Trojan app บน Google Play Store ขโมย Facebook Credentials จากผู้ใช้ Android ไปแล้วกว่า 3 แสนราย

นักวิจัยด้านความปลอดภัย Nipun Gupta และ Aazim Bill SE Yaswant พบ Trojan App ที่ชื่อว่า Schoolyard Bully Trojan บน Google Play Store โดยมียอดผู้ดาวน์โหลดแอปดังกล่าวไปแล้วกว่า 3 แสน รายใน 71 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ถูกถอดจาก Google Play Store ไปแล้ว แต่ก็ยังมีเผยแพร่อยู่บน 3rd party อื่น ๆ เช่น Telegram หรือ Whatsapp เป็นต้น

ลักษณะการทำงาน

Trojan ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมย Facebook credentials เป็นหลัก โดยจะปลอมเป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับการศึกษาที่ดูใช้งานได้ตามปกติ หรือแอปสำหรับอ่านนิยายออนไลน์เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อดาวน์โหลดมาโดยไม่เกิดความสงสัย

ซึ่งหลังจากที่เหยื่อมีการโหลดมาแอปมาติดตั้งไว้บนเครื่องแล้วจะมีการหลอกล่อเหยื่อให้เปิดหน้าใช้งานเข้าสู่ระบบของ Facebook ใน WebView ซึ่งภายในหน้าเว็บนั้นจะมีการฝัง JavaScript ที่มีความสามารถในการขโมยข้อมูลจำพวก เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และรหัสผ่านของผู้ใช้ ส่งไปยัง Command-and-control (C2) ที่ถูกกำหนดไว้ของผู้โจมตี

นอกจากนี้ Schoolyard Bully Trojan ยังมีความสามารถในการใช้ประโยชน์จาก native libraries เช่น libabc.

Update ผู้ไม่หวังดีสร้างหน้า Cloudflare DDoS Protection ปลอม เพื่อหลอกติดตั้ง NetSupport RAT และ Trojan RaccoonStealer

ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป ผู้ใช้งานมักพบกับหน้าจอ DDoS Protection ในการเข้าใช้งานเว็ปไซต์ต่างๆ ซึ่งมันมีหน้าที่สำหรับปกป้องเว็ปไซต์ปลายทางจากการโจมตี เช่น การส่ง Request ปลอมเป็นจำนวนมากที่ทำให้เซิฟเวอร์ล่ม แต่ในปัจจุบัน พบผู้ไม่หวังดีได้ใช้ประโยชน์จากหน้าจอแสดงผลเหล่านี้เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์

ลักษณะการทำงาน

เหตุการณ์นี้ค้นพบโดบผู้เชี่ยวชาญจาก Sucuri ซึ่งพบผู้โจมตีได้ทำการแฮ็กเว็ปไซต์ที่เขียนด้วย WordPress เมื่อทำการแฮ็กได้สำเร็จ ผู้โจมตีจะทำการเพิ่มเพย์โหลด JavaScript ลงไป เพื่อแสดงหน้าจอ Cloudflare DDoS Protection ปลอม

เมื่อผู้ใช้งานเข้าสู่เว็ปไซต์ที่ถูกแฮ็ก จะพบ Pop-Up ขึ้นมาให้คลิกเพื่อข้ามหน้าจอ DDoS Protection เมื่อคลิกจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ security_install.

ผู้ไม่หวังดีสร้างหน้า Cloudflare DDoS Protection ปลอม เพื่อหลอกติดตั้ง NetSupport RAT และ Trojan RaccoonStealer

ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไป ผู้ใช้งานมักพบกับหน้าจอ DDoS Protection ในการเข้าใช้งานเว็ปไซต์ต่างๆ ซึ่งมันมีหน้าที่สำหรับปกป้องเว็ปไซต์ปลายทางจากการโจมตี เช่น การส่ง Request ปลอมเป็นจำนวนมากที่ทำให้เซิฟเวอร์ล่ม แต่ในปัจจุบัน พบผู้ไม่หวังดีได้ใช้ประโยชน์จากหน้าจอแสดงผลเหล่านี้เพื่อแพร่กระจายมัลแวร์

