แจ้งเตือน IoT Botnet ใหม่ “Ttint” ที่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-day ใน Tenda Router ในการเเพร่กระจาย

Netlab ทีมนักวิจัยด้านความปลอดภัยของบริษัท Qihoo 360 จากจีนได้รายงานถึงการตรวจพบบ็อตเน็ตใหม่ที่มีชื่อว่า “Ttint” ที่กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แบบ zero-day ในเราท์เตอร์ Tenda เพื่อทำการเเพร่กระจาย โดยการติดตั้งมัลแวร์บนเราท์เตอร์ Tenda เพื่อทำการสร้างบอทเน็ต IoT (Internet of Things)

จากรายงานของ Netlab ได้ระบุว่าบ็อตเน็ต Ttint เป็นบ็อตเน็ตสายพันธุ์เดียวกับ Mirai เนื่องจากถูกสร้างด้วยโค้ดเบสเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วบ็อตเน็ตชนิดนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อทำการโจมตี DDoS แต่ด้วยการพัฒนาฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มจึงทำให้ปัจจุบัน Ttint มีความสามารถเพิ่มเติมที่นอกเหนือจากการเเพร่กระจายบนเราเตอร์อีก 12 ฟังก์ชั่น โดยในการเเพร่กระจายนั้นบ็อตเน็ต Ttin จะใช้ประโยชน์จากช่องโหว่แบบ zero-day จำนวน 2 ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-10987 และ CVE-2018-14558 เป็นช่องโหว่ในเราท์เตอร์ Tenda

Netlab ได้เเนะนำให้ผู้ใช้เราเตอร์ Tenda ตรวจสอบเฟิร์มแวร์และทำการอัปเดตเฟิร์มแวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของบ็อตเน็ต Ttint

ที่มา : Zdnet

Gigantic 100,000-strong botnet used to hijack traffic meant for Brazilian banks

นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Qihoo 360 จากประเทศจีนเปิดเผยการโจมตี Hijacked บนเราเตอร์ที่ใช้ในบ้านกว่า 100,000 เครื่องพร้อมทำการแก้ไขการตั้งค่า DNS เพื่อ redirects การร้องขอ DNS ของผู้ใช้งานไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตราย (phishing site) เพื่อขโมยข้อมูลสำคัญในการเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ โดยตั้งชื่อแคมเปญดังกล่าวว่า GhostDNS

Netlab นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Qihoo 360 เปิดเผยการทำงานของ GhostDNS ว่าจะทำการสแกนหา IP ของเราเตอร์ที่มีช่องโหว่ ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาง่ายหรือไม่มีรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบการตั้งค่าเราเตอร์ และทำการแก้ไขการตั้งค่า DNS ใหม่ เพื่อ redirects การร้องขอ DNS ของผู้ใช้งานทั้งหมดที่ส่งผ่านเราเตอร์ที่ถูกบุกรุกไปยัง DNS Server ที่เป็นอันตรายเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้เมื่อผู้ใช้พยายามเข้าสู่เว็บไซต์ที่ถูกต้องจะถูกส่งไปยังเว็บไซต์ที่อันตรายแทน ซึ่งเว็บไซต์ที่ถูก redirect ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ของธนาคารในประเทศบราซิลและบริการเว็บโฮสติ้งต่างๆ เช่น Netflix, Citibank.