แพตช์ความปลอดภัยแอนดรอยด์ประจำเดือนตุลาคม 2020 มาแล้ว แก้ช่องโหว่รวม 48 รายการ

Google ปล่อยแพตช์ความปลอดภัยแอนดรอยด์ประจำเดือนตุลาคม 2020 มาแล้ววันนี้ โดยแพตช์ประจำเดือนนี้มีทั้งในรอบซึ่งถูกประกาศออกมาในลักษณะ security patch level ของวันที่ 1 และวันที่ 5 ตุลาคม 2020

จาก security patch level ทั้งสองครั้งและตัวเลขแพตช์ทั้งหมด 48 รายการ แพตช์ซี่งถูกจัดอยู่ในระดับ critical ในรอบนี้นั้นอยู่ในส่วนโมดูลของ Qualcomm ซึ่งไม่ได้เป็น open source ซึ่งอยู่ทั้งหมด 6 รายการ

แนะนำให้ทำการติดตามแพตช์จากผู้ผลิตและทำการอัปเดตทันทีเมื่อแพตช์พร้อมติดตั้ง พร้อมลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน

ที่มา : securityweek

Adobe เเก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” จำนวน 18 รายการในผลิตภัณฑ์ InDesign และ Framemaker

 

Adobe ได้เปิดตัวแพตซ์การอัปเดตด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” จำนวน 18 รายการที่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาตบนอุปกรณ์ที่ใช้ Adobe InDesign, Adobe Framemaker และ Adobe Experience Manager เวอร์ชันที่มีช่องโหว่ โดยช่องโหว่ที่มีความสำคัญมีดังนี้

ช่องโหว่สำหรับผลิตภัณฑ์ Adobe InDesign ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่จำนวน 5 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-9727, CVE-2020-9728, CVE-2020-9729, CVE-2020-9730 และ CVE-2020-9731ช่องโหว่เป็นประเภท Memory Corruption ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถโค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ช่องโหว่นี้มีจะส่งผลกรทบกับ Adobe InDesign สำหรับ macOS ผู้ใช้ Adobe InDesign สำหรับ macOS ควรทำการอัปเดตเป็นเวอร์ชัน 15.1.2 เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้
ช่องโหว่สำหรับผลิตภัณฑ์ Adobe Framemaker ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่จำนวน 2 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-9726 และ CVE-2020-9725 ช่องโหว่เป็นประเภท Out-of-Bounds Read และ Stack-based Buffer Overflow ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถโค้ดได้โดยไม่ได้รับอนุญาต ช่องโหว่นี้มีจะส่งผลกระทบกับ Adobe Framemaker สำหรับ Windows ผู้ใช้ควรทำการอัปเดต Adobe Framemaker ให้เป็นเวอร์ชัน 2019.0.7 เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้
ช่องโหว่สำหรับผลิตภัณฑ์ Adobe Experience Manager ได้รับการเเก้ไขช่องโหว่จำนวน 11 รายการถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-9732, CVE-2020-9733, CVE-2020-9734, CVE-2020-9735, CVE-2020-9736, CVE-2020-9737, CVE-2020-9738, CVE-2020-9740, CVE-2020-9741, CVE-2020-9742 และ CVE-2020-9743 ช่องโหว่เป็นประเภท Cross-Site Scripting (XSS) ช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีสามารถเรียกใช้ JavaScript ในเบราว์เซอร์และอาจนำไปสู่การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัยได้ ช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับผู้ติดตั้ง Adobe Experience Manager ก่อนเวอร์ชั่น 6.5.6.0 หรือ 6.4.8.2 และผู้ใช้ AEM Forms add-on ผู้ใช้ควรทำการอัปเดตเเพตซ์ AEM เป็นเวอร์ชั่น 6.5.6.0 หรือ 6.4.8.2 และทำการอัปเดตเเพตซ์ AEM Forms add-on Service Pack เพื่อทำการเเก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว

ทั้งนี้ Adobe ได้ออกคำเเนะนำให้ผู้ใช้ควรทำการอัปเดตผลิตภัณฑ์ของ Adobe ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เป็นช่องทางในการโจมตีระบบของผู้ใช้

ที่มา: bleepingcomputer.

