทรก หรือแก้ไขคำสั่ง SQL ได้

(more…)

SonicWall ออกแพตซ์แก้ไขช่องโหว่สำหรับ Analytics และ GMS

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (22 กรกฏาคม 2565) SonicWall ได้ออกแพตซ์อัปเดตเพื่อแก้ไขช่องโหว่ SQL injection (SQLi) ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์ Analytics On-Prem และ Global Management System (GMS)

ซึ่งช่องโหว่มีหมายเลข CVE-2022-22280 โดยมี CVSS อยู่ที่ 9.4 ซึ่งทำให้ผู้ไม่หวังดีสามารถโจมตีในรูปแบบ SQL Injection ได้ จาก special elements บางอย่างที่ถูกใช้ใน SQL Command ซึ่งผู้ที่ค้นพบช่องโหว่นี้คือ H4lo และ Catalpa ของ DBappSecurity HAT Lab

ลักษณะของช่องโหว่

หากไม่มีการปิดการใช้งาน SQL Syntax ใน User-controllable inputs ก็จะทำให้ผู้ไม่หวังดีใช้ช่องโหว่นี้ในการทำ SQL Injection เพื่อเข้าถึง หรือจัดการกับข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูล รวมถึงสั่งรัน command บนระบบได้โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ของผู้ใช้

ช่องโหว่นี้จะส่งผลกระทบกับ Analytics เวอร์ชั่น 2.5.0.3-2520 และต่ำกว่า รวมถึง GMS เวอร์ชั่น 9.3.1-SP2-Hotfix1 และต่ำกว่า

คำแนะนำ

ขอแนะนำให้องค์กรที่ใช้อุปกรณ์ที่มีช่องโหว่อัปเกรดเป็น Analytics 2.5.0.3-2520-Hotfix1 และ GMS 9.3.1-SP2-Hotfix-2
พิจารณาในการติดตั้ง Web Application Firewall (WAF) เพื่อป้องการโจมตีในรูปแบบ SQL Injection

ที่มา : thehackernews

FireEye แจ้งเตือนกลุ่มแฮกเกอร์โจมตีช่องโหว่ Zero day ใน Accellion FTA ขโมยข้อมูลไปเรียกค่าไถ่

FireEye Mandiant ออกรายงานล่าสุดถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มแฮกเกอร์อย่างน้อย 2-3 กลุ่มที่มีพฤติกรรมเชื่อมโยงกัน โดยกลุ่มแฮกเกอร์ดังกล่าวกำลังทำการโจมตีช่องโหว่ Zero-day ใน ซอฟต์แวร์ Accellion FTA เพื่อเข้าไปขโมยข้อมูล บางส่วนถูกนำมาใช้เรียกค่าไถ่

Accellion FTA เป็นซอฟต์แวร์สำหรับจัดการไฟล์ในองค์กร อ้างอิงจากประกาศของ Accellion ผลิตภัณฑ์ FTA ถูกตรวจพบว่ามีช่องโหว่ตั้งแต่ในช่วงกลางเดือนธันวาคม โดยในปัจจุบันช่องโหว่ที่ได้รับการยืนยันแล้วมีตามรายการดังนี้

CVE-2021-27101: ช่องโหว่ SQL injection ใน Host header
CVE-2021-27102: ช่องโหว่ OS command execution ผ่านทางเว็บเซอร์วิส
CVE-2021-27103: ช่องโหว่ SSRF ผ่านทาง POST request แบบพิเศษ
CVE-2021-27104: ช่องโหว่ OS command execution ผ่านทาง POST request แบบพิเศษ
จากรายงานของ FireEye Mandiant กลุ่มผู้โจมตีที่เกี่ยวข้องกับการโจมตีในครั้งนี้มีอยู่ 2 กลุ่ม โดยในกลุ่มแรกนั้นถูกระบุด้วยรหัส UNC2546 ซึ่งมีพฤติกรรมในการโจมตีช่องโหว่, ฝัง Web shell และขโมยข้อมูลออกไป และกลุ่ม UNC2582 ซึ่งมีการนำข้อมูลที่ได้จากการโจมตีมาเรียกค่าไถ่ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ Clop ransomware

ทั้งกลุ่ม UNC2546 และ UNC2582 ถูกเชื่อมโยงเข้ากับพฤติกรรมของกลุ่ม FIN11 และกลุ่ม Clop ransonware ด้วยพฤติกรรมการโจมตีหลายอย่างที่เหมือนกัน

อ้างอิงจากข่าวเก่าที่ทางไอ-ซีเคียวได้มีการนำเสนอไปเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ Singtel คือหนึ่งในเหยื่อที่ถูกโจมตีในครั้งนี้ facebook

เราขอแนะนำให้ทำการตรวจสอบการมีอยู่ของซอฟต์แวร์และแอปที่มีช่องโหว่ ปรับใช้ข้อมูลตัวบ่งชี้ภัยคุกคามอย่างเหมาะสม และเฝ้าระวังระบบอย่างใกล้ชิด

ดูข้อมูลเพิ่มเติม: fireeye
IOC เพิ่มเติม: twitter

ที่มา: securityweek, wsj, threatpost, zdnet, bleepingcomputer