Qualcomm แก้ไขช่องโหว่ Zero-day ที่มีระดับความรุนแรงระดับสูง ที่กำลังถูกใช้ในการโจมตี

Qualcomm ได้เผยแพร่แพตช์ความปลอดภัยสำหรับช่องโหว่ Zero-day ในบริการ Digital Signal Processor (DSP) ซึ่งส่งผลกระทบต่อ chipsets หลายสิบรายการ

CVE-2024-43047 (คะแนน CVSS 7.8/10 ความรุนแรงระดับ High) เป็นช่องโหว่ use-after-free (UAF) ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเสียหายของ memory ได้เมื่อผู้โจมตีที่สามารถเข้าถึงระบบในระดับ local ด้วยสิทธิ์ต่ำ สามารถทำการโจมตีได้สำเร็จ ถูกรายงานโดย Seth Jenkins จาก Google Project Zero และ Conghui Wang จาก Amnesty International Security Lab (more…)

Google เปิดตัวแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคมสำหรับอุปกรณ์ Android จำนวน 46 รายการ

Google เปิดตัวแพตช์ความปลอดภัยประจำเดือนธันวาคมสำหรับอุปกรณ์ Android หรือ Android Security Bulletin December 2020 โดยในเดือนธันวาคมนี้ Google ได้แก้ไขช่องโหว่ 46 รายการและช่องโหว่ที่มีความสำคัญที่สุดจะทำให้ผู้โจมตีสามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือที่มีช่องโหว่ได้จากระยะไกล

ช่องโหว่ที่สำคัญแต่ Google ไม่ได้เปิดเผยข้อมูลเฉพาะทางเทคนิคถูกติดตามด้วยรหัส CVE-2020-0458 จะส่งผลกระทบต่อ Android 8.0, 8.1, 9 และ 10

ช่องโหว่ที่สำคัญอีกหนึ่งประการและมีคะแนนความรุนแแรงจาก CVSS อยู่ที่ 9.8 จาก 10 คือช่องโหว่ CVE-2020-11225 ในชิปเซ็ต Qualcomm

ผู้ใช้ Android ควรทำการอัปเดตแพตช์ความปลอดภัยเป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อป้องกันผู้ประสงค์ร้ายใช้ประโนชน์จากช่องโหว่ทำการโจมตี ทั้งนี้ผู้ที่สนใจรายละเอียกเพิ่มเติมของแพตช์ความปลอดภัยสามารถดูได้จากแหล่งที่มา

ที่มา: securityweek | threatpost | source.

แพตช์ความปลอดภัยแอนดรอยด์ประจำเดือนตุลาคม 2020 มาแล้ว แก้ช่องโหว่รวม 48 รายการ

Google ปล่อยแพตช์ความปลอดภัยแอนดรอยด์ประจำเดือนตุลาคม 2020 มาแล้ววันนี้ โดยแพตช์ประจำเดือนนี้มีทั้งในรอบซึ่งถูกประกาศออกมาในลักษณะ security patch level ของวันที่ 1 และวันที่ 5 ตุลาคม 2020

จาก security patch level ทั้งสองครั้งและตัวเลขแพตช์ทั้งหมด 48 รายการ แพตช์ซี่งถูกจัดอยู่ในระดับ critical ในรอบนี้นั้นอยู่ในส่วนโมดูลของ Qualcomm ซึ่งไม่ได้เป็น open source ซึ่งอยู่ทั้งหมด 6 รายการ

แนะนำให้ทำการติดตามแพตช์จากผู้ผลิตและทำการอัปเดตทันทีเมื่อแพตช์พร้อมติดตั้ง พร้อมลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน

ที่มา : securityweek

Google Patches Critical Flaws in Android’s System Component

Google ออกแพตซ์แก้ไขข้อบกพร่องที่สำคัญบน Android

สัปดาห์ที่ผ่านมา Google ได้เปิดตัวชุดรักษาความปลอดภัยสำหรับ Android ประจำเดือนพฤศจิกายน เพื่อแก้ไขช่องโหว่ที่มีผลกระทบต่อแพลตฟอร์มเกือบ 40 ประกอบด้วยข้อบกพร่องทั้งหมด 17 รายการใน Framework, Library, Framework , Media framework และ System (2019-11-01) ช่องโหว่ที่รุนแรงที่สุดอยู่ในระดับ System ส่งผลให้ผู้โจมตีสามารถสั่งรันคำสั่งที่เป็นอันตรายจากระยะไกลตามสิทธิ์ของโปรเซสที่ใช้รัน ประกอบด้วยช่องโหว่ใน Android 9 (CVE-2019-2204), Android 8.0, 8.1, 9 และ 10 (CVE-2019-2205 และ CVE-2019-2206)