Cisco Critical Flaw Patched in WAN Software Solution

Cisco ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ระดับ “Critical” ใน WAN Software Solution

Cisco ออกเเพตซ์แก้ไขช่องโหว่ที่สำคัญใน Virtual Wide Area Application Services (vWAAS) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ WAN และช่วยจัดการแอปพลิเคชันบน Infrastructure ของ Virtual Private Cloud

ช่องโหว่ถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-3446 (CVSS: 9.8/10) ช่องโหว่เกิดเนื่องจากมีบัญชีผู้ใช้และ Default password ของผู้ใช้อยู่ในระบบของซอฟต์แวร์จึงทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้บัญชีผู้ใช้นี้เข้ามาในระบบในสิทธ์ของผู้ดูแลระบบเพื่อจัดการกับระบบได้

ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ Virtual Wide Area Application Services (vWAAS) อยู่ในอุปกรณ์ประมวลผลที่เรียกว่า Cisco Enterprise Network Compute Series (ENCS) และถูกปรับใช้ใน Cisco Enterprise NFV Infrastructure Software (NFVIS) เพื่อเป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่ใช้การจัดการและควบคุมสำหรับ Virtualization service ซึ่งช่องโหว่จะส่งผลกระทบกับอุปกรณ์ Cisco ENCS 5400-W Series และ CSP 5000-W Series ที่ใช้ NFVIS อิมเมจเวอร์ชัน 6.4.5 หรือ 6.4.3d และเวอร์ชันก่อนหน้า ทั้งนี้ Cisco vWAAS ที่มีอิมเมจ NFVIS เวอร์ชัน 6.4.3e หรือ 6.4.5a และเวอร์ชัน ใหม่กว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ

นอกจากนี้ Cisco ยังได้ทำการออกแพตช์เพื่อเเก้ไขช่องโหว่ CVE-2020-3506, CVE-2020-3507 ใน IP camera 8000 Series และช่องโหว่ CVE-2020-3443 ใน Smart Software Manager

Cisco ได้ออกคำเเนะนำให้ผู้ดูแลระบบรีบทำการอัพเดตเเพตซ์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อเเก้ไขช่องโหว่และป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่จากผู้ประสงค์ร้าย

ที่มา: threatpost | cisa

Cisco ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ความรุนเเรงระดับ “Critical” ที่อนุญาตให้ผู้โจมตีสามารถยึดครองเราเตอร์ได้

Cisco ได้ประกาศถึงเเพตซ์เเก้ไขและปรับปรุงความปลอดภัยเพื่อจัดการเเก้ไขช่องโหว่ Remote Code Execution (RCE), Authentication Bypass และ Static Default Credential ที่ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์เราเตอร์และไฟร์วอลล์หลายตัวใน Cisco ที่อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถครอบครองอุปกรณ์อย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ Cisco ยังได้ออกเเพตซ์การปรับปรุงความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่การเพิ่มสิทธิพิเศษในซอฟต์แวร์ Cisco Prime License Manager

