เตือนภัย! ระวังเว็บปลอม xxx.kgjusk.com โคลนเว็บเหมือนของจริงอาจโดนขโมยข้อมูลได้

ช่วงนี้มีการระบาดของเว็บโคลนนิ่ง xxx.kgjusk.com ซึ่งเหมือนหน้าเว็บจริงมาก โดยอาจจะหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ได้ ตอนนี้เว็บใหญ่ๆ ทั้งในและนอกประเทศโดนโคลนไปหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Google Apple Pantip Sanook และ droidsans ตอนนี้ทาง droidsans พยายามลองไล่เช็คดูว่ามีเว็บไหนโดนโคลนไปบ้าง พบว่าเว็บธนาคาร online ต่างๆ ก็โดนโคลนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นกสิกร กรุงเทพ กรุงไทย ซึ่ง xxx.

Ham-fisted phishing attack seeks LinkedIn logins

Symantec ได้ค้นพบอีเมล Phishing แบบใหม่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเริ่มแพร่กระจายไปยังผู้ใช้บริการ Linkedin ทั่วโลก ซึ่งในเนื้อหาอีเมลล์ระบุมาจาก Linkedin Support ต้องการให้ผู้ใช้บริการอัพเดทความปลอดภัยของบัญชีรายชื่อ แล้วแอบขโมยข้อมูลส่วนตัว พร้อมทั้งรหัสผ่านของผู้ใช้บริการไปแทน

Orange.fr hacked, details of 800,000 customers stolen

แฮกเกอร์ได้แฮกเว็บไซต์ของ Orange และเข้าถึงรายละเอียดของลูกค้ากว่า 800,000 ราย จากเว็บไซต์ www.orange.fr หน้าบัญชี (My accounts page) ของเว็บไซต์ตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ โดยเมื่อวันที่ 16 ม.ค.57 แฮกเกอร์ได้ทำการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ รหัสอีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และรายละเอียดอื่น ๆ ทาง Orange อ้างว่ามีเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้นที่แฮกเกอร์เข้าถึง แต่ในส่วนของรหัสผ่านนั้นไม่ถูกขโมยไป และหมายเลขบัญชีธนาคารของลูกค้านั้นแยกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์อื่นซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่กี่ชั่วโมง Orange ได้ทำการปิดหน้าบัญชี "My account" ทันทีเพื่อป้องกันการถูกโจมตีครั้งต่อไป บริษัทกล่าวว่ามีลูกค้า 3 % ที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้ และข้อมูลที่ขโมยไปแฮกเกอร์อาจนำไปใช้ในการโจมตีแบบ phishing ได้

ที่มา : ehackingnews

Orange.fr hacked, details of 800,000 customers stolen

แฮกเกอร์ได้แฮกเว็บไซต์ของ Orange และเข้าถึงรายละเอียดของลูกค้ากว่า 800,000 ราย จากเว็บไซต์ www.orange.fr หน้าบัญชี (My accounts page) ของเว็บไซต์ตกเป็นเป้าหมายของแฮกเกอร์ โดยเมื่อวันที่ 16 ม.ค.57 แฮกเกอร์ได้ทำการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ชื่อ รหัสอีเมล หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และรายละเอียดอื่น ๆ ทาง Orange อ้างว่ามีเฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลเท่านั้นที่แฮกเกอร์เข้าถึง แต่ในส่วนของรหัสผ่านนั้นไม่ถูกขโมยไป และหมายเลขบัญชีธนาคารของลูกค้านั้นแยกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์อื่นซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่กี่ชั่วโมง Orange ได้ทำการปิดหน้าบัญชี "My account" ทันทีเพื่อป้องกันการถูกโจมตีครั้งต่อไป บริษัทกล่าวว่ามีลูกค้า 3 % ที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้ และข้อมูลที่ขโมยไปแฮกเกอร์อาจนำไปใช้ในการโจมตีแบบ phishing ได้

