Dutch Banks, Tax Agency Under DDoS Attacks a Week After Big Russian Hack Reveal

วันจันทร์ที่ผ่านมาพบการโจมตี DDoS ธนาคารของดัตช์สามแห่ง ได้แก่ ธนาคาร AMRO, Rabobank และ ING ทำให้ลูกค้าไม่สามารถล็อกอินเข้าสู่หน้าแดชบอร์ดบนเว็บได้ นอกจากนี้ Belastingdienst ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านภาษีของเนเธอร์แลนด์ก็ถูกโจมตี DDoS เช่นกัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเข้าสู่ web portal และไม่สามารถยื่นเอกสารเกี่ยวกับภาษีได้

นักวิจัยด้านความมั่นคงของเนเธอร์แลนด์ Rickey Gevers อ้างว่าการโจมตี DDoS มีปริมาณมากถึง 40 Gbps นอกจากนี้เขายังมีข้อมูลว่าการโจมตีนี้มาจาก IP addresses ที่เป็นเราเตอร์บ้าน และรายงานจาก NL Times อ้างถึงแหล่งข่าวจาก ESET ที่ได้กล่าวว่าการโจมตี DDoS บางส่วนมีการใช้มัลแวร์ Zbot ซึ่งเป็น Trojan ที่รู้จักกันดี โดยถูกพัฒนามาจาก ZeuS banking trojan รุ่นเก่า ซึ่งมีการติดต่อกับ C&C เซิร์ฟเวอร์ในรัสเซีย

ที่มา : BLEEPINGCOMPUTER

Hackers Targeting Servers Running Database Services for Mining Cryptocurrency

นักวิจัยด้านความปลอดภัยพบการโจมตีจากกลุ่มแฮ็คเกอร์ชาวจีนที่มีขอบเขตการโจมตีทั่วโลก โดยมีเป้าหมายหลักคือการโจมตีเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลเพื่อทำ mining cryptocurrencies, ล้วงข้อมูลสำคัญ และการทำ DDoS botnet

นักวิจัยจาก GuardiCore Labs ได้วิเคราะห์การโจมตีกว่าพันครั้งในรอบเดือนที่ผ่านมา โดยมีการพบแคมเปญการโจมตีจากกลุ่มแฮกเกอร์กลุ่มนี้ทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ Hex, Hanako, และ Taylor โดยมีเป้าหมายการโจมตีอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์ของ MSSQL และ MySQL ทั้งระบบปฏิบัตการ Windows และ Linux มีรูปแบบการโจมตีคือ

Hex จะทำหน้าที่ลงตัว cryptocurrency miners และ remote access trojans (RATs) บนเครื่อง
Taylor จะลงตัว keylogger และ backdoor
Hanako จะใช้เครื่องของเหยื่อสร้าง DDoS botnet

เครื่องที่ถูกโจมตีส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน แฮ็คเกอร์จะทำการ brute force เพื่อเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์ และทำการสั่งรัน SQL commands ที่เขียนเตรียมไว้เพื่อได้สิทธิ์เข้าใช้งานแบบเต็มตัว และเพื่อหลบหลีกการบันทึกของ audit logs สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือการที่แฮ็คเกอร์ใช้ระบบเคือข่ายของเหยื่อทำให้โครงสร้างการโจมตีของตัวเองเป็นแบบแยกส่วน และทำให้การขัดขวางไม่ให้ถูกหยุดการโจมตี
เพื่อเข้าถึงฐานข้อมูลด้วยสิทธิ์แบบเต็มตัว ทั้งสามตัวจะสร้าง backdoor users ไส้ในฐานข้อมูล และเปิดพอร์ตสำหรับ Remote Desktop ทำให้สามารถโหลดและติดตั้งการโจมตีในขั้นต่อไป สุดท้ายเพื่อปกปิดร่องรอยแฮ็คเกอร์จะลบทุกๆ ไฟล์ที่ระบุถึงการเข้าถึงต่างๆ

ผู้ดูแลระบบควรตรวจสอบการเข้าถึงฐานข้อมูล หรือระบบต่างๆ ว่าถูกต้องตามสิทธิ์ที่ได้รับหรือไม่ เพื่อป้องกันการแฮ็คเข้าระบบ นักวิจัยแนะนำให้ผู้ดูแลระบบทำตามคำแนะนำเรื่องการปรับต่างๆ จาก MySQL และ Microsoft มากกว่าการที่จะไปสนใจเรื่องการตั้งรหัสสำหรับการเข้าฐานข้อมูล