ช่องโหว่ที่ได้รับการเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่และปรับปรุงความปลอดภัยทั้ง 5 รายการนี้ถูกจัดระดับคะเเนนความรุนเเรงจาก CVSS อยู่ที่ 9.8 จาก 10 คะเเนน โดยช่องโหว่ที่สำคัญมีดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-3330 เป็นช่องโหว่ Static Default Credential กระทบกับ Cisco Small Business รุ่น RV110W Wireless-N VPN Firewall firmware เฟิร์มแวร์ก่อนเวอร์ชั่น 1.2.2.8.
ช่องโหว่ CVE-2020-3323 เป็นช่องโหว่ Remote Command Execution (RCE) กระทบกับ Cisco Small Business รุ่น RV110W, RV130, RV130W และ RV215W
ช่องโหว่ CVE-2020-3144 เป็นช่องโหว่ Authentication Bypass กระทบกับ Cisco RV110W, RV130, RV130W และ RV215W
ช่องโหว่ CVE-2020-3331 เป็นช่องโหว่ Arbitrary Code Execution กระทบกับ Cisco เราเตอร์ซีรีส์ RV110W and RV215W เฟิร์มแวร์ก่อนเวอร์ชั่น 1.3.1.7.
ช่องโหว่ CVE-2020-3140 เป็นช่องโหว่ Privilege Escalation กระทบกับ Cisco Prime License Manager เวอร์ชั่นก่อนหน้า 10.5(2)SU9 และ 11.5(1)SU6

ผู้ใช้งานควรรีบทำการอัปเดตเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ให้เร็วที่สุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโยชน์จากช่องโหว่

ที่มา: bleepingcomputer

VMware fixes critical vulnerability in Workstation and Fusion

VMware ออกเเพตซ์เเก้ไขช่องโหว่ที่มีระดับความรุนเเรง “Critical” 10 รายการใน VMware Workstation และ Fusion

VMware ได้เปิดเผยถึงช่องโหว่ 10 รายการที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ VMware ESXi, Workstation และ Fusion ซึ่งช่องโหว่มีความรุนเเรงระดับ “Critical” โดยช่องโหว่ที่สำคัญมีรายละเอียดดังนี้

ช่องโหว่ CVE-2020-3962 (CVSSv3: 9.3) และ CVE-2020-3969 (CVSSv3: 8.1) เป็นช่องโหว่ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์ SVGA ทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงเครื่อง VM ที่ทำการเปิด 3D graphic ใช้งานอยู่ อาจทำให้ผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่นี้เพื่อเรียกใช้งานโค้ดบน hypervisor จากเครื่อง VM
ช่องโหว่ CVE-2020-3970 เป็นช่องโหว่ที่ส่งผลกับ VMware ESXi, Workstation และ Fusion ทำให้ผู้โจมตีที่ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าถึงเครื่อง VM สามารถทำการ Denial of Service (DoS) โปรเซส vmx บนเครื่อง VM ที่ทำการเปิด 3D graphic ใช้งานอยู่
ช่องโหว่ CVE-2020-3967 เป็นช่องโหว่ที่ส่งผลต่ออุปกรณ์คอนโทรลเลอร์ USB 2.0 สำหรับผลิตภัณฑ์ VMware ESXi, Workstation และ Fusion โดยช่องโหว่จะทำให้ผู้โจมตีที่สามารถเข้าถึงเครื่อง VM ทำการเรียกใช้โค้ดบน hypervisor

ช่องโหว่ดังกล่าวส่งผลกับ VMware ESXi เวอร์ชั่น 6.5, 6.7 และ 7.0, Workstation เวอร์ชั่น 15.X และ Fusion เวอร์ชั่น 11.X ทั้งนี้ผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบควรทำการอัพเดตและติดตั้งแพตซ์ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเพื่อป้องกันการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่

ที่มา: securityaffairs | vmware

 

WFH Alert: Critical Bug Found in Old D-Link Router Models

เตือนภัยสำหรับผู้ WFH: พบช่องโหว่ระดับ “Critical” ใน D-Link Router รุ่นเก่า

นักวิจัยจาก Palo Alto Networks Unit 42 ได้เปิดเผยถึงช่องโหว่ระดับ “Critical” ใน D-Link DIR-865L จำนวน 6 รายการ โดย  นั้นได้ End Of Support ไปแล้วในสหรัฐอเมริกาและกำลังจะหยุดการจำหน่ายในทวีปยุโรป โดยรายละเอียดของช่องโหว่มีดังนี้

