Android Trojan taints US mobes, spews 500,000 texts A DAY

มีการตรวจพบการแพร่กระจายของโทรจันที่มีชื่อว่า “SpamSoldier” ซึ่งเป็นโทรจันที่ระบาดอยู่บนระบบปฏิบัติงาน Android และเมื่อผู้ใช้ตกเป็นเหยื่อแล้วจะถูกโทรจันตัวนี้ส่งข้อความ (SMS) โดยไม่ได้รับอนุญาต ที่มีลักษณะเป็นการหลอกลวง (Spam) เช่น การให้ดาวน์โหลดเกมหรือโปรแกรมฟรี เป็นต้น เป็นจำนวนมาก โดยส่งไปยังชื่อผู้ติดต่อที่ดาวน์โหลดมาจาก C&C Server ของโทรจันตัวนี้  ถ้าหากเหยื่อผู้ที่ได้รับข้อความกดเปิดลิ้งที่ได้มาจะเป็นการนำไปสู่งการติดตั้ง โทรจัน ตัวนี้

Andrew Conway นักวิจัยของ Cloudmask ได้ออกมาเปิดเผยว่าในแต่ละวันอาจมีการส่งข้อความหลอกลวงนี้เป็นจำนวนกว่า 500,000 ครั้ง และนอกจากส่ง SMS ที่มีลักษณะให้ดาวน์โหลดโปรแกรมฟรีแล้ว ยังพบว่ามีข้อความหลอกลวงที่นำไปยัง
เว็บปลอม เหมือนการ Phishing เพื่อดักเก็บข้อมูลของเหยื่ออีกด้วย ในปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือในการตรวจจับโทรจันตัวนี้

ที่มา : theregister

Security update for Windows lets fonts disappear

หลังจากไมโครซอฟท์ได้ออกแพทช์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นมีแพทชํเลข MS12-078  ที่เป็นการป้องกันมัลแวร์ที่อาจแฝงมากับฟอนต์ที่อยู่ในเว็บหรือว่าเอกสารต่าง ๆ ได้ แต่ว่าแพทช์นี้กลับทำให้ฟอนต์ไม่สามารถแสดงผลได้ในโปรแกรมบางโปรแกรม เช่น coreldraw หรือ powerpoint  ซึ่งวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหานี้คือลบแพทช์นี้ออกไปเท่านั้น ซึ่งไมโครซอฟท์ออกมาบอกว่าไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ และจะเร่งออกแพทช์แก้ไขมาให้เร็วที่สุด

ที่มา : h-online

China reinforces its 'Great Firewall' to prevent encryption

จีนได้ทำการปรับปรุงระบบไฟร์วอลล์ของตัวเองให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นและตั้งชื่อว่า “Great Firewall” ซึ่งไฟร์วอลล์ใหม่นี้ได้อุดช่องโหว่ของระบบเดิม  และจะทำการบล็อกเครือข่าย vpn ทั้งหมดที่ทำการเชื่อมต่อไปยังนอกประเทศ ซึ่งหากใครต้องการจะใช้ vpn ก็จะต้องมาทำการลงทะเบียนก่อน ซึ่งทำให้บรรดาธุรกิจต่าง ๆ นั้นออกมาบ่นกันอย่างมาก นอกจากนี้ยังได้บล็อกโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ เช่น facebook, twitter, youtube ด้วย เนื่องจากจีนเห็นว่าเว็บเหล่านี้อาจจะมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับรัฐบาลจีน

ที่มา : cnet

Four year sentence for processing scareware payments

ชายชาวสวีเดนนายหนึ่งได้ถูกจับจากการที่เขาใช้ Scareware ไปทำการข่มขู่เหยื่อให้จ่ายเงินให้เขา วิธีการก็คือเขาหลอกให้เหยื่อเข้าไปที่เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาและในเว็บนั้นจะเสนอโปรแกรมป้องกันไวรัสฟรี(Rogue Antivirus) ให้ดาวน์โหลด หลังจากที่ดาวน์โหลดไปแล้ว โปรแกรมจะบอกเหยื่อว่าได้ติดไวรัสจำนวนมาก และเสนอให้เหยื่อจ่ายเงินจำนวน 129 เหรียญ เพื่อทำการกำจัดไวรัสให้ทั้งหมด จากการตัดสิน ชายคนนี้ถูกจำคุก 4 ปี และปรับเงินจำนวน 650,000 เหรียญ

ที่มา : h-online

Stabuniq trojan found on servers at U.S. banks

นักวิจัยด้านความปลอดภัยของ Symantec พบว่ามีการติดโทรจันที่ชื่อว่า “Stabuniq” แล้วกว่า 40 ไอพี ซึ่งพบว่าไอพีดังกล่าว กว่า 39 เปอร์เซ็นเป็นของสถาบันการเงินและส่วนใหญ่เป็นสถาบันการเงินของชิคาโกและนิวยอร์ก มีการแพร่จายโทรจันตัวนี้ผ่านทางอีเมลและเว็บไซต์ที่ถูกโจมตีและถูกฝัง exploit kit ต่าง ๆ
โทรจันดังกล่าวถูกพบในเมลเซิฟเวอร์, ไฟร์วอลล์, พร็อกซี่เซิฟเวอร์ รวมถึงเกตเวย์ ซึ่งการยึดครองเครื่องได้นั้นพบว่าเป็นการสำรวจเครื่อง ยังไม่ถึงขั้นตอนการโจมตีที่ทำให้มีความเสียหายเกิดขึ้น

