Mozilla Firefox แก้ไขบัคการหยุดทำงานที่เกิดจากฟีเจอร์ใหม่บน Windows 11

Mozilla แก้ไขปัญหาซึ่งทำให้เว็บเบราว์เซอร์ Firefox หยุดการทำงานเมื่อคัดลอกข้อความบนอุปกรณ์ Windows 11 ที่เปิดใช้งาน Suggested Actions

โดยปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ Firefox ที่ใช้ระบบปฏิบัติการรุ่นล่าสุดของ Microsoft Windows 11 เวอร์ชัน 22H2 ซึ่งฟีเจอร์ใหม่นี้จะถูกเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น โดยมีผู้ใช้งานรายหนึ่งระบุว่า เบราว์เซอร์จะหยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง (มากกว่า 20 วินาที) และไม่ตอบสนองต่อการสั่งการจากผู้ใช้งาน

โดย Mozilla ได้แก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าวใน Firefox 106.0.3 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุดที่ถูกเผยแพร่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

สำหรับผู้ที่ยังไม่สามารถอัปเดต Firefox ได้ แนะนำให้ผู้ใช้งานปิดใช้งาน Suggested Actions บน Windows 11 ไปก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเว็บเบราว์เซอร์หยุดการทำงานในลักษณะดังกล่าว โดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:

กดปุ่ม Windows บนแป้นพิมพ์ หรือเปิด เมนู Start แล้วพิมพ์ Clipboard ในช่องค้นหา
กดปุ่ม Enter หรือเลือก Clipboard Settings ซึ่งจะนำไปยังการตั้งค่าคลิปบอร์ดของระบบ
เลือกปิดสวิตช์ Suggested Actions

ที่มา : bleepingcomputer

Mozilla เเก้ไขช่องโหว่ Firefox สำหรับ Android ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถ hijack เบราว์เซอร์ได้

Mozilla ได้แก้ไขช่องโหว่ที่อาจทำให้แฮกเกอร์สามารถ hijack เบราว์เซอร์ Firefox สำหรับ Android ที่ทำงานบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi เดียวกัน ซึ่งช่องโหว่นี้อาจถูกใช้เพื่อบังคับให้ผู้ใช้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นอันตรายที่ออกเบบมาเพื่อทำการฟิชชิ่งผู้ใช้หรือให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ไปยังอุปกรณ์ของผู้ใช้

ช่องโหว่ที่ได้รับการเเก้ไขนี้อยู่ในโปรโตคอล Simple Service Discovery Protocol (SSDP) ของ Firefox ซึ่ง SSDP เป็นโปรโตคอลที่ใช้ UDP และเป็นส่วนหนึ่งของ Universal Plug and Play ( UPnP ) ใช้สำหรับค้นหาอุปกรณ์อื่นที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย Wi-Fi เดียวกันเพื่อแชร์หรือรับเนื้อหาเช่นสตรีมวิดีโอที่แชร์โดยใช้อุปกรณ์ที่อยู่ภายในเครือข่าย โดย Firefox สำหรับ Android จะส่งข้อความการค้นหา SSDP ไปยังโทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายเดียวกันเป็นระยะเพื่อค้นหาอุปกรณ์หน้าจอที่สองที่จะส่ง หลังจากค้นหาอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อแล้วคอมโพเนนต์ SSDP ของ Firefox จะติดตามตำแหน่งของไฟล์ XML ซึ่งเก็บรายละเอียดการกำหนดค่าของอุปกรณ์

ด้วยเหตุนี้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้เซิร์ฟเวอร์ SSDP ที่เป็นอันตรายที่ตอบสนองด้วยข้อความที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษชี้ไปที่ Android intent URI. จากนั้นผู้ใช้ Android ที่เข้าเว็บไซต์ผ่าน Firefox จะถูก hijack เบราว์เซอร์และจะทำให้ผู้โจมตีสามารถรีไดเร็คผู้ใช้ไปยังหน้าเว็บฟิชชิ่งหรือทำให้เครื่องของผู้ใช้ดาว์นโหลดมัลแวร์จากเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายหรือติดตั้งส่วนขยายของ Firefox ที่เป็นอันตราย ช่องโหว่ถูกค้นพบโดย Chris Moberly นักวิจัยด้านความปลอดภัยชาวออสเตรเลียและช่องโหว่นี้จะส่งผลต่อ Firefox สำหรับ Android เวอร์ชัน 68.11.0 และต่ำกว่า