CVE-2020-13782 (CVSS 9.8): เป็นช่องโหว่ที่ผู้โจมตีสามารถใช้ Command Injection ได้บนเราเตอร์ด้วยสิทธิ์ระดับผู้ดูแลระบบ ซึ่งถือว่าเป็นช่องโหว่ที่มีความอันตรายอย่างมาก
CVE-2020-13786 (CVSS 8.8): เป็นช่องโหว่ Cross-Site Request Forgery (CSRF)
CVE-2020-13785 (CVSS 7.5): ช่องโหว่เกิดจาการเข้ารหัสของอุปกรณ์ที่ไม่มีความเเข็งแกร่งเพียงพอ
CVE-2020-13784 (CVSS 7.5): ช่องโหว่สามารถทำให้ผู้โจมตีทำการสร้าง Session Cookie ได้ถ้ารู้เวลาการเข้าใช้ของผู้ใช้งาน
CVE-2020-13783 (CVSS 7.5): ช่องโหว่สามารถทำให้ผู้โจมตีสามารถค้นหารหัสผ่านและทราบรหัสผ่านได้ เนื่องจากอุปกรณ์ทำการจัดเก็บข้อมูลแบบ Plain text
CVE-2020-13787 (CVSS 7.5): ช่องโหว่เกิดจากการใช้งานโปรโตคอล WEP บนอุปกรณ์ ทำให้ผู้โจมตีสามารถดักจับข้อมูลได้แบบ plaintext
นักวิจัยจาก Palo Alto Networks Unit 42 ยังกล่าวอีกว่าหลังจากการรายงานช่องโหว่ D-Link ได้ทำการปล่อย Beta Firmware เพื่อเเก้ไขช่องโหว่เพียง 3 ช่องโหว่จากช่องโหว่ทั้งหมด ซึ่ง BleepingComputer ได้ทำการสอบถามถึงการเเก้ไขช่องโหว่ D-Link ได้เเจ้งกับ BleepingComputer ว่า D-Link DIR-865L นั้นได้ End Of Support ไปแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา ทาง D-Link จึงขอเเนะนำให้ผู้ใช้งานทำการเปลื่ยนเราเตอร์เป็นรุ่นใหม่ที่สามรถรองรับการอัพเดต Firmware ได้

ทั้งนี้นักวิจัยจาก Unit 42 นั้นได้ออกคำเเนะนำให้ผู้ใช้งาน D-Link DIR-865L ทำการตั้งค่าเราเตอร์ให้เปลื่ยนไปใช้งาน HTTPS เพื่อป้องกันการโจมตี Session Hijacking และทำการเปลื่ยน Time Zone บนเราเตอร์เพื่อป้องกันการโจมตีแบบสุ่มการสร้าง Session ID

ที่มา:bleepingcomputer  threatpost   hackread

Microsoft ทำการแก้ไข 3 ช่องโหว่ ‘Zero-day’ และ 15 ช่องโหว่ระดับ ‘Critical’ ในรายงานแพตช์ประจำเดือนเมษายน

Microsoft ทำการแก้ไข 3 ช่องโหว่ ‘Zero-day’ และ 15 ช่องโหว่ระดับ ‘Critical’ ในรายงานแพตช์ประจำเดือนเมษายน

Microsoft ได้เปิดตัวแพตช์อัปเดตความปลอดภัยเดือนเมษายน 2020 โดย Microsoft แจ้งว่าได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ 113 รายการในผลิตภัณฑ์ Microsoft โดยแบ่งออกเป็นช่องโหว่ระดับ Critical 15 รายการ, ช่องโหว่ระดับ Important 93 รายการ, ช่องโหว่ระดับ Moderate 3 รายการและช่องโหว่ระดับ Low อีก 2 รายการ

ทั้งนี้ Microsoft ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ ‘Zero-day’ ด้วยกัน 3 รายการโดยพบว่ามีช่องโหว่ 2 รายการถูกใช้ในการโจมตีระบบแล้ว