ลักษณะการทำงาน

เหตุการณ์นี้ค้นพบโดบผู้เชี่ยวชาญจาก Sucuri ซึ่งพบผู้โจมตีได้ทำการแฮ็กเว็ปไซต์ที่เขียนด้วย WordPress เมื่อทำการแฮ็กได้สำเร็จ ผู้โจมตีจะทำการเพิ่มเพย์โหลด JavaScript ลงไป เพื่อแสดงหน้าจอ Cloudflare DDoS Protection ปลอม

เมื่อผู้ใช้งานเข้าสู่เว็ปไซต์ที่ถูกแฮ็ก จะพบ Pop-Up ขึ้นมาให้คลิกเพื่อข้ามหน้าจอ DDoS Protection เมื่อคลิกจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ security_install.

กลุ่มแฮกเกอร์พุ่งเป้าโจมตีไปยังรัฐบาลรัซเซีย เป้าหมายคือเข้าควบคุมระบบ

กลุ่มแฮ็กเกอร์มุ่งเป้าโจมตีไปยังรัฐบาลรัสเซียด้วย Trojan โดยปลอมเป็น Windows update

เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษานที่ผ่านมา กลุ่มแฮ็กเกอร์ได้มุ่งเป้าโจมตีไปที่หน่วยงานรัฐบาลของรัสเซีย โดยมีทั้งอีเมลฟิชชิ่งที่ปลอมเป็นไฟล์อัปเดตด้านความปลอดภัยของ Windows รวมไปถึงวิธีอื่นๆอีกมากมาย โดยมีเป้าหมายสูงสุดของแคมเปญคือการควบคุมเครื่องเป้าหมายจากระยะไกลด้วย remote access trojan (RAT)

รายละเอียดการโจมตี

ผู้เชี่ยวชาญจาก Malwarebytes ได้อธิบายว่า การโจมตีทั้งหมดมาจากกลุ่ม advanced persistent threat (APT) โดยแบ่งเป็น 4 แคมเปญหลักๆ ดังนี้

แคมเปญแรกมาจากฟิชชิ่งอีเมล ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ไม่กี่วันหลังจากการรุกรานยูเครนของรัสเซีย โดยทำการแนบไฟล์ RAT ที่ชื่อ “interactive_map_UA.exe” ไปในอีเมล
แคมเปญที่สอง กลุ่มแฮ็กเกอร์มีการวางแผน และเตรียมตัวมามากขึ้น โดยแนบไฟล์ tar.

มัลแวร์ตัวใหม่บน MAC Computers “UpdateAgent” ถูกใช้โจมตีผ่าน Adware

ทีมข่าวกรองภัยคุกคาม Microsoft 365 เรียกมัลแวร์โทรจันใหม่นี้ว่า "UpdateAgent" icrosoft กล่าวว่า UpdateAgent ได้ผ่านการทำซ้ำหลายครั้งหรือมีการติดมัลแวร์ในอุปกรณ์หลายครั้ง ส่งผลให้มีความสามารถ "การเพิ่มความก้าวหน้าของความสามารถที่ซับซ้อน" โดยนับตั้งแต่รายงานการโจมตีครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2563 จนถึงปัจจุบัน

ความสามารถของ UpdateAgent คือ เข้าถึงการใช้สิทธิ์ของผู้ใช้ที่มีอยู่ในทางที่ผิดอย่างลับ ๆ และหลีกเลี่ยง macOS Gatekeeper ซึ่งเป็น feature ด้านความปลอดภัยบนระบบ macOS

มัลแวร์ UpdateAgent แพร่กระจายผ่านการดาวน์โหลด หรือป๊อปอัปโฆษณาที่ปลอมแปลงเป็นซอฟต์แวร์ที่ดูปกติ เช่น video applications, support agent เป็นต้น และพบว่ามัลแวร์ UpdateAgent สามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานของคลาวด์ เช่น Amazon S3 และ CloudFront เพื่อทำให้อุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์แล้วสามารถติดซ้ำได้อีกครั้ง ซึ่งรวมถึง Adware ในรูปแบบไฟล์ .DMG หรือ .ZIP