ที่มา : ehackingnews

FBI uses Spear Phishing technique to plant malware in Suspect's system

จากบทความที่ถูกตีพิมพ์โดย Washington Post ได้ระบุว่า FBI ได้ใช้มัลแวร์ในการจับตาดูการเคลื่อนไหวของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ต้องสงสัย โดยวิธีการที่ FBI ใช้ก็เหมือนกับวิธีการของแฮกเกอร์ทั่วไปคือ ทำการโจมตีไปยังช่องโหว่ของเครื่องเป้าหมายเพื่อลงมัลแวร์ที่ใช้ในการส่งข้อมูลกลับไปยัง Server ของ FBI จากกรณีตัวอย่างของ bank fraud ผู้พิพากษา Stephen Smith ได้ปฎิเสธที่จะให้ FBI ทำการลง spyware ลงในระบบที่ต้องสงสัย โดย Smith ระบุว่าการกระทำแบบนี้เป็นการเสี่ยงที่อาจจะได้ข้อมูลของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องมาด้วย ส่วนในกรณีอื่น อย่างเช่น

ในเดือนธันวาคมปี 2012 ผู้พิพากษาคนหนึ่งได้อนุญาตให้ FBI สามารถใช้มัลแวร์ได้ ซึ่งจากการใช้มัลแวร์นี้เองที่ทำให้ FBI มีข้อมูลมากพอที่จะจับผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้
ในเดือนมิถุนายนปี 2012 ได้มีบุคคลคนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “Mo” ได้ทำการโทรไปยังนายอำเภอและได้ทำการขู่ว่าเขาได้วางระเบิดไว้หลายจุดแล้ว ถ้าไม่อยากให้เขาจุดระเบิดให้ปล่อยฆาตกรที่ทำการฆ่าคนไปถึง 12 คนในโรงหนังที่อยู่ในเมืองเดนเวอร์, รัฐโคโรลาโด หลังจากทำการสืบสวนพบว่า “Mo” ได้ใช้ Google voice ในการโทรไปยังนายอำเภอและใช้พร็อกซี่ในการซ่อน IP ของเขา จากการสืบสวนเบื้องลึกของ FBI พบว่า IP ที่แท้จริงของ “Mo” เป็น IP ที่อยู่ในกรุงเตหะราน, ประเทศอิหร่าน และในเดือนธันวาคมปี 2012 ผู้พิพากษาได้อนุญาตให้ FBI ทำการส่งอีเมลที่แนบมัลแวร์ไว้ไปยังอีเมลของ “Mo” ได้ อย่างไรก็ตามปฎิบัติการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ FBI ยังได้ข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของ “Mo” ส่งมาว่าเขาใช้ IP จำนวน 2 IP ที่เป็น IP ที่อยู่ในกรุงเตหะราน, ประเทศอิหร่าน

ที่มา : ehackingnews

FBI uses Spear Phishing technique to plant malware in Suspect's system

จากบทความที่ถูกตีพิมพ์โดย Washington Post ได้ระบุว่า FBI ได้ใช้มัลแวร์ในการจับตาดูการเคลื่อนไหวของเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ต้องสงสัย โดยวิธีการที่ FBI ใช้ก็เหมือนกับวิธีการของแฮกเกอร์ทั่วไปคือ ทำการโจมตีไปยังช่องโหว่ของเครื่องเป้าหมายเพื่อลงมัลแวร์ที่ใช้ในการส่งข้อมูลกลับไปยัง Server ของ FBI จากกรณีตัวอย่างของ bank fraud ผู้พิพากษา Stephen Smith ได้ปฎิเสธที่จะให้ FBI ทำการลง spyware ลงในระบบที่ต้องสงสัย โดย Smith ระบุว่าการกระทำแบบนี้เป็นการเสี่ยงที่อาจจะได้ข้อมูลของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องมาด้วย ส่วนในกรณีอื่น อย่างเช่น