ผู้ใช้ Firefox สำหรับ Android ควรทำการอัปเดตเบราว์เซอร์เป็นเวอร์ชัน 79 หรือเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตี

ที่มา : Hackread | Welivesecurity

Google และ Mozilla เปิดตัว Chrome และ Firefox เวอร์ชันใหม่เพื่อแก้ไขช่องโหว่ในเบราว์เซอร์

บริษัท Mozilla ได้เปิดตัว Firefox เวอร์ชัน 75 ซึ่งได้อัพเดตแพตช์ความปลอดภัย 6 รายการสำหรับเดสก์ทอป และ 2 รายการสำหรับแอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์

ช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง 3 รายการซึ่งมีจุดบกพร่องด้านความปลอดภัยของหน่วยความจำ ได้แก่ CVE-2020-6825, CVE-2020-6826,CVE-2020-6828 ที่อาจนำไปสู่การรันโค้ดโดยไม่รับอนุญาต

ช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงปานกลาง 3 รายการคือ CVE-2020-6822, CVE-2020-6823 และ CVE-2020-6824 ที่อาจนำไปสู่การรันโค้ดโดยไม่รับอนุญาต

ช่องโหว่แอพพลิเคชั่นบนแอนดรอยด์ 2 รายการคือ CVE-2020-6821 ที่เป็นช่องโหว่สามารถอ่านความจำเริ่มต้นจึงทำให้เป็นช่องทางในการอ่านข้อมูลที่สำคัญได้ CVE-2020-6827 เป็นช่องโหว่ที่หลอกให้เบราว์เซอร์มือถือแสดง URI ที่ไม่ถูกต้อง

บริษัท Google ได้เปิดตัว Chrome เวอร์ชัน 81.0.4044.92 ที่มีเเก้ไขข้อบกพร่องด้านความปลอดภัย 32 รายการ โดย 3 รายการเป็นช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงสูง 8 รายการช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงปานกลางและ 12 รายการช่องโหว่ที่มีระดับความรุนแรงงต่ำ เปิดให้อัพเดตใน Windows, Mac และ Linux

ช่องโหว่ที่รุนแรงที่สุด CVE-2020-6454 เป็นช่องโหว่ use-after-free ใน extensions ส่วนที่ CVE-2020-6423 เป็นช่องโหว่ use-after-free ใน audio tracked และ CVE-2020-6455 ที่เป็นช่องโหว่ WebSQL

ส่วนช่องโหว่ที่มีความรุนแรงปานกลางเป็นข้อบกพร่องในการบังคับใช้นโยบาย, การตรวจสอบอินพุตที่ไม่น่าเชื่อถือในคลิปบอร์ด, use-after-free ใน devtools และ use-after-free ใน window management

Google ยังมอบรางวัลเงินรางวัลให้กับนักวิจัยด้านความปลอดภัยที่ได้ทำการรายงานช่องโหว่ และทำการจ่ายเงินมากกว่า $26,000 เพื่อเป็นรางวัล

ทั้งนี้ผู้ใช้งานควรอัพเดตเเพตซ์อยู่เสมอเพื่อความปลดภัยในการใช้งาน

ที่มา: securityaffairs

Google Developer Discovers a Critical Bug in Modern Web Browsers

นักพัฒนาจากทีม Google Chrome "Jake Archibald" ค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัย "Wavethrough" ในเบราว์เซอร์รุ่นใหม่ๆ ซึ่งส่งผลให้เว็บไซต์ที่ถูกเปิดอยู่ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์เดียวกันในขณะนั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลระหว่างกันได้