เมื่อติดมัลแวร์แล้ว มัลแวร์ Adload จะใช้วิธีการ ad injection และเทคนิค man-in-middle(MitM) เพื่อเปลี่ยนเส้นทางการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ให้ผ่านทางเซิฟเวอร์ของผู้โจมตี แล้วแทรกโฆษณาหลอกลวงในหน้าเว็บหรือผลลัพธ์ของเครื่องมือค้นหา เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดมัลแวร์อื่นๆบนเครื่องๆได้อีก

นักวิจัยเตือนว่า "UpdateAgent มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วยการอัพเกรดเทคนิคในการพยายามฝังตัวอยู่บนเครื่องเหยื่ออย่างต่อเนื่อง ซึ่งบ่งชี้ว่าโทรจันนี้มีแนวโน้มที่จะใช้เทคนิคที่ซับซ้อนมากขึ้นในแคมเปญต่อไปในอนาคต"

ที่มา : thehackernews

ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ Malware-as-a-Service ของรัสเซียที่เขียนขึ้นใน Rust

ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ Malware-as-a-Service ของรัสเซียที่เขียนขึ้นใน Rust

 

มีการพบ Nascent ซึ่งเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ มีการขาย และแจกจ่ายบนฟอรัมใต้ดินของรัสเซีย โดยมัลแวร์ถูกเขียนเป็นภาษา Rust โดย Rust เป็นภาษาโปรแกรมภาษาใหม่ที่พัฒนาโดย Mozilla ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงแนวโน้มใหม่ที่ผู้โจมตีใช้ภาษาโปรแกรมที่แปลกใหม่มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการรักษาความปลอดภัย หลบเลี่ยงการวิเคราะห์

มีการขนานนามผู้โจมตีนี้ว่า "Ficker Stealer" ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการเผยแพร่มัลแวร์ผ่านลิงก์เว็บโทรจัน และเว็บไซต์ที่ถูกบุกรุก ล่อเหยื่อให้เข้าสู่หน้า Landing Page ที่หลอกลวง โดยอ้างว่าให้บริการดาวน์โหลดฟรีของบริการที่ต้องชำระเงิน เช่น Spotify Music, YouTube Premium และแอปพลิเคชัน Microsoft Store อื่นๆ

Ficker ขายและแจกจ่าย Malware-as-a-Service (MaaS) ผ่านฟอรัมออนไลน์ของรัสเซีย ทีมวิจัย และข่าวกรองของ BlackBerry กล่าวในรายงานว่า "ผู้สร้างซึ่งมีนามแฝงคือ @ficker เสนอแพ็คเกจแบบชำระเงินหลายแบบโดยมีค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกที่แตกต่างกันเพื่อใช้โปรแกรมที่เป็นอันตรายดังกล่าว"

มีการพบ Malware-as-a-Service ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2020 เป็นมัลแวร์บน Windows ถูกใช้เพื่อขโมยข้อมูลที่ sensitive รวมถึงข้อมูลการเข้าสู่ระบบ ข้อมูลบัตรเครดิต กระเป๋าเงินดิจิตอล และข้อมูลเบราว์เซอร์ นอกเหนือจากการทำงานเป็นเครื่องมือในการดึงไฟล์ที่ sensitive ยังสามารถทำหน้าที่เป็นตัวดาวน์โหลดเพื่อดาวน์โหลด และเรียกใช้มัลแวร์อีกด้วย

นอกจากนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า Ficker ถูกส่งผ่านแคมเปญสแปม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการส่งอีเมลฟิชชิ่งที่กำหนดเป้าหมายด้วยเอกสารแนบ Excel ซึ่งเมื่อเปิดขึ้นจะปล่อยตัวโหลด Hancitor ซึ่งจะทำให้เพย์โหลดทำงาน

มัลแวร์ยังมีการตรวจสอบการป้องกันการวิเคราะห์อื่นๆที่ป้องกันไม่ให้ทำงานในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง(VM) และบนเครื่องเหยื่อที่อยู่ในอาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส คาซัคสถาน รัสเซีย และอุซเบกิสถาน สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษก็คือ Ficker ได้รับการออกแบบมาให้รันคำสั่ง และส่งข้อมูลโดยตรงไปยังผู้โจมตี ซึ่งแตกต่างจากผู้ขโมยข้อมูลแบบเดิมๆที่จะเขียนข้อมูลที่ถูกขโมยลงดิสก์ มัลแวร์ยังมีความสามารถในการจับภาพหน้าจอ ซึ่งช่วยให้ผู้ให้บริการมัลแวร์สามารถจับภาพหน้าจอของเหยื่อจากระยะไกล มัลแวร์ยังช่วยให้สามารถดึงไฟล์และดาวน์โหลดได้