รายละเอียดของช่องโหว ‘Zero-day’

CVE-2020-1020 (CVSS 7.8) - ช่องโหว่การรันโค้ดโจมตีระยะไกลของ Adobe Font Manager Library ผู้โจมตีสามารถใช้ช่องโหว่เพื่อลอบรันโค้ดจากทางไกลได้ (RCE) แต่สำหรับ Windows 10 ผู้โจมตีจะสามารถเข้าโจมตีใน AppContainer Sandbox ด้วยสิทธิ์จำกัดและจะสามารถติดตั้งโปรแกรม, เรียกดู, เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลได้ รวมถึงสร้างบัญชีผู้ใช้ใหม่ที่มีสิทธิ์เต็มของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ดีมีหลายทางที่ผู้โจมตีจะใช้ช่องโหว่ได้ เช่น หลอกให้เหยื่อเปิดไฟล์เอกสารที่สร้างขึ้นแบบพิเศษหรือดูผ่าน Windows Preview
CVE-2020-0938 (CVSS 7.8) - ช่องโหว่การรันโค้ดโจมตีระยะไกลของ Adobe Font Manager Library เช่นเดียวกันกับ CVE-2020-1020
CVE-2020-1027 (CVSS 7.8) - เป็นช่องโหว่ยกระดับสิทธิ์ที่เกิดขึ้นใน Windows Kernel
Microsoft ยังได้เปิดเผยว่าช่องโหว่ Zero-day ทั้ง 3 ได้รับการรายงานจากทีมความปลอดภัยของกูเกิลทั้งจาก Project Zero และ Threat Analysis Group (TAG) นอกจากนี้ยังมีช่องโหว่ระดับรายแรงและช่องโหว่อื่นๆ กว่า 100 รายการถูกแพตช์ในครั้งนี้เช่นกัน ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้
แพตช์ความปลอดภัยที่เปิดให้อัพเดตคือ KB4549951 และ KB4549949 ผู้ใช้ควรติดตั้งการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงของข้อมูลและระบบ

ที่มา: www.

Adobe Fixes 24 Critical Flaws in Acrobat Reader, Flash, Shockwave Player

Adobe ปล่อยแพทช์ประจำเดือนเมษายน แก้ไขช่องโหว่ทั้งหมด 43 รายการ ที่รวมถึงช่องโหว่สำคัญ (Critical) 24 รายการในผลิตภัณฑ์ 8 รายการด้วย

ช่องโหว่สำคัญ 24 รายการ เป็นช่องโหว่ที่ส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถสั่งรันคำสั่งที่เป็นอันตรายได้ (code execution) บนผลิตภัณฑ์หลายรายการ ยกตัวอย่างเช่น Acrobat Reader, Adobe Flash และ Adobe Shockwave Player เป็นต้น สำหรับในรอบนี้ผลิตภัณฑ์ที่มีจำนวนช่องโหว่ที่ได้รับการแก้ไขมากที่สุด คือ Acrobat Reader มีทั้งหมด 21 รายการ และ 11 รายการเป็นช่องโหว่สำคัญ (Critical) ประกอบด้วย Acrobat DC (2019.010.20098 และก่อนหน้า), Acrobat Reader 2017 (2017.011.30127 และก่อนหน้า), Acrobat Reader DC Classic 2015 (2015.006.30482 และก่อนหน้า) ทั้งบน Windows และ macOS

นอกจากนี้ยังแก้ไขช่องโหว่การรันคำสั่งอันตรายใน Adobe Shockwave Player (เวอร์ชั่น 12.3.4.204 และก่อนหน้า) ทั้งหมด 7 รายการ, ใน Adobe Flash 1 รายการ และช่องโหว่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล (information disclosure) อีก 1 รายการ, ใน Adobe XD 2 รายการ, ใน InDesign 1 รายการ, ใน Adobe Bridge CC 2 รายการ และช่องโหว่เกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลอีก 6 รายการ และแก้ไขช่องโหว่ความรุนแรงระดับกลาง (Moderate) ใน Adobe Dreamweaver

