Sophos ถูกแอบอ้างโดยแรนซัมแวร์ตัวใหม่ที่ชื่อว่า SophosEncrypt

Sophos ผู้ให้บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ถูกแอบอ้างโดย ransomware-as-a-service ตัวใหม่ที่ชื่อว่า SophosEncrypt โดยผู้โจมตีแอบอ้างใช้ชื่อของบริษัทในการดำเนินการ

แรนซัมแวร์ดังกล่าวถูกพบโดย Malware Hunter Team เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าเป็นการทดสอบของ Red Team ของ Sophos เอง (more…)

วิเคราะห์ LockBit 2.0 Ransomware

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น สายการบิน Bangkok Airways ได้ถูกโจมตีโดย LockBit 2.0 Ransomware ซึ่งผู้โจมตีได้ข้อมูลออกไปมากกว่า 200 GB ประกอบไปด้วย ชื่อ นามสกุล สัญชาติ เพศ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล ที่อยู่ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร ข้อมูลหนังสือเดินทาง ประวัติการเดินทาง ข้อมูลบัตรเครดิตบางส่วน และข้อมูลอาหารพิเศษของผู้โดยสาร โดยทาง Bangkok Airways ได้ออกมายืนยันว่า ไม่มีผลกระทบต่อระบบความปลอดภัยด้านการบิน (more…)

BlackMatter Ransomware ที่ถอดแบบมาจาก DarkSide

BlackMatter Ransomware ที่ถอดแบบมาจาก DarkSide

เมื่อวันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมานั้น กลุ่มในเครือของ DarkSide Ransomware ได้โจมตี Colonial Pipeline ซึ่งเป็นท่อส่งเชื้อเพลิงของอเมริกา การโจมตีดังกล่าวนั้นส่งผลให้การขนส่งน้ำมันหยุดชะงัก และส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้เป็นพาดหัวข่าวไปทั่วโลก จากการกดดัน และตรวจสอบอย่างเข้มงวดของหน่วยงานระดับชาติในหนึ่งสัปดาห์ต่อมา DarkSide ได้ประกาศปิดตัวลง รวมถึง REvil ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตี KASEYA และ JBS ก็หยุดเคลื่อนไหวไปเช่นเดียวกัน (more…)

GandCrab ransomware operation says it’s shutting down

ผู้สร้าง GandCrab ransomware ประกาศว่าจะหยุดให้บริการ Ransomware-as-a-Service เพราะได้เงินพอแล้ว

ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาผู้สร้าง GandCrab ransomware ได้ประกาศว่าจะทำการปิดการทำงานของ Ransomware-as-a-Service (RaaS) ด้วยเหตุผลที่ว่าผู้สร้างสามารถที่จะทำเงินได้มากพอแล้ว (มากกว่า 2 พันล้านเหรียญ) และวางแผนที่จะยกเลิกการให้บริการภายในหนึ่งเดือน

มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) เป็นการโจมตีในรูปแบบการเข้ารหัสไฟล์ในเครื่องผู้ใช้งาน เหยื่อต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้โจมตีเพื่อแลกกับการถอดรหัสเพื่อให้ได้ไฟล์คืนมา โดยพบว่ามัลแวร์เรียกค่าไถ่ที่อยู่ในตระกูล GandCrab ได้รายได้จากการขาย GandCrab RaaS ให้กับผู้ต้องการและส่วนแบ่งจากเงินเรียกค่าไถ่ที่เหยื่อจ่ายมา จากประกาศดังกล่าวยังมีการระบุว่า ผู้สร้างวางแผนจะทำการลบคีย์สำหรับถอดรหัสทิ้งด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อไม่สามารถกู้คืนไฟล์ได้ แต่นักวิจัยก็เชื่อว่าการประกาศลบคีย์สำหรับถอดรหัสนี้อาจจะเป็นแค่แผนการเพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อตื่นตระหนกและรีบทำการชำระค่าไถ่ก็เป็นไปได้

อย่างไรก็ตามหากอ้างอิงถึงเหตุการณ์ลักษณะเดียวกัน ที่ผู้ผลิตมัลแวร์เรียกค่าไถ่ประกาศจะปิดกระบวนการทำงานของมัลแวร์ อย่างเช่น TeslaCrypt, XData, Crysis และ FilesLocker ผู้สร้างมัลแวร์เหล่านั้นมักจะปล่อยคีย์สำหรับถอดรหัสออกมาให้เหยื่อฟรีๆ มากกว่า ดังนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดคือ ไม่ติดเลยจะดีกว่า หรือควรมีแผนสำหรับกู้คืนระบบเมื่อตกเป็นเหยื่อจริงๆ อย่างเช่น การมีระบบ Backup ข้อมูลของเครื่องสำคัญๆ อย่างสม่ำเสมอ

ที่มา: zdnet