ที่มา: thehackernews

Hackers Using Microsoft Build Engine to Deliver Malware Fileless

แฮกเกอร์ได้มีการใช้ Microsoft Build Engine (MSBuild) ในทางที่ผิด โดยใช้ส่ง Trojan และ Malware ประเภท Fileless ซึ่งมีเป้าหมายในการขโมยข้อมูลบนระบบ Windows

นักวิจัยจากบริษัท Anomali ที่ให้บริการด้านโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ กล่าวว่าเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา (13 May 2021) ไฟล์ที่มีโค้ดอันตรายที่มีการเข้ารหัสและเชลล์โค้ดสำหรับติดตั้ง Blackdoor เพื่อใช้ในการเข้าควบคุมเครื่องของเหยื่อเพื่อขโมยข้อมูลได้มีการถูกสร้างขึ้น

MSBuild คือ เครื่องมือโอเพ่นซอร์สสำหรับ Compile .NET และ Visual Studio ที่ถูกพัฒนาโดยบริษัท Microsoft ที่มีไว้ใช้สำหรับ Compiling source code, Packaging, Testing, Deploying Applications

การใช้ MSBuild เป็นเครื่องมือในการเข้าควบคุมเครื่องเป้าหมายโดยไม่ต้องใช้ไฟล์ (Fileless) เป็นแนวคิดในการหลบหลีกการถูกตรวจจับเนื่องจาก Malware ตัวนี้ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Application ที่ถูกกฎหมายโดยรูปการทำงานจะเป็นการโหลด Code ลงที่ Memory ทำให้ไม่มีการทิ้งร่องรอยบนระบบและสามารถซ่อนตัวได้โดยที่ไม่ถูกตรวจจับ

ตามที่มีการเขียนระบุไว้ว่ามีเพียงผู้ให้บริการโซลูชันการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2 รายเท่านั้นที่ระบุว่าหนึ่งในไฟล์ MSBuild ที่มีการอัปโหลดไปยัง VirusTotal vyx.

แจ้งเตือน! แคมเปญใหม่ของผู้ประสงค์ร้ายกำลังใช้ Google Alerts เพื่อหลอกผู้ใช้ให้อัปเดต Adobe Flash Player เวอร์ชันใหม่

BleepingComputer แจ้งเตือนถึงการค้นพบแคมเปญใหม่ของผู้ประสงค์ร้ายกำลังใช้ Google Alerts เพื่อทำการโปรโมตการอัปเดต Adobe Flash Player ปลอมที่ถูกใช้ในการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรมอื่น ๆ บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้

ผู้ประสงค์ร้ายกำลังเริ่มแคมเปญใหม่โดยการสร้างเนื้อหาการอัปเดต Adobe Flash Player เวอร์ชันใหม่ปลอมเพื่อให้ Google Search จัดทำ Index และถึงแม้ว่า Adobe Flash Player จะ End of life Support และจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากเบราว์เซอร์ทุกตัวอีกต่อไป แต่ผู้ใช้หลายคนอาจจะยังไม่ทราบและเมื่อคลิกที่ลิงก์ ผู้ใช้จะถูกรีไดเร็คไปยังเว็บไซต์ที่เป็นอันตรายของผู้ประสงค์ร้าย ซึ่งหากผู้ใช้เข้าไปที่ URL โดยตรงเว็บไซต์จะระบุว่าไม่มีเว็บไซต์ดังกล่าว

หากผู้ใช้คลิกที่ปุ่มอัปเดตโดยผู้ใช้คิดว่ากำลังดาวน์โหลดไฟล์และติดตั้งการอัปเดตล่าสุด Adobe Flash Player ผู้ใช้จะได้รับไฟล์ setup.