โดยปกตินั้นเมื่อผู้ใช้งานเข้าชมเว็บไซต์ เบราว์เซอร์จะไม่ได้รับอนุญาตให้เรียกดูข้อมูลของเว็บไซต์อื่นๆ ที่ไม่ได้มีที่มาจากเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานเข้าชมอยู่ อย่างไรก็ตามช่องโหว่ Wavethrough นั้นเกิดขึ้นในกรณีของการเรียกหาข้อมูลในลักษณะที่เป็นไฟล์เสียงหรือไฟล์วีดิโอ ที่สามารถถูกเรียกข้ามเว็บไซต์ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข

การเรียกหาข้อมูลที่เป็นไฟล์เสียงหรือไฟล์วีดิโอสามารถถูกเรียกได้เป็นส่วนๆ ในกรณีที่ไฟล์อาจมีขนาดใหญ่ เมื่อส่วนย่อยๆ ถูกเรียกและถูกใช้งานจนเกือบครบ เบราว์เซอร์จะพยายามค้นหาชิ้นส่วนต่อไปของไฟล์เพื่อที่จะเรียกและนำมาใช้งานใหม่ อย่างไรก็ตามการเรียกหาข้อมูลแบบเป็นส่วนๆ นี้กลับไม่ได้ถูกครอบคลุมโดยมาตรฐานความปลอดภัยที่ดีพอ ทำให้เกิดการนำไปพัฒนาที่แตกต่างกันและเกิดเป็นช่องโหว่ขึ้นมาได้

Jake Archibald ค้นพบช่องโหว่ Wavethrough ใน Microsoft Edge และ Mozilla Firefox ซึ่งทำให้การเรียกส่วนของข้อมูลนั้นสามารถูกบังคับให้เป็นการเรียกข้ามขอบเขตที่ควรจะเป็น หรือเรียกข้ามเว็บไซต์ได้ โดย Jake ได้แสดงตัวอย่างการโจมตีซึ่งทำให้เขาสามารถดึงข้อมูลของเว็บไซต์ที่มีการล็อกอินค้างอยู่ในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ได้

Recommendation : ในขณะนี้ช่องโหว่ดังกล่าวซึ่งตรวจพบใน Microsoft Edge และ Mozilla Firefox ได้ถูกแพตช์แล้ว แนะนำให้ผู้ใช้งานดำเนินการอัปเดตโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อรับแพตช์ช่องโหว่โดยด่วน
Affected Platform : Microsoft Edge และ Mozilla Firefox

ที่มา : thehackernews

Beware of Windows/MacOS/Linux Virus Spreading Through Facebook Messenger

นักวิจัยแจ้งอันตรายจากลิงก์วิดีโอที่ส่งมาจากใครก็ตาม บน Facebook Messenger ไม่ควรเปิดลิงก์ดังกล่าว เนื่องจากจะทำการเปิดเว็บไซต์ปลอมที่หลอกให้ติดตั้ง Software ที่เป็นอันตราย ซึ่ง URL ที่เปิดจะพาเหยื่อไปยังปลายทางที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับ Browser และ Operating System ตัวอย่างเช่น
- ผู้ใช้ Mozilla Firefox บน Windows จะถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์ที่แจ้งให้อัพเดต Flash Player พร้อมไฟล์ Windows ซึ่งมีค่าสถานะเป็น Adware Software
- ผู้ใช้ Google Chrome ถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์ที่ปลอมแปลงเป็น YouTube ซึ่งจะแสดง popup หลอกให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อดาวน์โหลดส่วนขยาย Chrome ที่เป็นอันตรายจาก Google Web Store
- ผู้ใช้ Safari บน Apple Mac OS X จะคล้ายกับ Firefox คือแจ้งอัพเดต Flash Player พร้อมไฟล์ระบบ MacOS ซึ่งเป็น Adware Software

เพื่อความปลอดภัย ควรระมัดระวังในการเปิดดูภาพหรือลิงก์วิดีโอที่ส่งมา ถึงแม้มาจากเพื่อนของคุณ ควรตรวจสอบความถูกต้องก่อน และให้อัพเดต Software Antivirus บนเครื่องให้เป็นรุ่นล่าสุดยู่เสมอ

ที่มา : TheHackerNews