Palo Alto Networks แก้ไขช่องโหว่ CVE-2020-2034 บน PAN-OS

Palo Alto Networks (PAN) ได้กล่าวถึงช่องโหว่ที่รุนแรงอีกครั้งที่พบใน PAN-OS GlobalProtect portal และส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ Next generation firewall

CVE-2020-2034 เป็นช่องโหว่เกี่ยวกับ OS command injecton ทำให้ผู้โจมตีสามารถ Remote โดยไม่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์และสามารถรัน OS command โดยใช้สิทธิ์ root บนอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการอัปเดตแพตซ์ โดยช่องโหว่นี้สามารถทำได้ยากและมีความซับซ้อน ผู้โจมตีต้องการข้อมูลระดับหนึ่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าไฟร์วอลล์ที่ได้รับผลกระทบ ช่องโหว่ CVE-2020-2034 ได้รับการจัดอันดับความรุนแรงสูงด้วยคะแนนฐาน CVSS 3.x ที่ Score 8.1

ช่องโหว่นี้มีผลกระทบกับอุปกรณ์ที่เปิดใช้งาน GlobalProtect portal เท่านั้น ช่องโหว่นี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากปิดการใช้งานฟีเจอร์นี้ ในขณะเดียวกันบริการ Prisma Access ไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่นี้

ช่องโหว่นี้ได้ถูกแก้ไขแล้ว โดยผู้ใช้ต้องอัปเดตแพทซ์ในเวอร์ชันที่มากกว่าหรือเท่ากับ PAN-OS 8.1.15, PAN-OS 9.0.9, PAN-OS 9.1.3 หรือเวอร์ชันที่ใหม่กว่าทั้งหมด ส่วน Version PAN-OS 7.1 และ PAN-OS 8.0 จะไม่ได้รับการแก้ไขสำหรับช่องโหว่นี้

ที่มา: bleepingcomputer

Google Fixes Two Critical Android Code Execution Vulnerabilities

Google ได้ทำการแก้ไข 2 ช่องโหว่สำคัญ (critical) ที่เกี่ยวกับ remote code execution และช่องโหว่ระดับความรุนแรงสูง (high) 9 ช่องโหว่ ที่เกี่ยวกับการยกระดับสิทธิ์ และช่องโหว่การเปิดเผยข้อมูล ของ Android Open Source Project (AOSP) ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล และ Source Code สำหรับให้นักพัฒนา Android นำไปใช้งาน เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

CVE-2019-2027 และ CVE-2019-2028 เป็นช่องโหว่ที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ Media framework ซึ่งอาจทำให้ผู้โจมตีสามารถสั่งรันโค้ดอันตรายบนระบบได้ ส่งผลกระทบต่อ Android 7.0 หรือใหม่กว่าทั้งหมด ช่องโหว่อีก 9 ช่องโหว่เป็นการยกระดับสิทธิ์เพื่อเปิดเผยข้อมูล (CVE-2019-2026) ส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ Android 8.0 หรือใหม่กว่า ผู้ใช้งานควรทำการอัพเดตแพทซ์ล่าสุดเพื่อลดความเสี่ยง

ที่มา: bleepingcomputer.

Proof-of-Concept Exploit Code Published for Remote iPhone 7 WiFi Hack

Gal Beniamini นักวิจัยด้านความปลอดภัยจาก Google Project Zero ได้มีการประกาศการค้นพบช่องโหว่ด้านความปลอดภัย CVE-2017-11120 ซึ่งสามารถทำให้ผู้โจมตีเข้าควบคุม iPhone 7 และอุปกรณ์ที่ใช้ iOS ในรุ่นอื่นๆ ได้จากระยะไกลผ่านการเชื่อมต่อ Wi-Fi พร้อมตัวอย่างโค้ดสำหรับโจมตี

ช่องโหว่ดังกล่าวนั้นเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้โจมตีสามารถรันโค้ดจากระยะไกลซึ่งอยู่บนเฟิร์มแวร์ Wi-Fi ของ iPhone 7 โดยกระทบ iOS ทุกเวอร์ชันก่อนหน้า iOS 11 ในการทดสอบนั้น Gal ได้ทำการทดสอบช่องโหว่บน iPhone 7 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสามารถใช้ช่องโหว่ควบคุมอุปกรณ์ได้ แต่ช่องโหว่ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์ในรุ่นหรือจากผู้ผลิตอื่นๆ ที่ใช้เฟิร์มแวร์เดียวกันได้

ในขณะนี้ทางแอปเปิลและกูเกิลได้มีการปล่อยแพตช์ด้านความปลอดภัยเพื่อปิดช่องโหว่นี้แล้ว แนะนำให้ผู้ใช้งานทำการอัพเดตซอฟต์แวร์ระบบเพื่อปิดช่องโหว่นี้โดยด่วน

ที่มา : Bleepingcomputer

The OpenVPN post-audit bug bonanza

OpenVPN เป็น Application ชื่อดังในเรื่องการใช้งานและจัดทำ VPN Server ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีคนใช้เยอะก็ยิ่งมีคนสนใจในความปลอดภัยของ OpenVPN ด้วยเช่นกัน เมื่อมีการตรวจสอบพบบว่ามีช่องโหว่สำคัญ 4 ช่องโหว่ด้วยกัน
OpenVPN ได้ถูกนำไปตรวจ source code และ fuzzing (การส่งข้อมูลแปลกๆเข้าไป) ในส่วนต่างๆ พบว่ามีช่องโหว่สำคัญที่เป็นการโจมตีจากระยะไกล 4 ช่องโหว่ด้วยกัน ดังนี้

- Remote server crashes/double-free/memory leaks in certificate processing
- Remote (including MITM) client crash, data leak
- Remote (including MITM) client stack buffer corruption
- Remote server crash (forced assertion failure)

จากที่เห็นจะพบว่าช่องโหว่ส่วนใหญ่จะทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้ (Denial of Service) อีกทั้งมีช่องโหว่ที่ทำให้เกิด Information Leakage ได้ด้วยเช่นกัน ไม่เพียงเท่านี้ ยังพบช่องโหว่อีกมากมายที่เป็นการทำ Local Exploitation อีกด้วย แต่ทั้งนี้ช่องโหว่ทั้งหมดพบใน version 32bit เท่านั้น ดังนั้นหากใครให้บริการหรือใช้งาน OpenVPN Client ที่เป็น 32bit อยู่ แนะนำให้ update

ที่มา: guidovranken.

Tor Directory Remote Information Disclosure Vulnerability Bridge Enumeration Weaknesses

Tor มีช่องโหว่ที่สามารถทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้และ bridge enumeration นั้นอ่อนเกินไป
โดยผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญและส่งผลกระทบให้เกิดการโจมตีอื่นๆตามมา
Tor เวอร์ชั่นก่อนหน้าจนถึงเวอร์ชั่น 0.2.2.34 มีความเสี่ยง

ที่มา: securityfocus

 

Tor Directory Remote Information Disclosure Vulnerability Bridge Enumeration Weaknesses

Tor มีช่องโหว่ที่สามารถทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้และ bridge enumeration นั้นอ่อนเกินไป
โดยผู้โจมตีสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญและส่งผลกระทบให้เกิดการโจมตีอื่นๆตามมา
Tor เวอร์ชั่นก่อนหน้าจนถึงเวอร์ชั่น 0.2.2.34 มีความเสี่ยง

ที่มา: securityfocus