แจ้งเตือนกลุ่มแฮกเกอร์ Lebanese Cedar พุ่งเป้าโจมตี Oracle 10g และ Jira/Confluence เพื่อขโมยข้อมูล มีเหยื่อในไทย

บริษัทด้านความปลอดภัยสัญชาติอิสราเอล ClearSky ออกรายงานวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มแฮกเกอร์สัญชาติเลบานอนภายใต้ชื่อ Lebanense Cedar ซึ่งพุ่งเป้าโจมตีระบบทั่วโลกมาตั้งแต่ช่วงปี 2012 เพื่อการจารกรรมข้อมูล เป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในตะวันออกกลางและมีบางส่วนอยู่ในไทย ภาคส่วนธุรกิจที่ตกเป็นเป้าหมายหลักนั้นได้แก่กลุ่มโทรคมนาคมและกลุ่มบริษัทไอทีฯ

พฤติกรรมการโจมตีของกลุ่ม Lebanese Cedar จะมีพุ่งเป้าไปที่ระบบที่มีช่องโหว่อยู่แล้วเพื่อทำการโจมตี จากการรวบรวมข้อมูลโดย ClearSky นั้น Lebanese Cedar จะพุ่งเป้าไปที่ระบบ 3 ลักษณะได้แก่ ระบบ Atlassian Confluence Server โดยจะโจมตีช่องโหว่รหัส CVE-2019-3396, ระบบ Atlassian Jira Server/Data Center โดยจะโจมตีช่องโหว่รหัส CVE-2019-11581 และระบบ Oracle 10g 11.1.2.0 โดยจะโจมตีช่องโหว่รหัส CVE-2012-3152

จุดเด่นของกลุ่ม Lebanese Cedar นอกเหนือจากการพุ่งเป้าโจมตีช่องโหว่ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่สนใจแล้ว กลุ่มฯ ยังมีการพัฒนาแบ็คดอร์และเครื่องมือในการฝังตัวในระบบของเหยื่อเอง อาทิ web shell ที่พัฒนาโดยภาษา JSP และมัลแวร์ในกลุ่ม Trojan

รายงานของ ClearSky ฉบับเต็มมีรายละเอียดการโจมตีและ IOC สำหรับการระบุหาการมีอยู่ของภัยคุกคามไว้แล้ว โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : clearskysec

ที่มา: bleepingcomputer | zdnet

Increased Emotet Malware Activity

สำนักงานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และโครงสร้างพื้นฐาน (CISA) ของสหรัฐอเมริกาออกคำเตือนถึงการเพิ่มขึ้นของการโจมตีด้วยมัลแวร์ Emotet
Emotet เป็นโทรจันที่มีความซับซ้อนซึ่งโดยทั่วไปจะทำหน้าที่เป็นตัวดาวน์โหลดหรือ dropper มัลแวร์อื่น ๆ โดยส่วนใหญ่มัลแวร์ดังกล่าวจะแพร่กระจายผ่านไฟล์แนบทางอีเมลที่เป็นอันตรายและพยายามแพร่กระจายภายในเครือข่ายโดยการ Brute Force ข้อมูลประจำตัวของผู้ใช้และการ shared drives หากโจมตีสำเร็จผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของผู้ใช้งานได้

CISA แนะนำผู้ใช้งานและผู้ดูแลระบบปฏิบัติตาม best practice ต่อไปนี้เพื่อป้องกัน

บล็อกไฟล์อันตรายที่ถูกแนบมากับอีเมล (เช่น ไฟล์ .dll และ .exe)
บล็อกไฟล์แนบอีเมลที่ไม่สามารถสแกนได้โดยซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส (เช่นไฟล์. zip)
แนะนำให้ทำการตั้งค่า Group Policy Object และ Firewall rule
แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสและทำการแพทช์อย่างสม่ำเสมอ
ติดตั้งตัวกรองที่เกตเวย์อีเมลและบล็อก IP ที่น่าสงสัยที่ไฟร์วอลล์
ยึดตามหลักการของ least privilege
ตั้งค่า Domain-Based Message Authentication, Reporting & Conformance (DMARC)
จัดการแบ่งโซนเน็ตเวิร์ค
จำกัดสิทธิการเข้าถึงที่ไม่จำเป็น

CISA แนะนำให้ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบตรวจสอบแหล่งข้อมูลต่อไปนี้สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกัน Emotet และมัลแวร์อื่น ๆ

CISA Alert Emotet Malware https://www.