ที่มา : scmagazine

Man who hacked Scarlett Johansson's email gets a whopping ten years in prison

ผู้พิพากษาใน Los Angeles, California ได้ตัดสินจำคุก Christopher Chaney อายุ 36 ปีจำนวน 6 ปี ในข้อหาแฮกเข้าไปในอีเมลล์ของคนดังมากมาย เช่น  Scarlett Johansson และ Mila Kunis ซึ่งระหว่างที่ถูกดำเนินคดี Christopher Chaney ได้ทำการเก็บช้อมูลส่วนตัว email ของดาราดังกล่าวไว้ ศาลจึงเพิ่มโทษโดยตัดสินให้จำคุกเพิ่มเป็น 10 ปี สิ่งที่น่าสนใจคือ เขาใช้งานในส่วนของ Forget Password เพื่อเข้าถึงอีเมลของเหยื่อ โดยการค้นหาข้อมูลส่วนตัวต่างๆที่เหยื่อได้โพสในที่สาธารณะ เพื่อนำไปใช้ตอบในส่วนของ Security Question จนสามารถ Reset รหัสผ่านเหล่าได้สำเร็จ จากนั้นเขาเมื่อสามารถเข้าไปยังบัญชีของเหยื่อได้แล้ว ก็เปิดใช้งานในส่วนของ 'forward a copy of incoming mail' เพื่อรับข้อมูลเมลอื่นๆที่ส่งมาภายหลังได้อีก เป็นลักษณะของการพยายามรวบรวมข้อมูลอื่นๆต่อไปอีกได้นั้นเอง และเขาได้รับรูปภาพเปลือยของเหยื่อจากช่องทางนี้เองและนำไปโพสบนเว็ปไซต์ celebrity gossip ทั้งสองแห่งนั้น

วิธีการเบื้องต้นเพื่อป้องกันตัวองจากเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวนี้ สามารถทำได้โดย
1.    ไม่ควรโพสข้อมูลส่วนตัว หรือแม้กระทั่งข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น บนโลกอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะ Social Network เพราะนี่เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของเหล่าแฮกเกอร์นั้นเอง
2.    หมั่นตรวจสอบการตั้งค่าใน Email Account ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หรือมีอะไรแปลกปลอมที่เราไม่ได้เป็นคนตั้งค่า (โดยเฉพาะ ผู้ที่รู้ว่าตัวเองโดนแฮก Email Account และได้กลับคืนมาจากวิธีใดก็แล้วแต่)

ที่มา : nakedsecurity

Hotmail and Outlook Cookie Handling Vulnerability allow account Hijacking

เมื่อวันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม 2012 "Christy Philip Mathew" นักวิจัยด้านความปลอดภัย ของ The Hacker News ทำการวิเคราะห์ช่องโหว่เกี่ยวกับการจัดการคุกกี้ของผู้ให้บริการอีเมลที่มีชื่อเสียงคือ hotmail และ outlook ของบริษัท Microsoft ซึ่งพบว่าช่องโหว่นี้ทำให้ผู้โจมตีเข้าถึงบัญชีของผู้ใช้งานได้อย่างง่ายดาย โดยการใช้งานผ่าน Addon บนบราวเซอร์ ของ Firefox ชื่อว่า cookie-importer เพื่อทำการส่งคุกกี้ของผู้ใช้งานออกไปยังระบบของผู้โจมตี และผู้โจมตีสามารถนำคุกกี้ของเหยื่อที่ออกจากระบบแล้วมาสวมรอยเพื่อเข้าสู่ระบบใหม่ได้
ซึ่งช่องโหว่นี้ก็ได้มีการแจ้งไปยัง Microsoft Security Team เรียบร้อยแล้ว แต่กลับได้รับเมลตอบกลับด้วยเนื้อหาที่ค่อนข้างผิดประเด็นไปในเรื่องการเปลี่ยนรหัสผ่านแทนที่จะเป็นประเด็นของเรื่องการขโมยคุกกี้จากเครื่องของเหยือและนำไปใช้ในการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งาน ซึ่งทาง The Hacker News จึงตัดสินใจประกาศเรื่องนี้ออกสู่สาธารณะโดยอ้างว่าไมโครซอฟท์ยังไม่เข้าใจประเด็นนี้