ในเดือนธันวาคมปี 2012 ผู้พิพากษาคนหนึ่งได้อนุญาตให้ FBI สามารถใช้มัลแวร์ได้ ซึ่งจากการใช้มัลแวร์นี้เองที่ทำให้ FBI มีข้อมูลมากพอที่จะจับผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้
ในเดือนมิถุนายนปี 2012 ได้มีบุคคลคนหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “Mo” ได้ทำการโทรไปยังนายอำเภอและได้ทำการขู่ว่าเขาได้วางระเบิดไว้หลายจุดแล้ว ถ้าไม่อยากให้เขาจุดระเบิดให้ปล่อยฆาตกรที่ทำการฆ่าคนไปถึง 12 คนในโรงหนังที่อยู่ในเมืองเดนเวอร์, รัฐโคโรลาโด หลังจากทำการสืบสวนพบว่า “Mo” ได้ใช้ Google voice ในการโทรไปยังนายอำเภอและใช้พร็อกซี่ในการซ่อน IP ของเขา จากการสืบสวนเบื้องลึกของ FBI พบว่า IP ที่แท้จริงของ “Mo” เป็น IP ที่อยู่ในกรุงเตหะราน, ประเทศอิหร่าน และในเดือนธันวาคมปี 2012 ผู้พิพากษาได้อนุญาตให้ FBI ทำการส่งอีเมลที่แนบมัลแวร์ไว้ไปยังอีเมลของ “Mo” ได้ อย่างไรก็ตามปฎิบัติการนี้ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ FBI ยังได้ข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของ “Mo” ส่งมาว่าเขาใช้ IP จำนวน 2 IP ที่เป็น IP ที่อยู่ในกรุงเตหะราน, ประเทศอิหร่าน

ที่มา : ehackingnews

New Phishing attack targets Ltlian Postal and Financial service again

ผู้เชี่ยวชาญของ Sophos ได้พบการโจมตีในรูปแบบ phishing สำหรับบริการไปรษณีย์ออนไลน์ของประเทศอิตาลี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกหลวงให้เหยื่อเข้าสู่ระบบไปยังเว็บไซต์ที่แฮกเกอร์ได้สร้างขึ้นมา

ล่าสุดแฮกเกอร์ได้ส่งอีเมล์ปลอมพร้อมกับแนบไฟล์เอกสาร HTML เมื่อเหยื่อต้องการที่จะทำธุระกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งดาวน์โหลดไฟล์เอกสาร จะต้องทำตามขั้นตอนของแฮกเกอร์ คือ ให้ผู้ใช้ใส่รหัสผ่านในกล่องข้อความที่แฮกเกอร์ได้สร้างขึ้นมา หลังจากนั้นเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวจะแสดงขึ้นมา เพื่อให้เหยื่อเข้าสู่ระบบเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน

จากรายงาน รหัสผ่านที่แฮกเกอร์สร้างขึ้นมานั้น เป็นคีย์ในการถอดรหัสที่ถูกฝังอยู่ในโค้ด JavaScript จะทำให้หน้าเว็บไซต์ปลอมนั้นถูกโหลดกลับมาใช้งาน โดยมีการใช้ URL: bit.

Phishing scam threatens to delete Facebook accounts in 24 hours

มีการส่งอีเมลปลอมถึงผู้ใช้งาน Facebook ในอเมริกาว่าแอคเคาท์ของผู้ใช้มีการใช้งานที่ละเมิด Policies โดยการทำให้ผู้อื่นรำคาญหรือสบประมาทผู้อื่น ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนในลักษณะนี้จนกว่าระบบจะทำการระงับการใช้งานแอคเคาท์ของผู้ใช้ภายใน 24 ชั่วโมงถ้าไม่ทำการตอบกลับ

ถ้าผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งรวมถึงข้อมูลบัตรเครดิตของผู้ใช้และตอบอีเมลกลับไป แฮ้กเกอร์จะสามารใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการขโมยแอคเคาท์ของผู้ใช้และทำการเปลี่ยนพาสเวิด Facebook และอีเมล Facebook ของผู้ใช้ได้ นั่นหมายความว่าแอคเคาท์ของผู้ใช้ถูกยึดโดยสมบูรณ์นั่นเอง

ที่มา: nakedsecurity.