ช่องโหว่อื่นๆ อีกประมาณ 21 รายการ (2019-11-05) ประกอบด้วยช่องโหว่ที่น่าสนใจ คือ ช่องโหว่ความรุนแรงสูงในระดับ Framework 2 รายการ, ช่องโหว่ความรุนแรงสูงในระดับ System 1 รายการ และช่องโหว่ความรุนแรงสูง 3 รายการและความรุนแรงปานกลางอีก 1 รายการในระดับ Kernel โดยได้แก้ไขช่องโหว่ที่พบในส่วนของ Qualcomm ที่พบมาก่อนหน้านี้ด้วย โดยช่องโหว่บน Pixel เองก็จะได้รับการแก้ไขในรอบนี้ด้วย

ที่มา: securityweek

Google ออกอัปเดตความปลอดภัยระบบปฏิบัติการ Android ประจำเดือนตุลาคม 2019

 

Google ได้เปิดตัวการแก้ไขสำหรับช่องโหว่ที่มีความรุนแรงระดับ critical สามจุดใน Media framework ของระบบปฏิบัติการ Android ซึ่งถูกใช้โจมตีด้วยการรันคำสั่งจากระยะไกลได้

ช่องโหว่ remote code execution (RCE) เป็นส่วนหนึ่งของแพตช์อัปเดตความปลอดภัยระบบปฏิบัติการ Android ประจำเดือนตุลาคม 2019 ของ Google ซึ่งการแก้ไขช่องโหว่ระดับ critical และ high เชื่อมโยงกับ CVE ทั้งหมด 9 หมายเลข นอกจากนี้ Qualcomm เป็นผู้ผลิตชิปที่ใช้ในอุปกรณ์ Android ได้ทำการแก้ไขช่องโหว่ที่มีความรุนแรงระดับ critical และ high 18 จุด

จุดบกพร่องระดับ critical สามข้อที่ Google ออกแพตช์ (CVE-2019-2184, CVE-2019-2185, CVE-2019-2186) มีอยู่ใน Media framework Android ซึ่งใช้ในการรองรับการเล่นสื่อประเภทต่าง ๆ ในระบบปฏิบัติการ Android 7.1.1, 7.1.2, 8.0, 8.1 และ 9 จะได้รับผลกระทบโดยเฉพาะจากข้อบกพร่องเหล่านี้

Google กล่าวว่าช่องโหว่เหล่านี้สามารถใช้โจมตีจากระยะไกลได้ โดยผู้โจมตีจะใช้ไฟล์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อรันโค้ดอันตรายบนเครื่องของเหยื่อเมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ ขณะนี้ยังไม่พบการโจมตี

สามารถศึกษารายละเอียดช่องโหว่ทั้งหมดที่ได้รับการอัปเดตได้จาก android และ qualcomm

ที่มา threatpost

New Bluetooth Hack Affects Millions of Devices from Major Vendors

พบช่องโหว่บลูทูธใหม่ กระทบอุปกรณ์จำนวนมากนับล้าน

พบช่องโหว่ตัวใหม่ในบลูทูธ CVE-2018-5383 เกิดจากการดำเนินการเข้ารหัสที่ไม่สมบูรณ์ในระดับ Firmware โดยกระทบอุปกรณ์จำนวนมากจากบริษัทรายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Apple Broadcom Intel และ Qualcomm โดยกระทบทั้งมือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆที่มีความสามารถในการรับส่งบลูทูธ

