IETF เสนอมาตรฐาน RFC8915 “Network Time Security (NTS)” ร่างใหม่ของ NTP

Internet Engineering Task Force หรือ IETF มีการเผยแพร่ข้อเสนอสำหรับมาตรฐานใหม่ RFC8915 หรือ Network Time Security (NTS) โดยเป้าหมายที่ชัดเจนของ RFC นี้นั้นคือการแก้ไขปัญหา จุดอ่อนและช่องโหว่ในโปรโตคอล network time protocol หรือ NTP

NTP ซึ่งปัจจุบันมีอายุครบ 35 ปีแล้วนั้นมีปัญหาและช่องโหว่อยู่มากมาย อาทิ ลักษณะของโปรโตคอลที่สามารถถูกนำมาใช้ในการโจมตีลักษณะ DDoS amplification, ปัญหาการแก้ไขข้อมูลในแพ็คเกตระหว่างทาง และการโจมตีในลักษณะของ replay attack ด้วยการใช้วิธี MiTM

สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ NTS นั้นคือการนำเอาศาสตร์ของการเข้ารหัสเข้ามาช่วยในการันตีความถูกต้องและความลับของแพ็คเกจ และแก้ปัญหา DDoS amplification โดยการตรวจสอบขนาดของข้อมูลในโปรโตคอล

แม้จะออกมาดูดีและมีความหวัง NTS ก็ยังมีข้อกังวลอยู่ในบางกรณี เช่น การใช้การเข้ารหัสแบบอสมมาตรอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการที่ผู้โจมตีจะทำ DDoS โดยบังคับให้ระบบประมวลผลการเข้าและถอดรหัสที่นาน (จากเดิมที่นานและใช้ทรัพยากรเยอะพอสมควร) ในประเด็นนี้นั้น RFC8915 มีการระบุถึงผลกระทบที่ต่ำหากถูกโจมตีจริง เช่นเดียวกับกระบวนการตรวจสอบขนาดของข้อมูลเพื่อป้องกัน DDoS amplifcation ซึ่งก็ยังไม่สามารถทำได้ 100%

RFC เป็นแนวทางเพื่อการอ้างอิง การอิมพลีเมนต์แนวทางจาก RFC สามารถเกิดขึ้นถ้าในแบบที่แย่หรือดีกว่าซึ่งต้องติดตามกันต่อไป ทั้งนี้ใครสนใจที่จะอ่าน RFC ฉบับนี้โดยตรงสามารถเข้าอ่านได้ที่ https://tools.ietf.org/html/rfc8915

ที่มา: securityweek.com