ที่มา : thehackernews

VMware Patches Critical Vulnerability In Server Software

เมื่อวันที่ 13/12/2012 ทางบริษัท VMware ได้ออกแพทเพื่อแก้ไขช่องโหว่ directory traversal (CVE-2012-5978) ในผลิตภัณฑ์ VMware View โดยช่องโหว่นี้จะทำให้แฮกเกอร์สามารถรีโมทเข้าไปยังเซิฟเวอร์ที่ลง VMware View เพื่อเข้าถึงไฟล์ arbitrary ได้ ช่องโหว่นี้มีผลกระทบกับ VMware View เวอร์ชั่น 5.X ถึงเวอร์ขั่น 5.1.2 และ กับ VMware View เวอร์ชั่น 4.X ถึงเวอร์ชั่น 4.6.2 สำหรับคนที่ไม่สามารถอัพแพทได้ทันทีทาง VMware ได้มีคำแนะนำดังนี้
•    ปิดการทำงานของ Security Server
•    ใช้ intrusion protection system (IPS) หรือ application layer firewall เพื่อบล็อคการโจมตีแบบ directory traversal

ที่มา : securityweek

Trojan.Batchwiper Reported in Iran

วันที่ 16/12/2012 บริษัท CERTCC-IR (บริษัทวิจัยทางด้านเทคโนโลยีของอิหร่าน) ได้โพสลงบนเวบไซด์ของตัวเองว่าได้ค้นพบมัลแวร์ที่จะลบข้อมูลบนเครื่องของเหยื่อทิ้ง และจากการวิเคราะห์ของ Symantec ก็ยืนยันได้ว่ามัลแวร์ที่ บริษัท CERTCC-IR ค้นพบนั้นเป็นมัลแวร์ที่มีอยู่จริง โดยมัลแวร์จะลบข้อมูลในไดร์ฟที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร “D” ไปจนถึง “I” รวมไปถึงไฟล์บน Desktop ของเครื่องของเหยื่อ หลังจากลบข้อมูลเสร็จแล้วมัลแวร์จะสั่งรันคำสั่ง Chkdsk(คำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของหน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ) เพื่อเช็คอีกครั้ง และการลบข้อมูลนี้จะเกิดขึ้นตามวันที่คนสร้างได้กำหนดไว้เท่านั้น จากการวิเคราะห์เบื้องต้นยังไม่เจอความเชื่อมโยงระหว่างมัลแวร์ตัวนี้กับมัลแวร์ Stuxnet, Flamer หรือ Gauss

ที่มา : symantec

SMS stealing apps uploaded to Google Play by Carberp banking malware gang

นักวิจัยของ Kaspersky Lab ที่ชื่อ Denis Maslennikov ได้พบแอพพลิเคชั่นของแอนดรอยบน Google Play ที่ถูกออกแบบมาเพื่อชโมย mobile transaction authentication numbers (mTANs)(เลขรหัสยืนยันการทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์) ที่ส่งจากทางธนาคารไปยังลูกค้าที่ทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ โดยส่งผ่านทาง SMS (Short Message Service) แอพพลิเคชั่นตัวนี้ได้ถูกตั้งชื่อว่า Carberp-in-the-Mobile (CitMo) และถูกสร้างโดยกลุ่มที่ใช้ชื่อว่า “Carberp” โดยมีเป้าหมายอยู่ที่เหยื่อที่อยู่ในรัสเซียและคนที่ใช้ภาษารัสเซีย มัลแวร์ตัวนี้มีหลักการทำงานคือ อันดับแรก เหยื่อจะถูกหลอกให้โหลดและติดตั้งแอพพลิเคชั่นตัวนี้ลงในเครื่องของเหยื่อ โดยการขึ้นข้อความหลอกบนเวบไซด์ของธนาคารเมื่อเหยื่อเข้าเวบไซด์ของธนาคารผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดมัลแวร์ หลังจากเหยื่อติดตั้งแอพพลิเคชั่นเรียบร้อยแล้ว เมื่อเหยื่อทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์ SMS ที่ถูกส่งจากธนาคารไปยังเครื่องของเหยื่อจะถูกแอพพลิเคชั่นนี้ซ่อนเอาไว้ และจะเอา SMS ที่ได้แอบส่งไปยังเซอเวอร์ของแฮกเกอร์ มัลแวร์ตัวนี้ได้ถูกขายอยู่ในตลาดมืดโดยมีราคาตั้งแต่ 5,000 ดอลล่าห์จนถึง 40,000 ดอลล่าห์โดยราคาที่ขายจะขึ้นอยู่กับเวอร์ชั่นและฟังก์ชั่นของมัลแวร์ตัวนั้น ทาง Google ได้ลบแอพพลิเคชั่นตัวนี้ออกจาก Google Play ไปตั้งแต่วันที่ 13/12/2012 นักวิเคราะห์ภัยคุกคามของ Bitdefender ที่ชื่อ Bogdan Botezatu ได้ออกมาให้ความเห็นว่า เป็นการยากที่ Google's Bouncer(โปรแกรมกรองแอพพลิเคชั่นที่เป็นอันตรายของทาง Google) จะตรวจเจอแอพพลิเคชั่นที่มีการฝัง Zeus-in-the-Mobile (ZitMo), SpyEye-in-the-Mobile (SpitMo) หรือ  CitMo เพราะว่าฟังก์ชั่นการทำงานบางอย่างของมัลแวร์เหล่านี้มีการทำงานที่คล้ายกับการทำงานของแอพพลิเคชั่นที่ถูกกฎหมายอย่างเช่น แอพพลิเคชั่น SMS management

ที่มา : pcworld