ผู้ใช้งานที่มีการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ ควรทำการอัพเดตให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด และติดตามข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา: threatpost

Adobe Fixes 43 Critical Acrobat and Reader Flaws

Adobe ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ที่มีสำคัญและร้ายแรง 75 รายการ ครอบคลุม Acrobat Reader DC, Adobe Flash Player, Adobe Coldfusion และ Creative Cloud Desktop

แพทช์ที่ออกมาเป็นการแก้ไขช่องโหว่ระดับร้ายแรง (Critical) 43 รายการใน Acrobat Reader ซึ่งรวมถึงแก้ไข ข้อผิดพลาด zero-day ที่ 0patch ได้ปล่อยแพทช์ชั่วคราวออกมาก่อนหน้านี้ ข้อผิดพลาดดังกล่าวทำให้ผู้โจมตีสามารถขโมยข้อมูลชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่านที่อยู่ในรูปแบบของค่า hash นอกจากนี้ยังมีช่องโหว่อื่นๆ เช่น
- CVE-2018-19725 และ CVE-2019-7041 เป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเพิ่มระดับสิทธิ์ตัวเองได้ (Privilege Escalation)
- CVE-2019-7030 เป็นช่องโหว่ที่ทำให้มีการเปิดเผยข้อมูล

นอกจากนี้ยังมีช่องโหว่อื่นๆ อย่างเช่น ช่องโหว่ที่ทำให้สามารถสั่งรันคำสั่งได้ตามต้องการ และช่องโหว่ที่เกี่ยวกับการจัดการหน่วยความจำของข้อมูล (buffer, out of bound และ use-after-free) โดยเวอร์ชันที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ Acrobat DC และ Acrobat Reader DC Continuous (เวอร์ชั่น 2019.010.20069 และรุ่นก่อนหน้า) Acrobat และ Acrobat Reader Classic 2017 (เวอร์ชั่น 2017.011.30113 ขึ้นไป) และ Acrobat DC และ Reader DC Classic 2015 (รุ่น 2015.006.30464 และรุ่นก่อนหน้า) ทั้งบน Windows และ macOS

รวมทั้งช่องโหว่ใน ColdFusion (CVE-2019-7091) ส่งผลให้มีการเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ตั้งใจ และช่องโหว่อื่นที่ได้รับการแก้ไข ได้แก่ ช่องโหว่การยกระดับสิทธิ์ (CVE-2019-7093) ใน Creative Cloud Desktop (รุ่น 4.7.0.400 และรุ่นก่อนหน้า), ช่องโหว่การเปิดเผยข้อมูล (CVE-2019-7090) ใน Adobe Flash (รุ่น 32.0.0.114 และก่อนหน้า บน Desktop Runtime, Google Chrome, Microsoft Edge และ IE 11)

แนะนำให้ผู้ใช้งานทำการอัพเดตแพทช์ที่ออกมาประจำเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อแก้ไขช่องโหว่ที่เกิดขึ้น

ที่มา: threatpost.

VMware has released a security update for AirWatch Console

VMware ได้อัปเดตเพื่อแก้ไขความปลอดภัยบน AirWatch console ที่มีความรุนแรงอยู่ในระดับ Critical
โดยเป็นช่องโหว่ของการ Bypass SAML authentication
โดยช่องโหว่ดังกล่าวสามารถทำให้ผู้โจมตีควบคุมระบบที่ได้รับผลกระทบ

ผู้ดูแลระบบหรือผู้ใช้งานสามารถศึกษารายละเอียดได้จาก VMware Security Advisory (VMSA-2018-0024) และควรทำการอัปเดตให้เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน

ที่มา: us-cert