เมื่อวันที่23 กรกฏาคม 2018 ที่ผ่านมามีประกาศเตือนถึงช่องโหว่ตัวใหม่ในบลูทูธ ซึ่งเกิดจากการดำเนินการเข้ารหัสที่ไม่สมบูรณ์ในบลูทูธ บลูทูธเป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลแบบไร้สายโดยอาศัยคลื่นวิทยุและมีระยะทางในการส่งไม่เกิน 10 เมตรโดยใช้กระบวนการเข้ารหัส Elliptic curve Diffie–Hellman หรือ ECDH ในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ ทั้งนี้ในกระบวนการ ECDH ดังกล่าว ต้องมีการตรวจสอบ elliptic curve parameters เพื่อยีนยันความถูกต้อง
ซึ่งช่องโหว่ของบลูทูธที่ค้นพบใหม่นี้ เกิดจากไม่มีการตรวจสอบ elliptic curve parameters ดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้โจมตีในระยะสัญญาณบลูทูธสามารถทำการโจมตีแบบ man-in-the-middle โดยดักจับ key ที่ใช้ในการเข้ารหัส ดักจับข้อมูลที่ส่งผ่านบลูทูธ และนำมาถอดรหัสข้อมูลดังกล่าวได้ ดัดแปลงข้อมูลที่ถูกรับส่งระหว่างทาง หรือแม้กระทั่งฝังมัลแวร์ได้

ช่องโหว่ดังกล่าวกระทบอุปกรณ์จำนวนมากที่มีความสามารถในการรับส่งบลูทูธจากหลายบริษัท ไม่ว่าจะเป็น Apple Broadcom Intel และ Qualcomm ซึ่งบริษัทบางส่วนได้ออกอัปเดตเพื่อแก้ไขบ้างแล้ว เช่น
- Apple ได้แก้ไขช่องโหว่ดังกล่าวไปใน macOS Excessive Sierra 10.13.5, iOS 11.4, watchOS 4.3.1, และ tvOS 11.4
- Intel ออกไดรว์เวอร์ให้กับอุปกรณ์ที่มีผลกระทบ โดยสามารถดูรายละเอียดอุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบได้ที่ https://www.

พบช่องโหว่ Quadrooter ในชิป Qualcomm Snapdragon มือถือ Android

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจากบริษัท Check Point ได้รายงานช่องโหว่ในชิปของ Qualcomm ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปสำหรับโทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ตที่ได้รับความนิยม โดยช่องโหว่ที่พบนี้ ส่งผลให้อุปกรณ์ Android ที่ใช้งานชิปของ Qualcomm (ซีพียู Snapdragon) สามารถถูก root เครื่องได้หากติดตั้งแอปพลิเคชันอันตราย

ปัญหาของช่องโหว่ที่พบนี้คือแอปพลิเคชันใน Android สามารถเจาะผ่านช่องโหว่ของชิปได้โดยไม่จำเป็นต้องขอสิทธิ์ (Permission) จากระบบปฏิบัติการ นั่นทำให้การตรวจสอบสิทธิ์ก่อนติดตั้งแอปพลิเคชันนั้นไม่สามารถช่วยแยกแยะได้ว่าเป็นแอปพลิเคชันอันตรายหรือไม่

ช่องโหว่ที่นักวิจัยค้นพบมีทั้งหมด 4 จุด ทาง Qualcomm แจ้งว่าได้ประสานงานกับทาง Google เพื่อออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่ไปกับแพตช์ของระบบปฏิบัติการ Android แล้ว โดยใน Android ที่อัปเดตแพตช์ความมั่นคงปลอดภัยประจำเดือนสิงหาคม 2559 จะได้รับการแก้ไขช่องโหว่ไปแล้ว 3 จุด ส่วนช่องโหว่อีก 1 จุดที่เหลือจะถูกแก้ไขในอัปเดตประจำเดือนกันยายน 2559 รายการของบางส่วนของอุปกรณ์ได้รับผลกระทบ Samsung Galaxy S7 and Samsung S7 Edge, Sony Xperia Z Ultra, OnePlus One, OnePlus 2 and OnePlus 3, Google Nexus 5X, Nexus 6 and Nexus 6P, Blackphone 1 and Blackphone 2, HTC One, HTC M9 and HTC 10, LG G4, LG G5, and LG V10, New Moto X by Motorola, BlackBerry Priv

ที่มา: thehackernews