ที่มา: thehackernews

Cloudflare Now Provides Unmetered DDoS Mitigation Without Extra Costs

Cloudflare ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่คิดค่าบริการเพิ่มสำหรับ surge protection และยังสัญญาว่าจะไม่ทิ้งลูกค้า ไม่ว่าจะจ่ายค่าบริการอยู่ในระดับใดก็ตาม หรือมีการโจมตีหนักมากแค่ไหน ซึ่งมาตรการนี้เรียกว่า Unmetered Mitigation (คือกันได้แบบไม่คิดมิเตอร์ ไม่มีชาร์จเพิ่ม)
ทาง Matthew Prince ซึ่งเป็น CEO ของ Cloudflare ได้ออกมาบอกว่าปัจจุบันพวกเขาสามารถป้องกันการโจมตีของ DDoS โดยไม่กระทบต่อลูกค้ารายอื่นๆ และสามารถรองรับ request ของ DDoS ได้ถึง 15 Tbps
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถูกเรียกในชื่อ surge protection โดยเริ่มต้นมาจากการถูกโจมตีด้วย DDoS ทำให้ทางบริษัทที่รับป้องกันมองว่าหากต้องการการป้องกันที่มากขึ้นก็จำเป็นต้องจ่ายมากขึ้น หรือหากมากเกินกว่าที่ตัวบริษัทจะทำได้ก็อาจจะต้องยกเลิกบริการที่ให้กับลูกค้ารายนั้น Cloudflare จึงอออกประกาศดังกล่าวมาเพื่อช่วยเหลือลูกค้า

ที่มา : BleepingComputer

Someone DDoSed Chinese Telecom Firm For 11 Days

ในปัจจุบันการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ดูเหมือนจะเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของเหล่าแฮคเกอร์ที่ต้องการก้าวข้ามความสำเร็จที่เคยทำได้ในอดีต DDoS คืออาวุธหลักที่มักถูกหยิบมาใช้โจมตีอยู่บ่อยครั้ง และเป้าหมายหลักก็มีหลายประเทศ อาทิ ประเทศจีน เกาหลีใต้ อิตาลี อังกฤษ เป็นต้น การโจมตี DDoS ครั้งล่าสุดถือเป็นประวัติการณ์และเป็นการทำลายสถิติ เพราะกินระยะเวลายาวนานถึง 11 วัน หรือ 227 ชั่วโมงโดยประมาณ รายงานของนักวิจัยจาก Kaspersky Lab ระบุว่าการโจมตีเกิดขึ้นในไตรมาสที่สองของปี 2017

การโจมตีในลักษณะของ DDoS ยังมีการพัฒนาไปเป็น Ransom DDoS โดยที่เหยื่อจำเป็นต้องจ่ายเงินเพื่อแลกกับการหยุดโจมตี โดยในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากลุ่มแฮคเกอร์ Armada Collective ได้เรียกร้องเงินจำนวนกว่า 315,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อสถาบันการเงินสัญชาติเกาหลีเพื่อแลกกับการหยุดโจมตีหรือไม่ถูกโจมตีแบบ DDoS

การโจมตีไม่ใช่ฝีมือของแฮคเกอร์ที่เก่งเสมอไป แต่บ่อยครั้งที่มาจากฝีมือของแฮคเกอร์ทั่วไปที่ไม่ได้มีความชำนาญในเรื่องของ DDoS แต่เพราะเพียงแค่ต้องการหาวิธีทำเงินแบบง่ายๆ เท่านั้นเอง

ที่มา: hackread

Cisco ปล่อยแพตช์ด้านความปลอดภัยกัน DoS Attack ให้ Cisco IOS และในรุ่น XE

Cisco ได้มีการปล่อยอัพเดทเพื่ออุดช่องโหว่ที่ส่งผลกระทบแก่ Cisco IOS และ Cisco IOS XE ซึ่งผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่ดังกล่าวทำการโจมตี โดยจะทำให้บริการเกิดการขัดข้องหรือใช้งานไม่ได้ (DoS Attack) ช่องโหว่ทั้งสองช่องโหว่สามารถทำการโจมตีได้ง่ายและมีผลลัพธ์ที่สร้างความเสียหายได้ค่อนข้างสูง แนะนำให้ดำเนินการแพตช์โดยด่วนพร้อมทั้งติดตามประกาศด้านความปลอดภัยได้จาก Cisco Security Advisories and Alert (https://tools.

Palo Alto reveals critical bugs and March 16th patch deadline

Palo Alto Networks ได้ออกมาเปิดเผยถึงช่องโหว่ 4 รายการ ซึ่งรวมถึงช่องโหว่ Remote Code Execution และ DDOS ในนั้นด้วย โดยระบบของ Palo Alto Networks ที่ถูกพบช่องโหว่พร้อมออก Patch มาให้อัพเดตกันอย่างเร่งด่วนมีดังนี้

GlobalProtect/SSL VPN Web Interface พบช่องโหว่ร้ายแรงและช่องโหว่ระดับปานกลางในการทำ Buffer Overflow ที่เปิดให้ผู้โจมตีทำ DoS ได้
Management Web Interface พบช่องโหว่ระดับสูงที่ทำ Remote Code Execution ได้
Command Line Interface พบช่องโหว่ระดับต่ำที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้คำสั่งด้วยสิทธิ์ Root ได้

