กลุ่มแฮ็กเกอร์ FIN7 สร้างเครื่องมือสำหรับสแกนและโจมตีช่องโหว่ Exchange servers โดยอัตโนมัติ

Prodaft ทีมข่าวกรองด้านภัยคุกคามได้ค้นพบ “Checkmarks” แพลตฟอร์มที่ถูกสร้างมาสำหรับใช้โจมตีช่องโหว่ของ Microsoft Exchange และ SQL Injection โดยอัตโนมัติ เพื่อใช้เจาะเครือข่ายองค์กร ขโมยข้อมูล และสามารถเลือกเป้าหมายสำหรับการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ตามขนาดฐานะทางการเงินของบริษัท โดยเป็นการค้นพบในระหว่างที่ติดตามเหตุการณ์ข้อมูลรั่วไหลที่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มแฮ็กเกอร์ FIN7

FIN7 คือกลุ่ม Hacker ชาวรัสเซีย ที่มีเป้าหมายในการเรียกค่าไถ่จากเหยื่อที่ถูกโจมตี โดยเริ่มพบการโจมตีตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โจมตีต่างๆ เช่น การโจมตีตู้ ATM, การส่ง USB ที่มีมัลแวร์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย และการตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ปลอมขึ้น เพื่อจ้างผู้ทดสอบสำหรับการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ (ความจริงคือกำลังโจมตีเหยื่ออยู่จริง ๆ) และเหตุการณ์อื่น ๆ ที่พบความเกี่ยวข้องกับกลุ่ม รวมไปถึงกลุ่ม FIN7 ยังมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มแรนซัมแวร์อื่น ๆ เช่น Black Basta, Darkside, REvil และ LockBit Ransomware

ขั้นตอนโจมตีของ Checkmarks

Prodaft ได้อธิบายว่า Checkmarks เป็นแพลตฟอร์มสแกน และเรียกใช้โค้ดที่เป็นอันตรายจากระยะไกล (RCE ) โดยอัตโนมัติ สำหรับช่องโหว่ Microsoft Exchange servers บนเครื่องเป้าหมาย รวมถึงมีการใช้ช่องโหว่ในการยกระดับสิทธิ์ (Privilege Escalation) เช่น CVE-2021-34473, CVE-2021-34523 และ CVE-2021-31207

Checkmarks จะทำการดึงข้อมูลอีเมลจาก Active Directory และรวบรวมข้อมูล Microsoft Exchange servers หลังจากทำการโจมตีเครื่องที่มีช่องโหว่ได้สำเร็จ

จากนั้นจะนำข้อมูลของเหยื่อที่ทำการรวบรวมจาก Active Directory และ Microsoft Exchange servers เพิ่มไปยัง Panel ของระบบที่ใช้สำหรับควบคุมเครื่องเหยื่อโดยอัตโนมัติ เพื่อให้กลุ่ม FIN7 สามารถดูรายละเอียดของข้อมูลได้

นักวิเคราะห์ของ FIN7 จะตรวจสอบรายการข้อมูลของเหยื่อใหม่ รวมถึงแสดงคิดเห็นบนแพลตฟอร์ม Checkmarks เพื่อแสดงข้อมูลรายได้ปัจจุบันของเหยื่อ จำนวนพนักงาน โดเมน รายละเอียดสำนักงานใหญ่และข้อมูลอื่น ๆ รวมถึงการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย เช่น Owler, Crunchbase, DNB, Zoominfo และ Mustat ที่ช่วยให้ Hackers ประเมินได้ว่าบริษัทนั้นคุ้มค่า และมีโอกาสสำเร็จมากเพียงใดในการโจมตีด้วย Ransomware เพื่อเรียกค่าไถ่

หากเหยื่อรายนั้นได้รับการพิจารณาว่าคุ้มค่าและมีโอกาสสำเร็จ ฝ่ายโจมตีระบบของ FIN7 จะทำการออกแบบแผนการโจมตี ว่าสามารถใช้การเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างไร การโจมตีจะอยู่ได้นานแค่ไหนและไปได้ไกลแค่ไหน

อีกทั้ง Checkmarks ยังมี SQL injection module เพื่อใช้ SQLMap สแกนหาช่องโหว่บนเว็บไซต์ของเป้าหมาย รวมไปถึงการฝัง SSH backdoors เอาไว้ในเครื่องของเหยื่อ ทำให้สามารถขโมยไฟล์จากอุปกรณ์ที่ถูกโจมตี ใช้การเชื่อมต่อ reverse SSH (SFTP) ผ่านโดเมนบน Tor Network ถึงแม้เหยื่อจะจ่ายค่าไถ่แล้วก็ตาม เพื่อการกลับมาโจมตีซ้ำ รวมไปถึงการขายช่องโหว่นี้แก่ Hackers กลุ่มอื่น ๆ

Prodaft พบว่า แพลตฟอร์ม Checkmarks ของ FIN7 ได้ถูกนำไปใช้ในการแทรกซึมเข้าไปในบริษัทต่าง ๆ กว่า 8,147 แห่ง โดยส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา (16.7%) หลังจากสแกนเป้าหมายไปแล้วกว่า 1.8 ล้านเป้าหมาย

โดย แพลตฟอร์ม Checkmarks ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบ และความรุนแรงของการเกิดขึ้นของกลุ่มผู้โจมตีทางไซเบอร์ ที่มีจุดประสงค์ในการเรียกค่าไถ่จากเหยื่อว่าได้ส่งผลกระทบทั่วโลกแล้วในขณะนี้

การป้องกัน

อัปเดต Microsoft Exchange Server ที่ได้รับผลกระทบเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี
เพิ่ม FIN7 IOCไปยังอุปกรณ์ป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ท่านใช้งานอยู่ prodaft.

รัฐบาลสหรัฐฯ แจ้งเตือนการโจมตีระบบรัฐบาลช่วงการเลือกตั้ง 2020 จากแฮกเกอร์รัสเซีย

FBI และ CISA ออกรายงานร่วม Joint Security Advisory โดยมีเนื้อหาแจ้งเตือนการโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์ Energetic Bear ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลรัสเซียหนุนหลัง รายงานดังกล่าวระบุกลุ่ม Energetic Bear ประสบความสำเร็จในการโจมตีระบบของรัฐบาลไปแล้วอย่างน้อย 2 ระบบและมีการนำข้อมูลของผู้ใช้จากระบบดังกล่าวออกไปด้วย

ข้อมูลเบื้องต้นจากรายงานระบุว่า กลุ่ม Energetic Bear มีการโจมตีระบบผ่านทางช่องโหว่ใน Citrix access gateway (CVE-2019-19781), Microsoft Exchange (CVE-2020-0688), Exim (CVE-2019-10149), และ Fortinet SSL VPN (CVE-2018-13379) และยังมีการตรวจพบการใช้ช่องโหว่ Zerologon (CVE-2020-1472) ในการเข้ายึดครองและขโมยข้อมูลจากระบบ Active Directory อีกด้วย

รายงานร่วมมีการระบุถึง IOC และพฤติกรรมของผู้โจมตีเอาไว้แล้ว ผู้ที่ดูแลระบบสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้จาก https://us-cert.