สำหรับช่องโหว่เหล่านี้ PAN-OS ที่ได้รับผลกระทบนั้นได้แก่รุ่น 5.0.17, 5.1.10, 6.0.12, 6.1.9, 7.0.5 และก่อนหน้าทั้งหมด ดังนั้นผู้ใช้งาน Palo Alto Networks ควรรีบ Patch ทันที

ที่มา : theregister

DDoS attack on BBC may have been biggest in history

อาจเป็นการโจมตีแบบ DDoS ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อเว็บไซต์ BBC ถูกโจมตีเมื่อวันสิ้นปีนานกว่า 3 ชั่วโมงครึ่ง โดยทางกลุ่มที่เรียกตนเองว่า New World Hacking ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อการโจมตีดังกล่าวที่มีขนาดสูงถึง 602 Gbps และเป็นเพียงแค่การทดสอบเท่านั้น
New World Hacking กลุ่มแฮกเกอร์ที่มีจุดประสงค์หลักในการโจมตีเว็บไซต์ที่สนับสนุน ISIS ได้ออกมาแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการดังกล่าว โดยแจ้งกับทาง BBC ว่า “พวกเราไม่ได้วางแผนที่จะล่มระบบไปนานหลายชั่วโมงขนาดนั้น” อย่างไรก็ตาม แฮกเกอร์กลุ่มนี้ยังได้ทำการโจมตีเว็บไซต์แคมเปญของ Donald Trump หนึ่งในผู้สมัครลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันเดียวกันด้วยเช่นกัน
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มแฮกเกอร์ระบุว่า พวกเขาใช้ Amazon AWS ในการสร้าง Bandwidth ขนาดใหญ่ที่ใช้โจมตี ซึ่งทาง A10 Networks ให้ความเห็นว่า มันอาจจะเป็นไปได้ เนื่องจากบริการ DDoS Attack ไม่ได้ผิดกฏหมายเสมอไป บางครั้งมีการตั้งบริการดังกล่าวขึ้นมาเพื่อตรวจสอบโหลดที่รองรับได้ของเว็บไซต์
จากรายงานของ Netcraft ผู้ให้บริการโซลูชันด้านความปลอดภัย ระบุว่า บริการทุกอย่างของ BBC สามารถให้บริการได้ตามปกติแล้วหลังจากที่มีการใช้ระบบ Centent Delivery Network ของ Akamai

ที่มา : NETWORKWORLD

GitHub เผยรายละเอียดการโดนยิง DDoS จากจีน, Baidu ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์ในประเทศจีนที่มีการลงโฆษณาจากเว็บ Baidu เมื่อเข้าเว็บไซต์ดังกล่าวจากนอกประเทศจีน จะพบหน้าจอป๊อบอัพขึ้นมาทุกๆ 5 วินาที เบื้องต้นคาดว่าน่าจะเป็นการโจมตีประเภท Cross-Site Scripting (XSS) จึงได้ตรวจสอบโค้ดดังกล่าวแล้วพบว่ามีการเรียกไปยัง URL ของ GitHub จำนวนสอง URL คือ github.

133 DDoS attacks over 100Gbps so far in 2014

Arbor Networks บริษัทชั้นนำด้านโซลูชันป้องกัน DDoS ได้เปิดเผยข้อมูลการโจมตีแบบ DDoS จากทั่วโลกใน Q3 ปี 2014 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าขนาดการโจมตีของ DDoS เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งขนาดใหญ่ที่สุดที่ตรวจพบ คือ 325 Gbps นอกจากนี้ ยังค้นพบว่า เริ่มมีการโจมตีผ่านทางโปรโตคอล SSDP (Simple Service Discovery Protocol) มากขึ้นอย่างน่าแปลกใจ

Feedly buckles under DDoS but defies attackers’ extortion demands

ช่วงค่ำเมื่อวานนี้ (11 มิ.ย. 57) หลายคนอาจจะประสบปัญหาเข้าใช้งาน Feedly ไม่ได้เป็นเวลาหลายชั่วโมง นั่นเป็นเพราะ Feedly ถูกโจมตีด้วย DDoS แถมผู้โจมตียังได้เรียกเงินสำหรับการหยุดยิง DDoS ถล่มอีกด้วย
ตอนนี้ Feedly กลับมาใช้งานได้ปกติแล้วโดยไม่ได้เสียเงินแต่อย่างใด แต่เป็นการปรับโครงสร้างของระบบ และทาง Feedly แจ้งว่าไม่มีข้อมูลใดๆ รั่วไหลจากการโจมตีครั้งนี้ พร้อมทั้งกำลังรวมกลุ่มกับผู้ที่ถูกโจมตีเพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป
เมื่อหลายเดือนก่อน Basecamp ก็ถูกโจมตีในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ไม่แน่ว่าการโจมตีครั้งนี้อาจจะเป็นผู้โจมตีรายเดียวกันก็เป็นได้

ที่มา : ars technica